Skip to main content

เช้าตรู่ หมอกยังไม่ทันจาง เพื่อนผมแซะตัวเองออกจากเตียงนอนเพื่อลงสัมภาษณ์ชาวบ้าน ประเด็นที่ต้องการ คือ ,รัฐบาลเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนของตัวเองแค่ไหน
...

\\/--break--\>
มากกว่าร้อยละ 80 ของจิตตะกองเป็นพื้นที่ภูเขา เมืองท่องเที่ยวแห่งนี้ประกอบด้วยชนหลายกลุ่ม มากกว่าครึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่อาศัยกระจัดกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ มีภาษาแตกต่างกัน เช่น ชาวชักม่า ทริปุระ มาร์ม่า (อ่านออกเสียงว่า มาม่า) เป็นต้น

ส่วนชาวเบงกาลีเพิ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภายหลัง (โห ตัวเลขกว้างมาก)
กลุ่มชนเผ่าจะนับถือศาสนาพุทธ
ชาวเบงกาลีจะนับถือศาสนาอิสลาม

ตามประวัติศาสตร์ จิตตะกองเป็นดินแดนใต้การปกครองของชาวชักม่า ภายใต้ระบอบกษัตริย์ ก่อนถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย ก่อนจะแยกเป็นบังคลาเทศและปากีสถาน ช่วงนั้นเองที่ชาวเบงกาลีเข้ามามีอิทธิพลทางด้านการปกครอง

ชาวชักม่าต่อสู้ยาวนานก่อนจะทำสัญญาสันติภาพในปี 1997
"ชั้นคิดว่า ลึกๆ พวกเขายังรู้สึกขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์ ชาวชักม่าบางชุมชนแยกตัวเองออกไปอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไร้ซึ่งความเอื้ออาทรต่อกันนะ" มันร่ายยาว
"อืม เหมือนประวัติศาสตร์ไทย-พม่า" ผมว่า
"พรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่ลงสมัครในเขตนี้เป็นอดีตกลุ่มต่อต้านอำนาจรัฐมาก่อน"
เออ เอาเข้าไป (แล้วมันจะแบ่งแยกดินแดน เป่าหว่า)
...

เพื่อนผมไปเจอเด็กชายชาวชักม่า เขาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 เป็นเพื่อนรุ่นน้องของล่ามซึ่งอยู่ในช่วงปิดเทอม เขาอาสาเป็นไกด์พาเที่ยวหรือเป็นล่ามให้หากต้องการสัมภาษณ์ชาวชักม่า

เขารู้จักทุกอย่างตั้งแต่ท้องฟ้าถึงคนที่ยากจนที่สุดในหมู่บ้าน

ช่วงหนึ่ง ...
"..พรรคไหนกำลังเป็นที่นิยม" เพื่อนเริ่มบทสนทนา
"พรรค... ซึ่งผมไม่ชอบ" เด็กชายยิ้มเผล่
เขาตอบชัดเจน ไม่มีท่าทีกระอักกระอ่วนอ้ำอึ้งเหมือนชาวชักม่าอื่นๆ 

แม่ของเขาทำงานให้กับยูเอ็นดีพี!!!  

 


หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ขณะที่เพื่อนผมถ่ายรูปในรถตู้ ทั้งชาวชักม่าและเบงกาลีออกมายืนมุงดู



หญิงสาวชาวเบลกาลี บนรถบัส


รอยยิ้มของเด็กชายชาวชักม่าและเบงกาลี


ถั่วอุ่นๆ ในคืนหนาว จะขายอะไรก็ต้องชั่งตวงกันซะก่อน

 


รถมันเต็ม




ลุงกะป้า ชาวชักม่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งมีความเปราะบางระหว่างเชื้อชาติ
แต่ลุงบอกเพื่อนผมว่า ทุกอย่างปกติดี






เด็กหญิงชนเผ่าในอิริยาบถต่างๆ






ชาวทริปุระริมลำธาร

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อีกครั้งที่ ‘เพื่อนผม' มันไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในบังคลาเทศ (แล้วผมก็เอามาเขียน 555) (จริงๆ มันไปเมื่อนานมาแล้วสักครึ่งปีเห็นจะได้)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ภาพสุดท้ายที่ผมมองเห็นก่อนออกจากเปียงหลวง คือ ทิวเขาลูกนั้นในสายหมอกโอบอ้อมกับรอยยิ้มอิ่มบุญของคนไต งานปอย-ส่างลองสิ้นสุด พร้อมกับคอนเสริ์ตทิ้งท้ายที่เล่นกันค่อนรุ่ง ความรื่นเริงของคนหนุ่มสาวและส่างลองที่พร้อมจะเข้าสู่โลกแห่งธรรม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคิดว่าโครงใบหน้าของคนไตดูสวยดี โดยเฉพาะ ,ผู้หญิง ถึงแม้ว่า วันนี้ พวกเธอหลายคนจะต้องออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน , สิ่งที่มากกว่านั้น คือ ความรักและแรงศรัทธาในการร่วมงานบุญ ,และรอยยิ้มของพวกเธอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ศูนย์พักรอกุงจ่อ คือ พื้นที่ของผู้หนีภัยการสู้รบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่า นับจากปี 2545 ชาวไต(ไทใหญ่)ร่วมหนึ่งพันคน เดินเท้าเข้าประเทศไทยทางด่านหลักแต่ง...!!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
พ่อส้านและส่างลอง เป็นภาพที่คู่กัน ส่างลองอยู่ที่ไหน พ่อส้านจะอยู่ที่นั่น แต่ละคน แต่ละคู่ ต่างมีลีลาที่แตกต่างกันออกไป ... เชื่อกันว่า ได้บุญใหญ่ ส่างลองในวันนี้จะเป็นพ่อส้านที่ดีในวันหน้า ทั้งนี้ ตามความสมัครใจ เช้า ขี่คอแห่ส่างลองไปตามวัด บ่ายแก่ได้พัก กลางคืนนอนเฝ้าส่างลองหลังซุ้ม ครบ 5 วัน เชื่อกันว่า ได้ขึ้นสวรรค์ !!! ดูลีลาของพวกเขาสิครับ .....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณสนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านเปียงหลวงเต็มไปด้วนสีสัน สีสันงานบุญซุ้มส่างลองทั้ง 107 ซุ้มกระจายอยู่โดยรอบสนามฟุตบอล เวทีดนตรีใหญ่หันหน้าประชันกับเวทีลิเกไทใหญ่หรือ "จ๊าดไต" เวทีใหญ่เล่นดนตรีทันสมัย โครงสร้างเวทีทำด้วยแกนเหล็กประกบเสาสูงราวเมตรครึ่ง ,ส่วนเวทีจ๊าดไตทำจากโครงไม้ไผ่ทั้งหลัง ปูพื้นด้วยแผ่นไม้กระดาน ฝาด้านหลังทำด้วยใบตองตึงสีน้ำตาลแห้งเก่าทะลุมองเห็นด้านใน ,วงดนตรีเครื่องสายดีดสีตีเป่าครบ ,นางรำแต่งหน้าทาปาก พันคอด้วยผ้าแถบมันเลื่อม ด้านตรงข้ามแดนเซอร์ชาวดอยวิ่งกระจายออกมาหน้าเวทีใหญ่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีดโกนด้ามใหม่ สีดำสนิท บรรจงกรีดลงไปตามไรผมแต่ละเส้น ส่างลองทุกคนรู้ดีว่า พิธีกรรมต่อจากนี้ไปพวกเขาจะต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหนกว่าผมจะหมดศีรษะ บางคนใบหน้าเหยเก บางคนถึงกับร้องไห้ จนพระพี่เลี้ยงและพ่อแม่ต้องหยุดใบมีดเอาไว้ก่อนแล้วตักน้ำส้มป่อยราดหัว ฟอกด้วยยาสระผมแล้วเริ่มโกน โกนจนหมดศีรษะ !!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
... ผู้เฒ่าหญิงชายทั้งในชุดห่มขาวและชุดลำลองทั่วไป ต่อแถว รอพระลงจากกุฏิรับบิณฑบาตร สายหมอกฤดูร้อนห่มคลุมจางๆ ทำให้บรรยากาศรอบๆ ดูเลือนลางกึ่งจริงกึ่งฝัน งานฉลองพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อฯ ที่บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีศาสนิกชนผู้ศรัทธาเนืองแน่นเดินทางมาจากทุกสารทิศงานครั้งนี้เป็นบุญใหญ่ที่มีการเฉลิมฉลองถึง 15 วัน (1-15 พ.ค. 52) ภายในงานเปิดโรงทานโดยผู้มีจิตศรัทธาจะทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานบุญโดยไม่คิดสตางค์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์