Skip to main content

เกี่ยวกับประชาไท

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 โดย จอน อึ๊งภากรณ์ ภายใต้มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน ประชาไทเน้นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับสังคม การเมือง สิทธิมนุษยชน บทสัมภาษณ์และข้อเขียนของนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว องค์กรสิทธิ และองค์กรพัฒนาเอกชน

นอกจากการนำเสนอข่าวสารแล้ว เว็บไซต์ประชาไทยังให้บริการรายการโทรทัศน์ "บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา" รายการวิทยุ "ประชาไทใส่เสียง" บล็อกสาธารณะ "บล็อกกาซีน" และกระดานสนทนา "ประชาไทเว็บบอร์ด"

เกี่ยวกับประชาไทเว็บบอร์ด

กระดานสนทนาประชาไทถูกแบ่งออกเป็น 2 ห้องย่อย คือ

* ห้อง "สังคมและการเมือง” : เป็นพื้นที่หลักของการสนทนาทั่วไป
* ห้อง "รักประชาธิปไตย... ไม่เอาเผด็จการ" : ถูกเปิดเพิ่มขึ้นในภายหลัง มีระบบจัดการการสนทนากันเองโดยสมาชิก และเฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่ตั้งกระทู้ได้

ประชาไทเว็บบอร์ดได้รับความนิยมสูงจากผู้ใช้ โดยในช่วงปี พ.ศ. 2551 มีอัตราการตั้งกระทู้ใหม่ประมาณ 250 กระทู้ต่อวัน และอัตราการแสดงความคิดเห็นในกระทู้ประมาณ 2,500 ความคิดเห็นต่อวัน แต่มีเจ้าหน้าที่ดูแลเป็นประจำเพียง 1คน นอกจากนั้นแล้ว มีอาสาสมัครซึ่งมาจากสมาชิกผู้ใช้งาน ช่วยแจ้งหรือปิดการแสดงกระทู้และความเห็น ประมาณ 20 คน โดยไม่มีการจัดเวรดูแล

ประชาไทเว็บบอร์ดต้องปิดตัวเองลงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งภาระรับผิดทางกฎหมายของการเป็นผู้ให้บริการ และความเสี่ยงต่อผู้ใช้บริการเองที่จะถูกจับตามอง เนื่องจากมาตรการใหม่ ๆ จากรัฐบาล เช่น “ลูกเสือไซเบอร์”

การถูกปิดกั้น

เว็บไซต์ประชาไทส่วนที่ไม่ใช่กระดานสนทนาถูกปิดกั้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 8 เมษายน 2553 ซึ่งเป็นช่วงไม่กี่วันก่อนการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถนนราช ดำเนิน กรุงเทพมหานคร ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้อ้างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในการออกคำสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ ซึ่งยังคงมีผลมาจนถึงทุกวันนี้

เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

บางส่วนของพระราชบัญญัตินี้ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ได้แก่

มาตรา 14

ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

มาตรา 15

ผู้ ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14

การจับกุม

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 14.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าจับกุมจีรนุชที่สำนักงานประชาไท โดยเบื้องต้นแสดงหมายค้น ก่อนที่จะแสดงหมายจับในเวลาต่อมา โดยแจ้งข้อกล่าวหาในการจับกุมตามมาตรา 15 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คือ จงใจ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ซึ่งในกรณีนี้คือข้อความจากกระทู้หนึ่งในกระดานสนทนาที่มีเนื้อหาหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพ ที่มีการโพสต์โดยสมาชิกเว็บบอร์ดเมื่อ 15 ตุลาคม 2551
จีรนุชได้ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดคอมพิวเตอร์ของจีรนุชและทำสำเนาข้อมูลเพื่อใช้ในการ พิสูจน์หลักฐาน โดยมีการสรุปข้อมูลสำเนาเก็บไว้ทั้งสองฝ่ายเพื่อป้องกันการแก้ไขข้อมูล

การฟ้องร้อง

ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีกเก้ากระทง จากอีกเก้ากระทู้ในกระดานสนทนาที่สมาชิกเว็บบอร์ดมีการตั้งและตอบกระทู้ใน ระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2551 และได้ส่งสำนวนคดีให้อัยการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2553 พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจีรนุชเป็นจำนวนสิบข้อกล่าวหา จากสิบกระทู้ในเว็บบอร์ดที่ถูกเผยแพร่และลบออกในเวลาที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามทั้งสิบกระทู้ตามข้อกล่าวหา ได้มีการลบไม่ให้มีการเผยแพร่ไปก่อนที่จีรนุชจะถูกแจ้งข้อกล่าวหาทั้งสิ้น

โทษ

เนื่องจากมาตรา 15 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบุโทษเท่ากับความผิดตามมาตรา 14 คือ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น หลังจากพิจารณาการกำหนดโทษจากการกระทำความผิดหลายกระทงจากมาตรา 91 แล้ว โทษสูงสุดที่เป็นไปได้สำหรับคดีนี้คือ จำคุกยี่สิบปี หรือปรับหนึ่งล้านบาท

กระบวนการทางกฎหมาย

ตั้งแต่การจับกุม กระบวนการทางกฎหมายที่เกิดขึ้นมีดังนี้

6 มีนาคม 2552 - เจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงหมายค้นและหมายจับ
7 เมษายน 2552 - เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม
1 มิถุนายน 2552 - เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งสำนวนคดีให้อัยการเตรียมยื่นฟ้อง ยื่นประกันตัวต่อเนื่องในชั้นอัยการ และระหว่างนั้นต้องรายงานตัวต่อสำนักงานอัยการโดยต่อเนื่อง ทุก 30 วัน ในระยะแรก และ 60 วันในระยะหลัง
31 มีนาคม 2553 - อัยการยื่นฟ้องต่อศาล จีรนุชถูกคุมตัวในห้องขังที่ศาลอาญา ก่อนที่จะได้รับการประกันตัวในชั้นศาล
31 พฤษภาคม 2553 - ศาลนัดพร้อม สอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน กำหนดวันนัดสืบพยาน

จากนั้น ศาลจะนัดตรวจสอบพยานหลักฐานเป็นครั้งสุดท้ายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553

การนัดสืบพยานจะมีขึ้นในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยแบ่งเป็น
พยานโจทก์ วันที่ 4 8 9 และ 10 กุมภาพันธ์ 2554
และพยานจำเลย วันที่ 11 15 16 และ 17 กุมภาพันธ์ 2554


ปฏิกิริยาจากรัฐ

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2552 หลังการจับกุมไม่นาน เครือข่ายพลเมืองเน็ตได้เข้าพบเพื่อยื่นหนังสือและหารือกับนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่มีนโยบายในเรื่องนี้ และเห็นว่าควรหาทางออกร่วมกัน

ต่อ มาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2552 ในการปาฐกถาที่วิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงคดีนี้ว่า “เป็นความเข้าใจผิดของตำรวจ และอาจจะไม่ได้เป็นไปตามกระบวนการมาตรฐาน”

ในปาฐกถาพิเศษของนายกรัฐมนตรีต่อสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงคดีนี้หลังจากตอบคำถามเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพว่า “เสียใจ” และอธิบายว่า “กรณีนั้นจริง ๆ แล้วเป็นข้อยกเว้น เพราะเราเคยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดมาแล้ว และคิดว่าเรามีมาตรฐานในการทำงานดีแล้ว แต่กรณีนั้นถือเป็นข้อยกเว้นจริง ๆ”

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2553 หลังจากการประกาศแผนปรองดองแห่งชาติเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้สัมภาษณ์เรื่องการกำกับดูแลเว็บไซต์ต่าง ๆ และเอ่ยถึงคดีนี้ว่า การใช้อำนาจปิดเว็บไซต์นั้นมีปัญหา “เช่นเว็บไซต์ประชาไท ปรากฎว่าเจ้าของเว็บที่เป็นผู้หญิงก็มีความเชี่ยวชาญด้วยการประสานกับต่าง ประเทศทันที ด้วยการนำรูปที่ถูกขังอยู่ในกรงไปฟ้องต่างประเทศว่ารัฐบาลปิดกั้นสิทธิ เสรีภาพสื่อ จึงต้องเร่งทำความเข้าใจเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปรองดอง”

 

Facts concerning the First Arrest of Chiranuch Premchaiporn

About Prachatai

Prachatai online newspaper was founded in 2004 by Jon Ungpakorn under the Foundation for Community Educational Media (FCEM). It provides mainly news on social, political, and human rights issues, and publishes interviews with, and articles by, academics, activists, human rights organisations, and other NGOs.

Prachatai also hosts an online TV programme “The Country Is Not Ours”, an online radio programme “Prachatai Radio”, a blog service “Blogazine”, and formerly hosted an online forum “Prachatai Webboard”.

Prachatai Webboard

The online forum was separated into two sections:

* “Society and Politics” for general issues.
* “Pro-Democracy... Anti-Dictatorship”, opened later under community-based management, requiring members to log in to post.

 

Prachatai Webboard enjoyed huge popularity. In 2008 there were 250 new topics and 2,500 new comments per day, but only one full-time moderator. Around 20 forum members voluntarily reported problems but did not operate according to a schedule.

The online forum was voluntarily shut down by Prachatai on July 31, 2010, for several reasons, including legal liability for user-generated content and the risk of users coming under surveillance after new measures such as the “Cyber Scouts” were announced by the government.

Censorship

Public internet access to all sections in Prachatai except the forum was blocked for the first time on April 8, 2010, a few days ahead of the security forces’ attempt to disperse the Red Shirt protest on Rajadamnern Street in Bangkok. The Centre for the Resolution of the Emergency Situation used the Emergency Decree to order censorship, of websites and other media, which is still in force to day.

About the Computer-Related Crime Act (BE 2550)

The sections of the act relevant to this case are:

Section 14

Any person who commits an offence by any of the following acts shall be subject to imprisonment for not more than five years or a fine of not more than one hundred thousand baht or both:

(1) that involves import into a computer system of forged computer data, either in whole or in part, or false computer data, in a manner that is likely to cause damage to a third party or the public;

(2) that involves import into a computer system of false computer data in a manner that is likely to damage the country’s security or cause public panic;

(3) that involves import into a computer system of any computer data related with an offence against the Kingdom’s security under the Criminal Code;

(4) that involves import to a computer system of any computer data of a pornographic nature that is publicly accessible;

(5) that involves the dissemination or forwarding of computer data already known to be computer data under (1) (2) (3) or (4);

Section 15

Any service provider intentionally supporting or consenting to an offence under Section 14 within a computer system under their control shall be subject to the same penalty as that imposed upon a person committing an offence under Section 14.

The Arrest

On March 6, 2009, at around 14.30, police officers came to arrest Chiranuch at the Prachatai office. The officers showed first a search warrant and later an arrest warrant. The charge was according to Section 15 of the Computer-Related Crime Act. The offence in this case concerned a forum topic that contains defamation of the monarchy posted by a forum member on October 15, 2008. Chiranuch denied all charges.

The officers confiscated Chiranuch’s laptop and copied all the data for forensic procedures. Two similar copies were made for both sides to prevent any alteration.

Prosecution

On April 7, 2009, the police filed nine further charges against Chiranuch according to nine forum topics posted by members between April to August, 2008. The police then sent the case file to the public prosecutor on June 1, 2009.

On March 31, 2010, the public prosecutor filed ten charges against Chiranuch for the ten forum topics posted at different times. However, all the offending topics had already been removed well before the arrest.

Penalty

According to Section 15 of the Computer-Related Crime Act, the penalty is the same for offences described in Section 14, which is imprisonment for not more than five years or a fine of not more than 100,000 Baht or both. Due to a penalty limitation in the law, the highest possible penalty for Chiranuch is 20 years in prison or a 1,000,000 Baht fine.

Legal Timeline

March 6, 2009 - Police officers applied a search warrant and an arrest warrant. Chiranuch was given bail.
April 7, 2009 - The police filed additional charges.
June 1, 2009 - The police handed the case file to the public prosecutor. Chiranuch was again bailed out, but had to continue reporting to the Attorney-General’s Office every 30 days. She was later allowed to report every 60 days instead after a formal request was made.
March 31, 2010 - The public prosecutor filed charges in court. Chiranuch was briefly imprisoned for three and a half hours before getting bail.
May 31, 2010 - A preliminary hearing was held to schedule witness hearings.

The court has scheduled final agreement by both sides ton the witness and evidence list for November 8, 2010.

Witness hearings will be held in early February 2011. The dates for the prosecution are 4, 8, 9, and 10, and for the defendant 11, 15, 16, and 17.

Reactions from the Government

On March 11, 2009, soon after the arrest, a group called Thai Netizen Network filed a complaint with Prime Minister Abhisit Vejjajiva. The Prime Minister said that he had no policy on this and believed that a solution should be discussed.

On March 14, 2009, in a speech at St. John’s College, Oxford University, the Prime Minister mentioned that this case was “a misunderstanding and perhaps not following the standard operating procedures”.

In a keynote address to the Foreign Correspondents’ Club of Thailand at the Intercontinental Hotel on January 14, 2010, the Prime Minister, after answering questions on the lèse majesté law, spoke of his “regret” and explained that “[the case] was actually an exception because we had actually invited all the stakeholders and thought we had a good standard operating procedure. But that case was really an exception”.

On June 15, 2010, about one month after an announcement of the National Reconciliation Roadmap, ICT Minister Juti Krairiksh gave an interview on website regulation. He mentioned this case, saying that there was a problem in censorship “in the example of Prachatai, the owner of the website who is a lady has proficiently coordinated with other countries by sending them a photo of her behind prison bars to accuse the government of suppressing freedom of the press, so we have to negotiate in keeping with the reconciliation roadmap”.

บล็อกของ จีรนุช เปรมชัยพร

จีรนุช เปรมชัยพร
ฉันน้ำตาไหลเลยหลังจากอ่านข่าวสรุปถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ที่ส่งสารตรงถึงประชาชนชาวเนเธอร์แลนด์ เมื่อค่ำวันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นในรอบห้าสิบปี หลังจากที่ครั้งสุดท้ายนายกฯเขาต้องออกมาพูดกับประชาชนทั่วประเทศอย่างนี้คือครั้งวิกฤติน้ำมันปี ๑๙๗๐
จีรนุช เปรมชัยพร
“เรารู้สึกว่า การเป็นพ่อแม่ ไม่ได้แปลว่าต้องเลิกรับผิดชอบสังคม เราละทิ้งสังคมไม่ได้”                                                                   - บอนนี่ ไรเนส (Bonnie Raines)
จีรนุช เปรมชัยพร
++งานสิบปีประชาไท เลื่อนไปเป็น 30 มกราคม 2558 เหตุผลโดยละเอียดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง เบื้องต้นขอแจ้งข่าวเลื่อนการจัดงานสั้นๆก่อนนะคะ++ 9 ตุลาคม
จีรนุช เปรมชัยพร
แปลจาก: Am I the Face of the New American Middle Class?******************************
จีรนุช เปรมชัยพร
เลือกข้างเสรีภาพ Click SOPA = Stop Online Piracy Act
จีรนุช เปรมชัยพร
  Background
จีรนุช เปรมชัยพร
เกี่ยวกับประชาไท
จีรนุช เปรมชัยพร
มีหลายเรื่องที่อยากพูดคุยกับผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนสมาชิกเว็บบอร์ดประชาไท ในบรรดาหลายเรื่องที่อยากคุย ประเด็นเรื่องความปลอดภัยและการรักษาความเป็นส่วนตัว หรือหากบางท่านไม่อยากเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง จะสามารถดำเนินการเพื่อปกป้องตัวเราและคนที่เรารัก ห่วงใย ได้
จีรนุช เปรมชัยพร
จดหมายฉบับนี้ควรจะส่งถึงผู้อ่านประชาไทและเพื่อนสมาชิกเว็บบอร์ดประชาไท หนึ่งเดือนมาแล้ว แต่ทว่า..ดิฉันเองก็ตกอยู่ในอาการอ้ำอึ้งพูดไม่ออก ไม่รู้จะบอกอะไรได้มากไปกว่า   “ขอโทษ”  
จีรนุช เปรมชัยพร
วันนี้เวลาใกล้สี่โมงเย็นเว็บบอร์ดประชาไทก็พร้อมเปิดให้บริการนะคะ อาจจะยังแปลกตาและไม่คุ้นเคย และระบบบางอันอาจยังมีปัญหาได้บ้าง เนื่องจากเร่งเปิดให้ใช้งานนะคะ อย่างไรก็ตามทีมงานจะปรับแก้ในลำกับต่อไปค่ะ  มีประกาศที่แจ้งให้ทราบในการใช้เว็บบอร์ดใหม่ ที่ขออนุญาตคัดลอกมานำเสนออีกครั้งนะคะ เปลี่ยนระบบยกเลิกใช้ชื่อ user login และใช้ชื่อ user name เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งสมาชิกสามารถใช้งานรหัสผ่านชุดเดิมได้ทันที หากสมาชิกไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้งาน เนื่องจากลืมชื่อ username หรือรหัสผ่าน ให้ดำเนินการขอรหัสผ่านชุดใหม่…
จีรนุช เปรมชัยพร
เรียน เพื่อนสมาชิกและผู้อ่านเว็บบอร์ดประชาไท ทางประชาไทมีความจำเป็นที่จะต้องมีปิดการใช้งานเว็บบอร์ดเป็นการชั่วคราว (2-3 วัน) เพื่อปรับเปลี่ยนโปรแกรมเว็บบอร์ด ซึ่งเป็นแผนการปรับปรุงที่กำหนดไว้แต่เดิม และเคยตั้งใจว่าก่อนการปรับเปลี่ยนจะเรียนแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า แต่เนื่องจากมีการแจ้งปัญหาเกี่ยวกับการที่โปรแกรมมีช่องโหว่เรื่องการ เปลี่ยน user name ได้ ที่สำคัญสามารถปรับเปลี่ยนไปเป็น user name ของสมาชิกท่านอื่นที่มีอยู่แล้ว ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ต่างจาก กรณีของการตั้ง user name ให้ดู คล้าย ดังกรณีของคุณ mom_ ดังนั้นทางทีมงานจึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนระบบก่อนแผนการที่กำหนด…
จีรนุช เปรมชัยพร
มีเพื่อนแนะนำให้อ่านบทความในบลอก BioLawCom.De เรื่องเกี่ยวกับสื่อและประชาชน คลิกไปอ่านแล้ว น่าสนใจดีค่ะ ขออนุญาตเก็บมาฝากทุกท่านนะคะ ยกมาเฉพาะหนังตัวอย่างพอเป็นน้ำจิ้ม อยากอ่านฉบับเต็มๆ แนะนำให้คลิกไปอ่านที่เว็บต้นทางเลยนะคะ เคยมีคนกล่าวว่า "นอกเหนือจากอำนาจสามเสาในหลักการแบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แล้ว สื่อ ยังเปรียบเสมือนอำนาจที่สี่ แห่งรัฐสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐในยุคข้อมูลข่าวสาร" ...และด้วยพลังอำนาจ และความทรงประสิทธิภาพเช่นนี้นี่เอง ในด้านหนึ่ง…