Skip to main content

  เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาป็นวันครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีการเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของรัฐบาลจีนไปพร้อมกับการประท้วงของชาวฮ่องกงซึ่งมุ่งมั่นท้าทายรัฐบาลเบ่ยจิ่งอย่างมากในวันนี้ ต่อไปนี้คือความหายนะครั้งที่ 2 ที่ก่อโดยพรรคคอมมิวนิสต์นั่นคือปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งเป็นความตั้งใจของเหมา เจ๋อตงบิดาผู้ก่อตั้งจีนยุคใหม่ (ซึ่งยืนอ่านประกาศเหนือประตูของพระราชวังต้องห้ามในวันที่ 1 เดือนตุลาคมปี 1949) เพื่อการลุสู่อำนาจอันสะท้อนถึงความฉ้อฉลสุดขีดของการเมืองจีน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนที่สนับสนุนรัฐบาลเบ่ยจิ่งมักอ้างว่าเกิดจากความผิดพลาดของรัฐบาลจีนเพียงอย่างเดียว อันสะท้อนให้เห็นว่าภาพอันสวยงามที่จีนพยายามนำเสนอในวันชาตินี้มีเงามืดแฝงอยู่อย่างแยกไม่ออกด้วย

 

  การปฏิวัติวัฒนธรรมหรือ Cultural Revolution มีตัวละครสำคัญคือชาวเร็ดการ์ด (ภาษาจีนคือหง เหว่ยปิง) คือเยาวชนซึ่งได้รับการปลูกฝังให้เลื่อมใสและศรัทธาในอุดมการณ์ของเหมา เจ๋อตง ผ่านหนังสือเล่มเล็กสีแดงคือสรรนิพนธ์ของเหมา ถือได้ว่าเป็นจักรกลสำคัญของปฏิวัติวัฒนธรรมจีนซึ่งเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 1966 ในการประชุมของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ เหมาได้กล่าวคำปราศรัยเรียกร้องให้เยาวชนเล่นงานผู้นำของพรรคซึ่งหันมาสมาทานค่านิยมของชนชั้นกลางและละทิ้งจิตวิญญาณของการปฏิวัติ ปฏิวัติวัฒนธรรมนั้นเกิดจากความต้องการของเหมาในการกลับมามีอำนาจอีกครั้งหลังจากต้องเพลี่ยงพล้ำให้กับผู้นำคนอื่นในพรรคอย่างเช่นหลิว เซ่าฉีและเติ้ง เสี่ยวผิง เพราะความล้มเหลวของนโยบายการก้าวกระโดดไกล (Great Leap Forward) ในทศวรรษที่ 50 ของเหมาซึ่งส่งผลให้เกิดทุพภิขภัยครั้งร้ายแรง มีการประเมินว่ามีคนจีนเสียชีวิตไปประมาณ 45 ล้านศพ

 

 

                                   ในภาพอาจจะมี 18 คน, ผู้คนกำลังยืน

 

 

   เหมาเสนอทฤษฎีตามแบบสตาลินว่า ตอนนั้ันจีนยังไม่สามารถก้าวสู่สังคมนิยมแบบเต็มรูปแบบได้เพราะยังมีคนอีกจำนวนมากซึ่งยังฝักใฝ่ในทุนนิยม หัวต้านการปฏิวัติ หรือพวกนิยมศักดินาแฝงอยู่ในสังคมจีน ทุกระดับแม้แต่ในพรรคคอมมิวนิสต์ คนเหล่านั้นต้องถูกกำจัดให้หมดไป เช่นเดียวกับสิ่งเก่าๆ อย่างนิสัย ธรรมเนียม ความคิด วัฒธรรม (4เก่าหรือ 4 olds) ต้องถูกทำลาย นอกจากเหมาแล้วก็ยังมีลิ่วล้ออาศัยกระแสเชิดชูเหมาเพื่อสร้างอำนาจในตัวเองอย่างเช่นนางเจียง ชิงหัวหน้าแก๊งค์สี่คนซึ่งเป็นภรรยาของเหมา เฉิน ป่อต๋าและหลินเปียวเป็นต้น พวกเร็ดการ์ดก็จะถือว่าการชุมนุมและเดินพาเหรดต่อหน้าเหมาจู่เสียน (ท่านประธานเหมา) เป็นเกียรติในชีวิตมากอย่างเช่นในปี 1966 ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน พวกเขาจะลงทุนแออัดกันในรถไฟเพื่อเดินทางมาจากมณฑลไกลๆ เพื่อจะได้พบกับเหมา

 

   พวกเร็ดการ์ดได้เข้าเล่นงานบุคคลในทุกภาคส่วนของสังคมตั้งแต่คุณครูในห้องเรียนตัวเอง อาจารย์มหาวิทยาลัย ปัญญาชนจนไปถึงผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเช่น หลิว เซ่าฉี เติ้ง เสี่ยวผิง เผิง เต๋อหวาย ฯลฯ หลิวและเผิงถูกเร็ดการ์ดทำร้ายร่างกายและปล่อยให้เสียชีวิต ส่วนเติ้งแม้ไม่ได้มีชะตากรรมเช่นเดียวกับเพื่อนแต่ก็เกือบเอาตัวไม่รอด ลูกชายของเขาต้องพิการเพราะโดดจากตึกเพื่อฆ่าตัวตายหนีพวกเร็ดการ์ด สำหรับโจว เอินไหลนายกรัฐมนตรีเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่รับผลกระทบน้อยที่สุดแต่ก็ทำให้เขาต้องแสดงความซื่อสัตย์อย่างสุดจิตสุดใจต่อเหมา วิธีการของพวกเร็ดการ์ดได้แก่การนำตัวผู้เคราะห์ร้ายไปสอบสวน รุมทำร้าย ด่าทอ ประณาม นำไปแห่ประจานต่อหน้าสาธารณะ บังคับให้สวมหมวกยาวๆ (หมวกคนโง่) โกนหัวบางส่วน หรือเอาของหนักๆ แขวนคอ (เหมือนในหนังเรื่อง The Last Emperor เป็นเครื่องพิมพ์ดีด) เพื่อให้คนเหล่านั้นสำนึกผิดและสารภาพทั้งที่ไม่ได้มีความผิดอะไร บ้างก็ถูกบังคับให้คลานเหนือเศษกระจก บ้างก็ถูกจับไปประหารชีวิตเสียเลย นัยว่าในยุคนั้นไม่มีใครปลอดภัยเลย เพราะทุกคนสามารถถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกมีความคิดดังข้างบนได้หมด

 

นอกจากนี้ วัดวาอาราม โบสถ์คริสต์ โบราณสถานอย่างเช่นสุสานกษัตริย์ราชวงศ์หมิง ถูกพวกเร็ดการ์ดบุกเข้าทำลายเพราะเห็นว่าเป็นเศษเดนของศักดินา แต่พวกเขาก็แอบปล้นสะดมด้วย อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบลเล่าว่าตอนเจียง ไคเช็คหนีไปไต้หวันในปี 1949 ได้ขโมยของโบราณไปหลายแสนชิ้นซึ่งกลายเป็นเรื่องดีไป ไม่เช่นนั้นของพวกนี้ต้องสูญสลายหรือหายไปในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นแน่ สังคมและเศรษฐกิจจีนในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตเป็นล้านๆ หรืออาจถึงหลายสิบล้าน (จำนวนที่ว่านี้คือการประเมิน เพราะการนับจำนวนจริงๆ เป็นไปไม่ได้เลย) ครอบครัวต้องแตกสลาย ตัวอย่างในนั้นคือครอบครัวของสี จิ้นผิง ผู้นำคนปัจจุบันของจีน โดยคุณพ่อคือสี จ้ง สวินเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคซึ่งถูกเร็ดการ์ดเล่นงานเหมือนกัน ส่วนพี่สาวของสี จิ้นผิงต้องฆ่าตัวตายเพราะโดนแรงกดดันจากพวกเร็ดการ์ด ส่วนฝ่ายความมั่นคงอย่างตำรวจและกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้รับคำสั่งให้อยู่นิ่งเฉย อย่างไรก็ตามในช่วงหลังก็ไม่ได้มีตัวละครที่ก่อความวุ่นวายเพียงแค่เร็ดการ์ด หากรวมไปถึงคนงานและทหารบางหน่วยอีกด้วย และมีนับครั้งในถ้วนที่บรรดาคนเหล่านั้นซึ่งแบ่งเป็น กลุ่มเป็นก๊กจะหันมาต่อสู้กันเองไม่ว่าทางกายหรือการใช้อาวุธจนดูเหมือนกับสงครามกลางเมืองแบบย่อยๆ

 

เมื่อเหมา เจ๋อตงเห็นว่าปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มลุกลามจนคุมไม่อยู่จึงประกาศยุติการปฏิวัติในปี 1969 และได้ให้กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเข้าจัด การกับเร็ดการ์ดโดยส่งเยาวชนเหล่านั้นไปเรียนรู้วิถีของมวลชนในชนบทเป็นเวลาหลายปี พวกเร็ดการ์ดปัจจุบันถูกขนานนามว่าเป็นรุ่นที่สาปสูญ (Lost Generation) และหนึ่งในนั้นคือสี จิ้นผิงซึ่งต้องไปอยู่ในถ้ำ กินนอนกับชาวบ้านที่มณฑลส่านซีอยู่หลายปี และจากนั้นกองทัพก็เข้ามามีอิทธิพลในสังคมจีนอย่างมาก จวบจนหลิน เปียวผู้มีอำนาจสูงสุดในกองทัพและทายาททางการเมืองของเหมาเกิดแตกคอกับเหมาและพยายามทำรัฐประหารโค่นล้มท่านประธาน แต่ไม่สำเร็จ เลยหนีไปมงโกเลียพร้อมครอบครัวแต่เครื่องบินตกเสียก่อนในปี 1971 กระนั้นปฏิวัติวัฒนธรรมก็ยังมีแรงเฉื่อยอยู่ไปจนถึงปี 1976 ที่เหมาถึงแก่อสัญกรรม และแก๊งสี่คนถูกจับกุมดำเนินคดีต้องติดคุกกันไปคนหลายสิบปี แต่นางเจียง ชิงได้ฆ่าตัวตายขณะถูกคุมขัง เมื่อเติ้ง เสี่ยวผิงขึ้นมามีอำนาจในอีก 2 ปีต่อมาก็ได้รื้อฟื้นเกียรติยศแก่เหยื่อของการปฏิวัติ

 

                          

                              ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังยืน, ฝูงชน และสถานที่กลางแจ้ง

 

 

ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์เองยังยอมรับว่าเป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรง แต่ก็พยายามไม่ให้กลายเป็นวาทกรรมที่แพร่หลายในการทำลายชื่อเสียงของทางพรรค คนรุ่นใหม่ของจีนก็ได้รับการศึกษาทางประวัติศาสตร์ที่โดดข้ามยุคนี้ไปหรือกล่าวถึงในบางด้าน (เหมือนเด็กไทยที่ได้เรียนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519) ส่วนพวกเร็ดการ์ดในปัจจุบันซึ่งอายุ 50 ขึ้นไปกลายเป็นนายทุน นักธุรกิจก็เยอะ จำนวนมากจะแสดงความรู้สึกเสียใจต่อการกระทำของตัวเอง บ้างก็หันมาประณามเหมาอย่างเสีย ๆ หายๆ ตัวอย่างเช่นจุง ชาง เจ้าของหนังสือ Mao: The Unknown Story เกี่ยวกับชีวประวัติเหมาในด้านลบสุดๆ ทั้งนี้ไม่รวมถึงหนังสือ The Private Life of Chairman Mao ซึ่งเปิดเผยถึงตัวตนที่แท้จริงของเหมาในบางด้านที่เขียนโดยนายแพทย์ประจำตัวของเหมาคือลี่ จื้อซุยผู้ซึ่งก็ถือว่าได้รับผล กระทบจากปฏิวัติวัฒนธรรมเช่นกัน

อย่างไรก็ตามในยุคของสี จิ้นผิงผู้นำซึ่งเปลี่ยนแปลงแนวคิดผู้นำรวมหมู่ (Collective Leadership) ที่วางโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ได้พยายามรื้อฟื้นลัทธิบูชาบุคคลแบบเหมายุคใหม่หรือ Neo-Maoism และมีความกลัวต่อการปฏิวัติวัฒนธรรมเวอร์ชั่น 2.0 คือลัทธิล่าแม่มดตามแบบจีนอีกครั้ง จึงกลายเป็นเรื่องตลกร้ายที่เหยื่อปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างสีจะหันมาใช้กลยุทธดังกล่าวเพื่อสร้างอำนาจให้กับตัวเอง

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที