Skip to main content

เราปั่นจักรยานไปเจอสตีฟที่ เดอ สลีฟปี้ เกกโก   

ยามเช้าในโฮยอาน เหมือนกับยามเช้าในเว้ของเวียดนาม
วุ่นวายด้วยเสียงบีบแตรและการค้า
จากโรงแรมถึงตลาดปลาและร้านขายรองเท้า ร้านขายรูปวาดและร้านขายหมวก รวมถึง เสื้อยืดที่มีดวงดาวสีเหลืองตรงหน้าอก มีให้ได้ซื้อหาเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยว

สตีฟเป็นชาวอังกฤษ จากยอร์กเชียร์ เขาออกจากบ้านเกิดมาตั้งแต่วัย
24 ปีและอยู่ในเวียดนามเข้าปีที่ 40 เปิดเกกโก บาร์พร้อมกับเป็นไกด์นำนักท่องเที่ยวทัวร์โฮยอาน
นอกจาก บ้านหลังเก่าในโอลด์ ทาวน์ และบรรยากาศล่องเรือชมแม่น้ำ
เขาแนะนำว่า ชนบทโฮยอานไม่อะไรให้ดูมาก

เราตกลงทัวร์ชนบทโดยมีสตีฟเป็นไกด์ ด้วยราคา 30 เหรียญ (ยูเอส)/2 คน
เริ่มต้นด้วยการปั่นจักรยานข้ามฟากแม่น้ำทูโบนเข้าสู่หมู่บ้าน ผ่านโรงเรียนและสถานีตำรวจทรงโคโลเนี่ยล ถึงหมู่บ้านชาวประมงริมแม่น้ำมองเห็นยอขนาดใหญ่เรียงราย

ในหมู่บ้าน เด็กๆ เวียดนามกลับจากโรงเรียนด้วยจักรยาน ส่งเสียง เฮลโล !!! ตลอดทางที่เห็นนักท่องเที่ยวอย่างเรา สตีฟ ทำหน้าที่ไกด์บรรยายถึงวิธีการทำงานและมุมมองของคนชนบทชาวเวียดนาม

"ช่วงที่มาอยู่ใหม่ๆ เวียดนามยังเปิดประเทศไม่กว้างนัก นักท่องเที่ยวทุกคนจะถูกตรวจสอบอย่างรัดกุม เข้มงวดด้วยสายตาหวาดระแวง ไม่แปลกหรอก เพราะคนที่นี่เขาถูกกระทำจากต่างชาติมามาก ถึงทุกวันนี้ เค้าก็ยังชาตินิยม" สตีฟยิ้ม ก่อนกระดกเบียร์เวียด

สตีฟได้ภรรยาเป็นชาวเวียดนาม เขาเพิ่งมีลูกคนที่
2 พร้อมภรรยาและแม่ของภรรยา อาศัยอยู่ด้วยกันที่เกกโก บาร์
"ทำไม ไม่ไปอยู่ในเมืองอย่างโฮจิมินท์ ซิตี้"
ยาดาถาม
"ที่นี่มันเงียบดี มองเห็นแนวเกาะนั่นไหม" สตีฟ ชี้
"หากโฮยอาน เจริญมากกว่านี้ ผมจะย้ายไปอยู่ที่นั่น"
มันเงียบดี สตีฟ หมายความตามนั้น

ออกจากหมู่บ้านชาวประมงริมฝั่งแม่น้ำทูโบน ข้ามสะพานไม้ไผ่ขัดยาว เราออกมาสู่หมู่บ้านอีกแห่ง มีร้านเล็กๆ ริมแม่น้ำ ที่ต่อเป็นแพยื่นออกไปในลำน้ำ ภายในร้านมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองท้องถิ่น รวมๆ แล้ว 6 คน แวะมาดื่มเบียร์เวียด

สตีฟบอกว่า คนเหล่านี้ดื่มเฉพาะเบียร์เวียดเท่านั้น ไม่ดื่มเบียร์นอก
คนหนึ่งในนั้นซึ่งแต่งกายสีเขียว เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจยศสูง เข้ามาทักทายจับไม้จับมือกับสตีฟอย่างคนคุ้นเคย อีกคนส่งเสียงดังทักทายชูขวดเบียร์ เมื่อรู้ว่าเราเป็นนักท่องเที่ยว หลายคนพยายามเข้ามาขอจับไม้จับมือ ไท้แลงๆพวกเขาบอกว่า เขาชอบเมืองไทยมากกกกกกกกก
ก่อนลากลับ เพื่อไปทัวร์หมู่บ้านต่อไป
คนหนึ่งหลับพับไปเรียบร้อยโรงเรียนเบียร์เวียด

ทุ่งนาในโฮยอานสีเขียวสด ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่ข้าวกำลังจะตั้งท้อง ทุกคนบนถนนที่ปั่นจักรยานสวนทางมา ต่างทักทายนักท่องเที่ยวอย่างเราด้วยรอยยิ้ม คุณลุงคนหนึ่งหยุดทักทายเราเช่นกัน ดวงตาหรี่ปรือ มือจูงจักรยานปัดไปปัดมา สตีฟหันมายิ้มกับเราพร้อมเหงื่อเต็มใบหน้าก่อนจะกระซิบเบาๆ ว่า ดรั๊ง!

เรายิ้มอย่างเข้าใจได้

ควายและชาวนาอยู่กลางทุ่งนา ไม่มีรถไถนาให้เห็น คนเวียดนามยังผลิตด้วยแรงงานคนและควายกับระบบชลประทานขนาดใหญ่จากแม่น้ำทูโบน ผันน้ำเข้าที่นา สุสานเวียดกงสงบนิ่งอยู่ในบรรยากาศของอดีต สตีฟเล่าว่า ชาวโฮยอานนำศพทหารผู้เสียชีวิตมารวมกันไว้ที่เดียว เมื่อปีที่แล้ว มีคนเพิ่งพบกระดูกทหารที่ทุ่งนาท้ายหมู่บ้าน

โฮยอานเป็นจุดยุทธศาสตร์ในสงครามเวียดนาม เด็กหนุ่ม พ่อและลูกชายถูกเกณฑ์ไปเป็นนักรบกู้ชาติและป้องกันหมู่บ้าน เท่าที่เห็นมีป้ายหลุมศพไม่ต่ำกว่า
100 ศพ

การปั่นจักรยานทัวร์หมู่บ้านในยามอากาศร้อนช่างรุนแรงและน่าหวาดหวั่น ถนนดินยาวจากหมู่บ้านสู่หมู่บ้าน เราเข้าไปดูบ้านทอเสื่อและโรงสีชุมชน อู่ต่อเรือ เสียงเป็ดบนดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำทูโบนนับหมื่นตัวส่งเสียงดังและมองเห็นเหมือนเป็นคลื่นสีขาวที่เคลื่อนไหวไปมาได้ โลกในโฮยอานกำลังเคลื่อนไหวและเปลี่ยนตัวเองพร้อมกับจำนวนนักท่องเที่ยว

"รัฐบาลเวียดนามไม่เข้มงวดกับนักท่องเที่ยวเหมือนก่อน" ยาดาคุย
"คงไม่ ตอนนี้นักลงทุนเข้ามาในเวียดนามมาก หากทำอะไรที่เข้มงวด รัฐจะเสียรายได้" สตีฟเอ่ย ก่อนกระดกเบียร์เวียด หน้าเคาน์เตอร์บาร์ ใน เดอ สลีฟปี้ เกกโก

แสงสีสุดท้ายริมฝั่งแม่น้ำทูโบนเต็มไปด้วยสีสัน จั่วแบบโบราณในเขตโอลด์ ทาวน์ อยู่ใต้ตะคุ่มของเงามะพร้าว คนโฮยอานทยอยกลับบ้านหลังจากไปรับจ้างขนปลาที่ตลาดปลา นักเรียนในชุดอ๋าวได๋สีขาวสะบัดตามแรงลมริมฝั่ง

ค่ำคืนในโฮยอานนุ่มนวล 

26_06_1
สตีฟแห่งเดอ สลีฟปี้ เกกโก

26_06_2
ชนบทริมฝั่งแม่น้ำทูโบน ยามบ่าย

26_06_3
หนึ่งในบ้าน
5 หลัง เมืองโฮยอานในโอลด์ ทาวน์

26_06_4
ธูปแบบขด ในบ้านหลังหนึ่ง

26_06_5
ไกด์ชาวโฮยอาน เธอโพสต์ให้ถ่ายรูปอย่างสวยงาม

26_06_6
มุมหนึ่งในสุสานเวียดกง

26_06_7
บนดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำทูโบน สีขาวเหมือนคลื่น คือ เป็ด

26_06_8
สุสานเก่าแก่ นับอายุไม่ได้ ในผืนนา ท้ายหมู่บ้าน

26_06_9
คลองชลประทานขนาดใหญ่กับชาวนาและควาย

26_06_10
ค่ำคืนกำลังมาเยือน

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทิศทางการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวที่สะเปะสะปะทำให้ชาวบ้านหลายคนทิ้งชีวิตเรือกสวนไร่นา หันมาเป็นผู้ประกอบการอย่างไร้ทิศทาง ไร้การจัดการ ไร้ความคิด ในสังคมมือใครยาวสาวได้สาวเอาที่ต้องการแต่ประโยชน์ส่วนตน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แดดยามบ่ายกระทบสายน้ำเป็นริ้วเต้นระริกรินไหลไปตามแก่งหินน้อยใหญ่ ทิวไม้สองฝั่งแน่นขนัดทอดกายยึดผืนดินไม่ให้น้ำกัดเซาะ ราวกับมืออันอบอุ่นของแม่ที่โอบอุ้มทารกแนบอก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย    
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนงานบนเรือขนสินค้าขนาดใหญ่ริมฝั่งโขง กำลังทำงานของพวกเขา เรือขุดทรายตักทรายจากกลางลำน้ำ ชายชราหาปลาอยู่บนเรือท้องแบน ธุรกิจการค้าคึกคัก ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชียงคานเมืองริมฝั่งโขง ถูกพูดถึงมากมายในหมู่นักท่องเที่ยว นักเดินทางหลายคนหยุดเวลาเอาไว้ที่นั่นด้วยการนอนอ่านหนังสือเป็นอาทิตย์ ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทุกเช้าๆ คุณแม่ชาวปกาเกอญอจะออกมาสะพายลูก ... ระหว่างเดินไปตามถนนกลางหมู่บ้าน ระหว่างอาบน้ำริมห้วยแม่แงะ ระหว่าง รอ ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในลมหนาวมีใบหน้าใสซื่อ ดูเหมือนว่า จะกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วอย่างยิ่ง ที่จะต้องถ่ายภาพใบหน้าคน ... ทุกปีที่ไปงานวันเด็กไร้สัญชาติ รอยยิ้มของคนหลังภูเขา อ่อนโยนแบบเด็กๆ ..
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ห้องทะเบียนราษฏรเคลื่อนที่ถูกจำลองขึ้นบนลานโล่งบริเวณบ้านผู้ใหญ่บ้าน ,คนไร้รัฐบ้านแม่แพะมารวมตัวกันเพื่อทำประชาคม ,ยกมือรับรองสถานะบุคคลเป็นพยานรู้เห็นว่าครอบครัวที่ได้รับการสำรวจทั้งหมดอยู่บนผืนดินแห่งนี้มานาน ก า เ ล
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดินแดนอันไกลโพ้นเหนือความคิดฝัน ,เทือกเขาและดวงตะวันนิ่งงัน ราวกับภาพวาด
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มุมหนึ่งของเชียงคาน จ.เลย ,หากใครเคยไปเชียงคานจะเห็นแม่น้ำโขงยาวสุดลูกหูลูกตา ก่อนจะลับหายเข้าไปยังฝั่งลาวตรงแก่งคุดคู้ ,ในภาพมองเห็นเรือดูดทรายเอกชน ,แนวโน้มการพัฒนาเพื่อให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ,คนที่นั่นออกปากปฏิเสธเป็นพัลวันถึงความไม่ต้องการให้เจริญขีดสุดแบบปาย ,แต่ขณะเดียวกันก็อ้าแขนต้อนรับนักท่องเที่ยว ,รวมถึงนักเก็งกำไรเข้ามาหาซื้อที่ดิน ,หลับตาก็พอมองออกว่าภายในระยะ 5-10 ปี เชียงคานจะอยู่ในสภาพของเมืองท่องเที่ยวที่ถึงพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภคที่เสนอสนองความต้องการของคนในทุกระดับชั้น ,แต่ความเห็นส่วนตัว ผมชอบปายคับ (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายภาพ)