Skip to main content

‘นายยืนยง’

20080326 โลกใบเก่ากับคนเฝ้าสุสาน

 

ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวัง

ไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ ทัศนาวดีแต่แล้วกลับต้องผิดหวัง! (ในลำพัง) เพราะไม่เคยคาดคิดว่าต้องมาพบเจอกับกระบวนการที่ยังกลับย่ำวนอยู่ในหลุมบ่อโศกนาฏกรรมของศตวรรษที่แล้ว

รวม ๑๒ เรื่องสั้นที่ถ่ายทอดด้วยน้ำเสียงอย่างที่เรียกได้ว่าท้องถิ่นนิยม ปรนเปรอผู้อ่านด้วยคราบน้ำตาอันสุดรันทด  แต่ความผิดหวัง (ส่วนตัว) ดังกล่าวนั้นก็ถูกชดเชยด้วยภาษาของทัศนาวดี

การใช้ภาษาของทัศนาวดีเต็มไปด้วยอารมณ์ละเอียดอ่อน และช่างเปรียบเปรย ให้ภาพพจน์ สร้างชีวิตชีวาให้ตัวละคร  มีแรงดึงดูดชวนให้อยากอ่านจนจบ เพราะไม่ว่าเนื้อหาจะดีเลิศเลอเพียงใด  ถ้าขาดศิลปะการใช้ภาษาแล้ว งานเขียนนั้นย่อมไม่ประสบความสำเร็จในแง่ของการสื่อสาร  แต่ขณะเดียวกันเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องกลับแสดงออกให้เห็นข้อด้อยที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นแม้ในปีพ.ศ.๒๕๔๗ ปีที่จัดพิมพ์รวมเรื่องสั้นนี้ขึ้น

นี่ไม่ใช่ข้อเขียนที่จ้องจับผิดหรือประทุษร้ายอารมณ์ใคร หากแต่มุ่งหวังจะชี้ให้เห็นว่า วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตนั้น  ควรค่าแค่เป็น “ของเก่าหายาก”ในยุคที่คนเดือนตุลา (ต้นแบบแนวคิดอันเป็นรากฐานของวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิต) กลายเป็นเบี้ยให้รัฐบาลทาสทุนข้ามชาติเท่านั้นหรือ?  หรือควรจะเป็นเสียงประกาศที่แท้ของยุคสมัยดั่งที่เคยเป็นมาในอดีต

เนื่องจากสูตรสำเร็จของแนวเพื่อชีวิต คือ โศกนาฏกรรม และขั้วคู่ขัดแย้ง  ซึ่งคู่เอกคงไม่พ้น ชนบท –สังคมเมืองหลวง , อนุรักษ์นิยม –หัวสมัยใหม่, ไพร่ฟ้า –รัฐ ซึ่งประเด็นนี้จะไม่อาจก้าวถึงความเป็นสากลได้เลย หากนักเขียนยังจำกัดตัวเองให้หลับตาเขียนสนองอุดมคติของโลกใบเก่า  ยกตัวอย่างเรื่องสั้นชื่อ กำแพง

เรื่องของคู่รัก คู่ขัดแย้งในรูปแบบของ อนุรักษ์นิยม –หัวสมัยใหม่  
ฝ่ายชายเป็นครูบ้านนอก บูชาอุดมคติ บรรพบุรุษและถิ่นกำเนิด ฝ่ายหญิงเป็นพนักงานบริษัทในเมืองกรุง ฝันถึงชีวิตพรั่งพร้อมสะดวกสบาย  สองคู่ขัดแย้งนี้ปะทะกันที่จุดวิกฤตคือการตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน สุดท้ายไม่อาจยอมถอยหลังคนละก้าว ไม่อาจประนีประนอมได้ นั่นคือ การไม่อาจยอมรับในความเป็นอื่น  

ดังคำพูดของฝ่ายหญิงในหน้า ๒๑  “ ทุกสิ่งล้วนความจริง  แต่ทำไมพี่ไม่ยอมรับ  ยุคนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว เราต้องวิ่งตามมัน   จะมามัวนั่งดื่มด่ำอยู่กับภาพเก่าๆ ของบรรพบุรุษไม่ได้หรอก  พี่เห็นมั้ย ล้อเกวียนพาหนะสมัยปู่ย่าตายาย เดี๋ยวนี้มีหรือที่บ้านนอกคอกนา  เปล่าเลย... มันมาเรียงรายอยู่หน้าห้องอาหาร ตามบาร์ตามเธคหมดแล้ว... ”   

คำพูดนั้นได้แสดงออกถึงการเคลื่อนย้ายของค่านิยมและรสนิยมของคนในสังคม กระแสอนุรักษ์ของเก่าที่มาพร้อมชุดความรู้สึกนึกคิดแบบ “เพื่อชีวิต” “ชาวนา” “ชนบท”ต่างเข้าไปอยู่ในแผนการตลาดตามธุรกิจหลายสาขา กลายเป็นพรีเซนเตอร์ขายสินค้าไปแล้ว  ปัจจุบันชุดความรู้สึกนึกคิดที่ถูกสร้างมาจากวรรณกรรมแนวนี้ รวมถึงบทกวี หรือเพลงเพื่อชีวิต ก็ถูกนำมาติดราคาขายอย่างแพง  นั่นมันก็เท่ากับว่ารอยไถ คราบน้ำตาชาวนา การถูกกดขี่ข่มเหง ความยากไร้รันทดของคนด้อยโอกาสที่มีชีวิตโลกแล่นในโลกวรรณกรรม เป็นสินค้าขายดีมีราคา สร้างกำไรให้กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพบนความทุกข์ยากเหล่านั้น

เมื่อสังคมเคลื่อนผ่านจากจุดเดิมที่อุดมคติของฝ่ายครูหนุ่มบ้านนอก หัวอนุรักษ์นิยมและใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนผ่านไปแล้ว แต่มุมมองของนักเขียนยังจับจ้องอยู่ที่เดิม เรื่องสั้นที่มุ่งนำเสนอปัญหาสังคม ที่กำลังถูกตัดตอนออกจากรากเหง้าบรรพบุรุษ น่าจะแสดงออกได้กว้างและลึกกว่านี้  กลับกลายเป็นเรื่องที่ราบเรียบไร้มิติให้ตีความต่อ  โดยเฉพาะตอนจบของเรื่อง ในหน้า ๒๕ ที่จบแบบโศกซื่อ เร้าให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจเท่านั้นเอง  ( เรื่องเล่าผ่านมุมมองบุรุษที่หนึ่ง คือ ผม )

ผมยืนมองสองพ่อลูกยืนอยู่บนสะพานลอยในเมืองกรุง ขณะฝนเริ่มสาดเม็ด
 “  ฝนจะตกแล้ว  กลับบ้านเราเถอะ พ่อ... ” ไอ้หนูเขย่าแขนพ่อ แววปิติเต้นระริกอยู่ในดวงตาซื่อ  สายตาสองพ่อลูกตอบโต้กัน  พ่อกลืนน้ำลายเหนียวหนืด เหม่อขึ้นมองฟ้า มือโอบลูกชายไว้

 “  พ่อขายนาแล้วลูกเอ๋ย ... เราไม่ต้องการฝนอีกแล้ว ”


เรื่องกำแพงจบลงตรงนี้เอง  จบลงตรงหน้ากำแพงอุดมคติที่ทึบทื่อ จนกระทั่งผู้เขียนไม่อาจฝ่าทะลุไปได้  ขณะที่เรื่อง  โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ( หน้า ๑๐๑ ) ที่เล่าชะตากรรมของยายเพ็ง แม่เฒ่าคนจรที่อาศัยข้างสถานีรถไฟ  นางถูกนักเขียนสร้างให้เป็นคนที่น่าเวทนาเกินกว่ามนุษย์คนใดในโลก ทั้งถูกลูกสาวเนรคุณ ขณะลูกชายสุดที่รักก็หายเข้ากรุงเทพฯ ไม่รู้ชะตากรรม ทั้งถูกกดขี่ ข่มขู่จากพนักงานสถานีรถไฟ ตกรถขนม็อบเข้ากรุงเทพฯ ไม่ได้เงินค่าจ้าง สุดท้ายนางทิ้งชีวิตเฮือกสุดท้ายไว้ข้างถังขยะซึ่งเป็นเสมือนห้องครัวและบัญชีเงินฝากของนาง

ทั้งเรื่องเขียนให้เห็นแต่ความเศร้าที่ไร้ต้นสายปลายเหตุ ไม่บอกว่านางถูกอะไรกระทำนอกจากชะตากรรม  นักเขียนไม่สามารถถ่ายทอดกลไกของสังคมที่สำแดงให้เห็นว่าคนด้อยโอกาส คนไร้ คนไร้โอกาสทางการศึกษา คนบ้านนอก คนไร้สัญชาติ ถูกกระทำโดยใคร?  “ มือที่มองไม่เห็น ”หรือ? ถูกกระทำโดยกลไกทางเศรษฐศาสตร์หรืออำนาจรัฐ

หากนักเขียนแนวเพื่อชีวิตมีมุมมองที่จับจด หละหลวม เกินไป เหมือนรายการสงเคราะห์คนจนในจอโทรทัศน์  วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตคงอยู่แต่ในตู้โชว์ของบรรดากลุ่มคนที่มองเห็นลู่ทางสร้างรายได้จากวรรณกรรมแนวนี้  

ขณะนักเขียนตกเป็นจำเลยในข้อหาด้านคุณภาพของงานแล้ว  เราต้องไม่ละเลยที่จะตักเตือนแวดวงการตลาดในธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย  หากกระบวนการขายยังปิดกั้น ไม่เอื้อโอกาส เปิดที่ทางให้เกิดความเป็นธรรมต่อสังคม ต่อนักเขียน และต่อผู้บริโภคแล้ว ก็เท่ากับเป็นส่วนหนึ่งของกลไกทางสังคมที่กดขี่ไม่ให้ความดีงามเจริญขึ้นมาได้ ฉะนั้นแล้วธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ก็ควรเลิกยกย่องตัวเองว่าวิเศษวิโสกว่าธุรกิจการค้าอื่น เพราะสิ่งเดียวที่แสวงหามิใช่การจรรโลงสังคมแต่เป็นกำไรเพียงประการเดียว.

        

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
  นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           พ.๒๗ สายลับพระปกเกล้าฯ ผู้เขียน               :           อ.ก. ร่งแสง (โพยม โรจนวิภาต)ประเภท              :           สารคดีประวัติศาสตร์          พิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ.…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ฝรั่งคลั่งผี ผู้เขียน : ไมเคิล ไรท จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม 2550 อ่าน ฝรั่งคลั่งผี ของ ไมเคิล ไรท จบ ฉันลิงโลดเป็นพิเศษ รีบนำมา “เล่าสู่กันฟัง” ทันที จะว่าร้อนวิชาเกินไปหรือก็ไม่ทราบ โปรดให้อภัยฉันเถิด ในเมื่อเขาเขียนดี จะตัดใจได้ลงคอเชียวหรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เด็กบินได้ ผู้เขียน : ศรีดาวเรือง ประเภท : นวนิยายขนาดสั้น พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2532 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์กำแพง มาอีกแล้ว วรรณกรรมเพื่อชีวิต เขียนถึงบ่อยเหลือเกิน ชื่นชม ตำหนิติเตียนกันไม่เว้นวาย นี่ฉันจะจมอยู่กับปลักเพื่อชีวิตไปอีกกี่ทศวรรษ อันที่จริง เพื่อชีวิต ไม่ใช่ “ปลัก” ในความหมายที่เราชอบกล่าวถึงในแง่ของการย่ำวนอยู่ที่เดิมแบบไร้วัฒนาการไม่ใช่หรือ เพื่อชีวิตเองก็เติบโตมาพร้อมพัฒนาการทางสังคม ปลิดขั้วมาจากวรรณกรรมศักดินาชน เรื่องรักฉันท์หนุ่มสาว เรื่องบันเทิงเริงรมย์…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : คนซื้อฝัน ผู้เขียน : ศุภร บุนนาค ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฎาคม 2537 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย ตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะอ่านหนังสือของนักเขียนไทยให้มากกว่าเดิม ฉันดำเนินการแล้วล่ะ อ่านแล้ว อิ่มเอมกับอรรถรสแบบที่หาจากวรรณกรรมแปลไม่ได้ หาจากภาษาของนักเขียนไทยรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยจะได้ จนรู้สึกไปว่า คุณค่าของภาษาได้แกว่งไกวไปกับกาละด้วย
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เพลงกล่อมผี ผู้เขียน : นากิบ มาห์ฟูซ ผู้แปล : แคน สังคีต จาก Wedding Song ภาษาอังกฤษโดย โอลีฟ อี เคนนี ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2534 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์ หนาวลมเหมันต์แห่งพุทธศักราช 2552 เยียบเย็นยิ่งกว่า ผ้าผวยดูไร้ตัวตนไปเลยเมื่อเจอะเข้ากับลมหนาวขณะมกราคมสั่นเทิ้มด้วยคน ฉันขดตัวอยู่ในห้องหลบลมลอดช่องตึกอันทารุณ อ่านหนังสือเก่า ๆ ที่อุดม ไรฝุ่นยั่วอาการภูมิแพ้ โรคประจำศตวรรษที่ใครก็มีประสบการณ์ร่วม อ่านเพลงกล่อมผีของนากิบ มาห์ฟูซ ที่แคน สังคีต ฝากสำนวนแปลไว้อย่างเฟื่องฟุ้งเลยทีเดียว…
สวนหนังสือ
นายยืนยง สวัสดีปี 2552 ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เงาสีขาวผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน น้ำเน่าในคลองต่อให้เน่าเหม็นปานใดย่อมระเหยกลายเป็นไออยู่นั่นเอง แต่การระเหิด ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกับการระเหย  ระเหย คือ การกลายเป็นไอ จากสถานภาพของของเหลวเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นก๊าซระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซโดยตรงจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่ต้องพักเปลี่ยนเป็นสถานภาพของเหลวก่อน ต่างจากการระเหย แต่เหมือนตรงที่ทั้งสองกระบวนการมีปลายทางอยู่ที่สถานภาพของก๊าซสอดคล้องกับความน่าเกลียดที่ระเหิดกลายเป็นไอแห่งความงามได้
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : เงาสีขาว ผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทอง ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน ปกติฉันไม่นอนดึกหากไม่จำเป็น และหากจำเป็นก็เนื่องมาจากหนังสือบางเล่มที่อ่านค้างอยู่ มันเป็นเวรกรรมอย่างหนึ่งที่ดุนหลังฉันให้หยิบ เงาสีขาว ขึ้นมาอ่าน เวรกรรมแท้ ๆ เชียว เราไม่น่าพบกันอีกเลย คุณแดนอรัญ แสงทอง ฉันควรรู้จักเขาจาก เรื่องสั้นขนาดยาวนาม อสรพิษ และ นวนิยายสุดโรแมนติกในนามของ เจ้าการะเกด เท่านั้น แต่กับเงาสีขาว มันทำให้ซาบซึ้งว่า กระบือย่อมเป็นกระบืออยู่วันยังค่ำ (เขาชอบประโยคนี้นะ เพราะมันปรากฏอยู่ในหนังสือของเขาตั้งหลายครั้ง)…
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร   ผลงานของนักเขียนไทยในแนวของเมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือสัจนิยมมายา ที่ได้กล่าวถึงเมื่อตอนที่แล้ว ซึ่งจะนำมาเขียนถึงต่อไป เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างงานที่แท้กับงานเสแสร้ง เผื่อว่าจะถึงคราวจำเป็นจะต้องเลือกที่รักมักที่ชัง แม้นรู้ดีว่าข้อเขียนนี้เป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคล แต่ฉันคิดว่าบางทีรสนิยมก็น่าจะได้รับคำอธิบายด้วยหลักการได้เช่นเดียวกัน…
สวนหนังสือ
เมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือที่แปลเป็นไทยว่า สัจนิยมมายา หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ เป็นแนวการเขียนที่นักเขียนไทยนำมาใช้ในงานเรื่องสั้น นวนิยายกันมากขึ้น ไม่เว้นในกวีนิพนธ์ โดยส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจมาจาก ผลงานของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ ซึ่งมาเกซเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ฮวน รุลโฟ (ฆวน รุลโฟ) จากผลงานนวนิยายเรื่อง เปโดร ปาราโม อีกทอดหนึ่ง เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์วรรณกรรมแนวนี้ถูกตัดตอน ขอกล่าวถึงต้นธารของงานสกุลนี้สักเล็กน้อย กล่าวถึงฮวน รุลโฟ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเขียนเป็นภาษาไทยว่า ฆวน รุลโฟ ทำให้หวนระลึกถึงผลงานแปลฉบับของ ราอูล ที่ฉันตกระกำลำบากในการอ่านอย่างแสนสาหัส…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครนA SHORT HISTORY OF TRACTORS IN UKRAINIAN ผู้เขียน : MARINA LEWYCKA ผู้แปล : พรพิสุทธิ์ โอสถานนท์ ประเภท : นวนิยายแปล พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน และแล้วฉันก็ได้อ่านมัน ไอ้เจ้าแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เมียงมองอยู่นานสองนานแล้วได้สมใจซะที ซึ่งก็สมใจจริงแท้แน่นอนเพราะได้อ่านรวดเดียวจบ (แบบต่อเนื่องยาวนาน) จบแบบสังขารบอบช้ำเมื่อต่อมขำทำงานหนัก ลามไปถึงปอดที่ถูกเขย่าครั้งแล้วครั้งเล่า ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เป็นนวนิยายสมัยใหม่ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่ดึงดูดแบบยุคทุนนิยมเสรี…