Skip to main content
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!


พวกเขาเข้ามาเช้ามืด 05.20 น. ของวันที่ 20 พฤษภาคม 2545

ปลัดปกครองอำเภอเวียงแหง ระบุว่า ศูนย์พักรอกุงจ่อเป็นพื้นที่ผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย ประกอบด้วยชาวปะหล่อง จีนและชาวไต ต้องทำทะเบียนประวัติป้องกันการลักลอบหลบหนี ก่อนจะย้ายไปพื้นที่ใหม่บริเวณหมู่บ้านหลักแต่ง ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานเอกชนระหว่างประเทศ มูลนิธิหรือองค์กรสาธารณประโยชน์และชาวไตในหมู่บ้านเปียงหลวง พี่น้องของพวกเขา'

ข้อมูลศึกษาเชิงวิจัย(ของเพื่อนรุ่นน้อง) ระบุถึง บทสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอเวียงแหง เขากล่าวว่า กรมการปกครองไม่มีคำสั่งให้จัดการอย่างเป็นรูปธรรมจึงไม่มีข้อปฏิบัติการเชิงควบคุม-ดูแลอย่างเป็นระบบ ทำเพียงข้อมูลทางทะเบียนและประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เท่านี้ก็ดีแล้ว

ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าวถึง ความปรองดองของคนในพื้นที่ ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายทางชาติพันธ์สูงแต่คนเหล่านี้รักและช่วยเหลือกันด้วยความสัมพันธ์ของเชื้อสายจึงทำหน้าที่เพียงรักษาความเรียบร้อยเล็กๆ น้อยๆ มากกว่าการจัดการขั้นเด็ดขาดลงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง

อีกส่วน คือ กองกำลังทหารที่รักษาความสงบในพื้นที่ตะเข็บชายแดน พวกเขาให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า จำเป็นต้องกวดขันเข้มงวดด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคง ปัญหายาเสพติดและความละเอียดอ่อนทางการเมืองระหว่างประเทศ

ชาวบ้านหมู่บ้านข้างๆ เปิดใจว่า ,เข้าใจ ,เห็นใจและคิดว่า หากพวกเขาจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ก็ได้ไม่เป็นปัญหาหรือหากรัฐไทยจะรับพวกเขาเป็นพลเมืองก็มีความยินดี'

ส่างลองบางคนแวะมาแบ่งบุญให้ญาติในศูนย์พักรอแห่งนี้ บรรยากาศเชิงพิธีกรรมเป็นไปอย่างเรียบง่ายและปิติภายในวัดที่มีฝาห้องทำด้วยไม้ไผ่สานขัดกัน ส่วนหนึ่งถูกกั้นเป็นห้องเรียน พระผู้ประกอบพิธีกล่าวบทสวดอำนวยพรในภาษาไทใหญ่ ขณะเดียวกันยังเป็นคุณครูผู้สอนภาษาไทย ร่วมกับอาสาสมัคร เธอเป็นหญิงสาวจากลอนดอนที่สมัครใจมาสอนภาษาอังกฤษและการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ถัดไปเป็นห้องโสตทัศน์

ชายหนุ่ม 2 คน นั่งดูละครช่อง7 ในทีวีจอแบนพ่วงแบตเตอร์รี่รถบรรทุก อยู่ในห้องนั้น
"ผมมาถ่ายรูปครับ ขอค้างที่นี่ได้ไหม" ผมถามพ่อหลวงที่มารับส่างลอง ก่อนจิบชาเขียวเปียงหลวง
"คงไม่ได้ครับ ทหารเข้ม" พ่อหลวงจิบน้ำชา
"อืม เอ่อ อย่าให้ใครรู้สิครับ" ผมยิ้ม เป่าชาร้อนไปพร้อมกัน
"
!..!!"

  
ศูนย์พักรอผู้หนีภัยการสู้รบ กุงจ่อ' มุมมองจากศาลเจ้าพ่อเสือ หมู่บ้านเปียงหลวง


ดอยหัวโล้นข้างบน ไกด์จากหมู่บ้านเปียงหลวง บอกว่า เป็นฐานที่มั่นของทหารพม่า


เด็กหญิงชาวลาหู่ จากศูนย์กุงจ่อ กินก๋วยเตี๋ยวไทยใหญ่ในงานปอยส่างลอง


ส่างลองบางรูปเข้าไปแผ่บุญและรับพรจากพระในศูนย์พักรอ


สภาพภายในโรงเรียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัดหลักแต่ง


คุณครูชาวไต ที่เคยเป็นเด็กนักเรียนมาก่อน วันนี้มาสอนน้องๆ


เด็กนักเรียนบางคนต้องนอนคัดลายมือเพราะไม่มีโต๊ะเรียนหนังสือ


ลายมือของผมสวย มะฮับ
!!!!


อ่านตามคุณครูนะคะ ...


ใครตอบได้ยกมือขั้น ...

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรากลับถึงฮานอยอีกครั้งและเป็นช่วงสุดท้ายของทริปส์แบ็กแพ็กครั้งนี้โดยมีเวลา 2 คืน ก่อนจะเดินทางกลับ หมายความว่า เรามีเวลา 1 วันเต็ม สำหรับการตะลุยฮานอยการเช่ามอเตอร์ไซค์หรือมอเตอร์ไบค์ในฮานอยจัดว่าเป็นความท้าทายของนักขับและได้รับการกล่าวขวัญเอาไว้ในโลนลี่ แพลนเนต ว่า หากคุณไม่มั่นใจ ‘อย่า' ให้พึ่งพาเท้าทั้งสองข้างเพราะการจราจรที่นี่คับคั่งเกินกว่าเพราะตำรวจจราจรที่นี่เอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวยามเช้า เมื่อคนเริ่มพลุกพล่าน ร้านรวงบนจักรยานของแม่ค้าเปิดทำการแต่เช้าตรู่ เรากินอาหารเช้าที่แบมบู โฮเต็ล ก่อนจะตัดสินใจ เช่ามอเตอร์ไบค์ที่โรงแรมนั่นแหละ ด้วยราคา 6 เหรียญ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 เรือแคนนู ความเฟื่องฟูของกิจการการท่องเที่ยวยามเย็น พระอาทิตย์ตกที่ริมขอบผา
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราแกร่วอยู่ในร้านอาหารหน้าสถานีรถไฟเลาไค รอรถเที่ยว 2 ทุ่ม ถึงฮานอยเช้าแล้วต่อรถไปยังอ่าวฮาลอง หมู่เกาะกั๊ตบา ฝนตกกระหน่ำ นักท่องเที่ยวหลายชาติที่จะเดินทางไปฮานอยทยอยกันมาเรื่อยๆ จนแน่นขนัด ร้านใครร้านมันแล้วแต่คอนเนคชั่นของเอเจนซี่ เรานั่งจิบเบียร์ไปเกือบโหล เบียร์ที่เวียดนามมีหลายยี่ห้อ แตกต่างกันไปตามเมือง เบียร์ฮานอย เบียร์เว้ เบียร์(สด)โฮยอาน (อร่อยและราคาสุดคุ้ม ขอบอก) ฝนซาเม็ดและตกกระหน่ำ สลับกันหลายชั่วโมง ชวนให้คิดถึงหนังสงครามเวียดนาม ในแบบฉบับของฮอลลีวูด ทหารอเมริกันที่ถูกส่งมารบที่ตะวันออกไกล นอกจาก ต้องเผชิญกับนักรบกองโจรเวียดกง ไข้มาลาเรีย…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เด็กเจ้าของร้านขายสินค้าที่ทำจากเครื่องเงินแห่งหนึ่งในซาปา ดูจากบุคลิกแล้ว 'คิดว่า' เธอน่าจะเป็นคนจากเมืองอื่นที่ย้ายมาทำมาหากินในซาปา ซึ่งร้านลักษณะนี้มีมากมายเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราที่มีคนจากแหล่งอื่นเข้ามาลงทุน ในแง่นี้เป็นทั้งกลุ่มทุนรายย่อยและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ได้ยินข่าวมาเร็วๆ นี้ก่อนที่เวียดนามจะประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างในปัจจุบันว่า รัฐบาลเวียดนามเปิดให้นักลงทุนต่างชาติทั้งรายย่อย-ใหญ่ เข้ามาลงทุนได้เต็ม 100% ครับ .. ใครทุนหนา รีบๆ เข้าเด้อ!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราใช้สูตรซื้อทัวร์ไปตลาดบั๊กฮาในช้าวันสุดท้ายที่เราอยู่ในซาปา เป็นรถตู้ร่วมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ แล้วรอรถที่สถานีรถไฟเลาไค เพื่อเดินทางกลับฮานอย รถแล่นเรียบเรื่อยไปตามถนน ลัดเลาะภูเขาสูงชัน บางแห่งจะมีการซ่อมสร้างเสริมถนน ผ่านหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน บางแห่งเป็นหมู่บ้านชาวม้งดอกไม้ที่ไกด์คนดีบอกเราว่าให้สังเกตุเอาจากสีสันของลายเสื้อ ฝนโปรยเม็ด ตอนที่เราออกมาจากซาปาทำให้เห็นหมอกหนาขึ้นมาตามชายป่าริมเขาข้างทาง เย็นแต่สวยงามดี ตลาดบั๊กฮาจะต้องผ่านเมืองเลาไค เป็นเขตพรมแดนอีกแห่งของประเทศเวียดนาม ที่ติดต่อกับประเทศจีน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  เมาท์เทนวิว เป็นโรงแรมขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งในซาปาที่มีคนไทยนิยมไปพักมากที่สุดอย่างน้อย รีเซฟชั่นโรงแรมอย่างมิงก็เม้าท์ให้ฟังเอาไว้อย่างนั้นเราพบเมาท์เทนวิวในเว็บไซต์แนะนำที่พักจากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่เขียนบันทึกเรื่องราวของเขาในเวียดนามเอาไว้อย่างน่าสนใจ "เมาท์เทนวิว สวยและสะอาด ข้างหลังเป็นทิวเขาที่สลับซับซ้อนและตรงกับจุดที่พระอาทิตย์ตกพอดี ด้านซ้ายจะเห็นกลุ่มบ้านเรือนกลางใจเมืองซาปา ขวาจะเป็นถนนสีเทายาวเหยียดและกลุ่มนาขั้นบันได ทุกเช้า (หากคุณตื่นเช้า) จะมองเห็นละอองหมอกระเรี่ย"เท่านั้นแหละครับ เมื่อผมกะยาดาไปถึงซาปา เราดิ่งไปเมาท์เทนวิวโดยไม่รอรีเควสซ้ำสอง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถไฟจะออกจากฮานอยไปซาปา สองทุ่มตรง ลงสถานีเลาไคและต่อรถตู้ อีกครึ่งวัน เรายังย่ำต็อกอยู่ในฮานอย รอเวลา จึงหอบผ้าหอบผ่อนไปจองแบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้สำหรับวันที่จะกลับมา ตามแผน เราจะอยู่ที่ซาปา 2 คืน 3 วัน แล้วกลับมาฮานอย จองทัวร์ไปอ่าวฮาลอง อีก 2 คืน 3 วัน ถึงจะกลับมาพักที่ฮานอย 2 คืน ก่อนจะกลับบ้าน จองห้องที่แบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้กันเหนียว ฮานอย 18.00 น. ก็เหมือนกับกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเร่งด่วน รถติดและคนกลับบ้าน เราอยากมั่นใจว่าจะไม่ตกรถไฟ จึงติดต่อให้ทางแบมบูจัดหารถแท็กซี่ไปส่ง ที่การันตีว่า ไม่มีชาร์ต จากคำบอกเล่าของเราที่เจอกับรถแท็กซี่ ออน ทัวร์ วนรอบเมืองในเช้าวันเดียวกัน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผ่านไปครึ่งทริปส์ จากกรุงเทพฯถึงเวียดนามภาคกลาง เว้ ดานังและโฮยอาน กับการเดินทางในฐานะแบ็กแพ็คเกอร์ เรากำลังวางแผนขึ้นเหนือ ฮานอย ซาปา และหมู่เกาะกั๊ตบาในอ่าวฮาลอง ก่อนจะจบทริปส์แล้วบินกลับเมืองไทย จากสนามบินนอยไบ ในฮานอย ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราปั่นจักรยานไปเจอสตีฟที่ เดอ สลีฟปี้ เกกโก    ยามเช้าในโฮยอาน เหมือนกับยามเช้าในเว้ของเวียดนามวุ่นวายด้วยเสียงบีบแตรและการค้าจากโรงแรมถึงตลาดปลาและร้านขายรองเท้า ร้านขายรูปวาดและร้านขายหมวก รวมถึง เสื้อยืดที่มีดวงดาวสีเหลืองตรงหน้าอก มีให้ได้ซื้อหาเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวสตีฟเป็นชาวอังกฤษ จากยอร์กเชียร์ เขาออกจากบ้านเกิดมาตั้งแต่วัย 24 ปีและอยู่ในเวียดนามเข้าปีที่ 40 เปิดเกกโก บาร์พร้อมกับเป็นไกด์นำนักท่องเที่ยวทัวร์โฮยอานนอกจาก บ้านหลังเก่าในโอลด์ ทาวน์ และบรรยากาศล่องเรือชมแม่น้ำเขาแนะนำว่า ชนบทโฮยอานไม่อะไรให้ดูมาก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
สถานีรถไฟดานังติดแอร์คอนดิชันเย็นฉ่ำแดดร้อน ดานังเป็นเมืองท่าทางเศรษฐกิจพร้อมท่าเรือขนาดใหญ่ ยาดาเดินแหวกผู้คนออกมาทางตามชานชาลา ช่วงนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่หยุดพักผ่อน ประตูใหญ่จากชานชาลาปิด เราแทรกตัวออกมาตามบานพับของประตูเหล็กชนิดยืดได้หดได้บริเวณก่าดานังเต็มไปด้วยรถแท็กซี่และมอเตอร์ไบค์(รับจ้าง) แท็กซี่มิเตอร์ที่เวียดนามมี 2 แบบ คือ แท็กซี่ของรัฐและแท็กซี่อิสระ สังเกตุได้จากสภาพรถและบุคลิกภาพของคนขับรถ ทันทีที่เห็นนักท่องเที่ยวอย่างเราออกมา (อย่างไม่รู้ว่าจะเริ่มไปไหนอย่างไรดี) แท็กซี่กลุ่มใหญ่ก็กรูกันเข้ามาสอบถามและเสนอราคาอย่างไม่ปรานีปราศรัย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราจับรถไฟเช้าจากสถานีรถไฟเว้ (ก่าเว้) ไปยังเมืองดานังเพื่อโดยสารรถไปยังเมืองโฮยอานอีกต่อ อันที่จริงไม่จำเป็นต้องใช้เส้นทางนี้เพราะสามารถเดินทางจากเว้ตรงไปโฮยอานได้โดยรถทัวร์ เพียงแต่ว่า ข้อมูลจากโลนลี่ พลาเน็ต บอกเอาไว้ว่าเส้นทางรถไฟสายเว้-ดานัง เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเราจึงตัดสินใจลองของ!ยามเช้า คนเริ่มพลุกพล่าน ผมกับยาดาเรียกแต็กซี่(ตามสำนวนคนเวียด)ไปก่าเว้ก่าเว้ เป็นอาคารรูปทรงโคโลเนี่ยล ทาด้วยสีส้ม-เหลือง ผู้คนคึกคัก อุ้มลูกจูงหลานเดินทางไปทำธุระพบปะญาติมิตร นักท่องเที่ยวบางคนจับกลุ่มยืนสูบบุหรี่อยู่มุมหนึ่ง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทันทีที่ออกจากด่านลาวบาว รถทัวร์ปุเรงมาบนถนนหมายเลข1 นักท่องเที่ยวจะต้องนั่งรถเพื่อเข้าไปยังมหานครเว้อีกราวๆ 160 กิโลเมตร (หลังจากที่ตื่นๆ หลับๆ มาแล้วราว 250 กม. บนทางหลวงหมายเลข9) รวมระยะทางจากมุกดาหาร-เว้ ประมาณ 410 กิโลเมตรนักท่องเที่ยวบางคนพักที่ด่าน ซึ่งมีเกสต์เฮาส์เล็กๆ สบายๆ และเป็นที่ขึ้นชื่อว่า ตลาดเช้าลาวบาวช่างน่ารักน่าชังนักเรื่องของเรื่อง คือ เราควรจะถึงเว้ไม่เกิน 18.00 น. ตามเวลาในตั๋วระหว่างเส้นทางจะต้องผ่านเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองเคเซนและเมืองดองฮา ทั้ง 2 เมือง คือ จุดยุทธศาสตร์ที่ถูกโจมตีอย่างหนักในสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะเมืองดองฮาหรือเรียกชื่อย่อว่า DMZ นั้น…