Skip to main content
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม


ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า


"หากใครมึนหัวหรือต้องการเข้าห้องน้ำให้รีบบอกผมหรือหยิบถุงตรงเบาะทางด้านหน้าที่เตรียมเอาไว้ให้ หากใครฮาก(อาเจียน)ใส่รถ ปรับ 500" เขาขยับแว่นเป็นเชิงว่า "ผมหวังว่า ทุกคนคงเข้าใจนะครับ" ก่อนจะปิดบานประตูด้วยเสียงหนักแน่นเหมือนน้ำเสียง ทุกคนบนรถยิ้ม

เอ่อ อาเจียนแล้วหยิบถุงมาฮากนี่พอเข้าใจได้แต่ปวดฉี่นี่สิจะหยิบถุงมาฮากยังไงหว่า ???


เมื่อเข้าสู่บ้านเลาวู ผู้มาเยือนจะมองเห็นคำว่า "ประตูสู่เวียงแหง" อยู่บนสันผาอย่างเด่นชัด หลังจากตรวจบัตรประจำตัวประชาชนในด่านทหาร จากนั้นอีก 18 กิโลเมตร จึงเข้าสู่หมู่บ้านเปียงหลวงใจกลางที่ราบหุบเขากว้างใหญ่ (เปียง-ที่ราบ,หลวง-กว้างใหญ่)


ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของคนไทใหญ่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย


ประตูทางเข้าหมู่บ้านเป็นโครงไม้ทาสีน้ำตาลมีหลังคาครอบ ด้านข้างเป็นป้อมยามของหน่วยรักษาความปลอดภัย คนจำนวนมากกลับบ้านเพื่อร่วมงานปอย-ส่างลอง(21-25 เมษายน 52)และเยี่ยมครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากรัฐฉาน นอกจากนั้น ก็มีจีน ลาหู่ เย้า คนไทยพื้นราบ เคาะตัวเลขจำนวนประชากรแล้วอยู่ที่ 10,000 คน มากกว่า 2,000 ครัวเรือน


บางส่วนข้ามมาจากฝั่งพม่าเมืองเกียงตอง หล่าเซล เชียงตุง ข๋อนหลำ เมืองนาย เข้ามาทางด่านหลักแต่ง ห้วยยาว ป๋างกิ่วก่อ ซึ่งเคยเป็นเส้นทางและหมู่บ้านของผู้อพยพมากกว่า 200 ครัวเรือน ปัจจุบัน ด่านปิดตาย ชาวไทใหญ่ส่วนหนึ่งถูกย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์พักรอ ‘กงจ่อ'


เปียงหลวงเป็นหนึ่งในเจ็ดหมู่บ้านของอำเภอเวียงแหง ได้แก่ เปียงหลวง บ้านจ๊อง ม่วงป็อก แสนไห ปางป๋อ กองลมและเวียงแหง ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนสอนภาษาจีนชื่อว่า กวงหัว เรียนกันทุกวันจันทร์-เสาร์ ค่าใช้จ่ายต่อหัว 120-150/เดือน/รายวิชา ต้องลงเรียน 330 รายวิชาถึงจะจบหลักสูตร


คนเปียงหลวงจึงพูดได้หลายภาษา ไทย จีน ไทใหญ่และภาษาอังกฤษของบางคนดีอย่างคาดไม่ถึง ส่วนในตัวเมืองเชียงใหม่ชาวไทใหญ่จะพักอาศัยในบริเวณวัดกู่เต้า ตลาดคำเที่ยงและสี่แยกไฟหลวง


ปอย-ส่างลอง เป็นภาษาไทยใหญ่ ปอย แปลว่างาน ,ส่าง แปลว่าสามเณร ,ลอง แปลว่าดักแด้ นำทั้ง 3 คำมารวมกัน หมายความว่า เตรียมตัวเป็นสามเณรหรือพิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนตามเทศกาลของผู้คนในศาสนาพุทธ ปอย-ส่างลอง เปียงหลวง จะจัดกันทั้งวันทั้งคืน จนครบ 5 วัน (ไม่นับรวมเวลาเตรียมงานอีก 1 เดือน) ก่อนจะบวชเป็นสามเณรซึ่งชาวไทใหญ่เชื่อว่า การกลับมาร่วมงานจะได้บุญใหญ่

.....


เดือนและสา 2 พี่น้อง หญิงสาวชาวไทใหญ่ในวัยไม่ถึง 20 ปี ทั้งคู่ทำงานเย็บผ้าในโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง


เดือนบอกว่า กลับมาร่วมงานบวชหลานชายของเธอที่ครบกำหนดบวชปอยส่างลองในปีนี้ สองพี่น้องต้องลางานหนึ่งอาทิตย์ เดินทางจากระยองมากรุงเทพฯแล้วต่อรถทัวร์มาเชียงใหม่ในคืนนั้น ก่อนจะมาขึ้นรถตู้ที่ขนส่งช้างเผือกอีก 3 ชั่วโมง เพื่อไปเปียงหลวงหมู่บ้านของเธอ รวมสะระตะแล้วเธอใช้ชีวิตอยู่บนรถ 2 วัน


"เพิ่งมาครั้งแรกเหรอ" เดือนชวนคุย

"ครับ ตื่นเต้นมาก" ผมตอบเธอ

".........."

"ลางานมาทั้งอาทิตย์ เจ้านายให้ลาเหรอ"

"จริงๆ ก็ไม่ให้ลานะ แต่ตื้อเค้าจนได้หละ เพื่อนบางคนที่รู้จักก็ไม่ได้มา"

"แล้วทำไง"

"ลาออก" เดือนตอบยิ้มๆ ทีเล่นทีจริง

ถึงด่านตรวจบ้านเลาวู สองพี่น้องต้องจ่ายค่าปรับ 200 บาท ฐานอายุบัตรขอเดินทางออกนอกพื้นที่หมดอายุ ผลพวงจากการดิ้นรนที่จะมีชีวิตรอด ทำให้คนไทใหญ่หลายคนไม่ได้มาร่วมงานบุญและหากเป็นจริงอย่างที่เดือนพูดถึง นั่นหมายถึง พลังศรัทธาของศาสนาที่ฝังรากอยู่ในจิตใจของคนไทใหญ่

.....


บริเวณงานอยู่ภายในสนามฟุตบอลโรงเรียนบ้านเปียงหลวงและพิธีกรรมจะทำกันที่วัดเปียงหลวงซึ่งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนโดยมีพระอาจารย์ชาวไทใหญ่ผู้เป็นที่นับถือของคนเปียงหลวงเป็นผู้ดูแล พระอาจารย์ผู้มีเสียงก้องกังวานจะช่วยดูแลเด็กๆ ตั้งแต่การท่องบทสวดรับเพื่อเข้าสู่พิธีการตั้งแต่ การโกนหัว การแห่ลูกแก้ว การบวชเป็นสามเณร


พระอาจารย์ชาวไทใหญ่บอกว่า ปีนี้ มีส่างลองจำนวน 108 คน นับเป็นบวชลูกแก้วที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา ประเพณีการบวชลูกแก้วสืบทอดกันมานานนับเวลาไม่ถูก อาจจะมากกว่า 100 ปี แต่ละปีผู้คนจะรอเวลานี้เพื่อมาร่วมงานบุญ แม้บางคนไม่ได้กลับมาร่วมด้วยตัวเองแต่จะส่งเงินมาช่วยเหลือญาติพี่น้อง


การบวชลูกแก้วไม่ได้เป็นเพียงพิธีกรรมแต่เป็นแรงศรัทธาที่ฝังอยู่สายเลือดของคนไทใหญ่ ถึงแม้ว่า การบวชแต่ละครั้งจะต้องใช้เงินสูงถึง ครอบครัวละ 60,000 บาท ในการเตรียมงานและเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน จนช่วงหลังมีการประชาสัมพันธ์ให้งานประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว หน่วยงานส่วนท้องถิ่นจึงเข้ามาร่วมและสบทบทุนร่วมจัดงาน


ซุ้มส่างลองแต่ละซุ้มจะได้รับการประดับประดาอย่างงดงาม ส่างลองทุกคนจะต้องมาอยู่อาศัยภายในซุ้มจนครบกำหนด 5 วัน โดยมีผู้ดูแล เรียกว่าพ่อส้าน-แม่ส้าน ที่คอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเพราะเชื่อกันว่าระหว่างพิธีการบวชเท้าของส่างลองจะต้องไม่แตะพื้น ดังนั้น เวลาจะไปไหนมาไหนพ่อส้านจะทำหน้าที่ให้ส่างลองขี่คอ ส่วนแม่ส้านจะทำหน้าที่เรื่องอาหารการกินดูแลแขกและแต่งหน้าตาส่างลองให้งดงามอยู่เสมอ


สำหรับชุดในการประกอบพิธีกรรม แต่ละชุดจะต้องตัดใหม่ทั้งหมด มีสีสันตามวันที่แตกต่างกันออกไป หลังจากท่องบทสวดรับขึ้นใจจะเป็นพิธีโกนผม โดยใช้น้ำละลายกับส้มป่อย(มะขามแขก)ชำระล้างก่อนกันไม่ให้เจ็บศีรษะ โกนแล้วหัวจะใส เริ่มจากพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือโดยมีพระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ


ก่อนจะขึ้นไปรับศีลในโบสถ์แล้วจึงแยกย้ายกันกลับบ้านเพื่อเข้าพิธีส่างลองในเช้าวันรุ่งขึ้น


พระอาจารย์ไทใหญ่ยิ้มอ่อนโยนบนใบหน้า บอกว่า คนไทใหญ่ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนยังคงผูกพันเป็นพี่น้องกัน ปอย-ส่างลอง เป็นมากกว่าพิธีกรรม คือ แรงศรัทธาที่ฝังรากลึก เด็กไทใหญ่ทุกคนต้องเข้าพิธีกรรมนี้และสับเปลี่ยนกันเป็นพ่อส้าน-แม่ส้าน ซึ่งเชื่อกันว่า ตายไปแล้วจะกลายเป็นดวงดาวบนท้องฟ้า


ดวงดาวแห่งพุทธะ สีสันของเจ้าชายส่างลอง เปียงหลวง

 

 


เปียงหลวง หมู่บ้านใจกลางที่ราบกว้างหุบเขา มุมมองนี้ถ่ายจากศาลเจ้าชาวจีน บนภูที่สูงที่สุดในหมู่บ้าน



วัดเปียงหลวง ศิลปะไทใหญ่ มุมมองกลางคืน







โกนผม ก่อนเข้าพิธี











ส่างลอง ในลีลาต่างๆ




 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรากลับถึงฮานอยอีกครั้งและเป็นช่วงสุดท้ายของทริปส์แบ็กแพ็กครั้งนี้โดยมีเวลา 2 คืน ก่อนจะเดินทางกลับ หมายความว่า เรามีเวลา 1 วันเต็ม สำหรับการตะลุยฮานอยการเช่ามอเตอร์ไซค์หรือมอเตอร์ไบค์ในฮานอยจัดว่าเป็นความท้าทายของนักขับและได้รับการกล่าวขวัญเอาไว้ในโลนลี่ แพลนเนต ว่า หากคุณไม่มั่นใจ ‘อย่า' ให้พึ่งพาเท้าทั้งสองข้างเพราะการจราจรที่นี่คับคั่งเกินกว่าเพราะตำรวจจราจรที่นี่เอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวยามเช้า เมื่อคนเริ่มพลุกพล่าน ร้านรวงบนจักรยานของแม่ค้าเปิดทำการแต่เช้าตรู่ เรากินอาหารเช้าที่แบมบู โฮเต็ล ก่อนจะตัดสินใจ เช่ามอเตอร์ไบค์ที่โรงแรมนั่นแหละ ด้วยราคา 6 เหรียญ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 เรือแคนนู ความเฟื่องฟูของกิจการการท่องเที่ยวยามเย็น พระอาทิตย์ตกที่ริมขอบผา
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราแกร่วอยู่ในร้านอาหารหน้าสถานีรถไฟเลาไค รอรถเที่ยว 2 ทุ่ม ถึงฮานอยเช้าแล้วต่อรถไปยังอ่าวฮาลอง หมู่เกาะกั๊ตบา ฝนตกกระหน่ำ นักท่องเที่ยวหลายชาติที่จะเดินทางไปฮานอยทยอยกันมาเรื่อยๆ จนแน่นขนัด ร้านใครร้านมันแล้วแต่คอนเนคชั่นของเอเจนซี่ เรานั่งจิบเบียร์ไปเกือบโหล เบียร์ที่เวียดนามมีหลายยี่ห้อ แตกต่างกันไปตามเมือง เบียร์ฮานอย เบียร์เว้ เบียร์(สด)โฮยอาน (อร่อยและราคาสุดคุ้ม ขอบอก) ฝนซาเม็ดและตกกระหน่ำ สลับกันหลายชั่วโมง ชวนให้คิดถึงหนังสงครามเวียดนาม ในแบบฉบับของฮอลลีวูด ทหารอเมริกันที่ถูกส่งมารบที่ตะวันออกไกล นอกจาก ต้องเผชิญกับนักรบกองโจรเวียดกง ไข้มาลาเรีย…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เด็กเจ้าของร้านขายสินค้าที่ทำจากเครื่องเงินแห่งหนึ่งในซาปา ดูจากบุคลิกแล้ว 'คิดว่า' เธอน่าจะเป็นคนจากเมืองอื่นที่ย้ายมาทำมาหากินในซาปา ซึ่งร้านลักษณะนี้มีมากมายเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราที่มีคนจากแหล่งอื่นเข้ามาลงทุน ในแง่นี้เป็นทั้งกลุ่มทุนรายย่อยและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ได้ยินข่าวมาเร็วๆ นี้ก่อนที่เวียดนามจะประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างในปัจจุบันว่า รัฐบาลเวียดนามเปิดให้นักลงทุนต่างชาติทั้งรายย่อย-ใหญ่ เข้ามาลงทุนได้เต็ม 100% ครับ .. ใครทุนหนา รีบๆ เข้าเด้อ!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราใช้สูตรซื้อทัวร์ไปตลาดบั๊กฮาในช้าวันสุดท้ายที่เราอยู่ในซาปา เป็นรถตู้ร่วมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ แล้วรอรถที่สถานีรถไฟเลาไค เพื่อเดินทางกลับฮานอย รถแล่นเรียบเรื่อยไปตามถนน ลัดเลาะภูเขาสูงชัน บางแห่งจะมีการซ่อมสร้างเสริมถนน ผ่านหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน บางแห่งเป็นหมู่บ้านชาวม้งดอกไม้ที่ไกด์คนดีบอกเราว่าให้สังเกตุเอาจากสีสันของลายเสื้อ ฝนโปรยเม็ด ตอนที่เราออกมาจากซาปาทำให้เห็นหมอกหนาขึ้นมาตามชายป่าริมเขาข้างทาง เย็นแต่สวยงามดี ตลาดบั๊กฮาจะต้องผ่านเมืองเลาไค เป็นเขตพรมแดนอีกแห่งของประเทศเวียดนาม ที่ติดต่อกับประเทศจีน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  เมาท์เทนวิว เป็นโรงแรมขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งในซาปาที่มีคนไทยนิยมไปพักมากที่สุดอย่างน้อย รีเซฟชั่นโรงแรมอย่างมิงก็เม้าท์ให้ฟังเอาไว้อย่างนั้นเราพบเมาท์เทนวิวในเว็บไซต์แนะนำที่พักจากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่เขียนบันทึกเรื่องราวของเขาในเวียดนามเอาไว้อย่างน่าสนใจ "เมาท์เทนวิว สวยและสะอาด ข้างหลังเป็นทิวเขาที่สลับซับซ้อนและตรงกับจุดที่พระอาทิตย์ตกพอดี ด้านซ้ายจะเห็นกลุ่มบ้านเรือนกลางใจเมืองซาปา ขวาจะเป็นถนนสีเทายาวเหยียดและกลุ่มนาขั้นบันได ทุกเช้า (หากคุณตื่นเช้า) จะมองเห็นละอองหมอกระเรี่ย"เท่านั้นแหละครับ เมื่อผมกะยาดาไปถึงซาปา เราดิ่งไปเมาท์เทนวิวโดยไม่รอรีเควสซ้ำสอง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถไฟจะออกจากฮานอยไปซาปา สองทุ่มตรง ลงสถานีเลาไคและต่อรถตู้ อีกครึ่งวัน เรายังย่ำต็อกอยู่ในฮานอย รอเวลา จึงหอบผ้าหอบผ่อนไปจองแบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้สำหรับวันที่จะกลับมา ตามแผน เราจะอยู่ที่ซาปา 2 คืน 3 วัน แล้วกลับมาฮานอย จองทัวร์ไปอ่าวฮาลอง อีก 2 คืน 3 วัน ถึงจะกลับมาพักที่ฮานอย 2 คืน ก่อนจะกลับบ้าน จองห้องที่แบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้กันเหนียว ฮานอย 18.00 น. ก็เหมือนกับกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเร่งด่วน รถติดและคนกลับบ้าน เราอยากมั่นใจว่าจะไม่ตกรถไฟ จึงติดต่อให้ทางแบมบูจัดหารถแท็กซี่ไปส่ง ที่การันตีว่า ไม่มีชาร์ต จากคำบอกเล่าของเราที่เจอกับรถแท็กซี่ ออน ทัวร์ วนรอบเมืองในเช้าวันเดียวกัน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผ่านไปครึ่งทริปส์ จากกรุงเทพฯถึงเวียดนามภาคกลาง เว้ ดานังและโฮยอาน กับการเดินทางในฐานะแบ็กแพ็คเกอร์ เรากำลังวางแผนขึ้นเหนือ ฮานอย ซาปา และหมู่เกาะกั๊ตบาในอ่าวฮาลอง ก่อนจะจบทริปส์แล้วบินกลับเมืองไทย จากสนามบินนอยไบ ในฮานอย ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราปั่นจักรยานไปเจอสตีฟที่ เดอ สลีฟปี้ เกกโก    ยามเช้าในโฮยอาน เหมือนกับยามเช้าในเว้ของเวียดนามวุ่นวายด้วยเสียงบีบแตรและการค้าจากโรงแรมถึงตลาดปลาและร้านขายรองเท้า ร้านขายรูปวาดและร้านขายหมวก รวมถึง เสื้อยืดที่มีดวงดาวสีเหลืองตรงหน้าอก มีให้ได้ซื้อหาเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวสตีฟเป็นชาวอังกฤษ จากยอร์กเชียร์ เขาออกจากบ้านเกิดมาตั้งแต่วัย 24 ปีและอยู่ในเวียดนามเข้าปีที่ 40 เปิดเกกโก บาร์พร้อมกับเป็นไกด์นำนักท่องเที่ยวทัวร์โฮยอานนอกจาก บ้านหลังเก่าในโอลด์ ทาวน์ และบรรยากาศล่องเรือชมแม่น้ำเขาแนะนำว่า ชนบทโฮยอานไม่อะไรให้ดูมาก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
สถานีรถไฟดานังติดแอร์คอนดิชันเย็นฉ่ำแดดร้อน ดานังเป็นเมืองท่าทางเศรษฐกิจพร้อมท่าเรือขนาดใหญ่ ยาดาเดินแหวกผู้คนออกมาทางตามชานชาลา ช่วงนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่หยุดพักผ่อน ประตูใหญ่จากชานชาลาปิด เราแทรกตัวออกมาตามบานพับของประตูเหล็กชนิดยืดได้หดได้บริเวณก่าดานังเต็มไปด้วยรถแท็กซี่และมอเตอร์ไบค์(รับจ้าง) แท็กซี่มิเตอร์ที่เวียดนามมี 2 แบบ คือ แท็กซี่ของรัฐและแท็กซี่อิสระ สังเกตุได้จากสภาพรถและบุคลิกภาพของคนขับรถ ทันทีที่เห็นนักท่องเที่ยวอย่างเราออกมา (อย่างไม่รู้ว่าจะเริ่มไปไหนอย่างไรดี) แท็กซี่กลุ่มใหญ่ก็กรูกันเข้ามาสอบถามและเสนอราคาอย่างไม่ปรานีปราศรัย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราจับรถไฟเช้าจากสถานีรถไฟเว้ (ก่าเว้) ไปยังเมืองดานังเพื่อโดยสารรถไปยังเมืองโฮยอานอีกต่อ อันที่จริงไม่จำเป็นต้องใช้เส้นทางนี้เพราะสามารถเดินทางจากเว้ตรงไปโฮยอานได้โดยรถทัวร์ เพียงแต่ว่า ข้อมูลจากโลนลี่ พลาเน็ต บอกเอาไว้ว่าเส้นทางรถไฟสายเว้-ดานัง เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเราจึงตัดสินใจลองของ!ยามเช้า คนเริ่มพลุกพล่าน ผมกับยาดาเรียกแต็กซี่(ตามสำนวนคนเวียด)ไปก่าเว้ก่าเว้ เป็นอาคารรูปทรงโคโลเนี่ยล ทาด้วยสีส้ม-เหลือง ผู้คนคึกคัก อุ้มลูกจูงหลานเดินทางไปทำธุระพบปะญาติมิตร นักท่องเที่ยวบางคนจับกลุ่มยืนสูบบุหรี่อยู่มุมหนึ่ง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทันทีที่ออกจากด่านลาวบาว รถทัวร์ปุเรงมาบนถนนหมายเลข1 นักท่องเที่ยวจะต้องนั่งรถเพื่อเข้าไปยังมหานครเว้อีกราวๆ 160 กิโลเมตร (หลังจากที่ตื่นๆ หลับๆ มาแล้วราว 250 กม. บนทางหลวงหมายเลข9) รวมระยะทางจากมุกดาหาร-เว้ ประมาณ 410 กิโลเมตรนักท่องเที่ยวบางคนพักที่ด่าน ซึ่งมีเกสต์เฮาส์เล็กๆ สบายๆ และเป็นที่ขึ้นชื่อว่า ตลาดเช้าลาวบาวช่างน่ารักน่าชังนักเรื่องของเรื่อง คือ เราควรจะถึงเว้ไม่เกิน 18.00 น. ตามเวลาในตั๋วระหว่างเส้นทางจะต้องผ่านเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองเคเซนและเมืองดองฮา ทั้ง 2 เมือง คือ จุดยุทธศาสตร์ที่ถูกโจมตีอย่างหนักในสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะเมืองดองฮาหรือเรียกชื่อย่อว่า DMZ นั้น…