Skip to main content
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม


ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า


"หากใครมึนหัวหรือต้องการเข้าห้องน้ำให้รีบบอกผมหรือหยิบถุงตรงเบาะทางด้านหน้าที่เตรียมเอาไว้ให้ หากใครฮาก(อาเจียน)ใส่รถ ปรับ 500" เขาขยับแว่นเป็นเชิงว่า "ผมหวังว่า ทุกคนคงเข้าใจนะครับ" ก่อนจะปิดบานประตูด้วยเสียงหนักแน่นเหมือนน้ำเสียง ทุกคนบนรถยิ้ม

เอ่อ อาเจียนแล้วหยิบถุงมาฮากนี่พอเข้าใจได้แต่ปวดฉี่นี่สิจะหยิบถุงมาฮากยังไงหว่า ???


เมื่อเข้าสู่บ้านเลาวู ผู้มาเยือนจะมองเห็นคำว่า "ประตูสู่เวียงแหง" อยู่บนสันผาอย่างเด่นชัด หลังจากตรวจบัตรประจำตัวประชาชนในด่านทหาร จากนั้นอีก 18 กิโลเมตร จึงเข้าสู่หมู่บ้านเปียงหลวงใจกลางที่ราบหุบเขากว้างใหญ่ (เปียง-ที่ราบ,หลวง-กว้างใหญ่)


ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของคนไทใหญ่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย


ประตูทางเข้าหมู่บ้านเป็นโครงไม้ทาสีน้ำตาลมีหลังคาครอบ ด้านข้างเป็นป้อมยามของหน่วยรักษาความปลอดภัย คนจำนวนมากกลับบ้านเพื่อร่วมงานปอย-ส่างลอง(21-25 เมษายน 52)และเยี่ยมครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากรัฐฉาน นอกจากนั้น ก็มีจีน ลาหู่ เย้า คนไทยพื้นราบ เคาะตัวเลขจำนวนประชากรแล้วอยู่ที่ 10,000 คน มากกว่า 2,000 ครัวเรือน


บางส่วนข้ามมาจากฝั่งพม่าเมืองเกียงตอง หล่าเซล เชียงตุง ข๋อนหลำ เมืองนาย เข้ามาทางด่านหลักแต่ง ห้วยยาว ป๋างกิ่วก่อ ซึ่งเคยเป็นเส้นทางและหมู่บ้านของผู้อพยพมากกว่า 200 ครัวเรือน ปัจจุบัน ด่านปิดตาย ชาวไทใหญ่ส่วนหนึ่งถูกย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์พักรอ ‘กงจ่อ'


เปียงหลวงเป็นหนึ่งในเจ็ดหมู่บ้านของอำเภอเวียงแหง ได้แก่ เปียงหลวง บ้านจ๊อง ม่วงป็อก แสนไห ปางป๋อ กองลมและเวียงแหง ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนสอนภาษาจีนชื่อว่า กวงหัว เรียนกันทุกวันจันทร์-เสาร์ ค่าใช้จ่ายต่อหัว 120-150/เดือน/รายวิชา ต้องลงเรียน 330 รายวิชาถึงจะจบหลักสูตร


คนเปียงหลวงจึงพูดได้หลายภาษา ไทย จีน ไทใหญ่และภาษาอังกฤษของบางคนดีอย่างคาดไม่ถึง ส่วนในตัวเมืองเชียงใหม่ชาวไทใหญ่จะพักอาศัยในบริเวณวัดกู่เต้า ตลาดคำเที่ยงและสี่แยกไฟหลวง


ปอย-ส่างลอง เป็นภาษาไทยใหญ่ ปอย แปลว่างาน ,ส่าง แปลว่าสามเณร ,ลอง แปลว่าดักแด้ นำทั้ง 3 คำมารวมกัน หมายความว่า เตรียมตัวเป็นสามเณรหรือพิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนตามเทศกาลของผู้คนในศาสนาพุทธ ปอย-ส่างลอง เปียงหลวง จะจัดกันทั้งวันทั้งคืน จนครบ 5 วัน (ไม่นับรวมเวลาเตรียมงานอีก 1 เดือน) ก่อนจะบวชเป็นสามเณรซึ่งชาวไทใหญ่เชื่อว่า การกลับมาร่วมงานจะได้บุญใหญ่

.....


เดือนและสา 2 พี่น้อง หญิงสาวชาวไทใหญ่ในวัยไม่ถึง 20 ปี ทั้งคู่ทำงานเย็บผ้าในโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง


เดือนบอกว่า กลับมาร่วมงานบวชหลานชายของเธอที่ครบกำหนดบวชปอยส่างลองในปีนี้ สองพี่น้องต้องลางานหนึ่งอาทิตย์ เดินทางจากระยองมากรุงเทพฯแล้วต่อรถทัวร์มาเชียงใหม่ในคืนนั้น ก่อนจะมาขึ้นรถตู้ที่ขนส่งช้างเผือกอีก 3 ชั่วโมง เพื่อไปเปียงหลวงหมู่บ้านของเธอ รวมสะระตะแล้วเธอใช้ชีวิตอยู่บนรถ 2 วัน


"เพิ่งมาครั้งแรกเหรอ" เดือนชวนคุย

"ครับ ตื่นเต้นมาก" ผมตอบเธอ

".........."

"ลางานมาทั้งอาทิตย์ เจ้านายให้ลาเหรอ"

"จริงๆ ก็ไม่ให้ลานะ แต่ตื้อเค้าจนได้หละ เพื่อนบางคนที่รู้จักก็ไม่ได้มา"

"แล้วทำไง"

"ลาออก" เดือนตอบยิ้มๆ ทีเล่นทีจริง

ถึงด่านตรวจบ้านเลาวู สองพี่น้องต้องจ่ายค่าปรับ 200 บาท ฐานอายุบัตรขอเดินทางออกนอกพื้นที่หมดอายุ ผลพวงจากการดิ้นรนที่จะมีชีวิตรอด ทำให้คนไทใหญ่หลายคนไม่ได้มาร่วมงานบุญและหากเป็นจริงอย่างที่เดือนพูดถึง นั่นหมายถึง พลังศรัทธาของศาสนาที่ฝังรากอยู่ในจิตใจของคนไทใหญ่

.....


บริเวณงานอยู่ภายในสนามฟุตบอลโรงเรียนบ้านเปียงหลวงและพิธีกรรมจะทำกันที่วัดเปียงหลวงซึ่งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนโดยมีพระอาจารย์ชาวไทใหญ่ผู้เป็นที่นับถือของคนเปียงหลวงเป็นผู้ดูแล พระอาจารย์ผู้มีเสียงก้องกังวานจะช่วยดูแลเด็กๆ ตั้งแต่การท่องบทสวดรับเพื่อเข้าสู่พิธีการตั้งแต่ การโกนหัว การแห่ลูกแก้ว การบวชเป็นสามเณร


พระอาจารย์ชาวไทใหญ่บอกว่า ปีนี้ มีส่างลองจำนวน 108 คน นับเป็นบวชลูกแก้วที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา ประเพณีการบวชลูกแก้วสืบทอดกันมานานนับเวลาไม่ถูก อาจจะมากกว่า 100 ปี แต่ละปีผู้คนจะรอเวลานี้เพื่อมาร่วมงานบุญ แม้บางคนไม่ได้กลับมาร่วมด้วยตัวเองแต่จะส่งเงินมาช่วยเหลือญาติพี่น้อง


การบวชลูกแก้วไม่ได้เป็นเพียงพิธีกรรมแต่เป็นแรงศรัทธาที่ฝังอยู่สายเลือดของคนไทใหญ่ ถึงแม้ว่า การบวชแต่ละครั้งจะต้องใช้เงินสูงถึง ครอบครัวละ 60,000 บาท ในการเตรียมงานและเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน จนช่วงหลังมีการประชาสัมพันธ์ให้งานประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว หน่วยงานส่วนท้องถิ่นจึงเข้ามาร่วมและสบทบทุนร่วมจัดงาน


ซุ้มส่างลองแต่ละซุ้มจะได้รับการประดับประดาอย่างงดงาม ส่างลองทุกคนจะต้องมาอยู่อาศัยภายในซุ้มจนครบกำหนด 5 วัน โดยมีผู้ดูแล เรียกว่าพ่อส้าน-แม่ส้าน ที่คอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเพราะเชื่อกันว่าระหว่างพิธีการบวชเท้าของส่างลองจะต้องไม่แตะพื้น ดังนั้น เวลาจะไปไหนมาไหนพ่อส้านจะทำหน้าที่ให้ส่างลองขี่คอ ส่วนแม่ส้านจะทำหน้าที่เรื่องอาหารการกินดูแลแขกและแต่งหน้าตาส่างลองให้งดงามอยู่เสมอ


สำหรับชุดในการประกอบพิธีกรรม แต่ละชุดจะต้องตัดใหม่ทั้งหมด มีสีสันตามวันที่แตกต่างกันออกไป หลังจากท่องบทสวดรับขึ้นใจจะเป็นพิธีโกนผม โดยใช้น้ำละลายกับส้มป่อย(มะขามแขก)ชำระล้างก่อนกันไม่ให้เจ็บศีรษะ โกนแล้วหัวจะใส เริ่มจากพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือโดยมีพระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ


ก่อนจะขึ้นไปรับศีลในโบสถ์แล้วจึงแยกย้ายกันกลับบ้านเพื่อเข้าพิธีส่างลองในเช้าวันรุ่งขึ้น


พระอาจารย์ไทใหญ่ยิ้มอ่อนโยนบนใบหน้า บอกว่า คนไทใหญ่ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนยังคงผูกพันเป็นพี่น้องกัน ปอย-ส่างลอง เป็นมากกว่าพิธีกรรม คือ แรงศรัทธาที่ฝังรากลึก เด็กไทใหญ่ทุกคนต้องเข้าพิธีกรรมนี้และสับเปลี่ยนกันเป็นพ่อส้าน-แม่ส้าน ซึ่งเชื่อกันว่า ตายไปแล้วจะกลายเป็นดวงดาวบนท้องฟ้า


ดวงดาวแห่งพุทธะ สีสันของเจ้าชายส่างลอง เปียงหลวง

 

 


เปียงหลวง หมู่บ้านใจกลางที่ราบกว้างหุบเขา มุมมองนี้ถ่ายจากศาลเจ้าชาวจีน บนภูที่สูงที่สุดในหมู่บ้าน



วัดเปียงหลวง ศิลปะไทใหญ่ มุมมองกลางคืน







โกนผม ก่อนเข้าพิธี











ส่างลอง ในลีลาต่างๆ




 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หากไม่เชื่อ ลองถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ปู่ย่าตาทวด ก็ได้ว่า “ท่านเกิดมาจากน้ำมือของใคร”ร้อยทั้งร้อย ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “หมอตำแย”ยายคำ อายุ 77 ปี เป็นชาวไทใหญ่ แกเป็นหมอตำแยมาตั้งแต่รุ่นสาวหรือที่เรียกกันว่า ‘แม่เก็บ’ ในภาษาไทใหญ่ ปัจจุบัน ยายคำอาศัยอยู่ที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แข็งแรงและมีรอยยิ้มอยู่เสมอ...ยายคำเป็นหญิงชราที่ดูอารมณ์ดีที่สุดในโลก แววตาอ่อนโยน ไม่แข็งกร้าวแต่จัดเจนและเข้าใจชีวิต ผม
กดำและพูดจาฉะฉาน ไม่หลงๆลืมๆ เหมือนกับคนเฒ่าในวัยเดียวกันชวนให้คิดถึงคำพูดที่ว่า หนุ่มแก่อยู่ข้างในหัวใจหลังการแต่งงาน ยายคำกับสามีชื่อนายหม่องคนกะเหรี่ยง…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
         
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใครเคย เล่น (อี) มอญซ่อนผ้าบ้าง ..? หากเจอคำถามนี้แล้วคุณยกมือ แสดงว่า อายุของคุณไม่ควรจะต่ำกว่า 35 UP … ha H a a a a,ย้อนความจำกันนิด การละเล่นชนิดนี้ใช้ผู้เล่นกี่คนก็ได้แล้วแต่ถนัดและจำนวนของกลุ่มเพื่อน เลือกผู้เล่นขึ้นมาเพื่อเป็นตัววิ่ง 1 คน (อันนี้จะด้วยวิธีการใดใดก็ได้ รุ่นผมใช้โอน้อยออก) ตัววิ่งจะกุมผ้าเช็ดหน้าเอาไว้ในมือให้มิดชิด ก่อนจะเดินรอบวง เมื่อเดินพอหอบ ตัววิ่งจะอาศัยช่วงจังหวะเวลาและโอกาสเข้าทำ ด้วยการแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ซึ่งระหว่างที่ตัววิ่งเดินรอบวง ผู้เล่นภายในวงจะร้องเป็นทำนองว่า  “(อี) มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ใครนั่งไม่ระวัง ฉันจะตีก้นเธอ”…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ฆูณุงจไร เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยใหม่ เชื่อว่า เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของเผ่าพันธุ์ตน กล่าวกันว่า ถึงแม้ ชาวอูรักลาโว้ยจะเดินทางท่องไปในทะเลกว้าง จากอันดามันจรดช่องแคบมะละกา ไม่มีหลักแหล่งแห่งที่ที่แน่นอน แต่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ฆูณุงจไรได้เชื่อมเอาดวงวิญญาณแห่งความถวิลถึงกันและกันเอาไว้ ฆูณุงจไร ในความหมายนี้ คือ ยอดเขาบนเกาะแห่งหนึ่งในรัฐเคดาห์หรือเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกลจากท้องทะเล ก่อนจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานบนดินแห้งในแถบอันดามัน หลังการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลาม...โดยเฉพาะบนเกาะลันตาที่เคยได้ชื่อว่า เมืองหลวงของชาวน้ำน้ำทะเลแหวกเป็นสายเมื่อ Speed Boat ขนาดบรรทุก…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชื่อกันว่า ช่วงเวลาระหว่าง 200-500 ปี ชาวไทยใหม่อูรักลาโว้ยหรือโอรังละอุตจากดินแดนฆูณุงจไร เดินทางมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะลันตา จนหลายสิบปีต่อมา เมื่อคนจากแผ่นดินใหญ่หลั่งไหลมาถึง พร้อมเปิดศักราชใหม่ของการท่องเที่ยว เกาะลันตาที่เคยสงบสันโดษกลับกลายเป็นดินแดนแห่งสีสัน...เฉดสีต่างๆ ถูกละเลงโดยนักแสวงสุขมากหน้า...ท้องฟ้าสีฟ้าเบื้องหน้าหัวเรือข้ามเกาะดูเจิดจ้า จากท่าเรือคลองจิหลาด จ.กระบี่ ข้ามไปเกาะลันตาถึงท่าศาลาด่านใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ในอัตรา 350 บาท/หัว ภายใต้ท้องฟ้าและผืนน้ำสีเขียวคราม หลายคนรวมทั้งผมและเพื่อนนับสิบ ตัดสินใจไปละเลงชีวิตช่วงปีใหม่ที่เกาะลันตา...…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนมาจากไหน ?8 พ.ย. 50 คนมากกว่า เก้าพันสามร้อยสามสิบเจ็ดคน เดินขึ้นภูกระดึง ภายในวันเดียวอะไรทำให้คนมากมายมาภูกระดึง นโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวของรัฐบาล ,แรงประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ,หนังสืออสท. ,ปากต่อปากถึงมนต์ขลังที่มิอาจจะปฏิเสธ ,ความยากลำบากของการเป็นหนึ่งในผู้พิชิต ,หรืออาการเริ่มแรกของโรคเบื่อการเมืองผมไม่รู้และไม่คิดอยากจะรู้ เพียงแต่การจัดอันดับ 10 อุทยานยอดนิยมของหนังสือท่องเที่ยว Trip ปลายปี 50 ภูกระดึงเป็นอุทยานที่มีนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง...ว่ากันว่า 300 ล้านปีก่อน พื้นที่บริเวณโดยรอบภูกระดึงเคยเป็นทะเลมาก่อน จน 250 ล้านปีต่อมา…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อุทยานแห่งชาติ ไม่ได้หมายถึง แหล่งนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้นการท่องเที่ยวอุทยาน คือ การสัมผัสถึงการมีอยู่ของแต่ละชีวิตในธรรมชาติ เผ่าพันธ์ร่วมโลก เพื่อทำความรู้จัก เข้าถึงและอยู่ร่วมกันโดยเบียดเบียนกันให้น้อยที่สุดภูกระดึง จึงกลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ไม่ต้องการยานพาหนะและกระเช้าไฟฟ้า แม้ว่าจะพอมีร้านเช่า Mountain bike สนองอารมณ์นักแคมป์ปิงในอัตราวันละ 350 บาท ก็ตามเพราะฉะนั้น สำหรับภูกระดึง การเดินด้วยเท้าจึงเป็นเรื่องง่ายและดีที่สุด... ยามเช้า อากาศสดใส แดดหน้าหนาวตกกระทบลงบนกิ่งสน เกิดเป็นแฉกฉูดฉาด อาบไล้ ปลุกเร้าให้นักแคมป์ปิงออกมาค้นหาเรื่องราวตามจุดท่องเที่ยวต่างๆ กวางตัวใหญ่…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมไม่ได้ปีนภูกระดึงในฐานะผู้พิชิต !หากเป็นเรื่องของข้างในที่เรียกร้องผัสสะดิบเถื่อนในธรรมชาติและการมองโลกในมุม 180 องศา การเดินด้วย 2 เท้าและเรียกร้องให้เหงื่อออกจากรูขุมขน,ตอกย้ำความคิดที่ว่า จริงๆ เราเป็นเพียงละอองธุลีของจักรวาลอิอิ“แหวะ เว่อร์ร์ร์ร์ร์ หวะ เพ่” รุ่นน้องคนหนึ่งลากเสียงยาว..หากใครคิดว่า การเดินขึ้นภูกระดึง ถึงหลังแปแล้วจะได้ผ่อนลมหายใจ ละลายความเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วละก็ เป็นอันว่าคุณคิดผิดถนัด เพราะจากหลังแปนักเดินทนผู้พยายามพิชิตภูกระดึงจะต้องเดินเท้าต่อไปอีกร่วม 3 กิโลเมตร ทันทีที่คุณเข้าสู่เขตศูนย์บริการวังกวาง (เมื่อก่อนพื้นที่เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของนานาสัตว์…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดูเหมือนว่า ภูกระดึงจะเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ใครๆ หลายคน คิดว่าอยากจะไปเยือนสักครั้งการเดินทาง เป็นเรื่องของการตัดใจ หากทำได้เพียงแต่คิด ทุกสิ่งคงเป็นได้เพียงแค่หมอกควันของอารมณ์ชั่วคราวที่ค่อยๆ บรรเทาเบาบางก่อนจะจางหายไปในที่สุดแต่นั่นแหละกล่าวกันว่า การอ่านเป็นการเดินทางที่ง่ายและถูกที่สุดอย่างน้อยผมก็เชื่อเช่นนั้น…จากหมอชิตเดินทางถึงผานกเค้าในเช้าวันใหม่ ท้องฟ้าเริ่มสาง ไม่ต้องเป็นกังวลหรือหวาดหวั่น เราจะได้พบเพื่อนร่วมทางมากมาย กลุ่มนักศึกษากลุ่มใหญ่ เจี๊ยวจ๊าวเต็มคันรถ บันทึกถ่ายทำวีดีโอไปตลอดการเดินทาง กระทั่งพนักงานต้อนรับคนงามต้องบอกว่า“…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
วันหยุดยาวปีใหม่ เรียกร้องให้คนส่วนใหญ่ ออกเดินทาง ,ท่องเที่ยว ละเลงความมันส์ออกมาจนหยดสุดท้ายหรือกลับไปอยู่กับครอบครัวอันอบอุ่น ..คำอวยพร ..การ์ดและกล่องของขวัญ ,ทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ๆ ต่างใจจดจ่ออยากจะได้รับ .....เราต่างรอคอย ,ความหวัง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..ผมพยายาม ถ่ายภาพ Panorama ,2 เฟรม 3 เฟรม ..ก่อนอื่นตั้งโจทย์ในใจว่าจะเก็บมุมใดบ้าง ,ด้วยการมองวิวนานกว่า 5 นาที ...ภาพวิว ดูแล้วเหมือนกับภาพที่หาได้ทั่วไป ..ซ้ำๆ แต่เหมาะสำหรับฝึกฝนการถ่ายภาพ(อย่างน้อย ใครคนหนึ่ง ว่าเอาไว้อย่างนั้น)การถ่าย panor ต้องเริ่มด้วยการจัดองค์ประกอบภาพ ..ให้ได้ทุกอย่างครบตามที่คิด..คะเนเอาตามประสบการณ์ ว่าจะต้องถ่ายกี่ช็อต ..หามุมให้ลงตัวกับการเหลื่อมซ้อนของภาพ ก่อนนำมาปะติดปะต่อ ..จุดสำคัญต้องได้แสงสีที่กลมกลืนกันพอดีดังนั้น จึงต้องมีพื้นฐานของการตั้งค่าแสง อย่างสมเหตุผล ..กล่าวกันว่า การถ่ายภาพ panor ไม่มีสูตรตายตัว…