Skip to main content

อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ)

ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม
จิตตะกอง’
โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
\\/--break--\>

จิตตะกอง เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ติดอ่าวเบงกอล ทิศตะวันออกติดกับพม่าแถบถิ่นอาระ-กัน ดินแดนของชาวโรฮิงญาที่หนีตายเข้ามาทางจังหวัดระนอง นั่นแหละครับ

เมืองที่เพื่อนผมต้องรับผิดชอบ คือ คา-กรา-ชาริ

มันออกจากดาก้าตั้งแต่ 7 โมงเช้า พร้อมคู่บัดดี้ชาวพม่า ล่ามชาวบังคลาเทศและคนขับรถตู้หนึ่งคน รวมทั้งหมด 4 ชีวิต “แทบไม่น่าเชื่อนะแก เวลาเร่งด่วนของที่นี่รถติดเหมือนกรุงเทพฯ แถมการจราจรเหลือเชื่อ” มันว่า

ท้องทุ่งนาสุดลูกหูลูกตา สิ่งที่น่าสังเกตุ เห็นจะเป็นโรงทำอิฐ กลางทุ่ง ชาวเบงกาลีหลายคนง่วนอยู่กับการเอาดินเหนียวลงบล็อก นำมาตากแห้งก่อนจะเอาเข้าเตาเผา สภาพโดยทั่วไปไม่แตกต่างไปจากอิสานบ้านเฮา

กว่าจะถึงคา-กรา-ชาริ อีก 5 นาที สามทุ่ม

ตลอดสามชั่วโมงหลังของการเดินทาง เป็นถนนตัดภูเขา มืดตื๋อ แทบจะไม่มีรถสวน หากใครเคยขับรถเส้นท่าสองยาง-แม่สะเรียง คงจะคิดภาพกันออก

มันบอกว่า “หากรถเสียนะแก คิดภาพไม่ออก”

ก่อนจะเข้าเขตเมือง ด่านทหารเรียกให้รถหยุด คล้ายกับถนนเส้นชายแดนไทยที่หลายคนคงเคยเจอ
มาทำอะไร”
เพื่อนผมชูป้ายนักสังเกตุการณ์ การเลือกตั้งที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก กกต. บังคลาเทศ

รอยยิ้มโปรยบนใบหน้าแทนคำตอบ ก่อนจะให้มันลงชื่อ ที่พักพร้อมกับหมายเลขพาสปอร์ต อยู่กี่วัน หากจะออกจากเมืองต้องแจ้งทุกครั้ง

เพื่อนมันยังมีหน้าไปถามเค้าอีกว่า ทำไมต้องให้เขียนอะไรเยอะแยะคะ
เพื่อความปลอดภัยครับ เราต้องดูคุณเป็นพิเศษ”

พร้อมกับข่าวการลักพาตัวชาวต่างประเทศเพิ่งมาเข้าหูเพื่อนผมหลังจากนั้น
...

หลังจากรถออกจากด่านถึงที่พัก
แกเชื่อมะ เมืองนั่น อากาศดีโคตร”
มันทำตาลอย
....

 


มื้อแรกใน คา
-กรา-ชาริ อาหารอร่อยและสะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้ (แต่ต้องใช้มือเปิปอ่ะ)

 




เหมือนจะเป็นตลาดสด แต่ไม่แน่ใจเหมือนกัน ออกแนววางขายแบกะดิน มีสินค้าทุกอย่าง ตั้งแต่พริกจนถึงหม้อ

 


บรรยากาศการจราจรในเมือง คา
-กรา-ชาริ จะปั่นสามล้อกันเป็นส่วนใหญ่ มองเห็นป้ายเลือกตั้งทั่วเมือง

 


เด็กสาวรุ่นขนฟืนไปเป็นเชื้อเพลิงภายในบ้าน
(บ้างก็ขนไปขาย)

 


นี่ก็ขนฟืนแต่เช้า มีหมอกลอยระเรี่ยไปทั้งเมือง เงียบสงบ แทบไม่มีรถ

 


โปสเตอร์โฆษณาหาเสียงที่บังคลาเทศ มีขนาดเอสามและสีขาวดำเท่านั้น ห้ามทำแบบอื่น เป็นทฤษฏีรัดเข็มขัดภายในประเทศเพื่อป้องกันการถอนทุนคืนในภายหลัง
(อันนี้เพื่อนผมมันคิดเอาเองครับ)

 


ตามภาพนั่นแหละครับ

 


เช้าก็ขน เย็นก็ขน
..! ! !

 


วัดพุทธบนยอดเขา

 

 

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรากลับถึงฮานอยอีกครั้งและเป็นช่วงสุดท้ายของทริปส์แบ็กแพ็กครั้งนี้โดยมีเวลา 2 คืน ก่อนจะเดินทางกลับ หมายความว่า เรามีเวลา 1 วันเต็ม สำหรับการตะลุยฮานอยการเช่ามอเตอร์ไซค์หรือมอเตอร์ไบค์ในฮานอยจัดว่าเป็นความท้าทายของนักขับและได้รับการกล่าวขวัญเอาไว้ในโลนลี่ แพลนเนต ว่า หากคุณไม่มั่นใจ ‘อย่า' ให้พึ่งพาเท้าทั้งสองข้างเพราะการจราจรที่นี่คับคั่งเกินกว่าเพราะตำรวจจราจรที่นี่เอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวยามเช้า เมื่อคนเริ่มพลุกพล่าน ร้านรวงบนจักรยานของแม่ค้าเปิดทำการแต่เช้าตรู่ เรากินอาหารเช้าที่แบมบู โฮเต็ล ก่อนจะตัดสินใจ เช่ามอเตอร์ไบค์ที่โรงแรมนั่นแหละ ด้วยราคา 6 เหรียญ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 เรือแคนนู ความเฟื่องฟูของกิจการการท่องเที่ยวยามเย็น พระอาทิตย์ตกที่ริมขอบผา
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราแกร่วอยู่ในร้านอาหารหน้าสถานีรถไฟเลาไค รอรถเที่ยว 2 ทุ่ม ถึงฮานอยเช้าแล้วต่อรถไปยังอ่าวฮาลอง หมู่เกาะกั๊ตบา ฝนตกกระหน่ำ นักท่องเที่ยวหลายชาติที่จะเดินทางไปฮานอยทยอยกันมาเรื่อยๆ จนแน่นขนัด ร้านใครร้านมันแล้วแต่คอนเนคชั่นของเอเจนซี่ เรานั่งจิบเบียร์ไปเกือบโหล เบียร์ที่เวียดนามมีหลายยี่ห้อ แตกต่างกันไปตามเมือง เบียร์ฮานอย เบียร์เว้ เบียร์(สด)โฮยอาน (อร่อยและราคาสุดคุ้ม ขอบอก) ฝนซาเม็ดและตกกระหน่ำ สลับกันหลายชั่วโมง ชวนให้คิดถึงหนังสงครามเวียดนาม ในแบบฉบับของฮอลลีวูด ทหารอเมริกันที่ถูกส่งมารบที่ตะวันออกไกล นอกจาก ต้องเผชิญกับนักรบกองโจรเวียดกง ไข้มาลาเรีย…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เด็กเจ้าของร้านขายสินค้าที่ทำจากเครื่องเงินแห่งหนึ่งในซาปา ดูจากบุคลิกแล้ว 'คิดว่า' เธอน่าจะเป็นคนจากเมืองอื่นที่ย้ายมาทำมาหากินในซาปา ซึ่งร้านลักษณะนี้มีมากมายเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราที่มีคนจากแหล่งอื่นเข้ามาลงทุน ในแง่นี้เป็นทั้งกลุ่มทุนรายย่อยและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ได้ยินข่าวมาเร็วๆ นี้ก่อนที่เวียดนามจะประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างในปัจจุบันว่า รัฐบาลเวียดนามเปิดให้นักลงทุนต่างชาติทั้งรายย่อย-ใหญ่ เข้ามาลงทุนได้เต็ม 100% ครับ .. ใครทุนหนา รีบๆ เข้าเด้อ!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราใช้สูตรซื้อทัวร์ไปตลาดบั๊กฮาในช้าวันสุดท้ายที่เราอยู่ในซาปา เป็นรถตู้ร่วมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ แล้วรอรถที่สถานีรถไฟเลาไค เพื่อเดินทางกลับฮานอย รถแล่นเรียบเรื่อยไปตามถนน ลัดเลาะภูเขาสูงชัน บางแห่งจะมีการซ่อมสร้างเสริมถนน ผ่านหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน บางแห่งเป็นหมู่บ้านชาวม้งดอกไม้ที่ไกด์คนดีบอกเราว่าให้สังเกตุเอาจากสีสันของลายเสื้อ ฝนโปรยเม็ด ตอนที่เราออกมาจากซาปาทำให้เห็นหมอกหนาขึ้นมาตามชายป่าริมเขาข้างทาง เย็นแต่สวยงามดี ตลาดบั๊กฮาจะต้องผ่านเมืองเลาไค เป็นเขตพรมแดนอีกแห่งของประเทศเวียดนาม ที่ติดต่อกับประเทศจีน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  เมาท์เทนวิว เป็นโรงแรมขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งในซาปาที่มีคนไทยนิยมไปพักมากที่สุดอย่างน้อย รีเซฟชั่นโรงแรมอย่างมิงก็เม้าท์ให้ฟังเอาไว้อย่างนั้นเราพบเมาท์เทนวิวในเว็บไซต์แนะนำที่พักจากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่เขียนบันทึกเรื่องราวของเขาในเวียดนามเอาไว้อย่างน่าสนใจ "เมาท์เทนวิว สวยและสะอาด ข้างหลังเป็นทิวเขาที่สลับซับซ้อนและตรงกับจุดที่พระอาทิตย์ตกพอดี ด้านซ้ายจะเห็นกลุ่มบ้านเรือนกลางใจเมืองซาปา ขวาจะเป็นถนนสีเทายาวเหยียดและกลุ่มนาขั้นบันได ทุกเช้า (หากคุณตื่นเช้า) จะมองเห็นละอองหมอกระเรี่ย"เท่านั้นแหละครับ เมื่อผมกะยาดาไปถึงซาปา เราดิ่งไปเมาท์เทนวิวโดยไม่รอรีเควสซ้ำสอง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถไฟจะออกจากฮานอยไปซาปา สองทุ่มตรง ลงสถานีเลาไคและต่อรถตู้ อีกครึ่งวัน เรายังย่ำต็อกอยู่ในฮานอย รอเวลา จึงหอบผ้าหอบผ่อนไปจองแบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้สำหรับวันที่จะกลับมา ตามแผน เราจะอยู่ที่ซาปา 2 คืน 3 วัน แล้วกลับมาฮานอย จองทัวร์ไปอ่าวฮาลอง อีก 2 คืน 3 วัน ถึงจะกลับมาพักที่ฮานอย 2 คืน ก่อนจะกลับบ้าน จองห้องที่แบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้กันเหนียว ฮานอย 18.00 น. ก็เหมือนกับกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเร่งด่วน รถติดและคนกลับบ้าน เราอยากมั่นใจว่าจะไม่ตกรถไฟ จึงติดต่อให้ทางแบมบูจัดหารถแท็กซี่ไปส่ง ที่การันตีว่า ไม่มีชาร์ต จากคำบอกเล่าของเราที่เจอกับรถแท็กซี่ ออน ทัวร์ วนรอบเมืองในเช้าวันเดียวกัน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผ่านไปครึ่งทริปส์ จากกรุงเทพฯถึงเวียดนามภาคกลาง เว้ ดานังและโฮยอาน กับการเดินทางในฐานะแบ็กแพ็คเกอร์ เรากำลังวางแผนขึ้นเหนือ ฮานอย ซาปา และหมู่เกาะกั๊ตบาในอ่าวฮาลอง ก่อนจะจบทริปส์แล้วบินกลับเมืองไทย จากสนามบินนอยไบ ในฮานอย ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราปั่นจักรยานไปเจอสตีฟที่ เดอ สลีฟปี้ เกกโก    ยามเช้าในโฮยอาน เหมือนกับยามเช้าในเว้ของเวียดนามวุ่นวายด้วยเสียงบีบแตรและการค้าจากโรงแรมถึงตลาดปลาและร้านขายรองเท้า ร้านขายรูปวาดและร้านขายหมวก รวมถึง เสื้อยืดที่มีดวงดาวสีเหลืองตรงหน้าอก มีให้ได้ซื้อหาเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวสตีฟเป็นชาวอังกฤษ จากยอร์กเชียร์ เขาออกจากบ้านเกิดมาตั้งแต่วัย 24 ปีและอยู่ในเวียดนามเข้าปีที่ 40 เปิดเกกโก บาร์พร้อมกับเป็นไกด์นำนักท่องเที่ยวทัวร์โฮยอานนอกจาก บ้านหลังเก่าในโอลด์ ทาวน์ และบรรยากาศล่องเรือชมแม่น้ำเขาแนะนำว่า ชนบทโฮยอานไม่อะไรให้ดูมาก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
สถานีรถไฟดานังติดแอร์คอนดิชันเย็นฉ่ำแดดร้อน ดานังเป็นเมืองท่าทางเศรษฐกิจพร้อมท่าเรือขนาดใหญ่ ยาดาเดินแหวกผู้คนออกมาทางตามชานชาลา ช่วงนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่หยุดพักผ่อน ประตูใหญ่จากชานชาลาปิด เราแทรกตัวออกมาตามบานพับของประตูเหล็กชนิดยืดได้หดได้บริเวณก่าดานังเต็มไปด้วยรถแท็กซี่และมอเตอร์ไบค์(รับจ้าง) แท็กซี่มิเตอร์ที่เวียดนามมี 2 แบบ คือ แท็กซี่ของรัฐและแท็กซี่อิสระ สังเกตุได้จากสภาพรถและบุคลิกภาพของคนขับรถ ทันทีที่เห็นนักท่องเที่ยวอย่างเราออกมา (อย่างไม่รู้ว่าจะเริ่มไปไหนอย่างไรดี) แท็กซี่กลุ่มใหญ่ก็กรูกันเข้ามาสอบถามและเสนอราคาอย่างไม่ปรานีปราศรัย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราจับรถไฟเช้าจากสถานีรถไฟเว้ (ก่าเว้) ไปยังเมืองดานังเพื่อโดยสารรถไปยังเมืองโฮยอานอีกต่อ อันที่จริงไม่จำเป็นต้องใช้เส้นทางนี้เพราะสามารถเดินทางจากเว้ตรงไปโฮยอานได้โดยรถทัวร์ เพียงแต่ว่า ข้อมูลจากโลนลี่ พลาเน็ต บอกเอาไว้ว่าเส้นทางรถไฟสายเว้-ดานัง เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเราจึงตัดสินใจลองของ!ยามเช้า คนเริ่มพลุกพล่าน ผมกับยาดาเรียกแต็กซี่(ตามสำนวนคนเวียด)ไปก่าเว้ก่าเว้ เป็นอาคารรูปทรงโคโลเนี่ยล ทาด้วยสีส้ม-เหลือง ผู้คนคึกคัก อุ้มลูกจูงหลานเดินทางไปทำธุระพบปะญาติมิตร นักท่องเที่ยวบางคนจับกลุ่มยืนสูบบุหรี่อยู่มุมหนึ่ง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทันทีที่ออกจากด่านลาวบาว รถทัวร์ปุเรงมาบนถนนหมายเลข1 นักท่องเที่ยวจะต้องนั่งรถเพื่อเข้าไปยังมหานครเว้อีกราวๆ 160 กิโลเมตร (หลังจากที่ตื่นๆ หลับๆ มาแล้วราว 250 กม. บนทางหลวงหมายเลข9) รวมระยะทางจากมุกดาหาร-เว้ ประมาณ 410 กิโลเมตรนักท่องเที่ยวบางคนพักที่ด่าน ซึ่งมีเกสต์เฮาส์เล็กๆ สบายๆ และเป็นที่ขึ้นชื่อว่า ตลาดเช้าลาวบาวช่างน่ารักน่าชังนักเรื่องของเรื่อง คือ เราควรจะถึงเว้ไม่เกิน 18.00 น. ตามเวลาในตั๋วระหว่างเส้นทางจะต้องผ่านเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองเคเซนและเมืองดองฮา ทั้ง 2 เมือง คือ จุดยุทธศาสตร์ที่ถูกโจมตีอย่างหนักในสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะเมืองดองฮาหรือเรียกชื่อย่อว่า DMZ นั้น…