Skip to main content

ผมคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา พอที่จะกล่าวหาว่า สังคมไทยเป็นสังคมพุทธแบบไหน

นักเดินทางหลายคนที่เคยไปเมืองสังขละบุรี ดินแดน 3 น้ำ ริมชายแดนไทย-พม่าด้านตะวันตก คงจะรู้ว่า หากเราข้ามสะพานไปอีกฝั่งน้ำ ชุมชนคนมอญเคลื่อนไหวในโอบอ้อมของขุนเขา ผืนป่าและผืนน้ำ ตรงจุดที่เรียกว่า สามประสบ แหล่งทำกินของชาวน้ำและแหล่งทำเงินของนักลงทุน

เรือแพดารดาษราวเกาะแก่งน้อยใหญ่ เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้ลิ้มลองสัมผัสกับบรรยากาศแปลกใหม่ คนมอญผู้หาปลาเป็นอาชีพ ไม่ได้ลิ้มรสเนื้อปลาที่ตัวเองหามาได้แต่ถูกแลกเปลี่ยนเป็นเงินบนเรือแพหรือรีสอร์ทหรูริมน้ำแห่งนั้น เลยจากจุดที่ตั้งชุมชนออกไประยะชั่วหม้อข้าวเดือด คือ วัดวังวิเวการาม สถานที่แห่งแรงศรัทธาของชน 3 ชาติ ไทย มอญ พม่า

ชาวชนผู้เปี่ยมศรัทธาในพุทธศาสนา

....

ตะวันแผดจ้าทั้งที่เป็นปลายฤดูฝน ฝนที่นี่ตกๆ หยุดๆ ตกๆ หยุดๆ ตกและหยุด หยุดและตก จนเดาอารมณ์กันยากเย็น หากเป็นคนคงจะเป็นคนจ้าวอารมณ์ ขึ้นๆ ลงๆ เอาใจยากสักหน่อย

ลานจอดรถบริเวณวัดแทบร้าง ด้วยยังไม่ถึงหน้า ไฮ-ซีซั่น ที่นักท่องเที่ยวจะมาพักผ่อนสงบอกสงบใจข้างหน้าเป็นตัวอาคารของอุโบสถ หลังคาสีแดงโดดเด่นเหมือนจะลอยอยู่กลางฟ้า

เป๊ปซี่และเพื่อนกำลังทอยเส้นกันอยู่ข้างหน้าโถงทางเดิน ยังไม่ทันจะรู้ผลแพ้ชนะ เมื่อทั้งกลุ่มเห็นผมและยาดา นักท่องเที่ยวหลงฤดูเดินเข้ามาใกล้ เพื่อนๆ ในกลุ่มจึงสะกิดส่งเป๊ปซี่ออกมา

“ซาหวัดดี ครับ” เป๊ปซี่ดวงตาแวววาว ปรี่เข้ามาทักทายอย่างคุ้นเคย
เป๊ปซี่เป็นเด็กมอญตัวกะหร่อง อายุไม่ควรจะเกิน 12 ยางเส้นสีเขียวบริเวณต้นแขนหนาและล้นไปถึงท้องแขน เด็กชายมีรอยแผลเป็นที่ริมฝีปากยาวมาถึงลำคอ

“ชื่อเป๊ปซี่ ครับ” เด็กชายตอบเมื่อผมถามชื่อ เด็กชายเริ่มเดินนำวนรอบอุโบสถ
อันที่จริง เราไม่ได้ต้องการมักคุเทศน์

แสงตะวันยามเที่ยงค่อยอ่อนละมุนเมื่อเรามาอยู่ในตัวอาคารที่สะท้อนประกายแวววาว จากสีสันของกระจกสีที่นำมาประดับประดาตามตัวองค์พระและบริเวณมณฑป

“ศักดิ์สิทธิ์นะครับ คนชอบมาอธิษฐานแต่ต้องโยนเหรียญให้ค้าง” เด็กชายชี้ไปที่หลังคามณฑปหลังหนึ่งที่อยู่ทางประตูหน้าเข้าพระอุโบสถ

“เป๊ปซี่ เคยอธิษฐานไม๊” ยาดาถาม
“เคยครับ”
“อธิษฐานว่าไง”
“ขอให้เรียนเก่งครับ”
เด็กชายตอบพร้อมทำท่าเหนียมอาย

...

หลังจากถ่ายรูปจนหนำใจ เราจ่ายค่าบริการแก่มักคุเทศน์น้อยไป 20 บาท
เป๊ปซี่ไม่ได้ร้องขอและผมไม่ได้ถามถึงที่มาของรอยแผลเป็น

picture

picture

picture

picture

picture

picture

picture

picture

เรื่องและภาพจากคุณนิ่ม

ฉันไปภูสอยดาวแบบไม่รู้เรื่องรู้ราวรู้แต่ว่าอยากไปพักผ่อนเท่านั้น ระยะทางที่ต้องเดินขึ้นไปกว่า 1,633 เมตร ใช้เวลาเดินขึ้นไป 4 ชั่วโมงกว่าเห็นจะได้

ภูสอยดาวสวยสดงดงามที่สุดในช่วงปลายฝนต้นหนาวเช่นนี้

ทางที่ต้องเดินขึ้นไปเป็นทางชันมากกว่าทางราบทำให้เหนื่อยและหอบบ้างเป็นระยะๆ แต่หมอกที่ปลิวมาตามสายลมก็ทำให้หายเหนื่อยได้ ยิ่งเมื่อถึงจุดหมายปลายทางความเหนื่อยล้าทั้งหมดก็ปลิวหายไปกับลมหมอก ทุ่งดอกหงอนนาคฉ่ำเม็ดฝนบานสะพรั่งเต็มทุ่ง

บรรยากาศในยามเย็น ฟ้าเปิดอย่างนี้ บรรดาตากล้องทั้งหลายก็รัวชัตเตอร์ เก็บภาพบรรกาศกันยกใหญ่ บอกอีกครั้งว่า ภูสอยดาว เหมาะกับช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาว ดอกหงอนนาคฉ่ำน้ำฝน คนนอนนับดาว เหมือนใกล้แค่เอื้อม

picture

picture

picture

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์