Skip to main content
 ไม่มองซ้ายขวาหน้าหลัง  เดินเข้าไปหาแล้วโอบกอด  
"ได้กลิ่นมั้ย" ผมถาม
"เหมือนน้ำมัน" เขาตอบ
"ใช่  ในตัวเขามีน้ำมัน" ..
 บทสนทนาระหว่างโอบกอด  เป็นเช่นนี้จริงๆ

"ถ้ามันมีกลิ่นแสดงว่ามันไม่ล้มง่ายใช่มั้ย" โดนประโยคสงสัยเข้าเต็มๆ
"ล้มยากหรือล้มง่าย  มีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่น  มันก็น่าโอบกอด"


สองคนกอดต้นไม้คนละต้น 
"นิ่มมั้ย" ผมถาม
"แข็งจะตาย"
"แต่ต้นนี้นิ่มมากๆ"..
วิชาสัมผัส  ทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสใน  ออกจะเป็นเรื่องเข้าใจยาก  แต่วิชาโอบกอด  กลับง่ายดายเหลือเกิน 

"กอดต้นไม้"
ผมได้ยินครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน   ถึงขบวนการเคลื่อนไหวโอบกอดต้นไม้ในแถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย  ปกป้องต้นไม้ด้วยการโอบกอดต้นไม้  ให้รอดพ้นจากคมเลื่อยคมมีดของผู้รุกราน
เรียกกันในชื่อขบวนการชิปโก้ และคำขวัญของเขา
"หากขวานฟันลงมา  ขอให้ฟันลงมาที่ร่างกายเรา  ก่อนที่ต้นจะถูกโค่น"
ขบวนการที่ได้รับอิทธิพลจากมหาตมะ คานธี  เคยกล่าวไว้ว่า "มนุษย์จะต้องใช้ชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ  หากไม่ต้องการเดินทางไปสู่หายนภัย"
เป็นความรักและความศรัทธา  ที่จะให้ความเขียวชะอุ่มอยู่บนโลก

หลายปีต่อมา  เด็กชายในบ้านคาบข่าวมาบอก  พูดตาโตๆว่า วันนี้นะ คุณครูพาเด็กๆไปกอดต้นไม้  โรงเรียนนั้นชื่อหมีน่ารัก (
kiddy bear)  ขบวนการคิดดี้แบร์โอบกอดต้นไม้  นำเด็กนักเรียนไปกอดต้นไม้กลางเมืองเชียงใหม่   ทั้งกอด  ทั้งนอนดูกิ่งก้านใบ สื่อสารของความรู้สึก    ทั้งวาดรูปติดมาด้วย 
มันตราตรึงใจเจ้าตาโตๆ  ภูมิใจกับการกอดต้นไม้ตลอดมา
และนับแต่นั้น  การกอดต้นไม้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเรา 

มีโอกาสไปใกล้ต้นไม้เมื่อไหร่  เราชวนกันไปกอดต้นไม้   ครั้งแล้วครั้งเล่า  เริ่มต้นจากไม้ใกล้บ้าน  ไม้ไกลบ้าน  จนถึงไม้กลางป่า  ถามไถ่ความรู้สึกกัน  ถ่ายเทสัมผัสภายในให้กัน

"พ่อได้ยินมันยืนร้องไห้"
ผมพูดแล้วเด็กชายรีบถาม  เพราะอะไรเหรอ
"ถนนขยายกว้างออกไป  ต้องตัดมันทิ้ง" 
"ถ้าเรามีถนนใหญ่ขึ้น  แสดงว่าต้นไม้ร้องไห้"  เจ้าเด็กชายพูดชัดถ้อยชัดคำ

นานวัน   ผมยิ่งรับรู้ว่า  ภาวะโอบกอด  ช่างเต็มไปด้วยพลังชีวิต  ออกไปจากชีวิตของเรา  ไปสู่ชีวิตอื่น  เห็นดวงตาผู้อื่น  เห็นสรีระผู้อื่น  และทัศนียภาพในการมองเห็นก็เปลี่ยนไปด้วย
"หลับตา  ให้รู้ว่า  เรากำลังโอบกอดสิ่งที่ดีที่สุด ให้รู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน 


ผมยังได้ยินเสียงตื่นเต้นดีใจของเด็กชายในบ้านด้วย  โดยเฉพาะยามเจอแมลงแปลกๆ  หนอน  ซากงู  ซากจักจั่น  มดแมงตามเปลือกไม้ 

ต้นไม้กลางป่าต้นหลังสุดที่เด็กชายโอบกอดก็คือต้นสนสามใบ 
ผมบอกเขาว่า  ต้นสนหนึ่งต้น  มีอีกหลายชีวิตอยู่ในตัวมัน  ทุกอย่างเติบโตออกมาจากหนึ่ง  เป็นสอง สาม สี่ ห้า ต่อเนื่องเรื่อยไป

เขาหลับตาพริ้ม  ฟังเสียงภายในต้นสน

 

 

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
ห้องครัวซ้อมดนตรี ถึงเพลงบันนังสตา บ้านเช่าบ้านไม้เป็นบ้านชาวนาในหมู่บ้านแม่เหียะ ชานเมืองเชียงใหม่   ห้องครัวคือห้องทำงาน  ห้องนอนบางเวลา  ห้องซ้อมดนตรี   ห้องนั่งเล่นและห้องรับแขก 
ชนกลุ่มน้อย
ประชาชน  สัตว์เลี้ยงของแวมไพร์
ชนกลุ่มน้อย
สองทุ่ม   อังคารที่ 16 มีนาคม  2553   นักดนตรีในเชียงใหม่  และคนในแวดวงหนังสือ ศิลปะ  นัดรวมตัวกันที่ร้านสุดสะแนน  ร่วมรำลึกถึงการจากไปของ ”จ่าเพียร”(พ.ต.อ สมเพียร เอกสมญา) วีรบุรุษแห่งเทือกเขาบูโด  ด้วยสายสัมพันธ์กับไวล์ดซี๊ด (ชุมพล  เอกสมญา) ลูกชายจ่าเพียรที่ผ่านมาเล่นดนตรีในเชียงใหม่อยู่เสมอๆ   เยียวยาจิตใจเมล็ดเถื่อนจากบันนังสตา  ร่วมรำลึก ...   
ชนกลุ่มน้อย
ขอต่อยาวสาวความยืดถึงน้ามาดบางมุมดูหน้าดุ เวลาเดินเหมือนนุ่นลอยอีกหน่อย อย่างที่บอกไว้ บุรุษไร้นาม(และหนาม)ตามใจคนนี้ อย่าให้นั่งหน้าทับหน้าหนังกลองแล้วกัน ความจืดของหน้าจะถูกขับออกมาอย่างเผ็ดร้อน ไม่เรียบเฉยปล่อยวางอีกแล้ว บางด้านดูดุเทียบได้ใบหน้าเสือจ้องขบ กลับเกลี่ยเสียใหม่ เป็นเสียงทะลวงไส้พุงเร้าใจผิดหน้าผิดหูผิดตาไปทันที
ชนกลุ่มน้อย
  “เลสาปหน้าร้อนเปื่อยหมดแล้ว” ประโยคนี้ถ้าเขียนใหม่ตามภาษาบรรพบุรุษของใต้สวรรค์ ต้องบอกว่า เลสาปหน้าร้อนเปื่อยแผล็ดๆ เหตุที่เปื่อยเห็นด้วยตา ถ้าพูดผ่านปากของบ่าวทอง ต้องเริ่มต้นว่า“ที่จริง”เช่นเคย “ที่จริงมันไม่เปื่อยหร็อก ที่มันเปื่อยเพราะเลกลายเป็นโคลน เปื่อยแผล็ดๆไปทั้งเล” …
ชนกลุ่มน้อย
  สวรรค์ปักษ์ใต้มีสะตอกับลูกเนียงรวมอยู่ด้วย หรอยที่สุดต้องเหนาะ(จิ้ม)กับน้ำชุบ(น้ำพริก-ต้องกะปิเท่านั้น) หรือกินกับแกงคั่ว คั่วกะทิหรือแกงคั่วเผ็ดไม่กะทิ เผ็ดร้อนไม่แพ้ขาดเหลือกันนัก ไม่มีใครบอกว่าพริกพัทลุงหรือพริกนครศรีธรรมราช เผ็ดแรงร้อนกว่ากัน...
ชนกลุ่มน้อย
นักดนตรีกลุ่มนี้ขับเคลื่อนด้วยความรัญจวนจากฤดูความว่างของชีวิต ออกไปเล่นดนตรีบรรเลงชีวิตร่วมกัน หรือจะพูดอีกที การมาถึงของพวกเขาใต้สวรรค์ ไม่ต่างจากฝูงปลาดุกหนีน้ำแถกเหงือกมาหากันในช่วงหน้าแล้ง หนวดยั้วคลุกนัวกันมาบนโคลนเปียกๆ เหนียวเหนอะไปยังถิ่นที่คาดว่าจะมีน้ำ สีผิวฝูงปลาดุกเลื่อมมันน่าเกรงขาม
ชนกลุ่มน้อย
คำ  สุวิชานนท์ รัตนภิมล และคำของอา' รงค์ ทำนอง  สุวิชานนท์  รัตนภิมล
ชนกลุ่มน้อย
ลมบาดหิน ของอา… “ผู้ชายคนนั้นกับผู้หญิงของเขาตัดสินใจแรมคืนในกระโจม(เต็นท์) เขาพบว่าการเสียบก้านปลั๊กตัวผู้ลงในรูปลั๊กตัวเมียเพื่อต้มน้ำกับกาไฟฟ้านั้นเป็นความสะดวกสบายของคนในทาวน์เฮาส์ที่กรุงเทพฯ และอย่างน่าอิจฉา แต่การมองหาก้อนหินนำมาวางเป็นก้อนเส้า กิ่งไม้ง่ามปักกับดินแล้วพาดราวแขวนหม้อและริ้วชิ้นวัวฝานหมักเกลือ ก่อกองไฟและต้มกาแฟ นี้เป็นบางแบบของชีวิตซึ่งผู้ชายควรเรียนรู้...”
ชนกลุ่มน้อย
พอออกมาจากห้องฝึกเรียนไวโอลินกลางเมืองเชียงใหม่  ผมบอกเจ้า 9 ขวบว่าไปเยี่ยมคุณลุงหน่อยนะ   เจ้าเก้าขวบถามทันทีที่ไหน  ผมตอบกลับวัดเจดีย์หลวง  ไปทำอะไรเหรอ เขาสงสัย  อยากไปเยี่ยม พ่อไม่ได้เข้าไปนานแล้ว
ชนกลุ่มน้อย
  ในห้องทำงาน โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ไม้ไม่เหมือนวันก่อน หนังสือเล่มใหม่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนเล่มมาวาง ชั้นหนังสือเรียงตามกัน โน้ตสั้นๆ เขียนถึงเวลานัดหมาย เวลาส่งงาน หมายเลขโทรศัพท์ ม้านั่งไม้ไว้นอนเอกเขนก โคมไฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด โต๊ะกลม กีตาร์ กล้องถ่ายรูป รูปภาพบนผนัง ...
ชนกลุ่มน้อย
  ในชีวิต ณ ปัจจุบัน ผมไม่นึกไม่ฝันว่าจะมาข้องเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชื่อ ไวโอลิน และยิ่งไม่เคยนึกว่าวันหนึ่ง จะมีไวโอลินมานอนอยู่ในห้อง ตั้งวางอยู่ข้างตัว รวมถึงได้ยินมันส่งเสียงทุกวันตอนย่ำค่ำ