Skip to main content

นายยืนยง

25_7_01

ชื่อหนังสือ
: ผู้คนใกล้สูญพันธุ์

ผู้เขียน : องอาจ เดชา

ประเภท : สารคดี

จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ..2548


ได้อ่านงานเขียนสารคดีที่เป็นบทบันทึกช่วงชีวิตของอ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น ที่กลั่นร้อยจากความมุ่งมั่นขององอาจ เดชา นักเขียนสารคดีหนุ่มมือเอกแล้ว มีหลายความรู้สึกที่อยากเล่าสู่กันฟัง อีกทั้งทำให้อยากลุกมาเขียนจดหมายถึงคนต้นเรื่องคนนั้นด้วย


กล่าวถึงงานเขียนสารคดีสักครู่หนึ่งเถอะ...

สารคดีเป็นงานเขียนที่ดำรงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อมูลทุกรายละเอียดล้วนเคารพต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันงานเขียนสารคดีเล่ม ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ นี้ เป็นลักษณะกึ่งอัตชีวประวัติ เนื่องจากตัวคนต้นเรื่องไม่ได้ลงมือเขียนเอง หากแต่มีนักเขียนเข้ามาสำรวจ พินิจพิเคราะห์แง่มุมชีวิต เก็บเนื้อหารายละเอียดแล้วสังเคราะห์อย่างพิถีพิถัน เพื่อถ่ายทอดในมุมมองของนักเขียน เหมือนเป็นการส่งผ่านแง่มุมชีวิตของคนคนหนึ่ง ไปถึงผู้อ่านให้ร่วมรู้สึกกับไปสายธารชีวิต

จากเชื้อเจ้าล้านนา...สู่ขบถสามัญชน ฝีมือของ องอาจ เดชา ถ่ายทอดผ่านมุมมองที่ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาจะยกยอปอปั้นราวเชิดชูวีรบุรุษ ที่เราอาจได้ผ่านพบมาจนเคยชินแล้ว หากแต่เป็นมุมมองที่เป็นศิลปะมากกว่า แม้นแวบแรกเราจะเห็นพลังของงานเขียนเชิงโศกนาฏกรรมอยู่ในเนื้องานด้วย


หากชีวิตคือโศกนาฏกรรม เราคงต้องเพิ่มเติมลงไปด้วยว่า โศกนาฏกรรมคือความงามได้ด้วยเช่นกัน

แต่ความเศร้าโศกจะเป็นความงดงามได้อย่างไร ผู้อ่านเท่านั้นจะรู้สึกได้


ในสารคดีขนาดสั้นเรื่องนี้ องอาจ เดชา เลือกใช้ภาษาละเอียดละไมเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของ

อ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น ตัวเขาเอง และเสียงจากสังคมคนแวดล้อม


ค่ำนี้, อากาศขมุกขมัว แหงนเงยหน้ามองฟ้า...ฟ้าช่างดูหมองหม่นด้วยฝุ่นเมือง พลอยทำให้ความรู้สึกของเขานั้นเศร้าลึก ยิ่งยามลมหนาวฤดูพัดโชยผ่านเข้ามาเย็นยะเยียบ คล้ายเสียดแทงหัวใจให้ปวดแปลบ สีหน้าของเขายามนี้ดูกระวนกระวาย เหมือนกำลังครุ่นคิดลอยไปไกลแสนไกล...

(จากหน้า 61 )


ตัวละคร เขา คือ อ้ายแสงดาว ที่องอาจ เดชา เข้าไปร่วมผสานตัวตนแล้วกลั่นกรองออกมาเป็น

มโนภาพที่สามารถสะท้อนตัวตนของอ้ายแสงดาวออกมาอีกทีหนึ่ง เป็นกลวิธีการเขียนที่เสมือนได้ก้าวออกมาจากกฎเกณฑ์ของงานเขียนแบบสารคดี หากแต่ยังคงสุ้มเสียงของข้อเท็จจริงไว้ นักเขียนสารคดีที่ใช้วิธีการเขียนแบบนี้ ย่อมต้องอาศัยพลังและแรงบันดาลใจอย่างสูงสุด มิเช่นนั้น ผู้อ่านเองจะสัมผัสได้ถึงความขัดเขินบางอย่างที่ปรากฏอยู่ในงานนั้น


นอกจากนั้น องอาจ เดชา ยังใช้วิธีการแบ่งเนื้องานเป็นบทตอนสั้น ๆ เพื่อตรึงและหยุดผู้อ่านไว้ด้วยจังหวะของชีวิต มีการเปิดภาพตัวตนของอ้ายแสงดาวในตอนแรก เพื่อนำพาผู้อ่านก้าวไปสู่บทต่อไป


บทแรก
..ย้อนรอยอดีต เชื้อสายเจ้าล้านนา ที่เสริมข้อมูลของต้นตระกูลเจ้าศักดินาทางถิ่นภาคเหนือที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน ทั้งยังมีการเปรียบเปรยภาพธรรมชาติผสานเข้ามาเป็นระยะตลอดทั้งเรื่อง


เช่น หน้า
65

ไม่ว่าใบไม้ชราที่ร่วงซบผืนดิน หรือว่าใบไม้อ่อน ย่อมมีคุณค่าอยู่ตามห้วงจังหวะแห่งกาลเวลามิใช่หรือ

หรือตอน ห้วงฝันวัยเยาว์ ตอนวัยเรียน วัยมันกับความคึกคะนอง ตอน ชีวิต อุดมการณ์ และความรัก

ข้อดีของการแบ่งเนื้อหาเป็นบทตอนนั้น ทำให้งานเขียนชวนอ่านมากขึ้น มีจังหวะจะโคนที่ลงตัวเป็นทำนองเดียวกับช่วงชีวิต


นอกจากแง่มุมงดงามที่องอาจ เดชา เรียบเรียงไว้อย่างลงตัวแล้ว ภาษาของเขายิ่งชวนให้เนื้องานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หากใครได้อ่านคงต้องลงความเห็นไว้คล้ายกันว่า เป็นภาษาที่ประณีตนุ่มนวลยิ่ง งามดั่งบทกวี เช่นนั้นทีเดียว โดยเฉพาะการบรรยายความรู้สึก นึก คิด แล้วด้วย


สารคดีเรื่องนี้ องอาจ เดชาได้นำแง่มุม และรายละเอียดเล็ก ๆ เข้ามาเชื่อมโยงอย่างมีต้นสายปลายเหตุเพื่อนำเสนอภาพชีวิตที่เป็นเสมือนบทกวีของเขา ทั้งงดงามและเศร้า หม่นหมองในตัวเองแต่กลับจุดประกายให้ผู้คน

อย่างนี้นี่เอง ใครต่อใครจึงพากัน รัก เขา อ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น กวีเพื่อมวลประชา


ว่ากันว่า เฉพาะช่วงปี 2523 2528 เขาเขียนจดหมายวันละ 7 8 ฉบับ ประมาณ 200 กว่าฉบับต่อเดือน ทำไม แสงดาว ศรัทธามั่น ถึงต้องเขียนจดหมาย และทุกครั้ง ที่เขากำลังขีดเขียนถึงใครอยู่นั้น เขามีความรู้สึกเช่นไร...ผมมิอาจล่วงรู้ได้

(จากหน้า 106 )


แดดลับดอยสุเทพไปนานแล้วทางทิศตะวันตก (หน้า 61)

โลกค่อยทยอยหม่นมืดเป็นละอองกลางคืนคล้ายกำลังซุกหน้าพักผ่อน ฉันคิดถึงวันเวลาที่กำลังเคลื่อนไหวในเรา


อ้ายแสงดาวที่นับถือ


ที่นี่ลมฝนฤดูเข้าพรรษาเย็นชื่นใจเหลือเกิน หยาดน้ำจากฟ้าช่างละเอียดอ่อนเหมือนเจ้าพัดมาจากที่แสนไกล สูงขึ้นไปนั่น หรือเจ้ามาจากสรวงสวรรค์กันหนอ


ฉันคงคิดไกลเกินไปแล้ว เพราะต่อให้สรวงสรรค์ชั้นฟ้าบันดาลฝนวิเศษให้เราได้ทุกฤดู เราก็ยังไม่รักกันอยู่นั่นเอง และถ้าเราไม่รักกันแล้ว ความเข้าใจจะเกิดขึ้นได้อีกหรือ แม้แผ่นดินจะแบ่งแยกเป็นกี่ล้านเสี่ยง

เราก็ไม่อาจเคารพกันได้ ประเทศนี้เป็นอะไรไป ใครกันที่พัดพาตะกอนความโกรธแค้นมาขังนิ่งอยู่ที่นี่

นายคนนั้นที่นั่งบื้อเป็นนายกแห่งชาติ บรรดาผู้ปกครองผู้เสพเลือดเนื้อของประชาชนเป็นภักษาหาร

นายนักวิชาการผู้สวมวิญญาณเทพยดาแห่งสากลโลก หรือบรรดาประชาชนผู้ยินยอมถูกบงการและบังคับให้เง่า ง่อยและหมดสิ้นชีวิต ใครกันหนอ


อ้ายแสงดาว กวีของประชาชนอยู่ที่ไหน เขายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เปล่าเลย เราไม่ต้องการฟังบทกวีที่พวกเขาอ่านบนเวที เราไม่ต้องการอ่านบทกวีของเขาที่บรรยายชีวิตพวกเราอย่างกล้องดิจิตอลถ่ายภาพทิวทัศน์ เราไม่ต้องการให้พวกเขาขับกล่อม ปลอบประโลมเหมือนอย่างเราเป็นคนบ้องตื้น เราไม่ต้องการ..

จะมีก็แต่กวีของประชาชนที่แท้เท่านั้นจะรู้ว่า เราและพวกเขาก็คือประชาชนโดยเท่าเทียม


ที่นี่..และที่ไหนในประเทศนี้ เราต่างย่ำอยู่ ย่ำอาศัยด้วยความอาดูรสูญสิ้นแล้ว

แม้เราจะเศร้าลึกเพียงไร แม้เราจะหดหู่อ้างว้างเช่นดั่งไม้ประดับในกระถางพลาสติกที่วางอยู่... เพียงไร

เราก็ไม่อาจหลงลืมซึ่งกันและกัน เราไม่อาจแสร้งเผลอลืมไปได้ว่า ลมหายใจของพวกเราล้วนซึมซาบอยู่หลอมรวมอยู่ระหว่างกัน เป็นดั่งพืชพันธุ์ไม้ที่ต่างเติบกล้าขึ้นบนผืนแผ่นดินนี้ ขณะที่ไฟป่ากำลังไหม้ลาม ค่อยลุกโพลงขึ้นในม่านแดน ยามย่ำค่ำคืนนั้น มันก็ซาลงด้วยลมหายใจของเรา และเช้าวันใหม่กับดวงอาทิตย์ฤดูหมุนเปลี่ยน ไฟก็ลุกโชนขึ้นอีกครั้ง อ้ายแสงดาว เราต่างเป็นพันธุ์ไม้ในป่าที่กำลังจะถูกเปลวเพลิงหักโค่นลงใช่หรือไม่...


รากเหง้าของเรากำลังถูกขุดขึ้นมา ดึงออกมาจากใต้ดิน ถูกชะล้าง ขัดสีเก่าออก แล้วค่อยนำมาอวดขาย

ความสงบเสงี่ยม ความรักสงบของเรากำลังถูกราดด้วยน้ำมันและเปลวเพลิงจากไม้ขีดก้านเดียวในมือเหล่าเด็ก ๆ ที่เล่นขายของในสภา

ศักดิ์ศรีของเราที่วางอยู่บนหน้าผาก ถูกคนรักชาติที่หน้าผากถ่มน้ำลายรด

เราไม่สามารถจะบำเพ็ญกรณียะกิจแห่งชีวิตปกติของเราได้เลย

ถ้าหากว่า เราจะปล่อยทุกอย่างให้ไหลสู่กระแสธารมฤตยูนั้น

เราจะคลางแคลงใจไหมว่า เรายังคงเป็นสิ่งมีชีวิต


อ้ายแสงดาว ที่นับถือ

โปรดทักทายเราด้วยคำว่า บุญฮักษา เถิด

ยังจำได้ไหมว่า โอลิเวอร์ ทวิสต์ ผู้กำพร้าในโรงเลี้ยงเด็กรู้สึกเช่นไรจึงกล้าพูดออกไปว่า

I want some more… ”

………………........…………….


บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ถ้าเปรียบสวนหนังสือเหมือนผืนดินแห่งหนึ่งแล้วล่ะก็ ผู้เขียนเองก็ได้แสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ จากการอ่านผลงานทางวรรณกรรมของบรรดานักประพันธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะรูปแบบเรื่องสั้น นวนิยาย หรือกระทั่งกวีนิพนธ์บางเล่ม ข้อเขียนที่มีต่อหนังสือบางเล่มหรือเรื่องบางเรื่อง อาจแบ่งเป็นผลรับตามสูตรคณิตศาสตร์ได้ไม่ชัดเจน ใช้หลักต้องใจต้องอารมณ์และความนึกหวังเป็นหลักก็ว่าได้
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก ผู้เขียน : กลุ่มจิตวิวัฒน์ ประเภท : ความเรียง พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน  
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ           :           ชะบน ผู้เขียน               :           ธีระยุทธ  ดาวจันทึก ประเภท              :           นวนิยาย   พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2537 จัดพิมพ์โดย        :    …
สวนหนังสือ
นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มนุษย์หมาป่า ผู้แต่ง : เจน ไรซ์ ผู้แปล : แดนอรัญ แสงทอง จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์หนึ่ง พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : บันทึกนกไขลาน (The Wind-up Bird Chronicle) ผู้เขียน : ฮารูกิ มูราคามิ (Haruki Murakami) ผู้แปล : นพดล เวชสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แม่ไก่ขยัน   “หนูอยาก...อยากจะได้มีดผ่าตัดสักเล่ม หนูจะกรีดผ่า ชะโงกหน้าเข้าไปมองข้างใน ไม่ใช่ผ่าศพคนนะ... แค่ก้อนเนื้อแห่งความตาย หนูแน่ใจว่าจะต้องมีอะไรสักอย่างซ่อนอยู่ในนั้น ก้อนกลมเหนียวหยุ่นเหมือนลูกซอฟต์บอล แก่นกลางแข็งเป็นเส้นประสาทพันขดแน่น หนูอยากหยิบออกมาจากร่างคนตาย เอาก้อนนั้นมาผ่าดู อยากรู้ว่าเป็นอะไรกันแน่... (ภาคหนึ่ง, หน้า 36)
สวนหนังสือ
นายยืนยง  เมื่อวานนี้เอง ฉันเพิ่งถามตัวเองอย่างจริงจัง แบบไม่อิงค่านิยมใด ๆ ถามออกมาจากตัวของความรู้สึกอันแท้จริง ณ เวลานี้ว่า ทำไมฉันชอบอ่านวรรณกรรมมากที่สุดในบรรดาหนังสือทั้งหลาย คุณเคยถามตัวเองด้วยคำถามเดียวกันนี้หรือเปล่า
สวนหนังสือ
นายยืนยง ฉันวาดหวังสวยหรูไว้กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงบนผืนดินห้าไร่เศษ ที่ดินผืนสวยซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยปัจจัยแห่งกสิกรรม มีไม้ใหญ่ให้ร่มเงา มีบ่อน้ำขนาดใหญ่สองบ่อ และกระท่อมน้อยบนเนินเตี้ย ๆ รายล้อมไปด้วยทุ่งข้าวเขียวขจี แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน มายาแห่งหวังก็พังทลายลงต่อหน้าต่อตา ฉันจำเก็บข่มความขมขื่นไว้กับชีวิตใหม่ ในที่พำนักใหม่ ซึ่งไม่ใช่ผืนดินแห่งนี้
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ  : ความมั่งคั่งปฏิวัติ Revolutionary Wealth ผู้เขียน  : Alvin Toffler, Heidi Toffler ผู้แปล  : สฤณี  อาชวานันทกุล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน   พิมพ์ครั้งที่ 2  มกราคม  2552
สวนหนังสือ
  และแล้วรางวัลซีไรต์ปี 2552 รอบของนวนิยายก็ประกาศผลแล้ว ปรากฏเป็นผลงานนวนิยายเรื่อง ลับแลแก่งคอย ของอุทิศ เหมะมูล โดยแพรวสำนักพิมพ์เป็นผู้จัดพิมพ์ (ประกาศผลเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา)ใครเชียร์เล่มนี้ก็ได้ไชโยกัน ฉันเองก็มีเล่มนี้เป็นหนึ่งในหลายเล่มด้วย รู้สึกสะใจลึก ๆ ที่อุทิศได้ซีไรต์ เนื่องจากเคยเชื่อว่า งานดี ๆ อย่างที่ใจเราคิดมักพลาดซีไรต์เป็นเนืองนิตย์ ผิดกับคราวนี้ที่งานดี ๆ ของนักเขียน "อย่างอุทิศ" ได้รางวัล
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ           :           นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย ผู้แต่ง                 :           วิสุทธิ์ ขาวเนียม ประเภท              :           กวีนิพนธ์รางวัลนายอินทร์อะวอร์ดครั้งที่ 10 จัดพิมพ์โดย        : …
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ลับแล, แก่งคอยผู้แต่ง : อุทิศ เหมะมูลประเภท : นวนิยายจัดพิมพ์โดย : แพรวสำนักพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก 2552
สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประเทศใต้ผู้เขียน : ชาคริต โภชะเรืองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ก๊วนปาร์ตี้ ข้อเด่นอย่างแรกที่เห็นได้ชัดจากนวนิยายเรื่องประเทศใต้ หนึ่งในผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปีนี้ คือ วิธีการดำเนินเรื่องที่กระโดดข้าม สลับกลับไปมา อย่างไม่อาจระบุว่าใช้รูปแบบความสัมพันธ์ใด ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง หรืออย่างที่สกุล บุณยทัต เรียกในบทวิจารณ์ว่า "ไร้ระเบียบ" แต่อย่าลืมว่านวนิยายเรื่องนี้ได้เริ่มต้นที่ "ชื่อ" ของนวนิยาย ซึ่งในบทนำได้บอกไว้ว่า "ผม" ได้รับต้นฉบับนวนิยายเรื่องหนึ่งจาก "เขา" ในฐานะที่เป็นคนรู้จักกัน มันมีชื่อเรื่องว่า…