เด็กเจ้าของร้านขายสินค้าที่ทำจากเครื่องเงินแห่งหนึ่งในซาปา ดูจากบุคลิกแล้ว 'คิดว่า' เธอน่าจะเป็นคนจากเมืองอื่นที่ย้ายมาทำมาหากินในซาปา ซึ่งร้านลักษณะนี้มีมากมายเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราที่มีคนจากแหล่งอื่นเข้ามาลงทุน ในแง่นี้เป็นทั้งกลุ่มทุนรายย่อยและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ได้ยินข่าวมาเร็วๆ นี้ก่อนที่เวียดนามจะประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างในปัจจุบันว่า รัฐบาลเวียดนามเปิดให้นักลงทุนต่างชาติทั้งรายย่อย-ใหญ่ เข้ามาลงทุนได้เต็ม 100% ครับ .. ใครทุนหนา รีบๆ เข้าเด้อ!!
เด็กสาวชาวม้งดำจะเป็นผู้ดูแลครอบครัว หลังจากเสร็จงานนางานไร่ เด็กสาวโดยส่วนใหญ่จะเย็บปักร้อยลวดลายบนผืนผ้าสีดำ (เป็นที่มาของชื่อว่า ม้งดำ) และเหมือนกับชนเผ่าพื้นเมืองในแหล่งอื่นๆ ของโลกหรือประเทศไทยในยุคที่ยังเรียกตัวเองว่า 'สยาม' เด็กสาวเหล่านี้นิยมมีครอบครัวเร็ว .. ก็ไม่รู้จะทำอะไรนี่ครับ แหะแหะ ล้อเล่นหน่ะครับ .. ความนิยมมีครอบครัวเร็วมาจากความต้องการแรงงานในการทำไร่ทำนาต่างหาก
ใบหน้าของ 'เรด ดาว' หรือ 'เรด เซา' อีกหนึ่งชนเผ่าที่อยู่ในซาปา นิยมใส่ฝันทองบ่งบอกถึงสถานะทางเศรษฐกิจ บางคนมีถึง 5 ซี่ ในแถวเดียวกัน โพกผ้าและแต่งกายในชุดสีแดงเป็นสีหลัก ขายกระเป๋าและผ้าผืน รวมทั้ง เทคนิคการขายที่เหมือนกับนักขายชนเผ่าอื่นๆ คือ ตื้อเท่านั้นที่จะทำยอด !!! จนต้องเดินหนีเพื่อปิดการซื้อขายนั่นแหละครับ
เด็กม้งดำจะออกมาขายสินค้าจำพวกกระเป๋าถัก กำไรข้อมือ-เท้าและเลี้ยงน้องไปด้วยอย่างนี้แหละครับ หนูน้อยคนนี้เดินซะหอบ หลังจากที่เธอถูกปฎิเสธโดยนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่ง ขณะที่ปากเธอยังพึมพัมๆ ว่า 'ทู บาย ฟอร์ มี๊...ๆ ๆ ๆ' !!
เวลาอาหารเที่ยงของคุณยายม้งดำ แกขายของที่นั่นและกินที่นั่น หน้าโบสถ์คริสต์ใจกลางเมืองซาปา เป็นโบสถ์คริสต์สมัยยุคอาณานิคมฝรั่งเศสที่ยังหลงเหลือและคนที่นี่ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์ครับ !!!
เรดเซา อีกมุมมอง สวยดีครับ
อีกมุมมองของม้งดำ
เด็กสองคนนี้เป็นคนๆ เดียวกันครับ
จัตุรัสใจกลางเมืองซาปา วันอาทิตย์จะเปิดพื้นที่เป็น เลิฟ มาร์เก็ต ครับ!! ผมหมายความตามนั้นจริงๆ ทั้งหนุ่มสาว และไม่หนุ่มไม่สาว มารอท่าบรรยากาศนี้ตั้งแต่หกโมงเย็นแล้ว เหอเหอ
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ)
“ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม
‘จิตตะกอง’
“โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน