Skip to main content

ห้องครัวซ้อมดนตรี ถึงเพลงบันนังสตา
บ้านเช่าบ้านไม้เป็นบ้านชาวนาในหมู่บ้านแม่เหียะ ชานเมืองเชียงใหม่  
ห้องครัวคือห้องทำงาน  ห้องนอนบางเวลา  ห้องซ้อมดนตรี   ห้องนั่งเล่นและห้องรับแขก 


ความยากง่ายของห้องครัว  อยู่ที่ใครจะผ่านมาใช้เวลาใด
ยามใดปราศจากกาแฟ  ก็อดกินกาแฟ  ยามมีกาแฟก็จะมีกาแฟสูตรนมข้นแนะนำ  หรือยามใดไม่มีกับข้าว  ก็ต้องลงเก็บผักบุ้งในสระ  ตกปลาในคูน้ำ  หรือไม่ก็แปลงผักที่หมุนเวียนเปลี่ยนผักในแปลงปลูก

ชุมพลเป็นแขกผู้มาเยือน  ก็ผ่านมาใช้ห้องนี้เช่นกัน  เขามาซ้อมเพลงเล่นเพลง  ครั้งละนานอย่างนานหลายชั่วโมง



เขามาในช่วงเวลาเด็กหญิงตัวน้อยวัย 5 ขวบอยู่ในบ้าน 
เด็กหญิงแอบมองดูเขา
เด็กหนุ่มวัย 20 ต้นๆ ผมหยิกหยอย หน้าคม ผิวคล้ำ  เสียงห้าวลึก หลงใหลในเสียงเพลง บทกวีและการใช้ชีวิตกลางแจ้ง 

เขาเพิ่งกลับมาจากแม่น้ำเงาเขตรอยต่อจังหวัดตาก  เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน  ความร้อนในตัวเขาวัดด้วยปรอทอาจจะแตก
เขานั่งซ้อมเพลงทั้งวัน  ใช้ห้องครัวซ้อมเพลง บางทีก็ลานซีเมนต์หลังบ้าน
เพลงตัวตลก  หญิงสาวกับแมลง  กับงู  แสงดาว  ปณิธาน  ...
เพลงที่เปล่งถ้อยคำ ทำนองประหลาดๆทั้งนั้น  แต่ผมชอบ  ชอบในความสดใหม่ และไม่เคยได้ยินได้ฟัง

เขาหายไปตอนย่ำค่ำ   บอกว่าจะไปนอนที่ลำพูน
อีกวันเขาก็มาซ้อมเพลงเหมือนเดิม  จะพิเศษก็ตรงที่เขาถามหาห้องบันทึกเสียง  เขาอยากทำเดโมนำเสนอเพลงค่ายเทปในเมืองหลวง
เขาเลือกไมล์สโตนของคุณมาโนช พุฒตาล  ซึ่งกำลังเฟ้นหาคนทำเพลงใต้ดินสายเลือดใหม่

ผมรู้เลยว่า  เป็นเรื่องยากสำหรับเขา  กับงานในห้องอัดเสียง
เขาวางแผนจัดการเรื่องเวลาอย่างถี่ถ้วน  ใช้เงินน้อยที่สุด  ได้งานดีมากที่สุด
ผมแนะนำไปสู่ห้อง ซี ซี ไอ สตูดิโอ มหาวิทยาลัยพายัพ  ในช่วงเวลาราคาห้องอัดแพงสาหัส  เขาใช้เวลาไปสองชั่วโมงครึ่ง  1,400 บาท

กีตาร์ทาคามิเนะ 
Takamine Est.1962  F-340s  รุ่น serial  number  สัญชาติญี่ปุ่น  กีตาร์ตัวเดียวของผมในขณะนั้น
ชุมพลเลือกไปอัดเสียงเพลงของเขา
เป็นกีตาร์ตัวที่โรงจำนำให้มันในราคา 700 บาทขาดตัว  แบบไม่อาจเพิ่มเนื้อหนังถั่วงอกได้อีกแล้ว  ถ้าไม่รับก็โปรดเอากลับบ้าน

ผมอยู่ในห้องบันทึกเสียงได้ไม่นานก็ออกมาก่อน
เขาเล่นเอง ร้องเองด้วยหยาดเหงื่อท่วมตัว  แต่ยังร้องไม่ได้ดังใจ  ก็ออกมาเตะอัดฟุตบอลพลาสติก  จนแทบลืมสิ่งที่กำลังก่อเกิดอยู่ในห้องอัดสียง

ร้องเพลงไม่ได้ดังใจ
เขาบอก


สิบสามปีต่อมา  บ้านหลังติดวัดอุโมงค์-ซอยอุโมงค์  ได้ยินทำนองเพลงหนึ่ง  เขาเล่นย้ำเป็นแผ่นเสียงตกร่องอยู่กับที่  คิดค้นหาทำนองที่อยากให้เป็น
เขาใช้กีตาร์
Yamaha ตัวเก่าแก่ที่มีอยู่ในบ้าน
ก่อนหน้าจะได้ยินทำนองเพลงนี้  เราพูดคุยจิปาถะถึงเรื่องราวในจังหวัดชายแดนภาคใต้  เขาบอกเพียงว่า ในตลาดบันนังสตา  ไม่มีใครไม่รู้จักจ่าเพียร

เขาเล่าถึงแพะกับศักดิ์ศรีของคนในพื้นที่  ใครมีแพะไว้ครอบครองเยอะ  ถือว่ามีฐานะมีหน้าตา
หมายรวมไปถึงการเทียบเคียงกับคน  ว่าควรมีราคาความหมายเทียบกับแพะได้กี่ตัว
แพะ 1 ตัว ราคา 5,000 บาท
จ่าเพียรตอนย้ายไปอยู่ 3 เดือนแรก มีราคาค่าตัว แพะ 3 ตัว
ครั้งหลังสุดนั้นเพิ่มจำนวนแพะค่าหัว  50 ตัว
แพะเป็นสัตว์โดดเดี่ยว ดวงตาเศร้า เสียงร้องดื้อๆ ขัดขืนแต่โดดเดี่ยว

เขาพูดถึงบันนังสตามีหอนาฬิกาโบราณ  แต่นาฬิกาตายประจำ
เขาเล่าเรื่องพวกนี้ให้ฟัง  ผมเพียงหยอดบางคำว่า  ทำไมไม่เอาฉากเวทีชีวิตเหล่านี้มาทำเป็นเพลง
เขียนเพลง บันนังสตาสักเพลงสิ
!!??..

เขาเริ่มต้นคิดตอนไหนไม่รู้  แต่ทำนองหนึ่งกำลังเกิด  บางประโยคเริ่มเปล่งเสียงออกมา

โลกที่เราล้างไฟด้วยไฟ  ล้างไฟด้วยไฟ... บันนังสตาบ้านเกิดของฉัน  ในวัยเยาว์นั้น...


เขาหายไปเป็นเดือน  กลับมาอีกทีพร้อมกับเพลง บันนังสตา สมบูรณ์พร้อมบันทึกเสียง  เขาเข้าดื่มดนตรีเร็คคอร์ด  ด้วยกีตาร์
Guild ของเขา


ฉันรู้ว่าวันเวลาเป็นสิ่งหนึ่ง  ฉันรู้ว่าวันเวลา
ฉันรู้ว่าวันเวลาเป็นสิ่งหนึ่ง  ที่รีไซเคิลไม่ได้
มองโลกตามที่มันเป็นจริง   มองโลกตามที่มันเป็นไป
มองไปทางซ้าย  มองไปทางขวา
โลกที่เราล้างไฟด้วยไฟ  ล้างไฟด้วยไฟ
มองโลกตามที่มันเป็นจริง  มองโลกตามที่มันเป็นไป
บันนังสตาบ้านเกิดของฉัน  ในวัยเยาว์นั้น
พ่อซื้อแพะให้ฉันหนึ่งตัว  แพะโง่ๆหนึ่งตัว
โลกที่เราล้างไฟด้วยไฟ  ล้างไฟด้วยไฟ
บันนังสตาบ้านเกิดของฉัน  ในวัยเยาว์นั้น
หอนาฬิกาโบราณ  หอนาฬิกาโบราณ  นาฬิกาตาย
โลกที่เราล้างไฟด้วยไฟ  ล้างไฟด้วยไฟ
มองโลกตามที่มันเป็นจริง  มองโลกตามที่มันเป็นไป
มองไปทางซ้ายก็เพื่อนเรา  มองไปทางขวา  เราเป็นเพื่อนกัน
แม้โลกนี้เราล้างไฟด้วยไฟ  ล้างไฟด้วยไฟ
มองโลกตามที่มันเป็นจริง  มองโลกตามที่มันเป็นไป
ฉันก็หวังนะ  ฉันก็ยังหวังดี  ว่าเราจะเป็นน้ำดับไฟ  เป็นน้ำดับไฟ...

เป็นน้ำดับไฟ

 

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
พ่อของลูกคือลูกของพ่อ ล้วงหนังสือ “เจ้าชายน้อย” ออกจากกระเป๋าสะพาย เป็นเล่มเดียวที่ติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ลูกชายเดินทางไปด้วย และไม่อาจรู้หรอกว่าจะได้เปิดอ่านในช่วงไหนเวลาไหน ลูกของพ่อคือหลานของปู่กำลังง่วนอยู่กับสมุด ดินสอ สีในกระเป๋าเช่นกัน เขาคงนึกอยากเขียนภาพ
ชนกลุ่มน้อย
เดินทางแบบกระเด็นกระดอนอยู่ในกระป๋องหนาหนักติดล้อ  และความยาวนานของระยะทาง  กว่า 5 ชั่วโมงไปให้ถึงใจกลางภูเขา  แต่ยิ่งคิดว่าเมื่อไหร่จะถึงใจกลางภูเขาตามมาตรวัดของแผนที่แผ่กางออกกว้าง  ยิ่งกลับเป็นเรื่องยากไปถึงใจกลางภูเขาที่อยู่ในใจ  ภูเขาเป็นทะมึนก่อกำแพงรายล้อม  
ชนกลุ่มน้อย
    เป็นเวลา 10 กว่าปี ที่ผมไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับพ่อใต้ชายคาเดียวกันนานๆ แต่คราวนี้ พ่ออยู่กับผมนานถึง 90 วัน พ่อในวัย 74 เพิ่งผ่านการบำบัดรักษาหัวใจอย่างชนิดลุ้นเส้นยาแดงผ่าแปดกันมา และต้องควบคุมตัวเองเรื่องการดื่ม กิน เคลื่อนไหว และเคร่งครัดกับขนาดจำนวนยารักษาอย่างชนิดห้ามขาดเกินเวลา
ชนกลุ่มน้อย
ไหนๆ ก็กอดกันแล้ว กอดต่ออีกครั้งเป็นไรไป ภูเขาลูกนั้นมีเถียงไร่ตั้งอยู่โดดเด่นและโดดเดี่ยว สองพ่อลูกชวนกันไปยังเถียงไร่ ที่นั่นคงสบายตา ดูลับหูลับตาคน ไม่มีใครไป พอเดินไปได้ไม่กี่ก้าว กลับพบกับไม้สามต้น ดูราวเป็นพี่น้องกัน ทรงพุ่มงามเหลือเกิน เหมือนก้อนเมฆย้อมสีเขียวเกิดเปลี่ยนใจอยากมาปักเป็นต้นไม้อยู่บนผืนดิน มองแล้วมองอีก ยังไม่อิ่ม “กอดดีกว่าพ่อ” เสียงนั้นบอก “พ่อกอดด้วย” นานอย่างนาน ผลัดกันกอดไม้สามต้นนั้น
ชนกลุ่มน้อย
 ขอทะลึ่งๆ เว่อร์ๆ อีกสักครั้งเถอะครับ ผมรู้สึกอย่างนี้จริงๆ ทันทีที่นึกอยากเขียน และโชว์รูปที่น่าจะอยู่ในอัลบั้มรูปส่วนตัว ว่างๆก็เอามาแบวางออกดูและรำลึกถึง มากกว่านำออกมาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าสายตาสาธารณะ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า เบื่อๆ เซาๆ ซึมๆ ว่างมาก มาทำเรื่องดูดีกันมั้ยลูก   มา ม๊า มาทำซึ้งกันสักครั้งดีกว่ามั้ย"เอ้า เอาเลย กอดกันเลยลูก" พูดแค่นั้นเจ้าชายน้อยโผประจำการทันที ผมไล่ตามเก็บรูป"พ่อกอดมั้ย" เขาถามกลับมา"กอดสิ ต้องกอดแน่ๆ ว่างแล้วยัง" หมายถึงไม้ต้นนั้น หมายตาไว้เหมือนกัน และถูกรักหลงในเวลาอันรวดเร็ว"ถ่ายรูปมั้ย" เขายึดกล้องไปกดรูปวันนั้น…
ชนกลุ่มน้อย
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ที่ผมตระเวนท่องไปตามป่าเขาในภาคเหนือ ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะเผชิญหน้าจริงๆ กับพายุลมแรงที่หอบน้ำแข็งมาด้วย จนติดตรึงอยู่ในพายุน้ำแข็ง ไม่เห็นทางข้างหน้าและไม่เห็นทางข้างหลัง ขยับไปไหนไม่ได้ ราวกับทุกอย่างตกอยู่เหนือการควบคุม นอกจากยอมรับสภาพแล้วจำนนกับความเป็นไป
ชนกลุ่มน้อย
วันที่ 8 มีนาคม 2552 ผมนั่งเคียงข้างพ้อเลป่า ก่อนเดินทางกลับ ผมบอกว่า อีกสองสามอาทิตย์จะเข้ามาเยี่ยมอีกครั้ง เวลาผ่านไปสามอาทิตย์กว่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2552 พ้อเลป่าก็จากไปจริงๆ ผมไปถึงบ้านแม่แฮคี้ตอนบ่ายแก่ๆวันต่อมา บ้านไม้ริมถนนมีคนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนบ้าน ไล่เรียงอออกมานอกประตูบ้าน ผู้เฒ่ากวีแห่งแม่แฮใต้จากไปจริงๆ รูปวางถ่ายไว้บนโลงไม้ รูปสูบไปป์ที่คุ้นเคย พร้อมดอกไม้สัญลักษณ์ของความอาลัย
ชนกลุ่มน้อย
 เมื่อฉันเริ่มจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ ฉันรู้ว่า แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่นๆ เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริงยินดี
ชนกลุ่มน้อย
ชนกลุ่มน้อย
 ไม่มองซ้ายขวาหน้าหลัง  เดินเข้าไปหาแล้วโอบกอด   "ได้กลิ่นมั้ย" ผมถาม"เหมือนน้ำมัน" เขาตอบ"ใช่  ในตัวเขามีน้ำมัน" .. บทสนทนาระหว่างโอบกอด  เป็นเช่นนี้จริงๆ