Skip to main content
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม


ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า


"หากใครมึนหัวหรือต้องการเข้าห้องน้ำให้รีบบอกผมหรือหยิบถุงตรงเบาะทางด้านหน้าที่เตรียมเอาไว้ให้ หากใครฮาก(อาเจียน)ใส่รถ ปรับ 500" เขาขยับแว่นเป็นเชิงว่า "ผมหวังว่า ทุกคนคงเข้าใจนะครับ" ก่อนจะปิดบานประตูด้วยเสียงหนักแน่นเหมือนน้ำเสียง ทุกคนบนรถยิ้ม

เอ่อ อาเจียนแล้วหยิบถุงมาฮากนี่พอเข้าใจได้แต่ปวดฉี่นี่สิจะหยิบถุงมาฮากยังไงหว่า ???


เมื่อเข้าสู่บ้านเลาวู ผู้มาเยือนจะมองเห็นคำว่า "ประตูสู่เวียงแหง" อยู่บนสันผาอย่างเด่นชัด หลังจากตรวจบัตรประจำตัวประชาชนในด่านทหาร จากนั้นอีก 18 กิโลเมตร จึงเข้าสู่หมู่บ้านเปียงหลวงใจกลางที่ราบหุบเขากว้างใหญ่ (เปียง-ที่ราบ,หลวง-กว้างใหญ่)


ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของคนไทใหญ่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย


ประตูทางเข้าหมู่บ้านเป็นโครงไม้ทาสีน้ำตาลมีหลังคาครอบ ด้านข้างเป็นป้อมยามของหน่วยรักษาความปลอดภัย คนจำนวนมากกลับบ้านเพื่อร่วมงานปอย-ส่างลอง(21-25 เมษายน 52)และเยี่ยมครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากรัฐฉาน นอกจากนั้น ก็มีจีน ลาหู่ เย้า คนไทยพื้นราบ เคาะตัวเลขจำนวนประชากรแล้วอยู่ที่ 10,000 คน มากกว่า 2,000 ครัวเรือน


บางส่วนข้ามมาจากฝั่งพม่าเมืองเกียงตอง หล่าเซล เชียงตุง ข๋อนหลำ เมืองนาย เข้ามาทางด่านหลักแต่ง ห้วยยาว ป๋างกิ่วก่อ ซึ่งเคยเป็นเส้นทางและหมู่บ้านของผู้อพยพมากกว่า 200 ครัวเรือน ปัจจุบัน ด่านปิดตาย ชาวไทใหญ่ส่วนหนึ่งถูกย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์พักรอ ‘กงจ่อ'


เปียงหลวงเป็นหนึ่งในเจ็ดหมู่บ้านของอำเภอเวียงแหง ได้แก่ เปียงหลวง บ้านจ๊อง ม่วงป็อก แสนไห ปางป๋อ กองลมและเวียงแหง ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนสอนภาษาจีนชื่อว่า กวงหัว เรียนกันทุกวันจันทร์-เสาร์ ค่าใช้จ่ายต่อหัว 120-150/เดือน/รายวิชา ต้องลงเรียน 330 รายวิชาถึงจะจบหลักสูตร


คนเปียงหลวงจึงพูดได้หลายภาษา ไทย จีน ไทใหญ่และภาษาอังกฤษของบางคนดีอย่างคาดไม่ถึง ส่วนในตัวเมืองเชียงใหม่ชาวไทใหญ่จะพักอาศัยในบริเวณวัดกู่เต้า ตลาดคำเที่ยงและสี่แยกไฟหลวง


ปอย-ส่างลอง เป็นภาษาไทยใหญ่ ปอย แปลว่างาน ,ส่าง แปลว่าสามเณร ,ลอง แปลว่าดักแด้ นำทั้ง 3 คำมารวมกัน หมายความว่า เตรียมตัวเป็นสามเณรหรือพิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนตามเทศกาลของผู้คนในศาสนาพุทธ ปอย-ส่างลอง เปียงหลวง จะจัดกันทั้งวันทั้งคืน จนครบ 5 วัน (ไม่นับรวมเวลาเตรียมงานอีก 1 เดือน) ก่อนจะบวชเป็นสามเณรซึ่งชาวไทใหญ่เชื่อว่า การกลับมาร่วมงานจะได้บุญใหญ่

.....


เดือนและสา 2 พี่น้อง หญิงสาวชาวไทใหญ่ในวัยไม่ถึง 20 ปี ทั้งคู่ทำงานเย็บผ้าในโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง


เดือนบอกว่า กลับมาร่วมงานบวชหลานชายของเธอที่ครบกำหนดบวชปอยส่างลองในปีนี้ สองพี่น้องต้องลางานหนึ่งอาทิตย์ เดินทางจากระยองมากรุงเทพฯแล้วต่อรถทัวร์มาเชียงใหม่ในคืนนั้น ก่อนจะมาขึ้นรถตู้ที่ขนส่งช้างเผือกอีก 3 ชั่วโมง เพื่อไปเปียงหลวงหมู่บ้านของเธอ รวมสะระตะแล้วเธอใช้ชีวิตอยู่บนรถ 2 วัน


"เพิ่งมาครั้งแรกเหรอ" เดือนชวนคุย

"ครับ ตื่นเต้นมาก" ผมตอบเธอ

".........."

"ลางานมาทั้งอาทิตย์ เจ้านายให้ลาเหรอ"

"จริงๆ ก็ไม่ให้ลานะ แต่ตื้อเค้าจนได้หละ เพื่อนบางคนที่รู้จักก็ไม่ได้มา"

"แล้วทำไง"

"ลาออก" เดือนตอบยิ้มๆ ทีเล่นทีจริง

ถึงด่านตรวจบ้านเลาวู สองพี่น้องต้องจ่ายค่าปรับ 200 บาท ฐานอายุบัตรขอเดินทางออกนอกพื้นที่หมดอายุ ผลพวงจากการดิ้นรนที่จะมีชีวิตรอด ทำให้คนไทใหญ่หลายคนไม่ได้มาร่วมงานบุญและหากเป็นจริงอย่างที่เดือนพูดถึง นั่นหมายถึง พลังศรัทธาของศาสนาที่ฝังรากอยู่ในจิตใจของคนไทใหญ่

.....


บริเวณงานอยู่ภายในสนามฟุตบอลโรงเรียนบ้านเปียงหลวงและพิธีกรรมจะทำกันที่วัดเปียงหลวงซึ่งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนโดยมีพระอาจารย์ชาวไทใหญ่ผู้เป็นที่นับถือของคนเปียงหลวงเป็นผู้ดูแล พระอาจารย์ผู้มีเสียงก้องกังวานจะช่วยดูแลเด็กๆ ตั้งแต่การท่องบทสวดรับเพื่อเข้าสู่พิธีการตั้งแต่ การโกนหัว การแห่ลูกแก้ว การบวชเป็นสามเณร


พระอาจารย์ชาวไทใหญ่บอกว่า ปีนี้ มีส่างลองจำนวน 108 คน นับเป็นบวชลูกแก้วที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา ประเพณีการบวชลูกแก้วสืบทอดกันมานานนับเวลาไม่ถูก อาจจะมากกว่า 100 ปี แต่ละปีผู้คนจะรอเวลานี้เพื่อมาร่วมงานบุญ แม้บางคนไม่ได้กลับมาร่วมด้วยตัวเองแต่จะส่งเงินมาช่วยเหลือญาติพี่น้อง


การบวชลูกแก้วไม่ได้เป็นเพียงพิธีกรรมแต่เป็นแรงศรัทธาที่ฝังอยู่สายเลือดของคนไทใหญ่ ถึงแม้ว่า การบวชแต่ละครั้งจะต้องใช้เงินสูงถึง ครอบครัวละ 60,000 บาท ในการเตรียมงานและเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน จนช่วงหลังมีการประชาสัมพันธ์ให้งานประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว หน่วยงานส่วนท้องถิ่นจึงเข้ามาร่วมและสบทบทุนร่วมจัดงาน


ซุ้มส่างลองแต่ละซุ้มจะได้รับการประดับประดาอย่างงดงาม ส่างลองทุกคนจะต้องมาอยู่อาศัยภายในซุ้มจนครบกำหนด 5 วัน โดยมีผู้ดูแล เรียกว่าพ่อส้าน-แม่ส้าน ที่คอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเพราะเชื่อกันว่าระหว่างพิธีการบวชเท้าของส่างลองจะต้องไม่แตะพื้น ดังนั้น เวลาจะไปไหนมาไหนพ่อส้านจะทำหน้าที่ให้ส่างลองขี่คอ ส่วนแม่ส้านจะทำหน้าที่เรื่องอาหารการกินดูแลแขกและแต่งหน้าตาส่างลองให้งดงามอยู่เสมอ


สำหรับชุดในการประกอบพิธีกรรม แต่ละชุดจะต้องตัดใหม่ทั้งหมด มีสีสันตามวันที่แตกต่างกันออกไป หลังจากท่องบทสวดรับขึ้นใจจะเป็นพิธีโกนผม โดยใช้น้ำละลายกับส้มป่อย(มะขามแขก)ชำระล้างก่อนกันไม่ให้เจ็บศีรษะ โกนแล้วหัวจะใส เริ่มจากพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือโดยมีพระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ


ก่อนจะขึ้นไปรับศีลในโบสถ์แล้วจึงแยกย้ายกันกลับบ้านเพื่อเข้าพิธีส่างลองในเช้าวันรุ่งขึ้น


พระอาจารย์ไทใหญ่ยิ้มอ่อนโยนบนใบหน้า บอกว่า คนไทใหญ่ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนยังคงผูกพันเป็นพี่น้องกัน ปอย-ส่างลอง เป็นมากกว่าพิธีกรรม คือ แรงศรัทธาที่ฝังรากลึก เด็กไทใหญ่ทุกคนต้องเข้าพิธีกรรมนี้และสับเปลี่ยนกันเป็นพ่อส้าน-แม่ส้าน ซึ่งเชื่อกันว่า ตายไปแล้วจะกลายเป็นดวงดาวบนท้องฟ้า


ดวงดาวแห่งพุทธะ สีสันของเจ้าชายส่างลอง เปียงหลวง

 

 


เปียงหลวง หมู่บ้านใจกลางที่ราบกว้างหุบเขา มุมมองนี้ถ่ายจากศาลเจ้าชาวจีน บนภูที่สูงที่สุดในหมู่บ้าน



วัดเปียงหลวง ศิลปะไทใหญ่ มุมมองกลางคืน







โกนผม ก่อนเข้าพิธี











ส่างลอง ในลีลาต่างๆ




 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
นานหลายเดือนที่ผมกับยาดาวางแผนการเดินทางไปเวียดนาม ความจริงก็คือ เรามาเร่งหาข้อมูลเอาโค้งสุดท้ายก่อนจะถึงกำหนดเดินทางเพียงอาทิตย์เดียว ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเข้าสู่เวียดนามมาจากหลายทาง ทั้งจากเพื่อนที่เคยไปและไม่เคยไป (แต่มีคนรู้จักหรือมีเพื่อนเคยไป) ทั้งจากหนังสือและเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศรวมถึงโลนลี่ พลาเน็ต ฉบับเวียดนาม ที่ลงทุนไปหาซื้อมาตั้งแต่ 6 เดือน ก่อนวันออกเดินทาง (16 วัน ระหว่างวันที่ 3-18 เมษายน 51)ทำไมถึงเวียดนาม อย่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย คือ อยากไปว่ะ!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
...เรือเล็กทะยานออกจากบ้านท่าตาฝั่ง แหวกสายน้ำเห็นเป็นแนวตามความเร็วของเครื่องยนต์ นกนางแอ่นหางลวดโผตัวอยู่เหนือผิวน้ำสีแดงขุ่น เดือนพฤษภาคม น้ำสาละวินจะเป็นสีแดงขุ่น เป็นไปตามระบบธรรมชาติของแม่น้ำสาละวินที่ถูกยกให้เป็นพื้นที่ของความหลากหลายโลกทั้งในแง่ของชีววิทยาและแง่งามทางวัฒนธรรมแม่น้ำสาละวินเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตสองฟากฝั่งน้ำมาอย่างยาวนาน ยาวนานมากพอที่จะสร้างสรรค์รูปแบบทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับระบบทางนิเวศน์วิทยาชนเผ่าโบราณใช้สายน้ำสาละวินเป็นเส้นทางสัญจรติดต่อทำมาค้าขายกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตอันรุ่งเรือง ตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนโบราณ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..........‘พวกเรา’ มาถึงหมู่บ้านแม่สามแลบก่อนเที่ยงเล็กน้อยหลังจากที่ต้องผจญกับโค้งนับร้อยโค้งตลอดคืนบนเส้นทางจากกรุงเทพฯถึงตัวอำเภอแม่สะเรียงและจากตัวอำเภอแม่สะเรียงถึงหมู่บ้านแม่สามแลบ ระยะทางที่เหลือ คือ ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยฝุ่นสีแดงและคันดินระหว่างหน้าผาที่ถล่มเป็นโพรงลึกตลอดเส้นทางจุดหมายของการเดินทาง คือ งานพิธีบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวงของเรา’ งานบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ (6-9 พ.ค. 51) ถูกจัดขึ้น 2 จุด จุดแรก คือ หมู่บ้านท่าตาฝั่ง จุดที่2 คือ หมู่บ้านแม่ดึ๊ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน การเดินทางไปยังจุดบวชป่าทั้ง 2 จุด จะต้องโดยสารเรือ จากหมู่บ้านแม่สามแลบ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ยามสายวันอาทิตย์ วันหยุดพักผ่อน สำหรับกลุ่มซ.โซ่อาสา กลุ่มอาสาสมัครจะมาสอนเด็กๆ ริมถนนราชดำเนิน ด้านข้างโรงแรมรัตนโกสินทร์......แผ่นกระดาษสีขาวโจทย์บวกลบเลขอย่างง่ายกับโยงคำผิดภาษาไทยได้รับการแจกจ่ายให้เด็กๆ ลูกๆ แม่ค้าพ่อค้าบริเวณนั้นได้ฝึกหัด ...โดยมีอาสาสมัคร กลุ่มซ.โซ่ อาสา เป็นพี่เลี้ยงคอยฝึกสอน...เรียนเล่นและรอยยิ้มสนุกสนานกับขนมนมเนยเล็กๆ น้อยๆ ...ซ.โซ่ อาสา เป็นกลุ่มอาสาสมัครมีมาร่วมกันโดยไม่รู้จักกันมาก่อน เจอเพื่อนใหม่และทำความรู้จักกับกลุ่มครูปู่ http://blogazine.prachatai.com/user/ginnagan/post/101
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1ตี 5 ครึ่งของวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2549 ท้องฟ้ากำลังจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว ชาวจิตอาสา (เกือบ) 20 ชีวิต นัดรวมพลกันหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บทเริ่มต้นของการเดินทางรวมใจสร้างห้องสมุดดิน (25-27 ส.ค.49) กับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง คนกวาดถนน รถเก็บขยะและแม่ค้าขายผัก นักเรียน พนักงานห้างและพนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์และนักการเมือง คือ ลมหายใจของกรุงเทพฯ (มหานครของเรา) กับการเริ่มต้นของชีวิตอีกครั้ง ผมไปถึงที่นัดหมาย 06.00 น. (ฮา)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไม่มีของฟรีในโลก ออกจะเป็นวลีที่คุ้นเคยสำหรับคนในโลกยุคนี้ ยิ่งสถานการณ์ราคาน้ำมันแตะเพดานที่ 35 บาท (คาดการณ์ว่าน่าจะเร็วๆ นี้) ทำให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ ขสมก. เรือคลองแสนแสบ เรียกว่า ขนส่งมวลชนแทบทุกประเภท ขยับแข้งขาขอขึ้นราคาค่าตัวกันถ้วนหน้ายุคข้าวยากหมากแพง คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการให้งานการให้ในสวน สวนกระแสคำพูดข้างต้น .....ดอกไม้งามในสวนแห่งการให้ถูกจัดขึ้นบริเวณอุทยานเบญจสิริ ภายใต้นิยามที่ว่า “แล้วงานศิลปะแห่งการให้จะกลายเป็นดอกไม้ในสวน” ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์-14 มีนาคม 2551 (mormor.org) เน้นการสร้างสรรค์แนวงานผ่านวิธีคิดของบุคคลในแวดวงแห่งการให้และศิลปินอาสา มากกว่า 100…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แถบม่วงของกระหล่ำสีกลีบหยักของกล้วยไม้บางดอกดูแปลกตาดี
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เสาร์วันหนึ่งกลางสวนรถไฟ กรุงเทพมหานคร ติดตลาดนัดสวนจตุจักรที่คนกรุงคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะกลางเมืองใหญ่เช่นนี้จะมีสักกี่สถานที่ที่จะมีสีเขียวให้ได้สูดลมหายใจได้เต็มปอดกิ่งใบสีเขียวแก่จัดของต้นก้ามปูใหญ่ยื่นยาวแตกกิ่งก้านสาขาร่มครึ้มอยู่กลางสวน ดอกตะแบกสีม่วงร่วงเกลื่อนพื้นตัดกับสนามหญ้าสีเขียว เด็กผู้พิการทางสายตาจากโรงเรียนสอนคนตาบอด อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฝั่งโรงพยาบาลราชวิถีส่งเสียงเจี๊ยว รอเวลาที่จะได้ เฮละโลกลุ่มกิจกรรมอิสระเล็กในชื่อกลุ่ม Pay Forward นำเด็กที่มองไม่เห็นมาทำกิจกรรม แรลลี่เพื่อเด็กพิการทางสายตา เด็กๆ จำนวน 24 คน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1.ฉันปลูกต้นไม้วางปุ๋ยเคมีหวังหยั่งรากถึงกิ่งแก้ว2.เนิ่นนานมาแล้วที่จิตสำนึกผมสลายแตกดับพร้อมความดีงาม3.คุณอาจไม่เชื่อเรื่องพรหมลิขิตเมื่อสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งตามหาแผ่นดินตาย4.เขาแบ่งปันสีน้ำเงินแก่ผู้ยากไร้หวังลอยสู่ก้อนเมฆ5.ความหวานในทุนนิยมโรยด้วยงาดำตาดำๆ6.ลิ้มรสอำนาจมาหลายสมัยไม่เคยรู้จักพอเพียง คืออะไร7.ผมห่มคลุมแผ่นดินด้วยเงิน บารมีด้วยความชอบธรรม8.ผมไตร่ตรองถึงความซื่อสัตย์และพบเพียงความว่างเปล่าที่ไร้อำนาจ ขอบคุณ ‘โซไรด้า’ น้องที่แสนดี 
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 1.ดอกไม้มวลชนเดินขบวนเรียกร้องแบบเรียนประชาธิปไตย2.เหตุผลของบางคนหักล้างไม่ได้เมื่อเทียบกับกลีบใบของแผ่นดินที่ร่วงหล่น3.สีชมพูแต้มดวงหน้านกขมิ้นคือ ฝันอันเลือนลางของหนุ่มสาว4.ฉันหวังเห็นแผ่นดินสูงขึ้นด้วยความรักมิใช่ด้วยทรราชย์5.เราเรียกร้องด้วยเสียงเพลงขับไล่ความมืดดำบนถนนแห่งเสรีภาพ  6.ฉันเด็ดใบไม้จากราวป่าเก็บมาฝากสังคมเมือง7.ทุกอย่างเคลื่อนไหวด้วยพลังความดีงาม8.เมื่อฉันลอยตัวให้สูงขึ้นจากทุนนิยมจึงเห็นเวิ้งฟ้าสีฟ้าห่มคลุมเม็ดดิน9.เศษดินคือ บางอย่างที่เหมือนจะไร้ค่าทั้งที่ความจริงฉันก็มาจากสิ่งนี้10.…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 ‘FREE TIBETAN’08.30 น. - 19 มีนาคม 2551อากาศหน้าสถานทูตจีน ริมถนนรัชดาร้อนสุดขีด พนักงานกทม.บนรถบรรทุกน้ำสีเขียวปล่อยน้ำออกจากสายพลาสติกกลมเทาพุ่งกระจายฟูฝอยเพื่อทำความสะอาดฟุตบาธตามปกติเวลาทำงาน ไล่เรื่อยมาจากแยกพระรามเก้า-อสมท.-ฟอร์จูน ทาวน์-แยกศักดิ์เสนา ก่อนจะหยุดกึกที่หน้าสถานฑูตจีนเพราะเห็นกลุ่มคน กลุ่มใหญ่ชูป้ายกระดาษ กางผืนธงชาติรูปร่างแปลกตา อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน“ประท้วงนี่หว่า” อย่างเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับเวลาทำงาน เขาขับรถผ่านไปไม่หันมามอง...ตำรวจนำกำลังมากั้นแผงเหล็กหน้าสถานฑูตตั้งแต่เช้าแล้ว แดดสายเริ่มทวีความร้อนสุดขีดขึ้นทุกขณะ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีสถานที่ใดบ้างในโลก ที่ทำให้เราคิดถึงได้อย่างจริงๆ จังๆ ,คิดถึงและต้องกลับไปอีกครั้ง หากไม่มีความทรงจำ ,ก็คงไม่มีอดีตและอนาคต หมู่บ้านแม่ดึ๊จึงเป็นหลายเหตุผลที่คนหลายคนควรจะทำความรู้จักหมู่บ้านแม่ดึ๊ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เพิ่งมีโรงเรียนและครูได้ไม่นานเดือน ,สำหรับคนกะเหรี่ยงที่นั่น โลกภายนอก คือ บางสิ่งที่ควรจะเรียนรู้...“นาย ,นายเคยเขียนแคนโต้เกี่ยวกับแม่ดึ๊เอาไว้ใช่หรือเปล่า” ผมออกปากกะน้องอย่างนั้น“ไมพี่ เขียนไว้นานแล้ว ตั้งแต่ไปค่ายจิตอาสากับพี่นั่นแหละ”“เอ่อ ครือ..ผมคิดว่า เอ่อ...ผมอยากได้งานนายมาประกอบภาพว่ะ”ผม ‘เอ่อ’…