Skip to main content

นตำราเรียนมักบอกว่าหลังสิ้นสุดสงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 มีประเทศที่ยังเป็นคอมมิวนิสต์เหลืออยู่เพียง 5 ประเทศคือจีน เวียดนาม ลาว คิวบาว และเกาหลีเหนือ (ตลกดีมีคนที่ผมรู้จักอย่างน้อย 2 คนคิดว่ารัสเซียยังเป็นคอมมิวนิสต์อยู่) สำหรับเกาหลีเหนือมีข้อถกเถียงกันว่าจริงๆ เกาหลีเหนือเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ ผมว่าคำตอบนั้นซับซ้อนยิ่งกว่ามีและไม่มี หลายคนบอกว่าเกาหลีเหนือไม่ใช่คอมมิวนิสต์ เพราะนับถือลัทธิจูเช่ (Juche) ซึ่งเน้นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตัวเอง และระเบียบอำนาจทางสังคมแบบขงจื้อและราชวงศ์ในอดีตเสียยิ่งกว่าลัทธิมาร์กซ์ซึ่งต้องการให้มนุษย์มีความเท่าเทียมกันภายหลังการล่มสลายของระบบทุนนิยมและรัฐ นอกจากนี้เกาหลีเหนือเลิกบอกตัวเองว่าเป็นคอมมิวนิสต์โดยบอกว่าตัวเองเป็นสังคมนิยมและบอกเลิกการยึดถือลัทธิมาร์กซ์ เองเกล และเลนินไปตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 เพื่อการเป็นอิสระจากการครอบงำของสหภาพโซเวียต และเป็นการยกย่องลัทธิจูเชซึ่งช่วยยกสถานะของคิม อิลซุงอันช่วยให้เกาหลีเหรือไม่ถูกครอบงำโดยลัทธิเหมาของจีนในช่วงปฏิวัฒนธรรม นอกจากนี้การสืบต่ออำนาจก็ไม่เหมือนพรรคคอมมิวนิสต์ที่จะใช้การเลื่อนตำแหน่งตามองค์กร และการแย่งอำนาจในบรรดาตัวบุคคลและก๊กหรือ faction แต่สำหรับเกาหลีเหนือใช้การสืบทอดทางสายเลือดเหมือนราชวงศ์ จนมีบางแหล่งประดิษฐ์คำใหม่ที่ขัดแย้งในตัวเองนั่นคือบอกว่าเกาหลีเหนือมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์แบบราชวงศ์

กระนั้นผมยังมองว่าเกาหลีเหนือมีความเป็นคอมมิวนิสต์หลงเหลือด้วยอยู่มากไม่ว่าทางตรงหรือทางพิธีกรรม สัญลักษณ์ ท่าที่หลายประการและคอมมิวนิสต์ที่ว่าก็ไม่ใช่ตามทฤษฏีมาร์กซ์อย่างแท้จริง ด้วยประเทศที่บอกว่าตัวเองเป็นคอมมิวนิสต์ทุกประเทศก็ไม่เคยใช้ทฤษฏีมาร์กซ์เพียงอย่างเดียวโดยจะบอกว่าใช้ทฤษฏีของเลนินมาปนด้วย รวมไปถึงอุดมการณ์อื่น ๆ เช่นลัทธิชาตินิยม ตัวอย่างได้แก่ พรรค Worker's Party ที่ก่อตั้งโดยคิม อิลซุงในปี 1948 น่าจะคงรูปแบบและโครงสร้างที่ได้รับอิทธิพลจากพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตมาไม่มากก็น้อย สำหรับเศรษฐกิจของประเทศยังคงรวมศูนย์อำนาจอย่างสูงมากโดยระบบราชการ เกาหลีเหนือดำเนินตามแบบโซเวียตและจีนคือการให้รัฐควบคุมองค์กรทางเศรษฐกิจและธุรกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก การทำนารวมหรือ collectivized farm ซึ่งส่งผลให้เกาหลีเหนือประสบกับการอดยากครั้งรุนแรงจนทำให้คนเกาหลีเหนือเสียชีวิตเป็นล้านๆ เมื่อพบกับภัยธรรมชาติ เข่นเดียวกับจีนและโซเวียต ส่วน การบริการภาครัฐไม่ว่าด้านสาธารณรัฐสุข ขนส่งมวลชน การศึกษาก็ล้วนแต่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐ เมื่อรัฐเจ๊ง ระบบราชการล้มเหลว เต็มไปด้วยคอรัปชั่น การบริการเหล่านั้นก็ล้มเหลวไปด้วย อันส่งผลให้คนเกาหลีเหนือส่วนใหญ่เหมือนตกนรกทั้งเป็น แน่นอนว่าเมื่อมีคนไปเที่ยวเกาหลีเหนือ จึงมักถูกจำกัดให้บันทึกภาพของคนและสถานที่เกาหลีเฉพาะในนครเปียงยางและชนชั้นกลาง ฐานะดี สาวแต่งชุดพื้นเมืองสวยๆ เริงระบำเก่งๆ ปนกับภาพคนดื่มเบียร์ สูบบุหรี่ ย่อมเป็นภาพเสี้ยวเดียวที่รัฐบาลต้องการให้โลกเห็น ชาวโลกจึงไม่ค่อยเห็นคนอดอยากหรือถูกบังคับใช้แรงงานจนตาย กลยุทธ์นี้ประเทศคอมมิวนิสต์เกือบทุกประเทศพยายามใช้หลอกลวงชาวโลกซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างเช่นจีนยุคเหมา

ส่วนคนที่สุขสบายก็ได้แก่ชนชนชั้นนำและข้าราชการระดับสูงซึ่งยังคงต้องการรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตนเหมือนประเทศคอมมิวนิสต์เช่นคิวบาและลาวอันเป็นผลให้เกาหลีเหนือไม่มีวันที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจของตนให้เป็นเสรี แม้จะมีการยอมรับโดยกลายๆ ว่าเกาหลีเหนือต้องเป็นทุนนิยมมากขึ้นตามแบบจีน เพื่อความอยู่รอดท่ามกลางการคว่ำบาตรของตะวันตก นอกจากนี้สิทธิการถือครองทรัพย์สินของประชาชนยังขาดความชัดเจน เพราะรัฐยังทรงอิทธิพลอยู่มากในการกำหนดชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ตัวอย่างเช่นก่อนหน้าปี 2016 รัฐไม่ยอมรับสิทธิในการครอบครองที่ดินของประชาชน

ในปัจจุบัน แม้เกาหลีเหนือจะไม่ยอมรับสัญลักษณ์ของสตาลินเช่นรูปปั้นและแนวคิดของสตาลินเหมือนกับตอนกำลังก่อตั้งประเทศ เพราะคิม อิลซุงเป็นเด็กสร้างของสตาลิน (แต่ตลกว่าหนังสือประวัติศาสตร์ของเกาหลีเหนือไปเขียนบอกว่าสตาลินยำเกรงและสำนึกในบุญคุญของคิมในการรบเอาชนะญี่ปุ่นช่วงสงครามโลก) แต่เกาหลีเหนือในปัจจุบันยังปกครองประเทศตามแบบสตาลินอยู่ไม่ผิดเพี้ยนเช่นลัทธิเชิดชูบุคคล หรือ cult of personality ซึ่งเกาหลีเหนือลอกมาจากสหภาพโซเวียตและไม่เคยมีมาก่อนในเกาหลีสมัยราชวงศ์ เช่นเดียวกับการประกอบพิธีกรรมเพื่อเชิดชูรัฐและผู้นำโดยการเกณฑ์คนมาแสดงประกอบแสงสีเสียงล้วนเหมือนสหภาพโซเวียตและจีนยุคเหมา เจ๋อตง ส่วนประเทศในยุโรปตะวันออกก็พยายามเหมือนแต่ไม่สำเร็จอย่างเช่นโรมาเนียในยุคเชาเชสกู

นอกจากนี้เกาหลีเหนือยังเป็น paranoid state ที่ระแวดระวังต่อผู้จะมาโค่นล้มรัฐบาลและนายคิม จองอุนหลานของคิม อิลซุง โดยการมีตำรวจลับ คุกหรือค่ายกักกันซึ่งลอกมาจากกูลักของสตาลิน อันมีสภาพเลวร้ายเหมือนกัน ที่สำคัญคิมผู้หลานยังมีความระแวงว่าจะมีคนจ้องทำร้ายและโค่นล้มอำนาจตน อันผลให้มีการกำจัดหรือ purge เจ้าหน้าที่ระดับสูงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เชื่อได้ว่าในประเทศนี้ไม่มีใครเลยรู้สึกปลอดภัย (แม้แต่ตัวคิมเอง) ด้วยความผิดเล็กๆ น้อยๆ เข่นเผลอไปวิจารณ์นโยบายของรัฐ หรือแม้ไม่ได้ทำอะไรเลย แค่โดยใส่ร้าย เขาหรือเธอและครอบครัวก็อาจเข้าไปเน่าตายในคุก เหตุการณ์ดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นแล้วในโซเวียตยุคสตาลินและจีนยุคปฏิวัติวัฒนธรรม

บทความนี้จบลงโดยการระลึกถึงคุณสุทธิชัย หยุ่นนักข่าวผู้เชี่ยวชาญเรื่องต่างประเทศและคว่ำหวอดในวงการมายาวนาน สุทธิชัยน่าจะเป็นหนึ่งในบรรดาคนไม่มากที่ยกย่องเกาหลีเหนือว่ามีประชาชนที่เต็มเปี่ยมด้วยความรักเสียสละตนเพื่อชาติ และเขายังเทิดทูน ยกย่องคิม จองอุนประดุจเจ้าชายน้อยผู้ชาญฉลาดและกล้าหาญในการนำเกาหลีเหนือต่อกรกับประเทศอันธพาลและชั่วร้ายอย่างสหรัฐ (แต่ถ้าถามสุทธิชัยว่าให้เลือกไปใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐฯ หรือเกาหลีเหนือ ก็อยากรู้ว่าเขาจะตอบว่าอย่างไร) อันไม่แตกต่างจากมุมมองที่ปัญญาชนตะวันตกมองประเทศคอมมิวนิสต์ด้วยความหลงไหลเมื่อทศวรรษที่ 50 และ60 เลย

 

 

 

 

                            ในภาพอาจจะมี 15 คน, รวมถึง ทัวร์ สามหกห้า ท่องเที่ยว, คนที่ยิ้ม

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที