Skip to main content
ในวงการนักอนุรักษ์ ไม่มีใครที่ไม่รู้จักคุณลุงโชคดี ...!!!

ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณะ v4n กำลังเป็นที่รู้จัก ...!!!


แววตาอ่อนโยนหลังแว่นกรอบนั้นมองมาที่พวกเราอย่างสงสัย เส้นผมและหนวดเคราเส้นเล็กขาวโพลนเหมือนกับปุยฝ้ายแตกปุยทำให้คุณลุงโชคดีดูอ่อนโยนมากขึ้น ใต้ศาลาเอนกประสงค์กลางลานบ้านของสวนลุงโชค เด็กๆ รุ่นหลังอย่างพวกเรากำลังตามความคิดของคุณลุง


โชคดี ปรโลกานนท์แห่งเขาแผงม้า โดดเด่นขึ้นมาทันทีเมื่อเขาได้สร้างสีเขียวให้กับพื้นโลก พลิกภูเขาหัวโล้นที่ชาวบ้านแถบนั้นเคยเรียกกันติดปากว่า ‘ภูเขาไฟ' ให้กลายเป็นภูเขาเขียว


จากปี 2537 จนวันนี้ 15 ปี คุณลุงโชคดีทำให้กระทิงคืนป่า


จนวันนี้ ‘มาดูกระทิงที่เขาแผงม้า' ถือเป็นโปรแกรมเด็ดของการท่องเที่ยวในแถบอำเภอวังน้ำเขียว

‘เขาแผงม้า' เป็นชื่อเรียกเทือกเขาแห่งหนึ่งในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ตามลักษณะเฉพาะของมัน เทือกแผงม้าเคยเป็นป่าดงดิบชื้น มีต้นไม้ปกคลุมอย่างหนาแน่นในยุคพ่อแม่ยังหนุ่มสาวต่อเมื่อมีคนรุกเข้าจับจองเปลี่ยนป่าเป็นไร่


ป่าจึงเปลี่ยนไป ...

ทิวไผ่เป็นแนวครึ้ม คุณลุงโชค บอกว่า เมื่อการท่องเที่ยวกลายเป็นจุดขายทำให้มีคนเข้ามาอยู่ในอำเภอวังน้ำเขียวมากขึ้น

นักลงทุนมองเห็นช่องทางทำเงิน

 

วังน้ำเขียวในยุคแรก ถูกยกย่องให้เป็นสวิตเซอร์แลนด์แดนอิสาน

ยุคต่อมา ถูกกล่าวขวัญให้เป็นแหล่งโอโซนอันดับเจ็ด

จนวันนี้ วังน้ำเขียวกลายเป็นลมปราณแห่งอุษาคเนย์

ป๊าดท่อ!!! ลุงโชคคราง ทำเอาพวกเราหัวเราะก๊ากในอารมณ์ขันของแก

 

หลังจาก ป่าฟื้น การท่องเที่ยวกำลังก่อปัญหาใหม่ .. ราคาที่ดินสูง ชาวบ้านจึงขายที่ดินของตัวเองหรือไม่ก็เปลี่ยนไร่เป็นรีสอร์ทและต้อนรับทัวร์ทุกคณะ

ลุงโชคดีชี้ไปยังเด็กๆ กลุ่มหนึ่งนอกศาลาเอนกประสงค์

พ่อแม่ของเด็กๆ เหล่านี้ขายที่ขายทางกันหมดพอเงินหมดจึงไปเป็นคนสวนประจำรีสอร์ทใหญ่ในที่ที่เคยเป็นของตนเอง

!!!

 

ขอบคุณชาวคณะ v4nature ทุกคน

ที่ชวนไปทำแนวป้องกันไฟป่าที่เขาแผงม้า

 

 


กระทิงตัวนี้ ยืนต้อนรับทุกคนที่พร้อมอยากจะรู้เรื่องเขาแผงม้าอยู่หน้าสถานี



เจ้าหน้าที่กำลังอธิบายพื้นความรู้ก่อนจะออกเดินป่าไปตามสถานีต่างๆ



ตามป้ายคับ



ความงดงามของกล้วยไม้ป่าระหว่างทางเดิน







คุณลุงโชคดี ปรโลกานนท์ ชาวบ้านธรรมดาแห่งเขาแผงม้า



รองเท้านารี ในสวนลุงโชค



ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า



ผู้เรียนรู้จะได้ก้าวเข้าสู่แต่ละสถานีเพื่อเรียนรู้วิถีแห่งเขาแผงม้า

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…