Skip to main content

‘นายยืนยง’

20080326 โลกใบเก่ากับคนเฝ้าสุสาน

 

ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวัง

ไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ ทัศนาวดีแต่แล้วกลับต้องผิดหวัง! (ในลำพัง) เพราะไม่เคยคาดคิดว่าต้องมาพบเจอกับกระบวนการที่ยังกลับย่ำวนอยู่ในหลุมบ่อโศกนาฏกรรมของศตวรรษที่แล้ว

รวม ๑๒ เรื่องสั้นที่ถ่ายทอดด้วยน้ำเสียงอย่างที่เรียกได้ว่าท้องถิ่นนิยม ปรนเปรอผู้อ่านด้วยคราบน้ำตาอันสุดรันทด  แต่ความผิดหวัง (ส่วนตัว) ดังกล่าวนั้นก็ถูกชดเชยด้วยภาษาของทัศนาวดี

การใช้ภาษาของทัศนาวดีเต็มไปด้วยอารมณ์ละเอียดอ่อน และช่างเปรียบเปรย ให้ภาพพจน์ สร้างชีวิตชีวาให้ตัวละคร  มีแรงดึงดูดชวนให้อยากอ่านจนจบ เพราะไม่ว่าเนื้อหาจะดีเลิศเลอเพียงใด  ถ้าขาดศิลปะการใช้ภาษาแล้ว งานเขียนนั้นย่อมไม่ประสบความสำเร็จในแง่ของการสื่อสาร  แต่ขณะเดียวกันเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องกลับแสดงออกให้เห็นข้อด้อยที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นแม้ในปีพ.ศ.๒๕๔๗ ปีที่จัดพิมพ์รวมเรื่องสั้นนี้ขึ้น

นี่ไม่ใช่ข้อเขียนที่จ้องจับผิดหรือประทุษร้ายอารมณ์ใคร หากแต่มุ่งหวังจะชี้ให้เห็นว่า วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตนั้น  ควรค่าแค่เป็น “ของเก่าหายาก”ในยุคที่คนเดือนตุลา (ต้นแบบแนวคิดอันเป็นรากฐานของวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิต) กลายเป็นเบี้ยให้รัฐบาลทาสทุนข้ามชาติเท่านั้นหรือ?  หรือควรจะเป็นเสียงประกาศที่แท้ของยุคสมัยดั่งที่เคยเป็นมาในอดีต

เนื่องจากสูตรสำเร็จของแนวเพื่อชีวิต คือ โศกนาฏกรรม และขั้วคู่ขัดแย้ง  ซึ่งคู่เอกคงไม่พ้น ชนบท –สังคมเมืองหลวง , อนุรักษ์นิยม –หัวสมัยใหม่, ไพร่ฟ้า –รัฐ ซึ่งประเด็นนี้จะไม่อาจก้าวถึงความเป็นสากลได้เลย หากนักเขียนยังจำกัดตัวเองให้หลับตาเขียนสนองอุดมคติของโลกใบเก่า  ยกตัวอย่างเรื่องสั้นชื่อ กำแพง

เรื่องของคู่รัก คู่ขัดแย้งในรูปแบบของ อนุรักษ์นิยม –หัวสมัยใหม่  
ฝ่ายชายเป็นครูบ้านนอก บูชาอุดมคติ บรรพบุรุษและถิ่นกำเนิด ฝ่ายหญิงเป็นพนักงานบริษัทในเมืองกรุง ฝันถึงชีวิตพรั่งพร้อมสะดวกสบาย  สองคู่ขัดแย้งนี้ปะทะกันที่จุดวิกฤตคือการตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน สุดท้ายไม่อาจยอมถอยหลังคนละก้าว ไม่อาจประนีประนอมได้ นั่นคือ การไม่อาจยอมรับในความเป็นอื่น  

ดังคำพูดของฝ่ายหญิงในหน้า ๒๑  “ ทุกสิ่งล้วนความจริง  แต่ทำไมพี่ไม่ยอมรับ  ยุคนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว เราต้องวิ่งตามมัน   จะมามัวนั่งดื่มด่ำอยู่กับภาพเก่าๆ ของบรรพบุรุษไม่ได้หรอก  พี่เห็นมั้ย ล้อเกวียนพาหนะสมัยปู่ย่าตายาย เดี๋ยวนี้มีหรือที่บ้านนอกคอกนา  เปล่าเลย... มันมาเรียงรายอยู่หน้าห้องอาหาร ตามบาร์ตามเธคหมดแล้ว... ”   

คำพูดนั้นได้แสดงออกถึงการเคลื่อนย้ายของค่านิยมและรสนิยมของคนในสังคม กระแสอนุรักษ์ของเก่าที่มาพร้อมชุดความรู้สึกนึกคิดแบบ “เพื่อชีวิต” “ชาวนา” “ชนบท”ต่างเข้าไปอยู่ในแผนการตลาดตามธุรกิจหลายสาขา กลายเป็นพรีเซนเตอร์ขายสินค้าไปแล้ว  ปัจจุบันชุดความรู้สึกนึกคิดที่ถูกสร้างมาจากวรรณกรรมแนวนี้ รวมถึงบทกวี หรือเพลงเพื่อชีวิต ก็ถูกนำมาติดราคาขายอย่างแพง  นั่นมันก็เท่ากับว่ารอยไถ คราบน้ำตาชาวนา การถูกกดขี่ข่มเหง ความยากไร้รันทดของคนด้อยโอกาสที่มีชีวิตโลกแล่นในโลกวรรณกรรม เป็นสินค้าขายดีมีราคา สร้างกำไรให้กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพบนความทุกข์ยากเหล่านั้น

เมื่อสังคมเคลื่อนผ่านจากจุดเดิมที่อุดมคติของฝ่ายครูหนุ่มบ้านนอก หัวอนุรักษ์นิยมและใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนผ่านไปแล้ว แต่มุมมองของนักเขียนยังจับจ้องอยู่ที่เดิม เรื่องสั้นที่มุ่งนำเสนอปัญหาสังคม ที่กำลังถูกตัดตอนออกจากรากเหง้าบรรพบุรุษ น่าจะแสดงออกได้กว้างและลึกกว่านี้  กลับกลายเป็นเรื่องที่ราบเรียบไร้มิติให้ตีความต่อ  โดยเฉพาะตอนจบของเรื่อง ในหน้า ๒๕ ที่จบแบบโศกซื่อ เร้าให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจเท่านั้นเอง  ( เรื่องเล่าผ่านมุมมองบุรุษที่หนึ่ง คือ ผม )

ผมยืนมองสองพ่อลูกยืนอยู่บนสะพานลอยในเมืองกรุง ขณะฝนเริ่มสาดเม็ด
 “  ฝนจะตกแล้ว  กลับบ้านเราเถอะ พ่อ... ” ไอ้หนูเขย่าแขนพ่อ แววปิติเต้นระริกอยู่ในดวงตาซื่อ  สายตาสองพ่อลูกตอบโต้กัน  พ่อกลืนน้ำลายเหนียวหนืด เหม่อขึ้นมองฟ้า มือโอบลูกชายไว้

 “  พ่อขายนาแล้วลูกเอ๋ย ... เราไม่ต้องการฝนอีกแล้ว ”


เรื่องกำแพงจบลงตรงนี้เอง  จบลงตรงหน้ากำแพงอุดมคติที่ทึบทื่อ จนกระทั่งผู้เขียนไม่อาจฝ่าทะลุไปได้  ขณะที่เรื่อง  โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ( หน้า ๑๐๑ ) ที่เล่าชะตากรรมของยายเพ็ง แม่เฒ่าคนจรที่อาศัยข้างสถานีรถไฟ  นางถูกนักเขียนสร้างให้เป็นคนที่น่าเวทนาเกินกว่ามนุษย์คนใดในโลก ทั้งถูกลูกสาวเนรคุณ ขณะลูกชายสุดที่รักก็หายเข้ากรุงเทพฯ ไม่รู้ชะตากรรม ทั้งถูกกดขี่ ข่มขู่จากพนักงานสถานีรถไฟ ตกรถขนม็อบเข้ากรุงเทพฯ ไม่ได้เงินค่าจ้าง สุดท้ายนางทิ้งชีวิตเฮือกสุดท้ายไว้ข้างถังขยะซึ่งเป็นเสมือนห้องครัวและบัญชีเงินฝากของนาง

ทั้งเรื่องเขียนให้เห็นแต่ความเศร้าที่ไร้ต้นสายปลายเหตุ ไม่บอกว่านางถูกอะไรกระทำนอกจากชะตากรรม  นักเขียนไม่สามารถถ่ายทอดกลไกของสังคมที่สำแดงให้เห็นว่าคนด้อยโอกาส คนไร้ คนไร้โอกาสทางการศึกษา คนบ้านนอก คนไร้สัญชาติ ถูกกระทำโดยใคร?  “ มือที่มองไม่เห็น ”หรือ? ถูกกระทำโดยกลไกทางเศรษฐศาสตร์หรืออำนาจรัฐ

หากนักเขียนแนวเพื่อชีวิตมีมุมมองที่จับจด หละหลวม เกินไป เหมือนรายการสงเคราะห์คนจนในจอโทรทัศน์  วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตคงอยู่แต่ในตู้โชว์ของบรรดากลุ่มคนที่มองเห็นลู่ทางสร้างรายได้จากวรรณกรรมแนวนี้  

ขณะนักเขียนตกเป็นจำเลยในข้อหาด้านคุณภาพของงานแล้ว  เราต้องไม่ละเลยที่จะตักเตือนแวดวงการตลาดในธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย  หากกระบวนการขายยังปิดกั้น ไม่เอื้อโอกาส เปิดที่ทางให้เกิดความเป็นธรรมต่อสังคม ต่อนักเขียน และต่อผู้บริโภคแล้ว ก็เท่ากับเป็นส่วนหนึ่งของกลไกทางสังคมที่กดขี่ไม่ให้ความดีงามเจริญขึ้นมาได้ ฉะนั้นแล้วธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ก็ควรเลิกยกย่องตัวเองว่าวิเศษวิโสกว่าธุรกิจการค้าอื่น เพราะสิ่งเดียวที่แสวงหามิใช่การจรรโลงสังคมแต่เป็นกำไรเพียงประการเดียว.

        

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ ผู้เขียน : องอาจ เดชา ประเภท : สารคดี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา พ.ศ.2548 ได้อ่านงานเขียนสารคดีที่เป็นบทบันทึกช่วงชีวิตของอ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น ที่กลั่นร้อยจากความมุ่งมั่นขององอาจ เดชา นักเขียนสารคดีหนุ่มมือเอกแล้ว มีหลายความรู้สึกที่อยากเล่าสู่กันฟัง อีกทั้งทำให้อยากลุกมาเขียนจดหมายถึงคนต้นเรื่องคนนั้นด้วย กล่าวถึงงานเขียนสารคดีสักครู่หนึ่งเถอะ... สารคดีเป็นงานเขียนที่ดำรงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อมูลทุกรายละเอียดล้วนเคารพต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันงานเขียนสารคดีเล่ม ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ นี้ เป็นลักษณะกึ่งอัตชีวประวัติ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ม่านดอกไม้ ผู้เขียน : ร. จันทพิมพะ ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พ.ศ.2541 ไม่นานมานี้มีโอกาสไปเยี่ยมชมวังเก่าที่เมืองโคราช เจ้าของบ้านเป็นครูสาวเกษียณราชการแล้ว คนวัยนี้แล้วยังจะเรียก “สาว” ได้อีกหรือ.. ได้แน่นอนเพราะเธอยังเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ทั้งน้ำเสียงกังวานและแววตาที่มีความฝันเปี่ยมอยู่ในนั้น วังเก่าหลังนั้นอยู่ใกล้หลักเมือง วางตัวสงบเย็นอยู่ใจกลางแถวของอาคารร้านค้า ลมลอดช่องตึกทำให้อากาศโล่ง เย็นชื่น พวกไม้ดอกประดับแย้มใบเขียวสดรับละอองฝน…
สวนหนังสือ
นายยืนยง      ชื่อหนังสือ     : ชีวิตและงานกวีเอกของไทย ผู้เขียน          : สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร จัดพิมพ์โดย   : สำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา พิมพ์ครั้งแรก  : 27 มีนาคม พ.ศ.2508 ตั้งแต่เครือข่ายพันธมิตรประชาชนฯ เริ่มชุมนุมเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เสียงจากสถานีเอเอสทีวีก็กังวานไปทั่วบริเวณบ้านที่เช่าเขาอยู่ มันเป็นบ้านที่มีบ้านบริเวณกว้างขวาง และมีบ้านหลายหลังปลูกใกล้ ๆ กัน ใครเปิดทีวีช่องอะไรเป็นได้ยินกันทั่ว คนที่ไม่ได้เปิดก็เลยฟังไม่ได้สรรพ…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : มาตุภูมิเดียวกัน ผู้เขียน : วิน วนาดร ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อกันยายน 2550   ปี 2551 นี้รางวัลซีไรต์เป็นรอบของเรื่องสั้น สำรวจดูจากรายชื่อหนังสือที่ส่งเข้าประกวด ดูจากชื่อนักเขียนก็พอจะมองเห็นความหลากหลายชัดเจน ทั้งนักเขียนที่ส่งมากันครบทุกรุ่นวัย แนวทางของเรื่องยิ่งชวนให้เกิดบรรยากาศคึกคัก มีสีสันหากว่ามีการวิจารณ์หนังสือกันที่ส่งเข้าประกวดอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกค่าย ไม่เลือกว่าเป็นพรรคพวกของตัว อย่างที่เขาว่ากันว่า เด็กใครก็ปั้นก็เชียร์กันตามกำลัง นั่นไม่เป็นผลดีต่อผู้อ่านนักหรอก…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นกชีวิต ประเภท : กวีนิพนธ์ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อมีนาคม 2550 ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ เคยสังเกตไหมว่าบางครั้งบทกวีก็สนทนากันเอง ระหว่างบทกวีกับบทกวี ราวกับกวีสนทนากับกวีด้วยกัน ซึ่งนั่นหาได้สำคัญไม่ เพราะความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงการแบ่งแยกระหว่างผู้สร้างสรรค์ (กวี) กับผู้เสพอย่างเรา ๆ แต่หมายถึงบรรยากาศแห่งการดื่มด่ำกวีนิพนธ์ เป็นการสื่อสารจากใจสู่ใจ กระนั้นก็ตาม ยังมีบางทัศนคติที่พยายามจะแบ่งแยกกวีนิพนธ์ออกเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เป็นกวีฉันทลักษณ์ เป็นกวีไร้ฉันทลักษณ์…
สวนหนังสือ
นายยืนยงประเภท          :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย      :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2 เมษายน 2530)ผู้ประพันธ์     :    Bhabani Bhattacharyaผู้แปล         :    จิตร ภูมิศักดิ์
สวนหนังสือ
นายยืนยง"ความรู้รสในกวีนิพนธ์เป็นเรื่องเฉพาะตัว ตัวใครก็ตัวใคร จะมาเกณฑ์ให้มีความรู้สึกเรื่องรสของศิลปะเหมือนกันทีเดียวไม่ได้  ถ้าทุกคนรู้รสของศิลปะแห่งสิ่งใดเหมือนกันไปหมด สิ่งนั้นก็เป็นสามัญไม่ใช่มีค่าแห่งศิลปะที่สูง” ท่านเสฐียรโกเศศเขียนไว้ในหนังสือ รสวรรณคดี (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๐๓) ครั้นแล้วความซาบซึ้งในรสของกวีนิพนธ์อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคุณผู้อ่านเล่าเป็นอย่างไรหนอ ในสถานการณ์ที่กระแสข่าวเน้นนำเสนอทางด้านเศรษฐกิจการเมือง ความเป็นอยู่ของกวีนิพนธ์จึงดูเหมือนจะซบเซาเหงาเงียบไป ทั้งที่เราต่างก็เติบโตมาท่ามกลางเบ้าหลอมแห่งศิลปะของกวีนิพนธ์ด้วยกัน ทั้งจากเพลงกล่อมเด็ก…
สวนหนังสือ
นายยืนยง(หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพปก ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๓๒ เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑)ภาพจาก : http://burabhawayu.multiply.com/reviews/item/16 ชื่อนิตยสาร : ปาจารยสาร ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๒๘ เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕จัดพิมพ์โดย : บริษัท ส่องศยาม
สวนหนังสือ
นายยืนยงบทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์    :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล         :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ      :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์      :     โครงการจัดพิมพ์คบไฟ  พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ. 2541
สวนหนังสือ
นายยืนยง  บทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์            :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล                 :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ         :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์        …
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ         :      พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)ผู้เขียน              :      ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกีประเภท             :      นวนิยายรัสเซียผู้แปล               :      สดใสจัดพิมพ์โดย       :      สำนักพิมพ์ทับหนังสือ พิมพ์ครั้งที่สาม  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ         :      พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)ผู้เขียน              :      ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกีประเภท             :      นวนิยายรัสเซียผู้แปล               :      สดใสจัดพิมพ์โดย       :      สำนักพิมพ์ทับหนังสือ พิมพ์ครั้งที่สาม  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓