Skip to main content
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!


พวกเขาเข้ามาเช้ามืด 05.20 น. ของวันที่ 20 พฤษภาคม 2545

ปลัดปกครองอำเภอเวียงแหง ระบุว่า ศูนย์พักรอกุงจ่อเป็นพื้นที่ผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย ประกอบด้วยชาวปะหล่อง จีนและชาวไต ต้องทำทะเบียนประวัติป้องกันการลักลอบหลบหนี ก่อนจะย้ายไปพื้นที่ใหม่บริเวณหมู่บ้านหลักแต่ง ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานเอกชนระหว่างประเทศ มูลนิธิหรือองค์กรสาธารณประโยชน์และชาวไตในหมู่บ้านเปียงหลวง พี่น้องของพวกเขา'

ข้อมูลศึกษาเชิงวิจัย(ของเพื่อนรุ่นน้อง) ระบุถึง บทสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอเวียงแหง เขากล่าวว่า กรมการปกครองไม่มีคำสั่งให้จัดการอย่างเป็นรูปธรรมจึงไม่มีข้อปฏิบัติการเชิงควบคุม-ดูแลอย่างเป็นระบบ ทำเพียงข้อมูลทางทะเบียนและประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เท่านี้ก็ดีแล้ว

ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าวถึง ความปรองดองของคนในพื้นที่ ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายทางชาติพันธ์สูงแต่คนเหล่านี้รักและช่วยเหลือกันด้วยความสัมพันธ์ของเชื้อสายจึงทำหน้าที่เพียงรักษาความเรียบร้อยเล็กๆ น้อยๆ มากกว่าการจัดการขั้นเด็ดขาดลงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง

อีกส่วน คือ กองกำลังทหารที่รักษาความสงบในพื้นที่ตะเข็บชายแดน พวกเขาให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า จำเป็นต้องกวดขันเข้มงวดด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคง ปัญหายาเสพติดและความละเอียดอ่อนทางการเมืองระหว่างประเทศ

ชาวบ้านหมู่บ้านข้างๆ เปิดใจว่า ,เข้าใจ ,เห็นใจและคิดว่า หากพวกเขาจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ก็ได้ไม่เป็นปัญหาหรือหากรัฐไทยจะรับพวกเขาเป็นพลเมืองก็มีความยินดี'

ส่างลองบางคนแวะมาแบ่งบุญให้ญาติในศูนย์พักรอแห่งนี้ บรรยากาศเชิงพิธีกรรมเป็นไปอย่างเรียบง่ายและปิติภายในวัดที่มีฝาห้องทำด้วยไม้ไผ่สานขัดกัน ส่วนหนึ่งถูกกั้นเป็นห้องเรียน พระผู้ประกอบพิธีกล่าวบทสวดอำนวยพรในภาษาไทใหญ่ ขณะเดียวกันยังเป็นคุณครูผู้สอนภาษาไทย ร่วมกับอาสาสมัคร เธอเป็นหญิงสาวจากลอนดอนที่สมัครใจมาสอนภาษาอังกฤษและการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ถัดไปเป็นห้องโสตทัศน์

ชายหนุ่ม 2 คน นั่งดูละครช่อง7 ในทีวีจอแบนพ่วงแบตเตอร์รี่รถบรรทุก อยู่ในห้องนั้น
"ผมมาถ่ายรูปครับ ขอค้างที่นี่ได้ไหม" ผมถามพ่อหลวงที่มารับส่างลอง ก่อนจิบชาเขียวเปียงหลวง
"คงไม่ได้ครับ ทหารเข้ม" พ่อหลวงจิบน้ำชา
"อืม เอ่อ อย่าให้ใครรู้สิครับ" ผมยิ้ม เป่าชาร้อนไปพร้อมกัน
"
!..!!"

  
ศูนย์พักรอผู้หนีภัยการสู้รบ กุงจ่อ' มุมมองจากศาลเจ้าพ่อเสือ หมู่บ้านเปียงหลวง


ดอยหัวโล้นข้างบน ไกด์จากหมู่บ้านเปียงหลวง บอกว่า เป็นฐานที่มั่นของทหารพม่า


เด็กหญิงชาวลาหู่ จากศูนย์กุงจ่อ กินก๋วยเตี๋ยวไทยใหญ่ในงานปอยส่างลอง


ส่างลองบางรูปเข้าไปแผ่บุญและรับพรจากพระในศูนย์พักรอ


สภาพภายในโรงเรียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัดหลักแต่ง


คุณครูชาวไต ที่เคยเป็นเด็กนักเรียนมาก่อน วันนี้มาสอนน้องๆ


เด็กนักเรียนบางคนต้องนอนคัดลายมือเพราะไม่มีโต๊ะเรียนหนังสือ


ลายมือของผมสวย มะฮับ
!!!!


อ่านตามคุณครูนะคะ ...


ใครตอบได้ยกมือขั้น ...

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์