Skip to main content

ชื่อหนังสือ : ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา

                 Ageless Body, Timeless Mind

เขียน : โชปรา ดีปัก

แปล : เรืองชัย รักศรีอักษร

พิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2551

 

แสนกว่าปีมาแล้วที่มนุษย์พัฒนากายภาพมาถึงขีดสุด ต่อนี้ไปการพัฒนาทางจิตจะต้องก้าวล้ำ มีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงวิธีการพัฒนาทักษะทางจิต เพื่อให้อำนาจของจิตนั้นบันดาลถึงความมหัศจรรย์แห่งชีวิต หนึ่งในนั้นมีหนังสือที่กล่าวอย่างจริงจังถึงอายุขัยของมนุษย์ ว่าด้วยกระบวนการรังสรรค์ชีวิตให้ยืนยาว


เล่มนี้เป็นหนังสือขายดีที่เขียนโดยนายแพทย์หนุ่มชาวอินเดียนาม โชปรา ดีปัก ผู้ยืนยันว่า

มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวเกินกว่า 100 ปี


ก่อนอื่นเราควรระงับคำถามที่ว่า เราอยากจะมีอายุยืนยาวไปทำไมกันเสียก่อน


หมอโชปรา ดีปัก เรียนจบแพทย์จากอินเดียแล้วย้ายไปต่อที่สหรัฐฯ ศึกษาวิชาโรคภายใน endocrinology เขาไม่เลื่อมใสการใช้ยาอย่างแพทย์แผนปัจจุบันทั่วไป แต่สนใจศึกษาอายุรเวทอย่างจริงจัง โลกทัศน์เช่นนี้ทำให้เขาค้นพบ “หลักสูตร” อันจะนำพาเราไปสู่ดินแดนที่ไม่มีผู้ใดแก่เฒ่า


ในหนังสือเล่มนี้ หมอโชปราได้จับกระบวนทัศน์ของควอนตัมมาผสมเข้ากับวิถีอย่างโยคีอินเดีย


โดยจับไปที่สาเหตุแท้จริงของความชรา นั่นคือ “วิธีคิด” ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา และที่สำคัญที่สุด ตัวเรานั่นเองที่จะเป็นผู้กีดขวางไม่ใช่ตัวเราก้าวไปสู่ดินแดนแห่งนี้


เคยสงสัยไหมว่า จินตนาการของเรามาจากไหน


เป็นไปได้ไหม จินตนาการคือรูปแบบหนึ่งของเชาวน์ปัญญา ซึ่งแฝงอยู่ภายในจิตใต้สำนึก และถูกส่งผ่านจากบรรพบุรุษรุ่นแล้วรุ่นเล่านับแต่บรรพกาล มาถึงรุ่นลูกหลานในรูปของรหัสทางพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ


นักพันธุกรรมศาสตร์ได้วางเชาวน์ปัญญาไว้เป็นอันดับแรกภายในดีเอ็นเอ ขณะที่อินเดีย กระแสของเชาวน์ปัญญานี้เรียกว่า ปราณ Pran แปลว่า พลังชีวิต สามารถเพิ่มหรือลดลงได้ตามเจตจำนง ส่วนแพทย์แผนปัจจุบันบอกว่าสารเคมีจะเดินทางไปพร้อมกับความคิด เช่น ทำไมหญิงที่เพิ่งเป็นม่ายจึงมีแนวโน้มเกิดมะเร็งเต้มนมมากกว่าหญิงอื่นถึง 2 เท่า


ดังนั้น “ตัวตน” ของเรา จึงประกอบด้วยกระแสเชาวน์ปัญญาและวิธีคิด มันกำหนดและกะเกณฑ์ทุกสิ่ง

ทั้งที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว


หากเราคิดและเชื่อว่า ร่างกายแยกออกจากจิตใจ เชื่อว่าเราเป็นเครื่องจักรทางกายภาพที่รู้จักคิด

คำว่า เครื่องจักร ย่อมแสดงให้เห็นความเสื่อมถอยหรือชราภาพในวาระหนึ่งด้วย หากเราเป็นเชลยของความสัมบูรณ์ (เวลาเป็นสิ่งสัมบูรณ์) ไม่มีใครรอดพ้นจากการทำลายล้างของเวลาได้ เชื่อว่าความทุกข์ทรมานเป็นสิ่งจำเป็น เราไม่หลีกเลี่ยงได้ …

หากเราเป็นเช่นนั้น ดินแดนที่ไม่มีผู้ใดแก่เฒ่าจะไม่มีวันถูกค้นพบ


ซึ่งเท่ากับ กระแสเชาวน์ปัญญาในรูปแบบของจินตนาการ อันเป็นพลังชีวิตของเรา ถูกวิธีคิดสะกดให้ตายด้าน ยิ่งเฉพาะกับยุคสมัยที่ สังคมมนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวาทกรรมนับร้อยพัน เช่นนี้


เมื่อเราถูกสะกดจิตจากวาทกรรมเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ วิธีคิดของเราจะเต็มไปด้วยข้อจำกัดและขอบเขตอันยุ่งเหยิงและซับซ้อน จินตนาการของเรากลายเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน ไร้สาระ นั่นเท่ากับว่า มนุษย์ได้ปิดประตูชีวิตของตนแล้ว


เราจะก้าวต่อไปได้อย่างไร



เริ่มแรกมนุษย์ได้ตัดแบ่งความเป็นนิรันดร์ออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (วินาที นาที ชั่วโมง)


ศาสตร์ทุกแขนงต่างตั้งข้อสันนิษฐานขึ้นมาตีกรอบสนามชีวิตของเรา พร้อมกับปฏิเสธความกว้างอย่างไร้ขอบเขตของชีวิตด้วย และเราต่างย่ำวนอยู่ในข้อสันนิษฐานเหล่านี้อย่างไม่ลืมหูลืมตา กระทั่งหลงลืมศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง และกระทั่งควอนตัมฟิสิกส์ได้นำพาเราไปทำความรู้จักกับจิตวิญญาณให้มากกว่าความเหลวไหลไร้สาระ ไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

ต่อแต่นี้ไป วิทยาศาสตร์ยุคนี้จะไม่ใช่การค้นพบอย่างเป็นเอกเทศอีกแล้ว แต่จะเป็นการค้นพบซึ่งโลกทัศน์ใหม่


ทุกโลกทัศน์รังสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น

ประสบการณ์ของเราที่มีต่อเวลามีผลโดยตรงต่อการทำงานของนาฬิกาชีวิตของเรา ถ้ารู้สึกว่าเวลากำลังจะหมดไป นาฬิกาชีวภาพของเราจะเดินเร็วขึ้น ถ้าเรามีเวลาทั้งหมดในโลก นาฬิกาชีวภาพของเราจะหยุดเดิน ดังนั้นโลกทัศน์ที่มีต่อเวลาหรือต่อโลก ย่อมสร้างตัวตนของเราขึ้น

โดยให้ชีวิตเป็นได้ทั้งมีข้อจำกัดและเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ของเรา


หมอโชปราเชื่อว่า จิตวิญญาณเป็นอาณาจักรของจิตสำนึกของเราซึ่งไร้เวลา เวลาเป็นความต่อเนื่องของความทรงจำ ซึ่งใช้อีโก้เป็นจุดอ้างอิงภายใน เมื่อเราหลุดพ้นจากอีโก้ของเราเข้าสู่ปริมณฑลของจิตวิญญาณ เราจะทำลายเครื่องกีดขวางของเวลา ถึงที่สุดแล้ว ทั้งคุณภาพและปริมาณของชีวิตจะขึ้นอยู่กับความเข้าใจของเราที่มีต่อความเป็นเอกลักษณ์ ถ้าเรามีความหมายและจุดหมายในชีวิตและเอกลักษณ์ของเราไม่ผูกติดกับ “อีโก้” ที่ห่อหุ้มด้วยผิวนอก จะทำให้ทั้งคุณภาพและปริมาณของชีวิตดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ


กล่าวได้ว่า หมอโชปราเชื่อว่า โลกและวิญญาณเป็นของเที่ยง ไม่เสื่อมสูญ เป็นสัสตทิฏฐิในทางพุทธศาสนา ดังนั้นจึงเป็นการแย้งกับหลักพุทธธรรม แต่จะขัดแย้งจริงหรือไม่ เราควรมองให้ลึกลงไปถึงกุศโลบายแห่งพุทธรรมอีกด้วย


ฉะนั้นแล้วคำถามที่ว่า เราอยากจะมีอายุยืนยาวไปทำไมกัน นั้น อาจมีคำตอบอยู่ในบัญญัติแห่งพุทธธรรม เพราะบางครั้งเราอาจไม่ได้อยากมีอายุยืนยาวหรอก เราเพียงแค่อยากเป็นชีวิตที่มีชีวิต ไม่ใช่ชีวิตที่ตายแล้วทั้งเป็น.

 

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ถ้าเปรียบสวนหนังสือเหมือนผืนดินแห่งหนึ่งแล้วล่ะก็ ผู้เขียนเองก็ได้แสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ จากการอ่านผลงานทางวรรณกรรมของบรรดานักประพันธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะรูปแบบเรื่องสั้น นวนิยาย หรือกระทั่งกวีนิพนธ์บางเล่ม ข้อเขียนที่มีต่อหนังสือบางเล่มหรือเรื่องบางเรื่อง อาจแบ่งเป็นผลรับตามสูตรคณิตศาสตร์ได้ไม่ชัดเจน ใช้หลักต้องใจต้องอารมณ์และความนึกหวังเป็นหลักก็ว่าได้
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : จักรวาลผลัดใบ การเกิดใหม่ของจิตสำนึก ผู้เขียน : กลุ่มจิตวิวัฒน์ ประเภท : ความเรียง พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน  
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ           :           ชะบน ผู้เขียน               :           ธีระยุทธ  ดาวจันทึก ประเภท              :           นวนิยาย   พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2537 จัดพิมพ์โดย        :    …
สวนหนังสือ
นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มนุษย์หมาป่า ผู้แต่ง : เจน ไรซ์ ผู้แปล : แดนอรัญ แสงทอง จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์หนึ่ง พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : บันทึกนกไขลาน (The Wind-up Bird Chronicle) ผู้เขียน : ฮารูกิ มูราคามิ (Haruki Murakami) ผู้แปล : นพดล เวชสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แม่ไก่ขยัน   “หนูอยาก...อยากจะได้มีดผ่าตัดสักเล่ม หนูจะกรีดผ่า ชะโงกหน้าเข้าไปมองข้างใน ไม่ใช่ผ่าศพคนนะ... แค่ก้อนเนื้อแห่งความตาย หนูแน่ใจว่าจะต้องมีอะไรสักอย่างซ่อนอยู่ในนั้น ก้อนกลมเหนียวหยุ่นเหมือนลูกซอฟต์บอล แก่นกลางแข็งเป็นเส้นประสาทพันขดแน่น หนูอยากหยิบออกมาจากร่างคนตาย เอาก้อนนั้นมาผ่าดู อยากรู้ว่าเป็นอะไรกันแน่... (ภาคหนึ่ง, หน้า 36)
สวนหนังสือ
นายยืนยง  เมื่อวานนี้เอง ฉันเพิ่งถามตัวเองอย่างจริงจัง แบบไม่อิงค่านิยมใด ๆ ถามออกมาจากตัวของความรู้สึกอันแท้จริง ณ เวลานี้ว่า ทำไมฉันชอบอ่านวรรณกรรมมากที่สุดในบรรดาหนังสือทั้งหลาย คุณเคยถามตัวเองด้วยคำถามเดียวกันนี้หรือเปล่า
สวนหนังสือ
นายยืนยง ฉันวาดหวังสวยหรูไว้กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงบนผืนดินห้าไร่เศษ ที่ดินผืนสวยซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยปัจจัยแห่งกสิกรรม มีไม้ใหญ่ให้ร่มเงา มีบ่อน้ำขนาดใหญ่สองบ่อ และกระท่อมน้อยบนเนินเตี้ย ๆ รายล้อมไปด้วยทุ่งข้าวเขียวขจี แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน มายาแห่งหวังก็พังทลายลงต่อหน้าต่อตา ฉันจำเก็บข่มความขมขื่นไว้กับชีวิตใหม่ ในที่พำนักใหม่ ซึ่งไม่ใช่ผืนดินแห่งนี้
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ  : ความมั่งคั่งปฏิวัติ Revolutionary Wealth ผู้เขียน  : Alvin Toffler, Heidi Toffler ผู้แปล  : สฤณี  อาชวานันทกุล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน   พิมพ์ครั้งที่ 2  มกราคม  2552
สวนหนังสือ
  และแล้วรางวัลซีไรต์ปี 2552 รอบของนวนิยายก็ประกาศผลแล้ว ปรากฏเป็นผลงานนวนิยายเรื่อง ลับแลแก่งคอย ของอุทิศ เหมะมูล โดยแพรวสำนักพิมพ์เป็นผู้จัดพิมพ์ (ประกาศผลเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา)ใครเชียร์เล่มนี้ก็ได้ไชโยกัน ฉันเองก็มีเล่มนี้เป็นหนึ่งในหลายเล่มด้วย รู้สึกสะใจลึก ๆ ที่อุทิศได้ซีไรต์ เนื่องจากเคยเชื่อว่า งานดี ๆ อย่างที่ใจเราคิดมักพลาดซีไรต์เป็นเนืองนิตย์ ผิดกับคราวนี้ที่งานดี ๆ ของนักเขียน "อย่างอุทิศ" ได้รางวัล
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ           :           นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย ผู้แต่ง                 :           วิสุทธิ์ ขาวเนียม ประเภท              :           กวีนิพนธ์รางวัลนายอินทร์อะวอร์ดครั้งที่ 10 จัดพิมพ์โดย        : …
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ลับแล, แก่งคอยผู้แต่ง : อุทิศ เหมะมูลประเภท : นวนิยายจัดพิมพ์โดย : แพรวสำนักพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก 2552
สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประเทศใต้ผู้เขียน : ชาคริต โภชะเรืองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ก๊วนปาร์ตี้ ข้อเด่นอย่างแรกที่เห็นได้ชัดจากนวนิยายเรื่องประเทศใต้ หนึ่งในผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปีนี้ คือ วิธีการดำเนินเรื่องที่กระโดดข้าม สลับกลับไปมา อย่างไม่อาจระบุว่าใช้รูปแบบความสัมพันธ์ใด ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง หรืออย่างที่สกุล บุณยทัต เรียกในบทวิจารณ์ว่า "ไร้ระเบียบ" แต่อย่าลืมว่านวนิยายเรื่องนี้ได้เริ่มต้นที่ "ชื่อ" ของนวนิยาย ซึ่งในบทนำได้บอกไว้ว่า "ผม" ได้รับต้นฉบับนวนิยายเรื่องหนึ่งจาก "เขา" ในฐานะที่เป็นคนรู้จักกัน มันมีชื่อเรื่องว่า…