Skip to main content

 

ผมกลับมาเดินทางสู่ “คู่มือมนุษย์” ของ ท่านพุทธทาสภิกขุ ด้วยความรู้สึกอย่างท่องเดินทางไปในธรรม ในช่วงเวลาวิกฤติชีวิตไล่ตามสั่นคลอน เกิดภาวะความไม่ปกติ จนดูราวกับว่า อากาศรอบตัวมืดดำลงฉับพลันอีกครั้งหนึ่ง


ในนาทีเช่นนี้เองที่ธรรมะกลายเป็นบทเพลง คอยประคองไม่ให้เดินซวนเซเป๋จนไม่อาจทรงตัวยืนอยู่ได้ หนังสืออีก 2 เล่มที่ผมใช้ท่องไปในห้วงเวลาเช่นนี้คือ ตัวกู ของกู ของท่านพุทธทาสภิกขุเช่นกัน กับปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ของ พระติช นัท ฮันห์


เวลาชีวิตเสียหลัก ผมคิดถึงหนังสือธรรมะที่ผมผูกพัน และยึดมาเป็นหลักดำเนินชีวิต จะไม่พึ่งพาผีสางนางไม้เทวดาทวยเทพองค์ใดก็ตาม ที่จะแนะนำพิธีกรรมอันส่อไปถึงการสื่อสารให้หลุดพ้น หรือถือดีไปสู่จุดหมายใดก็ตาม


ผมจะกลับมาหาหลักธรรมในธรรมชาติ ธรรมดาๆแต่ไม่ธรรมดา

การก้าวเท้าออกไปแต่ละก้าวนั้นเป็นความมหัศจรรย์อย่างยิ่ง และจิตของเราจะเบิกบานเหมือนดอกไม้ นำเราก้าวเข้าสู่โลกของความเป็นจริง ครูชอบเดินไปคนเดียว ตามทางเท้าในชนบท มีต้นข้าวต้นหญ้าเขียวขจีสองข้างทาง ค่อยๆวางเท้าลงไปทีละก้าวๆอย่างมีสติ รู้ตัวว่ากำลังก้าวไปบนแดนมหัศจรรย์...”  (เดินบนพื้นโลกเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ ในหนังสือ ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ)


คลื่นชีวิตภายในที่กระเพื่อมสะท้อนกับทุกอย่างที่ไล่เข้ามาหานั้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ดำเนินมาชั่วชีวิต ตั้งแต่เกิด แม่สอนให้พูดคำว่า สวัสดี สอนให้พนมมือ แล้วบอกว่าไหว้พระ ชวนไปกราบพระพุทธรูป กราบตักพระสงฆ์ เดินตามหลังแม่ชี กระทั่งไหว้ผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสกว่า กลายเป็นคลื่นจิตพื้นแรเงาอยู่ภายใน


โตอยู่ภายใน จึงไม่ต้องพูดถึงข้อสงสัยการมีอยู่จริงแท้หรือไม่เพียงใด

 

 

การเข้าไปใกล้บทธรรมขั้นลึกซึ้ง ทำความเข้าใจความละเอียดลออ อ่อนโยนมากกว่าปกติ เมื่อชีวิตตกอยู่ในห้วงทุกข์ วังวนของความร้าวราน ทรมานทางกายและจิตวิญญาณ จะด้วยเหตุใดก็ตาม นิสัยจริตสนใจเรื่องใดก็ตามเรื่องนั้นไป อยากอ่านหน้าไหนก็เปิดหน้านั้น


เก็บเล็กผสมน้อย เหมือนป้อนการเติบโตของต้นไม้ภายใน อย่างไม่รีบร้อน ด่วนให้ถึงเป้าหมายที่เรียกว่าหลุดพ้นใดๆ หรือต้องขวนขวายผ่านคำอธิบายบาปบุญ บางคราวพลั้งเผลอด้วยเงื่อนไขชีวิตใดก็ตาม ก็ให้รู้ว่าพลั้งเผลอ ไม่ซ้ำเติม ไม่แบ่งแยกหยิบมาตำหนิ หรือกระหน่ำทำให้ทุกข์จิตจมร้อนเผาไหม้ยิ่งขึ้น


รับผิดชอบและรับในสิ่งที่ทำลงไปอย่างที่สุด จะไม่ปฏิเสธความผิดพลาด จะไม่เบิกบานเกินล้นเมื่อพบความหลงดีใจ ดำเนินชีวิตไปตามปกติ พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว เช้าวันนี้กำลังผ่านไป เย็นย่ำกำลังมาและจะผ่านไป


ไม่เคยไม่มีเวลาให้สำหรับการเริ่มต้นใหม่ ที่ไม่สอดคล้องกับคลื่นจิตวิญญาณ และพยายามปล่อยความผิดพลาดที่ยึดจับใจทุรนให้คลายผ่านไป


ความคิดเช่นนี้ มาจากการเก็บเล็กผสมน้อย ที่สอดกับจริตตัวเองมากที่สุด ไม่ได้เกิดจากการหักโหมเพื่อจะรู้บทธรรมชั่วข้ามคืน นำมาเป็นแนวทางชีวิต ทุกอย่างเป็นไปเท่าที่เป็นไปได้ และขบคิดทบทวนนำมารดต้นไม้ภายในให้เติบโตยิ่งขึ้น


อย่าให้ธรรมะนั้นเกิดมีการผูกขาด หรือเกิดความมีสิทธิเป็นเจ้าของขึ้นแก่บุคคลใด หรือแก่ส่วนไหนของโลกขึ้นมาเป็นอันขาด จึงจะสามารถใช้เป็นเครื่องกำจัด “ตัวกู – ของกู” อันเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่มีอยู่เพียงตัวเดียวของโลกได้” (ตัวกู ของกู ท่านพุทธทาสภิกขุ)


เป็นความสว่างวาบจับใจ ปล่อยให้เชื่อมโยงกับปัจจัยในชีวิต อันนำไปสู่หนทางความเข้าใจมากขึ้นทั้งนั้น “การเกิดขึ้นแห่ง “ตัวกู ของกู” นั้น คือ จิตที่ตั้งใว้ผิด... ย่อมนำมาซึ่งอันตราย หรือเป็นการทำอันตรายแก่ผู้นั้น ยิ่งกว่าอันตรายที่ศัตรูหรือโจรใจอำมหิตจะพึงกระทำให้...”


ไม่ว่าเปิดหน้าไหนในบทธรรม เหมือนได้รดน้ำต้นไม้ภายใน มันงอกงามสว่างขึ้นมาอย่างผิดหูผิดตา รับรับแต่ใจจิตวิญญาณตนเองเท่านั้น

 

 

การล้างถ้วยล้างจานก็เป็นหนทางนำความสว่างมาให้ นั่นก็เป็นการเก็บมาจากวิถีปฏิบัติของท่านติช นัท ฮันห์ ที่สอนให้แก่เหล่าลูกศิษย์ได้ประจักษ์ ถึงความหมายการอยู่กับปัจจุบันขณะ


ขณะล้างจานเราก็ควรล้างจานอย่างเดียว ซึ่งหมายความว่าขณะล้างจานเราต้องรู้ตัวทั่วพร้อมว่าเรากำลังล้างจาน ถ้าดูเผินๆอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ออกจะดูโง่เขลา ที่ไปให้ความสำคัญมากมายกับสิ่งธรรมดาๆ แต่นั่นกลับตรงจุดเผงเลยทีเดียว..” (ล้างจานเพื่อล้างจาน ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ พระติช นัท ฮันห์)


วันที่เดินทางกลับไปสู่บทธรรม อันเป็นเสมือนเพลงกล่อมต้นไม้ภายใน ให้เติบโตขึ้นมาเป็นร่างกาย จิตใจ และวิญญาณอย่างปกตินั้น ดูเหมือนยากเข้าใจ แต่ก็ง่ายจะเข้าใจ ดูเหมือนง่ายแสนง่าย แต่ไม่ง่ายเลย ประตูบานนี้ มีไว้ให้ดวงจิตดวงใจที่ซวนเซเป๋มาเป็นลำดับแรก ออกไปรับแสงแรกอีกครั้งหนึ่ง ดวงจิตดวงใจที่แข็งแรงอาจไม่อยากเปิดประตูไปหยั่งดู หรือประตูภายในบานนั้น ได้รับการปัดกวาดเช็ดถูอยู่สม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องรับมอบวันหนึ่งวันใดให้เป็นวันสำคัญพิเศษ

 

 

 

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
พ่อของลูกคือลูกของพ่อ ล้วงหนังสือ “เจ้าชายน้อย” ออกจากกระเป๋าสะพาย เป็นเล่มเดียวที่ติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ลูกชายเดินทางไปด้วย และไม่อาจรู้หรอกว่าจะได้เปิดอ่านในช่วงไหนเวลาไหน ลูกของพ่อคือหลานของปู่กำลังง่วนอยู่กับสมุด ดินสอ สีในกระเป๋าเช่นกัน เขาคงนึกอยากเขียนภาพ
ชนกลุ่มน้อย
เดินทางแบบกระเด็นกระดอนอยู่ในกระป๋องหนาหนักติดล้อ  และความยาวนานของระยะทาง  กว่า 5 ชั่วโมงไปให้ถึงใจกลางภูเขา  แต่ยิ่งคิดว่าเมื่อไหร่จะถึงใจกลางภูเขาตามมาตรวัดของแผนที่แผ่กางออกกว้าง  ยิ่งกลับเป็นเรื่องยากไปถึงใจกลางภูเขาที่อยู่ในใจ  ภูเขาเป็นทะมึนก่อกำแพงรายล้อม  
ชนกลุ่มน้อย
    เป็นเวลา 10 กว่าปี ที่ผมไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับพ่อใต้ชายคาเดียวกันนานๆ แต่คราวนี้ พ่ออยู่กับผมนานถึง 90 วัน พ่อในวัย 74 เพิ่งผ่านการบำบัดรักษาหัวใจอย่างชนิดลุ้นเส้นยาแดงผ่าแปดกันมา และต้องควบคุมตัวเองเรื่องการดื่ม กิน เคลื่อนไหว และเคร่งครัดกับขนาดจำนวนยารักษาอย่างชนิดห้ามขาดเกินเวลา
ชนกลุ่มน้อย
ไหนๆ ก็กอดกันแล้ว กอดต่ออีกครั้งเป็นไรไป ภูเขาลูกนั้นมีเถียงไร่ตั้งอยู่โดดเด่นและโดดเดี่ยว สองพ่อลูกชวนกันไปยังเถียงไร่ ที่นั่นคงสบายตา ดูลับหูลับตาคน ไม่มีใครไป พอเดินไปได้ไม่กี่ก้าว กลับพบกับไม้สามต้น ดูราวเป็นพี่น้องกัน ทรงพุ่มงามเหลือเกิน เหมือนก้อนเมฆย้อมสีเขียวเกิดเปลี่ยนใจอยากมาปักเป็นต้นไม้อยู่บนผืนดิน มองแล้วมองอีก ยังไม่อิ่ม “กอดดีกว่าพ่อ” เสียงนั้นบอก “พ่อกอดด้วย” นานอย่างนาน ผลัดกันกอดไม้สามต้นนั้น
ชนกลุ่มน้อย
 ขอทะลึ่งๆ เว่อร์ๆ อีกสักครั้งเถอะครับ ผมรู้สึกอย่างนี้จริงๆ ทันทีที่นึกอยากเขียน และโชว์รูปที่น่าจะอยู่ในอัลบั้มรูปส่วนตัว ว่างๆก็เอามาแบวางออกดูและรำลึกถึง มากกว่านำออกมาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าสายตาสาธารณะ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า เบื่อๆ เซาๆ ซึมๆ ว่างมาก มาทำเรื่องดูดีกันมั้ยลูก   มา ม๊า มาทำซึ้งกันสักครั้งดีกว่ามั้ย"เอ้า เอาเลย กอดกันเลยลูก" พูดแค่นั้นเจ้าชายน้อยโผประจำการทันที ผมไล่ตามเก็บรูป"พ่อกอดมั้ย" เขาถามกลับมา"กอดสิ ต้องกอดแน่ๆ ว่างแล้วยัง" หมายถึงไม้ต้นนั้น หมายตาไว้เหมือนกัน และถูกรักหลงในเวลาอันรวดเร็ว"ถ่ายรูปมั้ย" เขายึดกล้องไปกดรูปวันนั้น…
ชนกลุ่มน้อย
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ที่ผมตระเวนท่องไปตามป่าเขาในภาคเหนือ ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะเผชิญหน้าจริงๆ กับพายุลมแรงที่หอบน้ำแข็งมาด้วย จนติดตรึงอยู่ในพายุน้ำแข็ง ไม่เห็นทางข้างหน้าและไม่เห็นทางข้างหลัง ขยับไปไหนไม่ได้ ราวกับทุกอย่างตกอยู่เหนือการควบคุม นอกจากยอมรับสภาพแล้วจำนนกับความเป็นไป
ชนกลุ่มน้อย
วันที่ 8 มีนาคม 2552 ผมนั่งเคียงข้างพ้อเลป่า ก่อนเดินทางกลับ ผมบอกว่า อีกสองสามอาทิตย์จะเข้ามาเยี่ยมอีกครั้ง เวลาผ่านไปสามอาทิตย์กว่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2552 พ้อเลป่าก็จากไปจริงๆ ผมไปถึงบ้านแม่แฮคี้ตอนบ่ายแก่ๆวันต่อมา บ้านไม้ริมถนนมีคนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนบ้าน ไล่เรียงอออกมานอกประตูบ้าน ผู้เฒ่ากวีแห่งแม่แฮใต้จากไปจริงๆ รูปวางถ่ายไว้บนโลงไม้ รูปสูบไปป์ที่คุ้นเคย พร้อมดอกไม้สัญลักษณ์ของความอาลัย
ชนกลุ่มน้อย
 เมื่อฉันเริ่มจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ ฉันรู้ว่า แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่นๆ เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริงยินดี
ชนกลุ่มน้อย
ชนกลุ่มน้อย
 ไม่มองซ้ายขวาหน้าหลัง  เดินเข้าไปหาแล้วโอบกอด   "ได้กลิ่นมั้ย" ผมถาม"เหมือนน้ำมัน" เขาตอบ"ใช่  ในตัวเขามีน้ำมัน" .. บทสนทนาระหว่างโอบกอด  เป็นเช่นนี้จริงๆ