Skip to main content

ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบา


นักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก

หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”

อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม

!!!...” ไม่มีคำตอบจากลูกหาบ

เพิ่งมีชาวบ้านเจอหมีในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา” ประมาณว่า เชื่อผมสิ พักที่นี่แหละ สรุปความได้ว่า นักเดินป่าคณะใหญ่จำต้องนอนค้างที่จุดพักแรมดงน้อย


พวกเขาคงกลัวอดมากกว่ากลัวหมี


การเดินขึ้นดอยหลวง ไม่ยากและไม่ง่าย แปลกและแตกต่างจากยอดอื่นๆ ตรงที่ทางเดินไม่ซับซ้อน เดินไปเรื่อยๆ ตามทางเดิน ไม่ต้องเลี้ยว ไม่มีแยกให้งง ไม่ชันแต่ตะปุ่มตะป่ำไปด้วยหิน ไม่มีน้ำหรือที่พัก ข้อที่น่าหวาดหวั่นที่สุด เห็นจะเป็น ‘ไม่มีส้วม’


เงื่อนไขนี้เป็นเจตนาของเขตรักษาพันธุ์ที่ไม่ต้องการสร้างอาคารสถานที่ถาวร เป็นการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่อนุญาตให้ขึ้นไปได้ไม่เกินวันละ 150 คน ในแต่ละฤดูกาลเพื่อการอนุรักษ์และเรียนรู้ชีวิตอีกรูปแบบที่ไกลจากชีวิตปกติแต่ผมเชื่อว่าคงอีกไม่นานเกินรอ ดอยหลวงเชียงดาวจะพลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวที่พร้อมสำหรับความยากลำบาก

...


บ่ายของเช้าวันใหม่ เราขึ้นไปถึงอ่างสลุงเชิงดอยกิ่วลมยอดสูงสุด ลมหนาวข้างบนต่ำกว่า 10 องศา ไหลผ่านเสื้อกันหนาวเข้ามาบาดผิว จุดพักแรมอ่างสลุงมีจุดกางเต๊นท์หลายจุด พี่แดนไกด์คนดีแนะนำให้เรากางเต๊นท์ในมุมอับของหิน


อุ่นแต่เสี่ยง เพราะมันเหมาะจะเป็นส้วมสาธารณะที่ดีที่สุด

แต่เราเลือกอุ่นเอาไว้ก่อน

อยากจะนอนดูดาว” ต้น บางใหญ่ว่า

คืนนี้ท้องฟ้าใส น่าจะเห็นดาว แต่หนาว” พี่แดนแนะนำ

เย็นวันนี้ เรามีแผนว่าจะไปดูพระอาทิตย์ตกบนยอดดอยหลวงซึ่งจะมองเห็นยอดพีระมิดและดอย 3 พี่น้องได้ถนัดถนี่

หากไม่มีหมอกจะมองเห็นยอดดอยอินทนนท์กับยอดผ้าห่มปก” มันสูงเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสอง ส่วนอันดับสามมัน คือ ยอดดอยหลวง

...


บนยอดดอยหลวง เราสามารถมองเห็นโลกในมุม 360 องศา หินปูนสีคล้ำเพราะแดดและลมหนาวแผดเผา กระจายตัวออกไปเป็นหย่อมๆ ค้อเชียงดาว เสียดยอดอยู่ริมผาตระหง่านเงื้อม มันคงยืนอยู่ที่นั่นมาชั่วนาตาปีก่อนหน้าที่จะมีใครขึ้นมาถึง


สายหมอกสีขาวพัดหวนตามลมขึ้นมาจากก้นผาที่ลึกที่สุด พระอาทิตย์ดวงกลมโตลับเหลี่ยมทางยอดพีรามิด ชายรูปร่างสูงใหญ่ในชุดคลุมสีฝาดอย่างฤาษี สวมหมวกปีกกว้างทำจากไม้มียอดสูงคล้ายชฎา ใส่รีบอร์ก นั่งอยู่ริมผาพร้อมกับลูกศิษย์ซ้ายขวา


รอรับรังสีสุดท้ายของวันอย่างอิ่มเอิบ

ท่านเป็นนักบวชนิกายอะไรสักอย่าง ผมจำไม่ได้ รู้ข่าวหลังจากลงไปข้างล่างว่า ท่านและลูกศิษย์ถูกปรับเป็นเงินเพราะค้างแรมบนยอดดอยซึ่งเป็นสถานที่ที่ห้ามนอน ก่อนจะขับเบ๊นซ์สีน้ำตาล รุ่น 730E ออกไป อย่างอิ่มเอิบ แว่วว่าจะเดินทางไปต่ออีกยอด


กฏย่อมเป็นกฏไม่มีการยกเว้น (นอกจากผู้รักษากฏ)

...


มีคนเคยพูดว่า เพียงแค่ได้มองยอดดอยหลวงฯ จากผืนดินก็รู้สึกได้ถึงความยิ่งใหญ่

เราคิดว่า เราจะกลับมาปีนอีกครั้ง


...

Ei Ei

 


แดดอาบไล้ยอดเขาเป็นภาพที่คุ้นเคยและหามองได้ง่ายๆ ในหุบเขาดอยหลวงเชียงดาว



ม่านหมอกปกคลุมยอด เสียดเมฆ










จู่ๆ สายหมอกก็หมุนวนขึ้นมาจากก้นหุบ ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่น่าตรึงหัวใจก่อนจะสลายตัวไป
เหลือเพียงภาพให้จดจำ







นักท่องเที่ยวมาเฝ้ารอพระอาทิตย์ตก มีฉากหลังเป็นทิวเขาซ้อนยาวเหยียด



ใบไม้เล็กๆ กำลังเปลี่ยนสี จากสีเขียวเป็นสีแดงก่อนจะกลายเป็นสีน้ำตาลแล้วร่วงโรย



บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…