Skip to main content

โดย ‘นายยืนยง’

book

ชื่อหนังสือ      :    ภาพเหมือน  ( The Portrait )
ประเภท    :        วรรณกรรมแปล
จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ คมบาง
พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    ตุลาคม ๒๕๔๔
ผู้เขียน        :    นิโคไล  โกโกล
ผู้แปล        :    ดลสิทธิ์  บางคมบาง   
จากต้นฉบับภาษาอังกฤษของ  CHRISTOPHER  ENGLISH

 

หากเคยจ้องมองเข้าไปในดวงตาที่เปล่งประกายของชีวิตจากภาพเหมือน คุณอาจจะได้สัมผัสกับบุคลิกภาพของคนในภาพนั้น แต่กับ “ภาพเหมือน” รหัสคดีเล่มบางของนิโคไล โกโกล  นอกจากจะขนพองสยองเกล้าไปกับลูกนัยน์ตาอันน่าสะอิดสะเอียดของชายแก่ร่างโทรมเซียว ที่จ้องเขม็งกลับมายังดวงตาของคุณแล้ว  มันอาจปลุกสัญชาติญาณที่ซ่อนลึกอยู่ในซอกหลืบหัวใจคุณได้อย่างง่ายดาย แม้เพียงเสี้ยวสัมผัส  ราวกับมันเป็นซาตานที่โผล่ออกมาจากขุมนรก เพื่อฉุกกระชากตัวตนของคุณออกไปจากชะตากรรมอันสามัญที่เคยเป็นอยู่...

ใครก็ตามที่ครอบครองภาพเหมือนนั้นไว้ ล้วนประสบชะตากรรมอันน่าสังเวช... เริ่มตั้งแต่ศิลปินไส้แห้งที่กำลังจะถูกตะเพิดออกจากห้องเช่าโกโรโกโส เมื่อเขานำภาพเหมือนนี้เข้ามาในห้อง  ชีวิตก็เปลี่ยนดั่งพลิกฝ่ามือ ไม่ใช่แค่สถานภาพภายนอก แต่ในส่วนลึกของจิตใจ เขาก็เป็นคนใหม่  จวบกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่ามันน่าสมเพทเพียงใด

นิโคไล  โกโกล เขียนวรรณกรรมเล่มนี้ขึ้นราวกับเพื่อประกาศให้โลกศิลปะได้ตระหนักว่า  ผลสะท้อนจากงานศิลป์แต่ละชิ้นนั้น เป็นสิ่งที่ศิลปินควรจริงจังและรอบคอบยิ่ง เสมือนหนึ่งว่างานศิลปะนั้น เปี่ยมด้วยพลังบางอย่างของศิลปินที่ถ่ายทอด ถั่งเทออกมาจากจิตวิญญาณ ใส่ลงไปในงานศิลป์นั้น หากแต่พลังอันนั้นมิได้สิ้นสุดลง ณ จุดสมบูรณ์ของผลงานเท่านั้น เพราะพลังลึกลับดังกล่าวยังคงดำรงอยู่ เมื่อมีผู้คนได้สัมผัสกับมัน พลังนั้นก็กลับสำแดงอำนาจอีกครั้ง โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นอำนาจด้านดีหรือชั่วร้ายประการใด

จากโครงสร้างของวรรณกรรมรัสเซียเรื่องนี้  องค์ประกอบที่สำคัญยิ่งก็คือตัวละคร ซึ่งล้วนโดดเด่นเป็นพิเศษ ในด้านที่โกโกลได้สร้างให้เห็นถึงการพัฒนาของแต่ละตัวละครอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้น พลิกผัน และจบนิ่งลง เช่น ศิลปินหนุ่มชาร์ทคอฟผู้สะดุดตากับภาพเหมือนที่มีดวงตาลึกลับดึงดูดใจอย่างประหลาด ขณะความสับสนในชีวิตศิลปินผู้แร้นแค้น และทัศนคติเรื่องศิลปะสองขั้วที่ยื้อเขาไว้จนเลือกไม่ถูกว่าจะตัดสินใจไปทางใดแน่ กระทั่งภาพเหมือนของชายแก่เหมือนคนซมพิษไข้นั้นได้เปลี่ยนเขาเป็นศิลปินผู้รุ่มรวยรสนิยม มั่งคั่งและมีชื่อเสียงในชั่วพริบตา แต่สุดท้ายชีวิตเขาก็ต้องจบสิ้นเมื่อถูกหลอกหลอนจากคู่ดวงตาน่ากลัวในภาพนั้น  ดังหน้า ๕๒

ภาพเหมือนนี้เองที่เป็นเหตุทำให้เกิดการลอกคราบขึ้นกับตัวเขา โชคอันเขาได้รับมาอย่างน่าอัศจรรย์นั่นแหละที่ชักพาให้เขาหลงทางไปกับการไข่วคว้าอันเปล่าไร้ทั้งปวง และจึงทำลายพรสามารถของเขาจนสิ้น

อีกตัวละครคือ ศิลปินผู้สร้างภาพเหมือนนั้นขึ้นมาเมื่อถูกว่าจ้างจากชายชราประหลาด เจ้าของกิจการปล่อยเงินกู้ที่เต็มไปด้วยรัศมีแห่งความน่าประหวั่นพรั่นพรึง  เมื่อนั้นชีวิตอันเรียบง่ายของเขาก็เปลี่ยนไป ขณะที่ศิลปินหนุ่มชาร์ทคอฟไม่อาจเอาชนะอำนาจเหนือภาพเหมือนนั้นได้ แต่ศิลปินผู้สร้างมันขึ้นมาสามารถรับมือ ต่อต้านทำลายอำนาจชั่วร้ายนั้นออกไปจากตัวเขาได้สำเร็จ

ขณะพัฒนาการของแต่ละตัวละครเป็นเรื่องที่น่าศึกษายิ่ง ภาพเหมือนเต็มไปด้วยทัศนคติในด้านศิลปะอันละเอียดลึกซึ้ง และเต็มไปด้วยอารมณ์แห่งชีวิตในแบบฉบับของจิตวิญญาณชาวรัสเซีย ซึ่งจะเห็นได้จากวรรณกรรมแทบทุกเล่มของประเทศนี้ ดังหน้า ๔๕

ชื่อเสียงไม่อาจให้ความพึงใจยินดีได้กับคนผู้มาสู่มันโดยไม่สุจริต โดยไม่พึงได้รับ มันก่อความตื่นเร้าได้อย่างสืบเนื่องก็แต่กับคนผู้ควรค่ากับมัน   

สิ่งสำคัญยิ่งที่ต้องกล่าวถึงคือสำนวนการถ่ายทอดของดลสิทธิ์ บางคมบาง  ที่พยายามรักษารูปประโยคความอันซับซ้อนไว้ และคงเอกลักษณ์ลีลาตามต้นฉบับเดิม ด้วยภาษาไทยที่ชัดถ้อยชัดคำ กระชับ และเต็มด้วยชีวิตชีวา หากแต่เราจะไม่อาจละสายตาจากอารมณ์ที่เกี่ยวโยงของตัวละครได้เลยแม้สักนาทีเดียว กระทั่งในจุดพลิกผันสำคัญของภาคหนึ่ง ซึ่งได้ทิ้งน้ำหนักลงอย่างเจ็บปวดแม้นในอักษรตัวสุดท้าย  

ผู้แปลยังได้เกริ่นนำไว้ว่า  “ภาพเหมือน” เป็นเสมือนงานที่โกโกลมองเข้าไปในงานของตัวเอง เขาทำมันออกมาได้ดีอย่างถึงขนาดของความเหมือน  ฯลฯ

แม้รายละเอียดที่สำคัญอื่นจะไม่ได้ถูกกล่าวถึง ณ ที่นี้  แต่สำหรับผู้ที่ทำงานศิลปะทั้งหลายน่าจะหาโอกาสหยิบภาพเหมือนเล่มนี้มาอ่าน ไม่แน่ว่าชั่วเวลาเพียงคืนเดียวที่คุณได้อยู่กับมัน ชีวิตของคุณอาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปก็เป็นได้.

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ถ้าเปรียบสวนหนังสือเหมือนผืนดินแห่งหนึ่งแล้วล่ะก็ ผู้เขียนเองก็ได้แสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ จากการอ่านผลงานทางวรรณกรรมของบรรดานักประพันธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะรูปแบบเรื่องสั้น นวนิยาย หรือกระทั่งกวีนิพนธ์บางเล่ม ข้อเขียนที่มีต่อหนังสือบางเล่มหรือเรื่องบางเรื่อง อาจแบ่งเป็นผลรับตามสูตรคณิตศาสตร์ได้ไม่ชัดเจน ใช้หลักต้องใจต้องอารมณ์และความนึกหวังเป็นหลักก็ว่าได้
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก ผู้เขียน : กลุ่มจิตวิวัฒน์ ประเภท : ความเรียง พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน  
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ           :           ชะบน ผู้เขียน               :           ธีระยุทธ  ดาวจันทึก ประเภท              :           นวนิยาย   พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2537 จัดพิมพ์โดย        :    …
สวนหนังสือ
นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มนุษย์หมาป่า ผู้แต่ง : เจน ไรซ์ ผู้แปล : แดนอรัญ แสงทอง จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์หนึ่ง พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : บันทึกนกไขลาน (The Wind-up Bird Chronicle) ผู้เขียน : ฮารูกิ มูราคามิ (Haruki Murakami) ผู้แปล : นพดล เวชสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แม่ไก่ขยัน   “หนูอยาก...อยากจะได้มีดผ่าตัดสักเล่ม หนูจะกรีดผ่า ชะโงกหน้าเข้าไปมองข้างใน ไม่ใช่ผ่าศพคนนะ... แค่ก้อนเนื้อแห่งความตาย หนูแน่ใจว่าจะต้องมีอะไรสักอย่างซ่อนอยู่ในนั้น ก้อนกลมเหนียวหยุ่นเหมือนลูกซอฟต์บอล แก่นกลางแข็งเป็นเส้นประสาทพันขดแน่น หนูอยากหยิบออกมาจากร่างคนตาย เอาก้อนนั้นมาผ่าดู อยากรู้ว่าเป็นอะไรกันแน่... (ภาคหนึ่ง, หน้า 36)
สวนหนังสือ
นายยืนยง  เมื่อวานนี้เอง ฉันเพิ่งถามตัวเองอย่างจริงจัง แบบไม่อิงค่านิยมใด ๆ ถามออกมาจากตัวของความรู้สึกอันแท้จริง ณ เวลานี้ว่า ทำไมฉันชอบอ่านวรรณกรรมมากที่สุดในบรรดาหนังสือทั้งหลาย คุณเคยถามตัวเองด้วยคำถามเดียวกันนี้หรือเปล่า
สวนหนังสือ
นายยืนยง ฉันวาดหวังสวยหรูไว้กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงบนผืนดินห้าไร่เศษ ที่ดินผืนสวยซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยปัจจัยแห่งกสิกรรม มีไม้ใหญ่ให้ร่มเงา มีบ่อน้ำขนาดใหญ่สองบ่อ และกระท่อมน้อยบนเนินเตี้ย ๆ รายล้อมไปด้วยทุ่งข้าวเขียวขจี แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน มายาแห่งหวังก็พังทลายลงต่อหน้าต่อตา ฉันจำเก็บข่มความขมขื่นไว้กับชีวิตใหม่ ในที่พำนักใหม่ ซึ่งไม่ใช่ผืนดินแห่งนี้
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ  : ความมั่งคั่งปฏิวัติ Revolutionary Wealth ผู้เขียน  : Alvin Toffler, Heidi Toffler ผู้แปล  : สฤณี  อาชวานันทกุล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน   พิมพ์ครั้งที่ 2  มกราคม  2552
สวนหนังสือ
  และแล้วรางวัลซีไรต์ปี 2552 รอบของนวนิยายก็ประกาศผลแล้ว ปรากฏเป็นผลงานนวนิยายเรื่อง ลับแลแก่งคอย ของอุทิศ เหมะมูล โดยแพรวสำนักพิมพ์เป็นผู้จัดพิมพ์ (ประกาศผลเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา)ใครเชียร์เล่มนี้ก็ได้ไชโยกัน ฉันเองก็มีเล่มนี้เป็นหนึ่งในหลายเล่มด้วย รู้สึกสะใจลึก ๆ ที่อุทิศได้ซีไรต์ เนื่องจากเคยเชื่อว่า งานดี ๆ อย่างที่ใจเราคิดมักพลาดซีไรต์เป็นเนืองนิตย์ ผิดกับคราวนี้ที่งานดี ๆ ของนักเขียน "อย่างอุทิศ" ได้รางวัล
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ           :           นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย ผู้แต่ง                 :           วิสุทธิ์ ขาวเนียม ประเภท              :           กวีนิพนธ์รางวัลนายอินทร์อะวอร์ดครั้งที่ 10 จัดพิมพ์โดย        : …
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ลับแล, แก่งคอยผู้แต่ง : อุทิศ เหมะมูลประเภท : นวนิยายจัดพิมพ์โดย : แพรวสำนักพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก 2552
สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประเทศใต้ผู้เขียน : ชาคริต โภชะเรืองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ก๊วนปาร์ตี้ ข้อเด่นอย่างแรกที่เห็นได้ชัดจากนวนิยายเรื่องประเทศใต้ หนึ่งในผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปีนี้ คือ วิธีการดำเนินเรื่องที่กระโดดข้าม สลับกลับไปมา อย่างไม่อาจระบุว่าใช้รูปแบบความสัมพันธ์ใด ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง หรืออย่างที่สกุล บุณยทัต เรียกในบทวิจารณ์ว่า "ไร้ระเบียบ" แต่อย่าลืมว่านวนิยายเรื่องนี้ได้เริ่มต้นที่ "ชื่อ" ของนวนิยาย ซึ่งในบทนำได้บอกไว้ว่า "ผม" ได้รับต้นฉบับนวนิยายเรื่องหนึ่งจาก "เขา" ในฐานะที่เป็นคนรู้จักกัน มันมีชื่อเรื่องว่า…