Skip to main content

 

เมื่อฉันเริ่มจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ ฉันรู้ว่า แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่นๆ เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริงยินดี

แต่ทว่าเสื้อนั้นมีเพียงตัวเดียว เสื้อตัวอื่นสำหรับจะเปลี่ยนไม่มี มีเพียงตัวเดียวเท่านั้น เสื้อตัวนั้นจะเก่าหรือ จะสกปรกหรือ ฉันไม่รู้ไม่เข้าใจ รู้เพียงว่ามีเสื้อแล้ว ฉันก็ดีใจ ฉันรู้ว่ามันเปียกหรือไม่เปียกเท่านั้นเอง

พอรู้ว่าเสื้อเปียกแล้ว เราพูดกันในหมู่เด็กๆว่า

"จะทำเสื้อให้แห้งอย่างไรดี อยู่อย่างนี้หนาวจังเลย"

ถึงตอนนี้เราบอกกันให้ไปช่วยหาเศษไม้เศษขยะมาก่อไฟที่ใต้ถุนบ้าน แล้วเราก็ตากเสื้อเหนือไฟกองนั้น พวกเราเจ้าของเสื้อแต่ละคนนั่งผิงอยู่รอบๆกองไฟ เปลือยกายล่อนจ้อนกันทุกคนอย่างพวกลิง ค่าง ชะนี หากเสื้อของใครจะแห้งก่อนสักคน เราจะไปเที่ยวเล่นคนเดียวไม่ได้ เราต้องคอยจนกว่าเสื้อของทุกคนจะแห้งหมด เราจึงหาเพื่อนด้วยเศษไม้ เศษขยะนี่เอง


เมื่อเสื้อแห้งหมดทุกคนแล้ว เราสวมมันอย่างร่าเริงแจ่มใสอีกครั้งหนึ่ง เราพากันออกไปเล่นต่ออีก

สำหรับพวกเราเด็กๆกะเหรี่ยงนั้น กลิ่นที่หอมที่สุด เป็นกลิ่นอะไรรู้ไหม

มันคืนกลิ่นหอมควันไฟจากเสื้อเรานั่นเอง

 

พอโตจนสวมทั้งเสื้อและกางเกงแล้ว ฉันจำได้ว่า หากฉันเห็นใครสวมเสื้อผ้าใหม่ ใส่กางเกงดีๆ ฉันจะรู้สึกอายเขามาก ฉันมองดูตัวเองแล้วก็ร้องไห้ออกมานิดๆ แต่พอมองไปที่พวกเพื่อนๆแล้วที่เขาเหมือนกับฉันก็มีอยู่เหมือนกัน ฉันจึงรู้สึกสบายใจขึ้นมาบ้าง


ความอดอยากแร้นแค้นเกิดขึ้นกับครอบครัวของฉันอีก เงินหรือ? เงินก็ไม่มี ข้าวหรือ? ข้าวก็หมดไปนานแล้ว ฉันจะไปเป็นลูกจ้างคนอื่น ก็ยังทำงานไม่เป็น คงไม่มีใครจ้างฉัน แต่มีอยู่ทางหนึ่ง ถ้าอยากกินข้าว ฉันจะไปช่วยตักน้ำให้เพื่อนบ้าน เขาก็จะให้ข้าวมากินก้อนหนึ่ง เพื่อนของฉัน บางคนพ่อแม่เขามีวัวควาย เขาก็มาชวนฉันไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ฉันไปกับเขา เมื่อกลับมาถึงบ้าน เขาก็ให้ฉันกินข้าวด้วย ฉันทำอย่างนี้เอง


บางครั้งถ้าฉันมีข้าว ฉันก็ชวนเพื่อนมากินข้าวกับฉัน มานอนกับฉัน เราผลัดเปลี่ยนกันไปนอนบ้านคนนี้บ้าง คนโน้นบ้าง บางทีเราก็ชวนกันไปเที่ยวตกปลา ดักนก ดักไก่ป่าเอามากินกัน


ยามขาดแคลนข้าว เราไปเสาะหาข้าวเปลือกต่างหมู่บ้าน ฉันมักจะตามหลังพ่อไป ตอนนั้นฉันเริ่มเป็นหนุ่มแล้ว พวกคนเฒ่าคนแก่พูดกับฉันว่า

"พวกเด็กๆโตขึ้นเร็วมาก เด็กสมัยนี้โตเร็ว อีกไม่นานก็จะโตขึ้นแทนที่พวกข้า"


เวลานั้น ถนนรถยนต์ยังมาไม่ถึงหมู่บ้านของเรา ฉันยังไม่เคยเห็นรถยนต์เลยสักครั้ง ฉันเดินไปขนข้าวสารจากวังลุงบ้าง จากจอมทองบ้าง บางครั้งฉันตามคนอื่นไป บางครั้งฉันไปกับพ่อและแม่ ที่นั่นเองที่ฉันได้เห็นรถยนต์


ในตอนนั้น ฉันยังไม่เคยเห็นเงินที่เป็นธนบัตรเลย เราใช้กันแต่สตางค์แดงเท่านั้น ถ้วย จาน เราก็ยังไม่มีใช้ หม้อเหล็ก หม้ออลูมีเนียมที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มี เด็กๆสมัยนี้คงไม่มีใครเชื่อฉัน แต่มันเป็นความจริงอย่างนั้น


เราใช้หม้อดิน เราทำจานทำถ้วยจากไม้ไผ่ เราใช้ช้อนที่ทำจากกิ่งไผ่ สำหรับหม้อดินนั้น พวกเราเอามาจากหมู่บ้านของคนลัวะ บางทีเราเอาไก่ไปแลก บางทีเราใช้สตางค์แดงไปซื้อ


แต่ก็มีบางคนเขาทำถ้วยและจานจากไม้ เขาจะเจาะแกนไม้ แล้วถากรอบๆให้เหมือนถ้วย สำหรับจานใส่ข้าวนั้น เขาจะตัดไม้ใหญ่มาผ่าซีก แล้วก็จะขูดเนื้อไม้ข้างในออก เวลาจะกินข้าว เราจะคดข้าวใส่ลงรอบๆในจานไม้ใหญ่นี้ ซึ่งเราเรียกว่า เซอบิเมหละ เราจะวางถ้วยแกงหรือน้ำพริกไว้ตรงกลาง คนทั้งบ้านจะนั่งเป็นวงกลมรอบเซอบิเมหละ พ่อ แม่ ลูกจะกินข้าวจากจานใบเดียวกันนี้


อาหารของคนกะเหรี่ยงเรานั้น ขอให้มีแต่พริกกับเกลือก็พอ ถ้ามีพริกมีเกลือ เรากัดกินปนกัน เราก็อยู่ได้

บางครั้งเรากัดกินพริกกับเกลือ แต่บางครั้งเราก็ได้กินเนื้อ กินนกกินหนูด้วยเหมือนกัน

บนภูเขาเดี๋ยวนี้สบายขึ้นมากแล้ว มีทางรถยนต์ไปถึงหมู่บ้าน แต่บางหมู่บ้านก็ยังไปไม่ถึง

ฉันไม่รู้หรอกว่า ความสะดวกสบายที่เราได้รับจะนำความสุขหรือความทุกข์มาให้คนภูเขา

 

*** น่าจะเป็นครั้งแรกที่คนในหมู่บ้านแม่แฮใต้ ได้ฟังถ้อยงานเขียนพ้อเลป่า

ผมคัดเลือกเอาบทที่มีความรู้สึกต่อเนื่อง ใกล้เคียงกัน อ่านรวดเดียวจบ ให้ทุกคนได้ฟังซึมซับ

(จากหนังสือ"คนปกากะญอ" เล่มแรกของ พ้อเลป่า (แปลโดย กัลยา-วีระศักดิ์ ยอดระบำ))

ในตอนใกล้เที่ยง วันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2552

ณ สุสานแม่แฮใต้

 

 

 

 

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
ห้องครัวซ้อมดนตรี ถึงเพลงบันนังสตา บ้านเช่าบ้านไม้เป็นบ้านชาวนาในหมู่บ้านแม่เหียะ ชานเมืองเชียงใหม่   ห้องครัวคือห้องทำงาน  ห้องนอนบางเวลา  ห้องซ้อมดนตรี   ห้องนั่งเล่นและห้องรับแขก 
ชนกลุ่มน้อย
ประชาชน  สัตว์เลี้ยงของแวมไพร์
ชนกลุ่มน้อย
สองทุ่ม   อังคารที่ 16 มีนาคม  2553   นักดนตรีในเชียงใหม่  และคนในแวดวงหนังสือ ศิลปะ  นัดรวมตัวกันที่ร้านสุดสะแนน  ร่วมรำลึกถึงการจากไปของ ”จ่าเพียร”(พ.ต.อ สมเพียร เอกสมญา) วีรบุรุษแห่งเทือกเขาบูโด  ด้วยสายสัมพันธ์กับไวล์ดซี๊ด (ชุมพล  เอกสมญา) ลูกชายจ่าเพียรที่ผ่านมาเล่นดนตรีในเชียงใหม่อยู่เสมอๆ   เยียวยาจิตใจเมล็ดเถื่อนจากบันนังสตา  ร่วมรำลึก ...   
ชนกลุ่มน้อย
ขอต่อยาวสาวความยืดถึงน้ามาดบางมุมดูหน้าดุ เวลาเดินเหมือนนุ่นลอยอีกหน่อย อย่างที่บอกไว้ บุรุษไร้นาม(และหนาม)ตามใจคนนี้ อย่าให้นั่งหน้าทับหน้าหนังกลองแล้วกัน ความจืดของหน้าจะถูกขับออกมาอย่างเผ็ดร้อน ไม่เรียบเฉยปล่อยวางอีกแล้ว บางด้านดูดุเทียบได้ใบหน้าเสือจ้องขบ กลับเกลี่ยเสียใหม่ เป็นเสียงทะลวงไส้พุงเร้าใจผิดหน้าผิดหูผิดตาไปทันที
ชนกลุ่มน้อย
  “เลสาปหน้าร้อนเปื่อยหมดแล้ว” ประโยคนี้ถ้าเขียนใหม่ตามภาษาบรรพบุรุษของใต้สวรรค์ ต้องบอกว่า เลสาปหน้าร้อนเปื่อยแผล็ดๆ เหตุที่เปื่อยเห็นด้วยตา ถ้าพูดผ่านปากของบ่าวทอง ต้องเริ่มต้นว่า“ที่จริง”เช่นเคย “ที่จริงมันไม่เปื่อยหร็อก ที่มันเปื่อยเพราะเลกลายเป็นโคลน เปื่อยแผล็ดๆไปทั้งเล” …
ชนกลุ่มน้อย
  สวรรค์ปักษ์ใต้มีสะตอกับลูกเนียงรวมอยู่ด้วย หรอยที่สุดต้องเหนาะ(จิ้ม)กับน้ำชุบ(น้ำพริก-ต้องกะปิเท่านั้น) หรือกินกับแกงคั่ว คั่วกะทิหรือแกงคั่วเผ็ดไม่กะทิ เผ็ดร้อนไม่แพ้ขาดเหลือกันนัก ไม่มีใครบอกว่าพริกพัทลุงหรือพริกนครศรีธรรมราช เผ็ดแรงร้อนกว่ากัน...
ชนกลุ่มน้อย
นักดนตรีกลุ่มนี้ขับเคลื่อนด้วยความรัญจวนจากฤดูความว่างของชีวิต ออกไปเล่นดนตรีบรรเลงชีวิตร่วมกัน หรือจะพูดอีกที การมาถึงของพวกเขาใต้สวรรค์ ไม่ต่างจากฝูงปลาดุกหนีน้ำแถกเหงือกมาหากันในช่วงหน้าแล้ง หนวดยั้วคลุกนัวกันมาบนโคลนเปียกๆ เหนียวเหนอะไปยังถิ่นที่คาดว่าจะมีน้ำ สีผิวฝูงปลาดุกเลื่อมมันน่าเกรงขาม
ชนกลุ่มน้อย
คำ  สุวิชานนท์ รัตนภิมล และคำของอา' รงค์ ทำนอง  สุวิชานนท์  รัตนภิมล
ชนกลุ่มน้อย
ลมบาดหิน ของอา… “ผู้ชายคนนั้นกับผู้หญิงของเขาตัดสินใจแรมคืนในกระโจม(เต็นท์) เขาพบว่าการเสียบก้านปลั๊กตัวผู้ลงในรูปลั๊กตัวเมียเพื่อต้มน้ำกับกาไฟฟ้านั้นเป็นความสะดวกสบายของคนในทาวน์เฮาส์ที่กรุงเทพฯ และอย่างน่าอิจฉา แต่การมองหาก้อนหินนำมาวางเป็นก้อนเส้า กิ่งไม้ง่ามปักกับดินแล้วพาดราวแขวนหม้อและริ้วชิ้นวัวฝานหมักเกลือ ก่อกองไฟและต้มกาแฟ นี้เป็นบางแบบของชีวิตซึ่งผู้ชายควรเรียนรู้...”
ชนกลุ่มน้อย
พอออกมาจากห้องฝึกเรียนไวโอลินกลางเมืองเชียงใหม่  ผมบอกเจ้า 9 ขวบว่าไปเยี่ยมคุณลุงหน่อยนะ   เจ้าเก้าขวบถามทันทีที่ไหน  ผมตอบกลับวัดเจดีย์หลวง  ไปทำอะไรเหรอ เขาสงสัย  อยากไปเยี่ยม พ่อไม่ได้เข้าไปนานแล้ว
ชนกลุ่มน้อย
  ในห้องทำงาน โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ไม้ไม่เหมือนวันก่อน หนังสือเล่มใหม่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนเล่มมาวาง ชั้นหนังสือเรียงตามกัน โน้ตสั้นๆ เขียนถึงเวลานัดหมาย เวลาส่งงาน หมายเลขโทรศัพท์ ม้านั่งไม้ไว้นอนเอกเขนก โคมไฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด โต๊ะกลม กีตาร์ กล้องถ่ายรูป รูปภาพบนผนัง ...
ชนกลุ่มน้อย
  ในชีวิต ณ ปัจจุบัน ผมไม่นึกไม่ฝันว่าจะมาข้องเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชื่อ ไวโอลิน และยิ่งไม่เคยนึกว่าวันหนึ่ง จะมีไวโอลินมานอนอยู่ในห้อง ตั้งวางอยู่ข้างตัว รวมถึงได้ยินมันส่งเสียงทุกวันตอนย่ำค่ำ