Skip to main content

ทางไปนาเหมือนทางเดินในสนามเพลาะ   ขุดลึกลงไปในดินด้วยแรงน้ำกัดเซาะ  จะว่าไปน่าจะเป็นผลพวงของการขนไม้หมอนรถไฟ   เส้นทางชักลากไม้สมัยคนรุ่นปู่ยังหนุ่ม  ไม้ล้มลงจำนวนมหาศาลต่อเนื่องกันหลายปี  

ไปเป็นไม้หมอนรถไฟ
ร่องรอยเหลือไว้  คือเส้นทางขุดลึกลงไปในดิน
เมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว  มันเป็นทางเดียวที่พาผมไปพบกับผ้าร้ายควาย
ผ้าร้ายควายชั้นดีอยู่ในป่าพรุ  โคลนลึกถึงหน้าขาผู้ใหญ่  บางช่วงเลยบั้นเอว  บางช่วงผู้ใหญ่จะรู้กันว่า  เป็นวังโคลนดูด  โคลนมีชีวิตดูดวัวควายตายไปนักต่อนัก  โดยเฉพาะวัวควายที่โจรขโมยมา  พลั้งพลาดรีบเดินไปในอาณาบริเวณโคลนดูด  

20080603 c1

เด็กๆอยู่บนคอผู้ใหญ่เท่านั้น
ดินโคลนไม่ต่างไปจากขี้วัวขี้ควายเละๆ  เหนียวเละ ได้กลิ่นใบไม้เน่า  น้ำนิ่งเหมือนปลักควาย  นั่นแหละเป็นที่อยู่ของเจ้าผ้าร้ายควายชั้นเยี่ยม
มันแอบซุ่มอยู่เงียบเชียบ   รอจังหวะจู่โจมเหยื่อ  

ผมเห็นยามมันเกาะอยู่บนหนังควาย  อ้วนท้วนเหมือนเหนียงไก่  หรือลูกโป่งใส่น้ำจนบวมเป่งจวนจะแตกเต็มที  ผู้ใหญ่เกิดหมั่นไส้ขึ้นมาก็ใช้พร้าเฉือนมันออกมา  ยังไม่พอเท่านั้น   ใช้ไม้สอดไปใต้ตัวที่เต็มอิ่ม  พอถึงที่แห้งก็ใช้ไม้เสียบเข้าทางหัวหางก็ไม่รู้  
ปลิ้นข้างในออกมาข้างนอก  เลือดแดงๆทะลักเต็มพื้นดิน

ฉากปลิ้นผ้าร้ายควาย  ไม่ต่างจากปลิ้นผ้าร้ายควายของควายจริงๆ  ปลิ้นเอาขี้เอาไป  เหลือผ้าร้าย  แล้วเอาไปล้างน้ำ

พ่อปล่อยผมไว้บนขอนไม้ดำเป็นตอตะโก   เหมือนติดเกาะอยู่กลางน้ำ  นั่นเอง  ที่ผมเห็นเจ้าผ้าร้ายควายเต็มตา  มันมากันยุบยั่บ  น้ำกระเพื่อม  ผิวน้ำเป็นริ้วดำๆ  มาออกันอยู่ข้างขอนไม้  เกาะนิ่งอยู่ข้างขอนไม้  หรือไม่ก็มุดตัวอยู่ใต้กอหญ้าแห้ง

มันคงได้กลิ่นเด็ก
มันเป็นภาพสยองติดตัวผมมาจนโต   แต่ก็ไม่เคยเลี่ยงหลบมันได้  ผมรู้สึกว่ามันแฝงตัวอยู่ทุกหนแห่ง  ในทุ่งนา  หนองน้ำ  ล้ำห้วย  ลำคลอง  พรุ  ปลักควาย  ผมรู้สึกขนลุกขนพองทุกครั้ง  ว่ามันเป็นผีดูดเลือดนี่เอง   ลงน้ำที่ไหนก็ระแวงมันไว้ก่อน

20080603 c2

ผ้าร้ายควายตัวโตที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็น  ขนาดสองฝ่ามือยาวเป็นฟุต   แต่นั่นแหละ  ผมไม่เคยเห็นมันดูดเลือดคนสำเร็จ  ผมเห็นแต่วัวควายตกเป็นเหยื่อของมัน  รอยปากที่มันฝากไว้บนหนังวัวควาย   เป็นเลือดแดงอาบหนังเป็นทางยาว  

ผมนึกไม่ออกว่า  หากมันเผลดูดเลือดคน  มันจะใช้เวลานานแค่ไหน
มาถึงตรงนี้  ผู้อ่านคงนึกออกแล้วกระมังครับ  ว่าเจ้าผ้าร้ายควายที่ผมนำมาเป็นชื่อเรื่อง  มันคืออะไร   
ผ้าร้ายในภาษาถิ่นใต้บ้านเกิด  หมายถึงผ้าที่ใช้เช็ดตีน(เท้า)  มักเป็นผ้าที่ใส่กันจนขาดแบบฝืนใส่ไม่ไหวอีกแล้ว  มันจะกลายสภาพเป็นผ้าร้าย  ผ้าเช็ดตีนอยู่ตรงประตู  หน้าบันได  ทางเข้าครัว  ทางไปห้องน้ำ  

หน้าที่ของผ้าร้ายคือทำตัวเองให้มีสีขุ่นเก่าเปื้อนดินคล้ำยิ่งขึ้นตามวันคืน
กระทั่งหาสีเก่าไม่พบ  หรือกลายเป็นดิน   นั่นแหละ  มันจึงจะถูกอัปเปหิออกไปจากใต้ชายคาบ้านตลอดกาล

ผ้าร้ายควาย  ช่างสอดคล้องเหลือเกินกับผ้าร้าย  ทรงของมันเหมือนสีผ้าเช็ดตีนจริงๆ  โดยเฉพาะเวลาลอยตัวกระดืบพริ้วไปบนผิวน้ำขุ่นๆ  เหมือนผ้าร้ายลอยมากับน้ำจริงๆ  
ปลิง ปลิงครับ..
แต่เป็นปลิงพันธุ์มโหฬาร  ว่ากันว่าเมื่อก่อน(คนเฒ่าเล่ากันมา)มันใหญ่โตเท่ากระเพาะควายจริงๆ   สีเหมือนหนังควาย   ดูสิ  มันชวนสยองขนหัวพองสักแค่ไหน

หากคนข่าวล่วงรู้ความหมายแล้ว  เกิดนึกสนุกจะนำไปตุนไว้ในแฟ้มตั้งฉายารัฐมนตรีหรือรัฐบาล  ประมาณว่ารัฐมนตรี/รัฐบาลผ้าร้ายควาย  ก็ไม่มีใครหวงลิขสิทธิ์  สามารถใช้ได้ตามสบายเลยครับ  เพราะคุณสมบัติของเจ้าผ้าร้ายควายนั้น  ทั้งดูด(ปากของมันเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด)  ทั้งน่าเกลียดน่ากลัว  น่าขนหัวลุก  ที่สำคัญลอยตัวขุ่นๆอยู่บนผิวน้ำขุ่นๆ  

ดูอย่างไรก็ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเอาเสียเลย  

เพียงแต่วิธีของชาวนาชาวบ้าน  ที่แก้เผ็ดใส่มันก็คือปลิ้นในออกนอก  ปลิ้นนอกไปไว้ข้างใน   แม้ดูโหด  แต่ก็เป็นธรรมเนียมปฎิบัติทำต่อกันมา   ประมาณว่าจับได้เมื่อไหร่เถอะ  มันต้องไม่ได้ผุดได้เกิดใหม่  ลองสับเป็นท่อนๆทิ้งน้ำสิ  มันจะกลายเป็นตัวใหม่เท่าจำนวนที่ตัดแยกออกไป

โอย(โตย) .. รัฐบาลชุดผ้าร้ายควาย  ฟังดูแล้วไม่จืด

+++++++++++++

ปล.(1)  ผ้าร้ายควายอีกความหมาย  คือกระเพาะควาย  ผ้าร้ายหมายถึงกระเพาะ
ปล.(2)  ผมไม่ได้ตั้งใจจะยกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในโคลน  มากล่าวถึงให้รู้สึกน่ากลัว  เพียงแต่ผมเชื่อว่ามันยังมีอยู่   กลับบ้านคราวนี้  ใครๆต่างก็ตอบกลับมาว่า  ผ้าร้ายควายสูญหายไปนานแล้ว  ไม่มีใครพบเห็นตามทุ่งนาอีกเลย   ในพรุก็ไม่มีใครลงเอาตัวไปให้งูเหลือมรัด  
พรุกลายเป็นที่อยู่ของครอบครัวงูเหลือม
          

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
พ่อของลูกคือลูกของพ่อ ล้วงหนังสือ “เจ้าชายน้อย” ออกจากกระเป๋าสะพาย เป็นเล่มเดียวที่ติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ลูกชายเดินทางไปด้วย และไม่อาจรู้หรอกว่าจะได้เปิดอ่านในช่วงไหนเวลาไหน ลูกของพ่อคือหลานของปู่กำลังง่วนอยู่กับสมุด ดินสอ สีในกระเป๋าเช่นกัน เขาคงนึกอยากเขียนภาพ
ชนกลุ่มน้อย
เดินทางแบบกระเด็นกระดอนอยู่ในกระป๋องหนาหนักติดล้อ  และความยาวนานของระยะทาง  กว่า 5 ชั่วโมงไปให้ถึงใจกลางภูเขา  แต่ยิ่งคิดว่าเมื่อไหร่จะถึงใจกลางภูเขาตามมาตรวัดของแผนที่แผ่กางออกกว้าง  ยิ่งกลับเป็นเรื่องยากไปถึงใจกลางภูเขาที่อยู่ในใจ  ภูเขาเป็นทะมึนก่อกำแพงรายล้อม  
ชนกลุ่มน้อย
    เป็นเวลา 10 กว่าปี ที่ผมไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับพ่อใต้ชายคาเดียวกันนานๆ แต่คราวนี้ พ่ออยู่กับผมนานถึง 90 วัน พ่อในวัย 74 เพิ่งผ่านการบำบัดรักษาหัวใจอย่างชนิดลุ้นเส้นยาแดงผ่าแปดกันมา และต้องควบคุมตัวเองเรื่องการดื่ม กิน เคลื่อนไหว และเคร่งครัดกับขนาดจำนวนยารักษาอย่างชนิดห้ามขาดเกินเวลา
ชนกลุ่มน้อย
ไหนๆ ก็กอดกันแล้ว กอดต่ออีกครั้งเป็นไรไป ภูเขาลูกนั้นมีเถียงไร่ตั้งอยู่โดดเด่นและโดดเดี่ยว สองพ่อลูกชวนกันไปยังเถียงไร่ ที่นั่นคงสบายตา ดูลับหูลับตาคน ไม่มีใครไป พอเดินไปได้ไม่กี่ก้าว กลับพบกับไม้สามต้น ดูราวเป็นพี่น้องกัน ทรงพุ่มงามเหลือเกิน เหมือนก้อนเมฆย้อมสีเขียวเกิดเปลี่ยนใจอยากมาปักเป็นต้นไม้อยู่บนผืนดิน มองแล้วมองอีก ยังไม่อิ่ม “กอดดีกว่าพ่อ” เสียงนั้นบอก “พ่อกอดด้วย” นานอย่างนาน ผลัดกันกอดไม้สามต้นนั้น
ชนกลุ่มน้อย
 ขอทะลึ่งๆ เว่อร์ๆ อีกสักครั้งเถอะครับ ผมรู้สึกอย่างนี้จริงๆ ทันทีที่นึกอยากเขียน และโชว์รูปที่น่าจะอยู่ในอัลบั้มรูปส่วนตัว ว่างๆก็เอามาแบวางออกดูและรำลึกถึง มากกว่านำออกมาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าสายตาสาธารณะ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า เบื่อๆ เซาๆ ซึมๆ ว่างมาก มาทำเรื่องดูดีกันมั้ยลูก   มา ม๊า มาทำซึ้งกันสักครั้งดีกว่ามั้ย"เอ้า เอาเลย กอดกันเลยลูก" พูดแค่นั้นเจ้าชายน้อยโผประจำการทันที ผมไล่ตามเก็บรูป"พ่อกอดมั้ย" เขาถามกลับมา"กอดสิ ต้องกอดแน่ๆ ว่างแล้วยัง" หมายถึงไม้ต้นนั้น หมายตาไว้เหมือนกัน และถูกรักหลงในเวลาอันรวดเร็ว"ถ่ายรูปมั้ย" เขายึดกล้องไปกดรูปวันนั้น…
ชนกลุ่มน้อย
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ที่ผมตระเวนท่องไปตามป่าเขาในภาคเหนือ ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะเผชิญหน้าจริงๆ กับพายุลมแรงที่หอบน้ำแข็งมาด้วย จนติดตรึงอยู่ในพายุน้ำแข็ง ไม่เห็นทางข้างหน้าและไม่เห็นทางข้างหลัง ขยับไปไหนไม่ได้ ราวกับทุกอย่างตกอยู่เหนือการควบคุม นอกจากยอมรับสภาพแล้วจำนนกับความเป็นไป
ชนกลุ่มน้อย
วันที่ 8 มีนาคม 2552 ผมนั่งเคียงข้างพ้อเลป่า ก่อนเดินทางกลับ ผมบอกว่า อีกสองสามอาทิตย์จะเข้ามาเยี่ยมอีกครั้ง เวลาผ่านไปสามอาทิตย์กว่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2552 พ้อเลป่าก็จากไปจริงๆ ผมไปถึงบ้านแม่แฮคี้ตอนบ่ายแก่ๆวันต่อมา บ้านไม้ริมถนนมีคนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนบ้าน ไล่เรียงอออกมานอกประตูบ้าน ผู้เฒ่ากวีแห่งแม่แฮใต้จากไปจริงๆ รูปวางถ่ายไว้บนโลงไม้ รูปสูบไปป์ที่คุ้นเคย พร้อมดอกไม้สัญลักษณ์ของความอาลัย
ชนกลุ่มน้อย
 เมื่อฉันเริ่มจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ ฉันรู้ว่า แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่นๆ เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริงยินดี
ชนกลุ่มน้อย
ชนกลุ่มน้อย
 ไม่มองซ้ายขวาหน้าหลัง  เดินเข้าไปหาแล้วโอบกอด   "ได้กลิ่นมั้ย" ผมถาม"เหมือนน้ำมัน" เขาตอบ"ใช่  ในตัวเขามีน้ำมัน" .. บทสนทนาระหว่างโอบกอด  เป็นเช่นนี้จริงๆ