นอกเหนือจากการได้คบพบปะกับเพื่อนที่เป็นมนุษย์จริงๆ ที่เล่นเฟซบุ๊คเป็นแล้วเกิดปฏิสัมพันธ์กันในกาลต่อมา (จีบกัน คบกัน จนถึงขั้นทำให้ท้อง) "เพจอวตาร" ก็ยังถือว่าเป็นเพื่อนยามยากตัวใหม่ที่คอยให้คำปรึกษา หารูปเจ๋งๆ หาวลีเด็ดๆ ให้เราไว้คลายเหงายามอยู่หน้าจอคอม
เด็กแว้นกับสาวสก๊อย แบบ 'หรอยกู'ในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มจะร้อนผ่าวๆ ขึ้นมาอีกรอบ ลองไปอ่านการ์ตูนลายเส้นดิบๆ ที่เข้ากันดีกับอารมณ์ขันแบบแสบๆ คันๆ ที่ไม่ได้หาง่ายๆ ตามท้องถนนทั่วไป บล็อก หรอยกู (http://www.roigoo.com/) เป็นผลงานสร้างสรรค์ Gag Cartoon ของนักคิดนักเขียนการ์ตูนผู้มีความคันอยู่ในหัวใจ ที่สังเกตเรื่องราวความเป็นไปต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วนำมาวิพากษ์ในรูปแบบของการ์ตูนได้อย่างน่ารักน่าชัง จากนั้นก็นำมาอัพโหลดลงในพื้นที่ออนไลน์และแจกจ่ายให้ใครๆ ได้อ่านกันฟรีๆ แต่สิ่งที่น่าสนใจของหรอยกูไม่ได้อยู่ที่มีการ์ตูนฟรีให้อ่าน เราสามารถตามไปดูจรรยาบรรณของ 'เด็กแว้น-เด็กสก๊อย…
เท่าที่สังเกตโดยอาศัยประสบการณ์ส่วนตัวและคนรอบข้าง ดูเหมือนว่า ‘นักจัดรายการวิทยุ' หรือ DJ ในยุคมิลเลนเนียม จะต้องมีคุณสมบัติคล้ายๆ กัน คือ พูดเก่ง ยิงมุขฮากระจาย ชวนคนฟังเล่นเกม และท่องจำรายชื่อสปอนเซอร์ได้อย่างชัดเจนไม่มีตกหล่น หรือกรณีที่คนฟังวิทยุไม่นิยมดีเจพูดมาก ก็จะมีรายการอีกประเภทไว้คอยท่า คือรายการวิทยุที่ ‘ไม่มีดีเจ' แต่จะมีเพลงเปิดให้ฟังสลับกับโฆษณา และรายการทั้ง 2 ประเภทที่ว่ามาก็ได้รับความนิยมสูงเสียด้วย ส่วนเรื่องที่ว่า-ดีเจแต่ละคนมีภูมิรู้เรื่องดนตรีแน่นแค่ไหน หรือมีวิธีพูดคุยถึงเรื่องในสังคมและชีวิตประจำวันให้คนฟังได้คิดตามหรือรู้สึกเพลินๆ ได้หรือเปล่า…
ช่วงนี้กำลังเห่อเกมฝึกภาษาอังกฤษอย่าง Freerice เป็นพิเศษ ให้อารมณ์เหมือนตอนอ่านหนังสือเตรียมสอบเอนทรานซ์ แต่สนุกสนานกว่ากันมาก เกม ‘เล่นคำ' แล้วได้ ‘ข้าว' เป็นโครงการ Word Food Program ของ UN ที่เปิดให้คนทั่วโลกฝึกภาษาอังกฤษด้วยการทายความหมายของคำแต่ละคำ ด้วยการจับคู่คำที่เป็น ‘โจทย์' กับคำที่เป็น ‘คำตอบ' ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน หรือถ้าจะพูดง่ายๆ กว่านั้น นี่คือแบบฝึกหัดเพื่อหา Synonym ฉบับออนไลน์นั่นเองสิ่งที่พิเศษไปกว่านั้นคือ คะแนนที่ได้จากการเล่นเกมจะคิดเป็นข้าวสารจำนวนหนึ่ง ซึ่งทาง UN จะนำไปบริจาคให้กับประเทศที่ขาดแคลนอาหาร และเกมนี้ก็เล่นได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเหนื่อยกันไปข้าง…
ทุกครั้งที่กวาดตาไปยังข่าวหน้าหนึ่งบนหนังสือพิมพ์...เรามักสะดุดตากับ ‘ข่าวร้าย' มากกว่า ‘ข่าวดี' และคนที่ภูมิต้านทานความเศร้าต่ำ อาจรู้สึกหดหู่เมื่อได้เห็น จนบางทีก็เกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า เราบริโภคข่าวร้ายมากเกินไปหรือเปล่า?ไม่ใช่ว่าจะมาชวนให้ใครหลบหนีจากโลกแห่งความจริง (อันโหดร้าย) แต่หลายคนที่คิดว่า เราควรมีพื้นที่ข่าวที่สร้างสรรค์จรรโลงใจในชีวิตประจำวันบ้าง โปรดฟังทางนี้...บล็อก ‘Happy Media' เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งเปิดไว้รอท่า เพราะบล็อกเกอร์ประจำของที่นี่เรียกตัวเองว่าเป็น ‘สื่อสร้างสรรค์ (ความสุข)' หรือ "กลุ่มคนที่มีความสนใจใฝ่หาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสุขภายใน…
สถานการณ์ความรุนแรงที่ตกเป็นข่าวรายวันตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทำให้ภาพลักษณ์ความเป็น ‘ที่เกิดเหตุ' ของจังหวัดชายแดนใต้แจ่มชัดในความรู้สึกของคนไทยภาคอื่นๆ จนไม่มีใครคิดจะเดินทางไปเยือนพื้นที่สีแดงที่อยู่ปลายด้ามขวาน แต่ถ้ามองจากมุมของคนในพื้นที่ ทั้ง ‘ความรู้สึก' และ ‘การมีส่วนร่วม' ย่อมจะแตกต่างออกไปจากมุมของคนที่มองจากที่ไกลๆ Deep South Watch คือพื้นที่แห่งหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งขับเคลื่อนโดยนักข่าวหลายค่ายหลายสำนักที่เคยรวมตัวกันทำงานในยุคบุกเบิกของสถาบันข่าวอิศรา (สถาบันนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) ซึ่งลงไปฝังตัวอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นเวลานาน ปัจจุบัน…
นักเดินทาง, นักท่องเที่ยว, นักทัศนาจร, ตัวฤทธิ์ ฯลฯ รวมถึงคนที่คิดจะหนีบ้านหนีช่องไปท่องโลก เชิญลับสมองกับเกม Traveler IQ เพื่อทดสอบความรู้เบื้องต้นว่า ‘คุณรู้จักโลกใบนี้ดีแค่ไหน' เข้าไปลองเล่นเกมออนไลน์ฟรีๆ ดูได้ที่ travelpod.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกเว็บหนึ่ง ถึงจะเป็นเกมวัดไอคิวและความรู้รอบตัว แต่ก็ไม่ได้ยากจนหืดขึ้นคอ พอเล่นเพลินๆ เป็นเกมฆ่าเวลา และคนเล่นเกมก็จะได้ศึกษาแต่ละซอกมุมของโลกไปด้วยในตัว เพราะเกมนี้จะมี ‘แผนที่โลก' ขึ้นมาโชว์ที่หน้าจอ พร้อมชุดคำสั่งในเกมที่เปิดโอกาสให้เลือกได้ว่าจะเล่นเกมอะไร เช่น อยากได้ชุดคำถามเกี่ยวกับทวีปไหน (…
ถ้ามาพูดถึงเรื่อง ‘บริโภคนิยม' ตอนนี้ อาจจะตกยุคไปสักหน่อย เพราะใครๆ เขาก็พูดถึงแต่เรื่อง ‘พอเพียง' กันทั้งนั้น แต่พอไปเจอบล็อกของคน ‘นิยมบริโภค' อย่าง iloveeating.wordpress ก็อดไม่ได้ที่จะเอามาเล่าสู่กันฟัง บล็อกนี้ไม่ได้ส่งเสริมให้คนฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมอยากได้อยากมีอยากใช้จ่าย แต่เป็นการหาความสุขง่ายๆ ด้วยการ ‘บริโภค' อาหารอร่อยๆ ที่มีการแจกสูตรให้ไปทำเองบ้าง บางทีก็แนะนำอาหารแช่แข็งหรืออาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามร้านทั่วไป (แม้ว่าบางอย่างอาจจะยังไม่มีขายในประเทศไทย-ด้วยเหตุว่าเจ้าของบล็อกเป็นคนไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ) แต่การให้คะแนนเรื่องรสชาติ หน้าตา…
แนวคิดเรื่อง ‘ห้องสมุดไร้กำแพง' หรือ Library without wall ถูกพูดถึงในหลักสูตรการเรียนรู้ของเหล่าบรรณารักษ์มาหลายปีดีดักแล้ว และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายกำแพงห้องสมุดลง เพื่อทำให้แนวคิดนี้เป็นจริงขึ้นมาได้พักหลังๆ เลยไม่ค่อยมีคนติดกับภาพบรรณารักษ์ยุคก่อนๆ ที่ต้องอนุรักษ์ความเชย ความเฮี้ยบ และเงียบเอาไว้กับตัว เพราะบรรณารักษ์ยุคใหม่เปิดตัวเองกับโลกภายนอก (และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) มากขึ้นเยอะบล็อกยอดนิยมเจ้าหนึ่งในเวิร์ดเพรส ได้แก่ บล็อกเกี่ยวกับห้องสมุด projectlib.wordpress.com ซึ่งเจ้าของบล็อกประกาศตัวว่าเป็นหนอนหนังสือเต็มขั้น…
กระแสต่างๆ นานา (หรือคำว่า ‘Trend' อันแสนจะฮิต) เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน นับตั้งแต่โลกเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ กระแสที่ว่ามีทั้ง แฟชั่น-เสื้อผ้า-ดนตรี-กีฬา-ภาพยนต์-บันเทิง-การเืมือง ฯลฯ ซึ่งมีอานุภาพมากพอที่จะโน้มน้าวจิตใจหรือกระตุ้น ‘ความอยาก' ที่จะอุปโภคบริโภคของคนส่วนใหญ่ได้ จึงมีการยอมรับให้ ‘เทรนด์' เหล่านี้เข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้อย่างง่ายดาย แต่ไปๆ มาๆ ดูเหมือนว่ามีคนอีกไม่น้อยที่ต้องการหลีกหนีไปให้พ้นกระแสความทันสมัย In ‘Trend' ที่แทบจะเปลี่ยนแปลงไปอยู่ทุกวัน ด้วยความที่มันสิ้นเปลือง เหนื่อยและไม่มีที่สิ้นสุดเสียทีอาจเป็นเพราะเหตุนี้ กลุ่มนักการตลาด,…
"น่าสนใจตรงที่ว่า เนื้อหาของเพลงที่ปรากฎใน fluxblog หลากหลายกว่าเรื่องของปัจเจกบุคคลหรืออารมณ์-ความรู้สึก แต่กินลึกไปถึงระดับจิตวิญญาณ มีการวิพากษ์วิจารณ์โครงสร้างที่มันยิ่งใหญ่กว่าเครือข่ายมนุษย์ ซึ่งเวียนว่ายอยู่ในสังคมเดิมๆ" 000อุตสาหกรรมเพลงกระแสหลัก ฝั่งอังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น หรือว่ายุโรป ฯลฯ ล้วนแข่งกันเติบโต ‘ทางกว้าง' มาสักพักใหญ่ๆ แต่ไม่ค่อยมีความคืบหน้าที่มันตื่นเต้นเร้าใจใน ‘เชิงลึก' มากนัก โปรดิวเซอร์ดนตรีที่เก่งๆ ส่วนใหญ่ก็รับหน้าที่ดูแลศิลปินมากมายจนกลิ่นอายทางดนตรีมันฟังซ้ำๆ ย่ำอยู่กับที่ ไม่ค่อยอิ่มรูหูนักฟังเพลงสักเท่าไหร่ แต่แล้วบล็อกโดนใจอย่าง fluxblog.org ก็บังเกิด!…
ถ้าใครยังจำนิทรรศการภาพถ่าย ที่จัดแสดงให้ดูกันแถวๆ สถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครเมื่อ 2-3 ปีก่อนได้ อาจรู้สึกถึงความเชื่อมโยงกันบางประการ ระหว่างชายในชุดสูทสีชมพูและกระแสพิ้งค์ๆ ที่กำลังจะเป็นที่นิยมต่อจากนี้ไปอีกเป็นปี