Skip to main content
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม


ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า


"หากใครมึนหัวหรือต้องการเข้าห้องน้ำให้รีบบอกผมหรือหยิบถุงตรงเบาะทางด้านหน้าที่เตรียมเอาไว้ให้ หากใครฮาก(อาเจียน)ใส่รถ ปรับ 500" เขาขยับแว่นเป็นเชิงว่า "ผมหวังว่า ทุกคนคงเข้าใจนะครับ" ก่อนจะปิดบานประตูด้วยเสียงหนักแน่นเหมือนน้ำเสียง ทุกคนบนรถยิ้ม

เอ่อ อาเจียนแล้วหยิบถุงมาฮากนี่พอเข้าใจได้แต่ปวดฉี่นี่สิจะหยิบถุงมาฮากยังไงหว่า ???


เมื่อเข้าสู่บ้านเลาวู ผู้มาเยือนจะมองเห็นคำว่า "ประตูสู่เวียงแหง" อยู่บนสันผาอย่างเด่นชัด หลังจากตรวจบัตรประจำตัวประชาชนในด่านทหาร จากนั้นอีก 18 กิโลเมตร จึงเข้าสู่หมู่บ้านเปียงหลวงใจกลางที่ราบหุบเขากว้างใหญ่ (เปียง-ที่ราบ,หลวง-กว้างใหญ่)


ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของคนไทใหญ่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย


ประตูทางเข้าหมู่บ้านเป็นโครงไม้ทาสีน้ำตาลมีหลังคาครอบ ด้านข้างเป็นป้อมยามของหน่วยรักษาความปลอดภัย คนจำนวนมากกลับบ้านเพื่อร่วมงานปอย-ส่างลอง(21-25 เมษายน 52)และเยี่ยมครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากรัฐฉาน นอกจากนั้น ก็มีจีน ลาหู่ เย้า คนไทยพื้นราบ เคาะตัวเลขจำนวนประชากรแล้วอยู่ที่ 10,000 คน มากกว่า 2,000 ครัวเรือน


บางส่วนข้ามมาจากฝั่งพม่าเมืองเกียงตอง หล่าเซล เชียงตุง ข๋อนหลำ เมืองนาย เข้ามาทางด่านหลักแต่ง ห้วยยาว ป๋างกิ่วก่อ ซึ่งเคยเป็นเส้นทางและหมู่บ้านของผู้อพยพมากกว่า 200 ครัวเรือน ปัจจุบัน ด่านปิดตาย ชาวไทใหญ่ส่วนหนึ่งถูกย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์พักรอ ‘กงจ่อ'


เปียงหลวงเป็นหนึ่งในเจ็ดหมู่บ้านของอำเภอเวียงแหง ได้แก่ เปียงหลวง บ้านจ๊อง ม่วงป็อก แสนไห ปางป๋อ กองลมและเวียงแหง ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนสอนภาษาจีนชื่อว่า กวงหัว เรียนกันทุกวันจันทร์-เสาร์ ค่าใช้จ่ายต่อหัว 120-150/เดือน/รายวิชา ต้องลงเรียน 330 รายวิชาถึงจะจบหลักสูตร


คนเปียงหลวงจึงพูดได้หลายภาษา ไทย จีน ไทใหญ่และภาษาอังกฤษของบางคนดีอย่างคาดไม่ถึง ส่วนในตัวเมืองเชียงใหม่ชาวไทใหญ่จะพักอาศัยในบริเวณวัดกู่เต้า ตลาดคำเที่ยงและสี่แยกไฟหลวง


ปอย-ส่างลอง เป็นภาษาไทยใหญ่ ปอย แปลว่างาน ,ส่าง แปลว่าสามเณร ,ลอง แปลว่าดักแด้ นำทั้ง 3 คำมารวมกัน หมายความว่า เตรียมตัวเป็นสามเณรหรือพิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนตามเทศกาลของผู้คนในศาสนาพุทธ ปอย-ส่างลอง เปียงหลวง จะจัดกันทั้งวันทั้งคืน จนครบ 5 วัน (ไม่นับรวมเวลาเตรียมงานอีก 1 เดือน) ก่อนจะบวชเป็นสามเณรซึ่งชาวไทใหญ่เชื่อว่า การกลับมาร่วมงานจะได้บุญใหญ่

.....


เดือนและสา 2 พี่น้อง หญิงสาวชาวไทใหญ่ในวัยไม่ถึง 20 ปี ทั้งคู่ทำงานเย็บผ้าในโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง


เดือนบอกว่า กลับมาร่วมงานบวชหลานชายของเธอที่ครบกำหนดบวชปอยส่างลองในปีนี้ สองพี่น้องต้องลางานหนึ่งอาทิตย์ เดินทางจากระยองมากรุงเทพฯแล้วต่อรถทัวร์มาเชียงใหม่ในคืนนั้น ก่อนจะมาขึ้นรถตู้ที่ขนส่งช้างเผือกอีก 3 ชั่วโมง เพื่อไปเปียงหลวงหมู่บ้านของเธอ รวมสะระตะแล้วเธอใช้ชีวิตอยู่บนรถ 2 วัน


"เพิ่งมาครั้งแรกเหรอ" เดือนชวนคุย

"ครับ ตื่นเต้นมาก" ผมตอบเธอ

".........."

"ลางานมาทั้งอาทิตย์ เจ้านายให้ลาเหรอ"

"จริงๆ ก็ไม่ให้ลานะ แต่ตื้อเค้าจนได้หละ เพื่อนบางคนที่รู้จักก็ไม่ได้มา"

"แล้วทำไง"

"ลาออก" เดือนตอบยิ้มๆ ทีเล่นทีจริง

ถึงด่านตรวจบ้านเลาวู สองพี่น้องต้องจ่ายค่าปรับ 200 บาท ฐานอายุบัตรขอเดินทางออกนอกพื้นที่หมดอายุ ผลพวงจากการดิ้นรนที่จะมีชีวิตรอด ทำให้คนไทใหญ่หลายคนไม่ได้มาร่วมงานบุญและหากเป็นจริงอย่างที่เดือนพูดถึง นั่นหมายถึง พลังศรัทธาของศาสนาที่ฝังรากอยู่ในจิตใจของคนไทใหญ่

.....


บริเวณงานอยู่ภายในสนามฟุตบอลโรงเรียนบ้านเปียงหลวงและพิธีกรรมจะทำกันที่วัดเปียงหลวงซึ่งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนโดยมีพระอาจารย์ชาวไทใหญ่ผู้เป็นที่นับถือของคนเปียงหลวงเป็นผู้ดูแล พระอาจารย์ผู้มีเสียงก้องกังวานจะช่วยดูแลเด็กๆ ตั้งแต่การท่องบทสวดรับเพื่อเข้าสู่พิธีการตั้งแต่ การโกนหัว การแห่ลูกแก้ว การบวชเป็นสามเณร


พระอาจารย์ชาวไทใหญ่บอกว่า ปีนี้ มีส่างลองจำนวน 108 คน นับเป็นบวชลูกแก้วที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา ประเพณีการบวชลูกแก้วสืบทอดกันมานานนับเวลาไม่ถูก อาจจะมากกว่า 100 ปี แต่ละปีผู้คนจะรอเวลานี้เพื่อมาร่วมงานบุญ แม้บางคนไม่ได้กลับมาร่วมด้วยตัวเองแต่จะส่งเงินมาช่วยเหลือญาติพี่น้อง


การบวชลูกแก้วไม่ได้เป็นเพียงพิธีกรรมแต่เป็นแรงศรัทธาที่ฝังอยู่สายเลือดของคนไทใหญ่ ถึงแม้ว่า การบวชแต่ละครั้งจะต้องใช้เงินสูงถึง ครอบครัวละ 60,000 บาท ในการเตรียมงานและเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน จนช่วงหลังมีการประชาสัมพันธ์ให้งานประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว หน่วยงานส่วนท้องถิ่นจึงเข้ามาร่วมและสบทบทุนร่วมจัดงาน


ซุ้มส่างลองแต่ละซุ้มจะได้รับการประดับประดาอย่างงดงาม ส่างลองทุกคนจะต้องมาอยู่อาศัยภายในซุ้มจนครบกำหนด 5 วัน โดยมีผู้ดูแล เรียกว่าพ่อส้าน-แม่ส้าน ที่คอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเพราะเชื่อกันว่าระหว่างพิธีการบวชเท้าของส่างลองจะต้องไม่แตะพื้น ดังนั้น เวลาจะไปไหนมาไหนพ่อส้านจะทำหน้าที่ให้ส่างลองขี่คอ ส่วนแม่ส้านจะทำหน้าที่เรื่องอาหารการกินดูแลแขกและแต่งหน้าตาส่างลองให้งดงามอยู่เสมอ


สำหรับชุดในการประกอบพิธีกรรม แต่ละชุดจะต้องตัดใหม่ทั้งหมด มีสีสันตามวันที่แตกต่างกันออกไป หลังจากท่องบทสวดรับขึ้นใจจะเป็นพิธีโกนผม โดยใช้น้ำละลายกับส้มป่อย(มะขามแขก)ชำระล้างก่อนกันไม่ให้เจ็บศีรษะ โกนแล้วหัวจะใส เริ่มจากพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือโดยมีพระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ


ก่อนจะขึ้นไปรับศีลในโบสถ์แล้วจึงแยกย้ายกันกลับบ้านเพื่อเข้าพิธีส่างลองในเช้าวันรุ่งขึ้น


พระอาจารย์ไทใหญ่ยิ้มอ่อนโยนบนใบหน้า บอกว่า คนไทใหญ่ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนยังคงผูกพันเป็นพี่น้องกัน ปอย-ส่างลอง เป็นมากกว่าพิธีกรรม คือ แรงศรัทธาที่ฝังรากลึก เด็กไทใหญ่ทุกคนต้องเข้าพิธีกรรมนี้และสับเปลี่ยนกันเป็นพ่อส้าน-แม่ส้าน ซึ่งเชื่อกันว่า ตายไปแล้วจะกลายเป็นดวงดาวบนท้องฟ้า


ดวงดาวแห่งพุทธะ สีสันของเจ้าชายส่างลอง เปียงหลวง

 

 


เปียงหลวง หมู่บ้านใจกลางที่ราบกว้างหุบเขา มุมมองนี้ถ่ายจากศาลเจ้าชาวจีน บนภูที่สูงที่สุดในหมู่บ้าน



วัดเปียงหลวง ศิลปะไทใหญ่ มุมมองกลางคืน







โกนผม ก่อนเข้าพิธี











ส่างลอง ในลีลาต่างๆ




 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในสายตาของนักเสี่ยงโชค ,เกาะกง หมายถึง แหล่งทำเงินขนาดใหญ่..., หากเทพีแห่งโชคเข้าข้าง, เขาหรือเธอ เหล่านั้น...เชื่อว่า หลายคนคงรู้จักเกาะกงในฐานะแหล่งการพนันแหล่งใหญ่ของประเทศกัมพูชา ณ จุดชายแดนไทย จังหวัดตราด ที่ปล่อยให้มีการเปิดบ่อนเสรี จนรัฐบาลไทยหลายๆ รัฐบาลคิดทำตามอย่าง ..แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีรัฐบาลชุดไหนสามารถแหวกม่านความคิดของสังคมไทยออกไปรอดพ้น...ผมไม่ได้ไปเกาะกงในฐานะนักเล่น (เพราะไม่มีฐานะมากพอ 555) แต่ได้ติดสอยห้อยตามเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งไปสังเกตการณ์ทำข้อมูลเรื่องหญิงชาวกัมพูชาในสถานบริการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี, ที่อำเภอคลองสนและอำเภอหาดเล็ก จังหวัดตราด .....เกาะกง จังหวัดเล็กๆ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เปล่า! แม่น้ำสงครามไม่ได้เป็นชื่อที่พ้องกับการสงครามของใคร ..หากโลกใบนี้ได้เพียรสร้างสรรค์ผลงานที่น่าอัศจรรย์...น้ำสงครามมีต้นกำเนิดบนสันภูผาเหล็ก อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ไหลขึ้นไปทางเหนือ ผ่านอำเภอหนองหาน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ก่อนจะย้อนลงมาที่ อำเภอบ้านม่วง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จึงมุ่งหน้าเข้าสู่อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย วกลงอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ทะลักล้นเข้าอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่ไชยบุรี อำเภอท่าอุเทนนับระยะทาง 420 กิโลเมตรและลำน้ำสาขานับร้อยสาย คือ ทุ่งน้ำขนาดกว้างใหญ่ถึง 6 แสนไร่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ นครพนม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ตอนที่ 3 พระธาตุสีขาว หากมานครพนมแล้วไม่ได้ถ่ายภาพพระธาตุพนมคงดูจะกระไรๆ  ..พระธาตุพนมอยู่ภายในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บนภูที่เรียกว่า ภูกำพร้า ริมถนนชยางกูร หมู่บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ที่น่าสนใจ คือ ภายในพระธาตุได้บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้าที่อัญเชิญมาตั้งแต่ พ.ศ.8...รอบบริเวณจะมีตลาดขายสินค้าที่ระลึก อย่างเช่น โปสการ์ด รวมถึงร้านอาหารตามสั่งและสินค้าบุญ อย่างเช่น นก ปลาและเต่า ให้เอาไปปล่อยในสระโบราณกลางพระธาตุผู้ศรัทธาแห่แหนกันมาจากทั่วทุกสารทิศ ก่อนออกพรรษาจะมีการมาทำบุญเพื่อทะนุบำรุงวัดและพระธาตุ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ตอนที่ 2 ท่าอุเทนนครพนม ดินแดนแห่งสายน้ำโขง จังหวัดชายแดนไทยลาวอีกหนึ่งจังหวัดที่สงบเงียบ (สงบเงียบอย่างจริงๆจังๆ) เรียบเรื่อยไปตามริมฝั่งโขงติดกับแขวงคำม่วนที่เพิ่งประกาศนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกับประเทศไทยเพียงไม่นานลาว ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล พยายามปรับตัวเองให้เป็นประเทศเมืองท่าค้าขายและขนส่งสินค้าในระดับภูมิภาค พร้อมตั้งเป้าขยายการเติบโตทางพลังงาน, นครพนม-แขวงคำม่วน จึงกลายเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์การค้า และแผนพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีรูปธรรมนำ คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สายที่ 3 นครพนม-ท่าแขก (สายที่ 1 หนองคาย-เวียงจันทน์, สายที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)...…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ตอนที่ 1 อุ่น อุ่น ที่บ้านแม่สถิตแดดผีตากผ้าอ้อมพาดเฉียงๆ ทำมุมเอียงๆ กับแกนโลกและหลังคาบ้าน ขับเน้นรวงข้าวสุกปลั่ง สมดั่งคำที่ว่า ทุ่งเอ๋ย ทุ่งรวงทอง, นั่นแหละครับ สิ่งที่ผมคิดภาพเอาไว้, เมื่อรุ่นน้องคนหนึ่งชวนผมพร้อมกับยื่นกำหนดการทัวร์บ้านอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรให้ดู“เออ น่าสนว่ะ”“ไปนะพี่ บอกแม่เอาไว้แล้ว” ในความหมายนี้ หมายถึง ความโอบเอื้อแบบอารมณ์คนชนบท...บ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม หนึ่งในเส้นทางของลำน้ำสงคราม ที่ วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง นักเขียนแห่งค่ายนิตยสารสารคดี ให้ความหมายว่า “ป่าชายเลนน้ำจืดของแผ่นดินอิสาน”เราเดินทางไปด้วยกัน 6 ชีวิต จากกรุงเทพฯมหานครผ่านโคราช (…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กัลกัตตาเป็นเมืองหลวงสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (มันยิ้มเห็นลิ้น “คิดว่านะ”)อาคารร้านตลาดหรือ Shopping Center ยังคงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมยุโรป ประเมินได้ว่า นับตั้งแต่คานธีปลดปล่อยอินเดีย “มันก็ยังอยู่อย่างนั้น ทรุดโทรมไปตามเวลาอย่างขาดการดูแล”ยามเช้า “ชั้นตั้งนาฬิกาปลุกออกไปเดินถนนตั้งแต่ 7 โมงเช้า” บนถนนย่านตลาดสด เวลาเหมือนหยุดนิ่ง เงียบสงบ ยามเช้าที่ไหนก็สวยใสอย่างนี้เสมอ ถนนลาดหินเหมือนจัตุรัสกลางในหนังสือวรรณกรรมอังกฤษ“ถนนลาดหินเหมือนฉากหนังหยองขวัญเรื่อง Jack the Ripper มากกว่าว่ะ”อืม .. หน้าโรงแรม ริมถนนตรงข้ามข้างคันโยกน้ำสาธารณะ เด็กน้อยคนนึงกำลังอาบน้ำ สีฟัน “ชั้นพยายามโฟกัส…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรื่องของเรื่อง คือว่า เพื่อนผมไปอินเดีย ดินแดนแห่งโลกอารยธรรมตะวันออก ..มันว่าของมันว่า ภาพสวยมากนะแก ..ผมตาโต ..เท่าไข่นกกระจอกเทศผมเลยถือโอกาสให้มันเล่าเรื่องที่อินเดียให้ฟัง ..“แก ชั้นไปอินเดียมา” มันว่า แถมต่อท้ายอย่างน่าฟัง “นั่นหน่ะ เป็นประเทศที่ชั้นอยากไปเป็นอันดับหนึ่งเชียวนะ”เมืองระดับอารยธรรมเก่าแก่ของโลก เต็มไปด้วยนักพรตในกลิ่นอายของศาสนาฮินดูอย่างในหนังสารคดี โยคีริมฝั่งแม่น้ำคงคา วัดฮินดู อย่างภาพของเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกหรือทัชมาฮาล อย่างในภาพทัวร์ท่องเที่ยว (อันหลังนี่ผมนึกภาพเอาเอง อิอิ)หลังจากที่เครื่องลงจอดเมืองกัลกัตตา สนามบินแห่งนั้นดูทรุดโทรม ที่น่าสังเกต “…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ท้องฟ้าและท้องน้ำดูจะละลายตัวเข้าหากัน หากไม่มีอ่าวริมน้ำแห่งนั้นขวางกั้นเอาไว้ ...ปลายสุดของสะพานฝั่งมอญ หมู่บ้านคนมอญสงบงัน ไร้เสียง เหมือนชีวิตของพวกเค้า ...\พี่เย็นเกิดที่เมืองไทย พ่อแม่มาจากฝั่งโน้น(ฝั่งพม่า) ถือบัตรสีชมพู (ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า) ก่อนจะแปลงสัญชาติเพิ่งได้สัญชาติไทยมาหนึ่งปี ส่วนสามีไม่มีบัตรอะไรทางอำเภอได้เข้ามาสำรวจแล้วแต่ยังไม่ได้ถ่ายบัตร ตอนนี้ถือหางบัตรพี่เย็นมีลูก 2 คน ชายหนึ่งคน หญิงหนึ่งคน เรียนที่โรงเรียนบ้านเด็กป่าลูกชายมีสูจิบัตรและได้รับสัญชาติไทยพร้อมแม่ ส่วนลูกสาวแจ้งเกินกำหนดไป 2…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ง่ายๆ เราเจอกันที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อ ..อาสาสมัครสอนหนังสือเด็กในชุมชน กลางเมืองหลวง..กับครูปู่ กลุ่มซ.โซ่อาสา (รู้จักครูปู่และกลุ่มซ.โซ่อาสา www.volunteerspirit.org)ผมนัดกับนุ้งนิ้งเพื่อขอเข้าไปถ่ายรูป อาสาสมัครและเด็กๆ กลางเมืองหลวงในชุมชนตึกแดง ..ถามคนแถวนั้นว่าทำไมต้องตึกแดง ง่ายๆ อีกเหมือนกันครับว่า เมื่อก่อนตึกแถวนี้ทาสีแดง คนเลยเรียกติดปากว่าย่านตึกแดง ...แล้วทำไมต้องทาสีแดง อันนี้ไม่ได้ถามครับ ?จากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อ เรา อาสาสมัครต้องนั่งรถสามล้อเครื่องเข้าไปถึงหน้าชุมชนแล้วเดินต่อเข้าไปอีกหน่อย ..ทางเดินแคบๆ นำเราไปยังลานโพธิ์มีเด็กๆ มากกว่า 50 คน รอให้เราเข้าไปสอน...…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หลายเสียงเล่าว่า สถานการณ์ในพม่ากำลังเข้าสู่ภาวะปกติ(เพราะกลัวตาย)ขณะแนวร่วมทั่วโลกกำลังหยุดส่งเสียง ปล่อยเป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลและการเมืองระดับภูมิภาคหรือระดับโลกเจรจากดดันกันไปดูรายการชีพจรโลกของคุณสุทธิชัย หยุ่น นั่งคุยกับอุปทูตอเมริกา จีนและอังกฤษ ที่ต่างสงวนท่าทีต่อการแทรกแซงกิจการภายในหรือใช้มาตรการเด็ดขาดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่า โดยเฉพาะท่าทีของอุปทูตจีนที่ระล่ำระลักพูดออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจนประมาณว่า ทางการจีนคงจะไม่ทำอะไรอีกต่อไปเพราะเราเชื่อมั่นในพลังประชาชน และไม่คิดว่าการแทรกแซงจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้รักประชาธิปไตย…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เช้า,เย็น,ค่ำ หน้าสถานทูตพม่า ,สองวันนั้น วิญญาณแห่งเสรีภาพร่ำไห้ออกมาเป็นเสียงfree free free ,free Burma..ด้วยความหวังว่า เสียงแห่งเสรีภาพจะดังก้องไปทั่วโลก ผ่านเวทย์มนต์ของเทคโนโลยีการสื่อสารผิวถนนระอุด้วยไอแดด เหงื่อไคลของเด็กชายไหลลงมาตามผิวหน้า ในตาลุกวาวทุกครั้งที่มีการตะโกนปลุกเร้าว่า “free free free ,free burma” …ชูกำปั้นขึ้นฟ้าให้สุดแขนแล้วตะโกนออกมาดังๆ... free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma …ผ้าสีแดงโพกศีรษะ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา พอที่จะกล่าวหาว่า สังคมไทยเป็นสังคมพุทธแบบไหนนักเดินทางหลายคนที่เคยไปเมืองสังขละบุรี ดินแดน 3 น้ำ ริมชายแดนไทย-พม่าด้านตะวันตก คงจะรู้ว่า หากเราข้ามสะพานไปอีกฝั่งน้ำ ชุมชนคนมอญเคลื่อนไหวในโอบอ้อมของขุนเขา ผืนป่าและผืนน้ำ ตรงจุดที่เรียกว่า สามประสบ แหล่งทำกินของชาวน้ำและแหล่งทำเงินของนักลงทุนเรือแพดารดาษราวเกาะแก่งน้อยใหญ่ เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้ลิ้มลองสัมผัสกับบรรยากาศแปลกใหม่ คนมอญผู้หาปลาเป็นอาชีพ ไม่ได้ลิ้มรสเนื้อปลาที่ตัวเองหามาได้แต่ถูกแลกเปลี่ยนเป็นเงินบนเรือแพหรือรีสอร์ทหรูริมน้ำแห่งนั้น เลยจากจุดที่ตั้งชุมชนออกไประยะชั่วหม้อข้าวเดือด คือ…