Skip to main content

‘นายยืนยง’

20080326 โลกใบเก่ากับคนเฝ้าสุสาน

 

ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวัง

ไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ ทัศนาวดีแต่แล้วกลับต้องผิดหวัง! (ในลำพัง) เพราะไม่เคยคาดคิดว่าต้องมาพบเจอกับกระบวนการที่ยังกลับย่ำวนอยู่ในหลุมบ่อโศกนาฏกรรมของศตวรรษที่แล้ว

รวม ๑๒ เรื่องสั้นที่ถ่ายทอดด้วยน้ำเสียงอย่างที่เรียกได้ว่าท้องถิ่นนิยม ปรนเปรอผู้อ่านด้วยคราบน้ำตาอันสุดรันทด  แต่ความผิดหวัง (ส่วนตัว) ดังกล่าวนั้นก็ถูกชดเชยด้วยภาษาของทัศนาวดี

การใช้ภาษาของทัศนาวดีเต็มไปด้วยอารมณ์ละเอียดอ่อน และช่างเปรียบเปรย ให้ภาพพจน์ สร้างชีวิตชีวาให้ตัวละคร  มีแรงดึงดูดชวนให้อยากอ่านจนจบ เพราะไม่ว่าเนื้อหาจะดีเลิศเลอเพียงใด  ถ้าขาดศิลปะการใช้ภาษาแล้ว งานเขียนนั้นย่อมไม่ประสบความสำเร็จในแง่ของการสื่อสาร  แต่ขณะเดียวกันเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องกลับแสดงออกให้เห็นข้อด้อยที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นแม้ในปีพ.ศ.๒๕๔๗ ปีที่จัดพิมพ์รวมเรื่องสั้นนี้ขึ้น

นี่ไม่ใช่ข้อเขียนที่จ้องจับผิดหรือประทุษร้ายอารมณ์ใคร หากแต่มุ่งหวังจะชี้ให้เห็นว่า วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตนั้น  ควรค่าแค่เป็น “ของเก่าหายาก”ในยุคที่คนเดือนตุลา (ต้นแบบแนวคิดอันเป็นรากฐานของวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิต) กลายเป็นเบี้ยให้รัฐบาลทาสทุนข้ามชาติเท่านั้นหรือ?  หรือควรจะเป็นเสียงประกาศที่แท้ของยุคสมัยดั่งที่เคยเป็นมาในอดีต

เนื่องจากสูตรสำเร็จของแนวเพื่อชีวิต คือ โศกนาฏกรรม และขั้วคู่ขัดแย้ง  ซึ่งคู่เอกคงไม่พ้น ชนบท –สังคมเมืองหลวง , อนุรักษ์นิยม –หัวสมัยใหม่, ไพร่ฟ้า –รัฐ ซึ่งประเด็นนี้จะไม่อาจก้าวถึงความเป็นสากลได้เลย หากนักเขียนยังจำกัดตัวเองให้หลับตาเขียนสนองอุดมคติของโลกใบเก่า  ยกตัวอย่างเรื่องสั้นชื่อ กำแพง

เรื่องของคู่รัก คู่ขัดแย้งในรูปแบบของ อนุรักษ์นิยม –หัวสมัยใหม่  
ฝ่ายชายเป็นครูบ้านนอก บูชาอุดมคติ บรรพบุรุษและถิ่นกำเนิด ฝ่ายหญิงเป็นพนักงานบริษัทในเมืองกรุง ฝันถึงชีวิตพรั่งพร้อมสะดวกสบาย  สองคู่ขัดแย้งนี้ปะทะกันที่จุดวิกฤตคือการตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน สุดท้ายไม่อาจยอมถอยหลังคนละก้าว ไม่อาจประนีประนอมได้ นั่นคือ การไม่อาจยอมรับในความเป็นอื่น  

ดังคำพูดของฝ่ายหญิงในหน้า ๒๑  “ ทุกสิ่งล้วนความจริง  แต่ทำไมพี่ไม่ยอมรับ  ยุคนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว เราต้องวิ่งตามมัน   จะมามัวนั่งดื่มด่ำอยู่กับภาพเก่าๆ ของบรรพบุรุษไม่ได้หรอก  พี่เห็นมั้ย ล้อเกวียนพาหนะสมัยปู่ย่าตายาย เดี๋ยวนี้มีหรือที่บ้านนอกคอกนา  เปล่าเลย... มันมาเรียงรายอยู่หน้าห้องอาหาร ตามบาร์ตามเธคหมดแล้ว... ”   

คำพูดนั้นได้แสดงออกถึงการเคลื่อนย้ายของค่านิยมและรสนิยมของคนในสังคม กระแสอนุรักษ์ของเก่าที่มาพร้อมชุดความรู้สึกนึกคิดแบบ “เพื่อชีวิต” “ชาวนา” “ชนบท”ต่างเข้าไปอยู่ในแผนการตลาดตามธุรกิจหลายสาขา กลายเป็นพรีเซนเตอร์ขายสินค้าไปแล้ว  ปัจจุบันชุดความรู้สึกนึกคิดที่ถูกสร้างมาจากวรรณกรรมแนวนี้ รวมถึงบทกวี หรือเพลงเพื่อชีวิต ก็ถูกนำมาติดราคาขายอย่างแพง  นั่นมันก็เท่ากับว่ารอยไถ คราบน้ำตาชาวนา การถูกกดขี่ข่มเหง ความยากไร้รันทดของคนด้อยโอกาสที่มีชีวิตโลกแล่นในโลกวรรณกรรม เป็นสินค้าขายดีมีราคา สร้างกำไรให้กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพบนความทุกข์ยากเหล่านั้น

เมื่อสังคมเคลื่อนผ่านจากจุดเดิมที่อุดมคติของฝ่ายครูหนุ่มบ้านนอก หัวอนุรักษ์นิยมและใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนผ่านไปแล้ว แต่มุมมองของนักเขียนยังจับจ้องอยู่ที่เดิม เรื่องสั้นที่มุ่งนำเสนอปัญหาสังคม ที่กำลังถูกตัดตอนออกจากรากเหง้าบรรพบุรุษ น่าจะแสดงออกได้กว้างและลึกกว่านี้  กลับกลายเป็นเรื่องที่ราบเรียบไร้มิติให้ตีความต่อ  โดยเฉพาะตอนจบของเรื่อง ในหน้า ๒๕ ที่จบแบบโศกซื่อ เร้าให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจเท่านั้นเอง  ( เรื่องเล่าผ่านมุมมองบุรุษที่หนึ่ง คือ ผม )

ผมยืนมองสองพ่อลูกยืนอยู่บนสะพานลอยในเมืองกรุง ขณะฝนเริ่มสาดเม็ด
 “  ฝนจะตกแล้ว  กลับบ้านเราเถอะ พ่อ... ” ไอ้หนูเขย่าแขนพ่อ แววปิติเต้นระริกอยู่ในดวงตาซื่อ  สายตาสองพ่อลูกตอบโต้กัน  พ่อกลืนน้ำลายเหนียวหนืด เหม่อขึ้นมองฟ้า มือโอบลูกชายไว้

 “  พ่อขายนาแล้วลูกเอ๋ย ... เราไม่ต้องการฝนอีกแล้ว ”


เรื่องกำแพงจบลงตรงนี้เอง  จบลงตรงหน้ากำแพงอุดมคติที่ทึบทื่อ จนกระทั่งผู้เขียนไม่อาจฝ่าทะลุไปได้  ขณะที่เรื่อง  โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ( หน้า ๑๐๑ ) ที่เล่าชะตากรรมของยายเพ็ง แม่เฒ่าคนจรที่อาศัยข้างสถานีรถไฟ  นางถูกนักเขียนสร้างให้เป็นคนที่น่าเวทนาเกินกว่ามนุษย์คนใดในโลก ทั้งถูกลูกสาวเนรคุณ ขณะลูกชายสุดที่รักก็หายเข้ากรุงเทพฯ ไม่รู้ชะตากรรม ทั้งถูกกดขี่ ข่มขู่จากพนักงานสถานีรถไฟ ตกรถขนม็อบเข้ากรุงเทพฯ ไม่ได้เงินค่าจ้าง สุดท้ายนางทิ้งชีวิตเฮือกสุดท้ายไว้ข้างถังขยะซึ่งเป็นเสมือนห้องครัวและบัญชีเงินฝากของนาง

ทั้งเรื่องเขียนให้เห็นแต่ความเศร้าที่ไร้ต้นสายปลายเหตุ ไม่บอกว่านางถูกอะไรกระทำนอกจากชะตากรรม  นักเขียนไม่สามารถถ่ายทอดกลไกของสังคมที่สำแดงให้เห็นว่าคนด้อยโอกาส คนไร้ คนไร้โอกาสทางการศึกษา คนบ้านนอก คนไร้สัญชาติ ถูกกระทำโดยใคร?  “ มือที่มองไม่เห็น ”หรือ? ถูกกระทำโดยกลไกทางเศรษฐศาสตร์หรืออำนาจรัฐ

หากนักเขียนแนวเพื่อชีวิตมีมุมมองที่จับจด หละหลวม เกินไป เหมือนรายการสงเคราะห์คนจนในจอโทรทัศน์  วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตคงอยู่แต่ในตู้โชว์ของบรรดากลุ่มคนที่มองเห็นลู่ทางสร้างรายได้จากวรรณกรรมแนวนี้  

ขณะนักเขียนตกเป็นจำเลยในข้อหาด้านคุณภาพของงานแล้ว  เราต้องไม่ละเลยที่จะตักเตือนแวดวงการตลาดในธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย  หากกระบวนการขายยังปิดกั้น ไม่เอื้อโอกาส เปิดที่ทางให้เกิดความเป็นธรรมต่อสังคม ต่อนักเขียน และต่อผู้บริโภคแล้ว ก็เท่ากับเป็นส่วนหนึ่งของกลไกทางสังคมที่กดขี่ไม่ให้ความดีงามเจริญขึ้นมาได้ ฉะนั้นแล้วธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ก็ควรเลิกยกย่องตัวเองว่าวิเศษวิโสกว่าธุรกิจการค้าอื่น เพราะสิ่งเดียวที่แสวงหามิใช่การจรรโลงสังคมแต่เป็นกำไรเพียงประการเดียว.

        

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           824ผู้เขียน               :           งามพรรณ เวชชาชีวะประเภท              :           นวนิยาย  พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย        :      …
สวนหนังสือ
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ผู้เขียน : เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้แปล : วีระ สมบูรณ์ และ พจนา จันทรสันติ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม พ.ศ.2528   เวลานี้เราต้องยอมรับเสียแล้วละว่า หนังสือธรรมะ เป็นหนังสือแนวสาระที่ติดอันดับขายดิบขายดี และมีทีท่าว่าจะคงกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   เดี๋ยวนี้ ฉันเจอใครเข้า เขามักสนทนาประสาสะแบบปนธรรมะนิด ๆ มีบางคนเข้าขั้นหน่อย ก็เทศน์ได้ทุกสถานการณ์ อย่างนี้ก็มี ไม่แน่ว่าถ้าคนนิยมอ่านหนังสือธรรมะกันหนาตาเข้า สังคมไทยอาจแปรสภาพเป็นสังคมแห่งนักบวชนอกเครื่องแบบก็เป็นได้…
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
สวนหนังสือ
ใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2552 แล้ว ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนี้ ถ้าใครได้ดูทีวีคงได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ หรือได้เห็นสำนักข่าวไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนแล้วไปเลือกซื้อชุดนักเรียนให้ลูก ๆ เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีโอกาสเป็นครั้งแรกในการได้รับ "ของฟรี" จากรัฐบาล แม้จะไม่สามารถซื้อได้ครบทั้งชุดก็ตาม เช่น นักเรียนประถม 5 ได้รับเงินเพื่อการนี้คนละ 360 บาทต่อปี คือ 2 ภาคเรียน ๆ ละ 180 บาท บางคนอาจจะได้กางเกงนักเรียน 1 ตัว และ ถุงเท้า 1 คู่ ก็ยังดีฟะ.. กำขี้ดีกว่ากำตดไม่ใช่เรอะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง   นิตยสารรายเดือน             :           ควน ป่า นา เล  4 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ปลายมีนาคมจนถึงวันนี้ 9 เมษายน ฉันอาศัยทีวีและหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อกระแสหลักที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก คือ ข่าวการเมือง เหมือนกับทุกครั้งที่อุณหภูมิการเมืองเดือดขึ้น ฉันดูข่าวเกินพิกัด อ่านหนังสือพิมพ์จนแว่นมัวหมอง ตื่นระทึกไปกับทุกจังหวะก้าวย่างของมวลชนเสื้อแดง มีอารมณ์ร่วมกับภาคการเมืองส่วนกลางในฐานะผู้เสพข่าวสารเท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองไม่มากกว่านั้น …
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551 ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : เด็กเก็บว่าว The Kite Runner ผู้เขียน : ฮาเหล็ด โฮเซนี่ ผู้แปล : วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ.2548 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ The One Publishing เด็กเก็บว่าว นวนิยายสัญชาติอเมริกัน-อัฟกัน ขนาดสี่ร้อยกว่าหน้า ที่โปรยปก มหัศจรรย์แห่งนวนิยายที่สร้างปรากฏการณ์ปากต่อปากจนติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอะไรหรือ ทำไมผู้คนจึงให้ความสนใจกับมันมากมายนัก ฉันถามตัวเองก่อนจะหยิบมันมาอ่าน
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยงเมื่อการอ่านประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ฉันว่าควรมีการเขียนหนังสือแนะนำ (How to) เป็นขั้นเป็นตอนเลยจะดีกว่าไหม เพราะมันนอกจากจะปวดเศียรเวียนเกล้ากับผู้แต่งแต่ละท่านแล้ว (ผู้แต่งบางท่านก็ชี้ชัดลงไปเลย เจตนาจะเข้าข้างฝ่ายไหน แต่บางท่านเน้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยที่หากผู้อ่านมีความรู้เชิงประวัติศาสตร์น้อยกว่าหางอึ่งอย่างฉัน ต้องกลับไปลงทะเบียนเรียนวิชานี้อีกหลายเล่ม) ยังทำให้ใช้เวลาอย่างมหาศาลไปกับหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกันอีกหลายเล่ม ไม่เป็นไร ๆ เราไม่ได้อ่านเพื่อพิพากษาใครเป็นถูกเป็นผิดมิใช่หรือ อ่านเพื่อได้อ่าน แบบกำปั้นทุบดินก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา…