Skip to main content

ผมคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา พอที่จะกล่าวหาว่า สังคมไทยเป็นสังคมพุทธแบบไหน

นักเดินทางหลายคนที่เคยไปเมืองสังขละบุรี ดินแดน 3 น้ำ ริมชายแดนไทย-พม่าด้านตะวันตก คงจะรู้ว่า หากเราข้ามสะพานไปอีกฝั่งน้ำ ชุมชนคนมอญเคลื่อนไหวในโอบอ้อมของขุนเขา ผืนป่าและผืนน้ำ ตรงจุดที่เรียกว่า สามประสบ แหล่งทำกินของชาวน้ำและแหล่งทำเงินของนักลงทุน

เรือแพดารดาษราวเกาะแก่งน้อยใหญ่ เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้ลิ้มลองสัมผัสกับบรรยากาศแปลกใหม่ คนมอญผู้หาปลาเป็นอาชีพ ไม่ได้ลิ้มรสเนื้อปลาที่ตัวเองหามาได้แต่ถูกแลกเปลี่ยนเป็นเงินบนเรือแพหรือรีสอร์ทหรูริมน้ำแห่งนั้น เลยจากจุดที่ตั้งชุมชนออกไประยะชั่วหม้อข้าวเดือด คือ วัดวังวิเวการาม สถานที่แห่งแรงศรัทธาของชน 3 ชาติ ไทย มอญ พม่า

ชาวชนผู้เปี่ยมศรัทธาในพุทธศาสนา

....

ตะวันแผดจ้าทั้งที่เป็นปลายฤดูฝน ฝนที่นี่ตกๆ หยุดๆ ตกๆ หยุดๆ ตกและหยุด หยุดและตก จนเดาอารมณ์กันยากเย็น หากเป็นคนคงจะเป็นคนจ้าวอารมณ์ ขึ้นๆ ลงๆ เอาใจยากสักหน่อย

ลานจอดรถบริเวณวัดแทบร้าง ด้วยยังไม่ถึงหน้า ไฮ-ซีซั่น ที่นักท่องเที่ยวจะมาพักผ่อนสงบอกสงบใจข้างหน้าเป็นตัวอาคารของอุโบสถ หลังคาสีแดงโดดเด่นเหมือนจะลอยอยู่กลางฟ้า

เป๊ปซี่และเพื่อนกำลังทอยเส้นกันอยู่ข้างหน้าโถงทางเดิน ยังไม่ทันจะรู้ผลแพ้ชนะ เมื่อทั้งกลุ่มเห็นผมและยาดา นักท่องเที่ยวหลงฤดูเดินเข้ามาใกล้ เพื่อนๆ ในกลุ่มจึงสะกิดส่งเป๊ปซี่ออกมา

“ซาหวัดดี ครับ” เป๊ปซี่ดวงตาแวววาว ปรี่เข้ามาทักทายอย่างคุ้นเคย
เป๊ปซี่เป็นเด็กมอญตัวกะหร่อง อายุไม่ควรจะเกิน 12 ยางเส้นสีเขียวบริเวณต้นแขนหนาและล้นไปถึงท้องแขน เด็กชายมีรอยแผลเป็นที่ริมฝีปากยาวมาถึงลำคอ

“ชื่อเป๊ปซี่ ครับ” เด็กชายตอบเมื่อผมถามชื่อ เด็กชายเริ่มเดินนำวนรอบอุโบสถ
อันที่จริง เราไม่ได้ต้องการมักคุเทศน์

แสงตะวันยามเที่ยงค่อยอ่อนละมุนเมื่อเรามาอยู่ในตัวอาคารที่สะท้อนประกายแวววาว จากสีสันของกระจกสีที่นำมาประดับประดาตามตัวองค์พระและบริเวณมณฑป

“ศักดิ์สิทธิ์นะครับ คนชอบมาอธิษฐานแต่ต้องโยนเหรียญให้ค้าง” เด็กชายชี้ไปที่หลังคามณฑปหลังหนึ่งที่อยู่ทางประตูหน้าเข้าพระอุโบสถ

“เป๊ปซี่ เคยอธิษฐานไม๊” ยาดาถาม
“เคยครับ”
“อธิษฐานว่าไง”
“ขอให้เรียนเก่งครับ”
เด็กชายตอบพร้อมทำท่าเหนียมอาย

...

หลังจากถ่ายรูปจนหนำใจ เราจ่ายค่าบริการแก่มักคุเทศน์น้อยไป 20 บาท
เป๊ปซี่ไม่ได้ร้องขอและผมไม่ได้ถามถึงที่มาของรอยแผลเป็น

picture

picture

picture

picture

picture

picture

picture

picture

เรื่องและภาพจากคุณนิ่ม

ฉันไปภูสอยดาวแบบไม่รู้เรื่องรู้ราวรู้แต่ว่าอยากไปพักผ่อนเท่านั้น ระยะทางที่ต้องเดินขึ้นไปกว่า 1,633 เมตร ใช้เวลาเดินขึ้นไป 4 ชั่วโมงกว่าเห็นจะได้

ภูสอยดาวสวยสดงดงามที่สุดในช่วงปลายฝนต้นหนาวเช่นนี้

ทางที่ต้องเดินขึ้นไปเป็นทางชันมากกว่าทางราบทำให้เหนื่อยและหอบบ้างเป็นระยะๆ แต่หมอกที่ปลิวมาตามสายลมก็ทำให้หายเหนื่อยได้ ยิ่งเมื่อถึงจุดหมายปลายทางความเหนื่อยล้าทั้งหมดก็ปลิวหายไปกับลมหมอก ทุ่งดอกหงอนนาคฉ่ำเม็ดฝนบานสะพรั่งเต็มทุ่ง

บรรยากาศในยามเย็น ฟ้าเปิดอย่างนี้ บรรดาตากล้องทั้งหลายก็รัวชัตเตอร์ เก็บภาพบรรกาศกันยกใหญ่ บอกอีกครั้งว่า ภูสอยดาว เหมาะกับช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาว ดอกหงอนนาคฉ่ำน้ำฝน คนนอนนับดาว เหมือนใกล้แค่เอื้อม

picture

picture

picture

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…