Skip to main content
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin
 
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเพจของเขา ในจุดยืนเกี่ยวกับยูเครน  นั่นคือเขาเลี่ยงที่จะประณามการบุกยูเครนของรัสเซียโดยเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวของคนไทย ดังนั้นควรวางตัวเป็น กลาง โดยจุดนี้เหมือนสว.คนหนึ่ง คือนายสมชาย แสวงการ ทำให้ดูตลกว่าคนที่มีจุดยืนทางการเมืองต่างกันคนละขั้วก็สามารถมาเห็นร่วมกันได้ในที่สุด
 
นอกจากนี้สมศักดิ์ยังเห็นว่าถ้าจะประณามสงครามในครั้งนี้ก็ควรจะเน้นไปที่บทบาทของสหรัฐฯ ทั่วโลกในเวลาที่ผ่านมาเสียมากว่า เช่นเขาได้แสดงภาพของรถถังของอิสราเอลกำลังขับอยู่หน้าเด็กปาเลสไตน์ อันสะท้อนถึงการกดขี่ของอิสราเอลซึ่งมีพันธมิตรตัวฉกาจคือสหรัฐฯ (แต่ความจริงอิสราเอลยังมีความสัมพันธ์อันดีและมีผลประโยชน์ทางทหารกับรัสเซียด้วย)  ล่าสุดสมศักดิ์ยังได้แปลบทความเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และแผนการของสหรัฐฯ นั่นคือการเล่นเกมทางอำนาจกับรัสเซียในยุโรปอีกด้วย 
 
สมศักดิ์น่าจะมีความคิดเห็นคล้ายคลึงกับนอม ชอมสกี นักภาษาศาสตร์และนักวิพากษ์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ หรือจอห์น เมสแฮมเมอร์ นักวิชาการคนสำคัญของแนวคิดนวสัจนิยม  (ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) หรือแม้แต่ผู้ดำเนินรายการของ Voice TV คือหม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือคุณปลื้ม พวกเขาจะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การโจมตีรัสเซีย เพราะเห็นว่าแท้ที่จริงสงครามในปัจจุบันเกิดจากเกมการเมืองของสหรัฐฯ และนาโต และเป็นความผิดของทั้งสองฝ่ายที่เข้าไปรุกในพื้นที่ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ของรัสเซีย อันทำให้รัสเซียดำเนินนโยบายแบบแข็งกร้าวและรุกรานยูเครนในที่สุด นอกจากนี้สมศักดิ์น่าจะเห็นว่าสหรัฐฯ ยังเป็นประเทศที่ทำตัวเหมือนรัสเซียอย่างในอดีตคือได้ทำการบุกรุกทั้งอัฟกานิสถานและอิรัก ทำให้กฎหมายระหว่างประเทศวุ่นวาย ขาดความศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับสื่อของตะวันตกก็ล้างสมองชาวโลกทำให้ชาวโลกให้การสนับสนุนสงครามดังกล่าว หรือเพิกเฉยต่อชะตากรรมของประชาชนผู้เดือดร้อนจากนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ รวมถึงผู้อพยพของประเทศโลกที่ 3 ในเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ชาวโลกกลับรู้สึกเสียใจและเห็นอกเห็นใจชาวยูเครนเพราะถูกชี้นำโดยสื่อตะวันตก (ปัญหาคือสื่อทั่วโลกแม้แต่ Ajazeera ของการ์ต้าหรือ South Morning China Post ของฮ่องกงที่แอบประจบจีน ก็เสนอในหลายแง่มุมไม่ต่างจาก CNN หรือ ABC เท่าไรนัก) ฯลฯ
 
ไม่ว่าสมศักดิ์จะมีความคิดเห็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด แต่ที่แน่นอนที่สุดเขาย่อมไม่เห็นด้วยกับการรุกรานของรัสเซีย และน่าจะเห็นอกเห็นใจชะตากรรมของชาวยูเครนซึ่งบัดนี้อพยพลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านกว่า 3 ล้านคน ซึ่งก็มีส่วนใกล้เคียงกับชีวิตเขา (ที่ต่างกันคือเขาหนีจากการกดขี่ของเผด็จการทหาร ไม่ใช่ภัยคุกคามจากต่างประเทศ)  แต่การจะแสดงจุดยืนเหมือนคนทั่วไปก็ดูตื้นเขินเหมือนเล่นตามเกมของสหรัฐฯ  ทำให้พลเมืองชาวเน็ตหลงเข้าใจว่าสมศักดิ์เป็นติ่งของปูติน (Putin's apologist)  ซึ่งก็ใช้เหตุผลหรือตรรกะแบบเดียวกันในการสร้างความถูกต้องของการบุกรุกครั้งนี้ กระนั้นคนโจมตีสมศักดิ์ก็มีเหตุผลของตัวเองเช่นกัน เช่นเมื่อมีภาพนำเสนอคนยูเครนเสียชีวิตหรือบ้านแตกสาแหรกขาด แต่สมศักดิ์กลับไปประณามความชั่วของสหรัฐฯ หรืออิสราเอลในตะวันออกกลาง อันเป็นพฤติกรรมที่ดูแปลกประหลาดถึงแม้จะจริงตามทฤษฎี แต่คนโจมตีสมศักดิ์หลายคนสามารถอ้างได้ว่าพวกเขาก็ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของสหรัฐฯ และรัสเซียซึ่งก็ชั่วเหมือนกัน 
 
อนึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าการรุกรานของสหรัฐฯ ที่ชัดเจนครั้งสุดท้ายคืออิรัก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก็นานเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว ทำให้คนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกับรัสเซียได้ชัดเจนเท่าไรนัก หรือแม้แต่การเข้าแทรกแซงทางการทหารของนาโตต่อลิเบียในปี 2011 ผู้ถูกโค่นคือมูฮัมมาร์ กัดดาฟี ก็เป็นทรราชที่รู้จักกันดีในความโหดร้าย ซึ่งดูแตกต่างจากนายวอโลดิมีร์ เซเลนสกีประธานาธิบดีของยูเครน ทำให้นาโต้ดูเป็นวีรบุรุษเสียมากกว่ารัสเซีย หรือการแทรกแซงทางทหารในซีเรียจนถึงปัจจุบัน นั้นสหรัฐฯ มีบทบาทไม่สูงมากในการสนับสนุนฝ่ายขบถ ถ้าเทียบกับรัสเซียซึ่งสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการของนายบัลชาร์ อัลอัดซัด  ส่วนกรณีของอิสราเอลนั้น สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนมายาวนานหลายทศวรรษ หาใช่ผู้บุกรุกปาเลสไตน์โดยตรงเหมือนกับรัสเซียต่อยูเครนไม่ ทำให้การแก้ตัวของติ่งรัสเซียหรือแม้แต่คนวิพากษ์สหรัฐฯ ในกรณีสงครามยูเครนดูขาดพลัง แม้ว่ากระทำของสหรัฐ ฯ จะชั่วร้ายไปอีกแบบ
 
อย่างไรก็ตาม ตามมุมมองของผม ผมมองว่าสมศักดิ์มองข้ามปัญหาทางการเมืองในยูเครนที่ถูก undermine หรือบั่นทอนโดยรัสเซียมากว่า 2 ทศวรรษ จากบทความที่เขาแปลมานั้นลดทอนคุณค่าของการปฏิวัติไมเดน ในปี 2014 ให้เป็นเพียง รัฐประหาร (coup) ที่สนับสนุนโดยกรุงวอชิงตัน นั่นคือสหรัฐฯ ชักใยให้คนยูเครนโค่นล้มประธานาธิบดีวิกเตอร์ ยานุชโควิชซึ่งเป็นพันธมิตร (หรือหุ่นเชิดของปูติน) นอกจากนี้ในบทความที่แปลโดยสมศักดิ์ยังกล่าวหาโดยขาดความรับผิดชอบว่าผู้นำคนใหม่ นั่นคือประธานาธิบดีคนมาแทนที่คือนายเปรโตร โปโรเช็งโกถูกเลือกโดยสหรัฐฯ ทั้งที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนและนายโปโรเช็งโกมาจากการเลือกตั้งที่ค่อนข้างเป็นประชาธิปไตยโดยได้รับคะแนนเสียงจากชาวยูเครนเกือบ 10 ล้านเสียง 
 
นอกจากนี้การคิดว่าสหรัฐฯ ชักใยอยู่เบื้องหลังยูเครนเพื่อรุกฆาตรัสเซียเช่นการเข้าสมัครเป็นสมาชิกของนาโต้ ทำให้เราพลาดปัจจัยสำคัญที่จะอธิบายว่าเหตุใดเดือนกว่าแล้ว รัสเซียซึ่งมีกำลังทางทหารและอาวุธยิ่งใหญ่กว่ามากยังไม่สามารถยึดครองยูเครนได้เสียที ซึ่งคือการต่อต้านอย่างเหนียวแน่นและเลือดรักชาติของชาวยูเครนที่สหรัฐฯ คงไม่สามารถปลุกระดมได้ อันตรงกันข้ามกับตอนที่เวียดนามใต้ต้องตกเป็นของเวียดนามเหนืออย่างง่ายดายในปี 1975

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที