Skip to main content
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!


พวกเขาเข้ามาเช้ามืด 05.20 น. ของวันที่ 20 พฤษภาคม 2545

ปลัดปกครองอำเภอเวียงแหง ระบุว่า ศูนย์พักรอกุงจ่อเป็นพื้นที่ผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย ประกอบด้วยชาวปะหล่อง จีนและชาวไต ต้องทำทะเบียนประวัติป้องกันการลักลอบหลบหนี ก่อนจะย้ายไปพื้นที่ใหม่บริเวณหมู่บ้านหลักแต่ง ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานเอกชนระหว่างประเทศ มูลนิธิหรือองค์กรสาธารณประโยชน์และชาวไตในหมู่บ้านเปียงหลวง พี่น้องของพวกเขา'

ข้อมูลศึกษาเชิงวิจัย(ของเพื่อนรุ่นน้อง) ระบุถึง บทสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอเวียงแหง เขากล่าวว่า กรมการปกครองไม่มีคำสั่งให้จัดการอย่างเป็นรูปธรรมจึงไม่มีข้อปฏิบัติการเชิงควบคุม-ดูแลอย่างเป็นระบบ ทำเพียงข้อมูลทางทะเบียนและประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เท่านี้ก็ดีแล้ว

ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าวถึง ความปรองดองของคนในพื้นที่ ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายทางชาติพันธ์สูงแต่คนเหล่านี้รักและช่วยเหลือกันด้วยความสัมพันธ์ของเชื้อสายจึงทำหน้าที่เพียงรักษาความเรียบร้อยเล็กๆ น้อยๆ มากกว่าการจัดการขั้นเด็ดขาดลงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง

อีกส่วน คือ กองกำลังทหารที่รักษาความสงบในพื้นที่ตะเข็บชายแดน พวกเขาให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า จำเป็นต้องกวดขันเข้มงวดด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคง ปัญหายาเสพติดและความละเอียดอ่อนทางการเมืองระหว่างประเทศ

ชาวบ้านหมู่บ้านข้างๆ เปิดใจว่า ,เข้าใจ ,เห็นใจและคิดว่า หากพวกเขาจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ก็ได้ไม่เป็นปัญหาหรือหากรัฐไทยจะรับพวกเขาเป็นพลเมืองก็มีความยินดี'

ส่างลองบางคนแวะมาแบ่งบุญให้ญาติในศูนย์พักรอแห่งนี้ บรรยากาศเชิงพิธีกรรมเป็นไปอย่างเรียบง่ายและปิติภายในวัดที่มีฝาห้องทำด้วยไม้ไผ่สานขัดกัน ส่วนหนึ่งถูกกั้นเป็นห้องเรียน พระผู้ประกอบพิธีกล่าวบทสวดอำนวยพรในภาษาไทใหญ่ ขณะเดียวกันยังเป็นคุณครูผู้สอนภาษาไทย ร่วมกับอาสาสมัคร เธอเป็นหญิงสาวจากลอนดอนที่สมัครใจมาสอนภาษาอังกฤษและการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ถัดไปเป็นห้องโสตทัศน์

ชายหนุ่ม 2 คน นั่งดูละครช่อง7 ในทีวีจอแบนพ่วงแบตเตอร์รี่รถบรรทุก อยู่ในห้องนั้น
"ผมมาถ่ายรูปครับ ขอค้างที่นี่ได้ไหม" ผมถามพ่อหลวงที่มารับส่างลอง ก่อนจิบชาเขียวเปียงหลวง
"คงไม่ได้ครับ ทหารเข้ม" พ่อหลวงจิบน้ำชา
"อืม เอ่อ อย่าให้ใครรู้สิครับ" ผมยิ้ม เป่าชาร้อนไปพร้อมกัน
"
!..!!"

  
ศูนย์พักรอผู้หนีภัยการสู้รบ กุงจ่อ' มุมมองจากศาลเจ้าพ่อเสือ หมู่บ้านเปียงหลวง


ดอยหัวโล้นข้างบน ไกด์จากหมู่บ้านเปียงหลวง บอกว่า เป็นฐานที่มั่นของทหารพม่า


เด็กหญิงชาวลาหู่ จากศูนย์กุงจ่อ กินก๋วยเตี๋ยวไทยใหญ่ในงานปอยส่างลอง


ส่างลองบางรูปเข้าไปแผ่บุญและรับพรจากพระในศูนย์พักรอ


สภาพภายในโรงเรียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัดหลักแต่ง


คุณครูชาวไต ที่เคยเป็นเด็กนักเรียนมาก่อน วันนี้มาสอนน้องๆ


เด็กนักเรียนบางคนต้องนอนคัดลายมือเพราะไม่มีโต๊ะเรียนหนังสือ


ลายมือของผมสวย มะฮับ
!!!!


อ่านตามคุณครูนะคะ ...


ใครตอบได้ยกมือขั้น ...

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…