Skip to main content

08.00 น. ของวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2552 เสียงระเบิดดังสนั่นใจกลางเมืองคาบูล์ ไกลออกไป 3 กิโลเมตร กระจกโรงแรมแคปิตอล อินน์ เขย่าประหนึ่งว่าจะแตกร้าวเสียตรงนั้น ทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง คนหนึ่ง หมอบกับพื้นห้องน้ำ อีกส่วนหนึ่งวิ่งขึ้นดาดฟ้าโรงแรม มองเห็น ควันไฟบริเวณสำนักงานใหญ่กองกำลังนานาชาติ นาโต้ ประจำอาฟกานิสถาน พวยพุ่งสู่ท้องฟ้า


ผลจาก
Suicide Bomb ครั้งนี้ ดังไปทั่วโลกด้วยตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 91 คน เสียชีวิตจำนวน 7 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มตาลีบัน ประกาศถึงการล้มการเลือกตั้งใหญ่ครั้งนี้ที่ชาวอาฟกันทุกคนคาดหวัง
...

ตาลีบัน มาจากคำว่า ตาลิบ แปลว่า นักเรียนศาสนา
จยิฮาด แปลว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์
มูจาฮีดีน แปลว่า นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์
อัลกอร์อิดะห์ แปลว่า รากฐาน
ชาวอาฟกันมักคุ้นกับคำศัพท์เหล่านี้ ชินชา ธรรมดาและเข้าถึง ขณะที่ชาวตะวันตกรวบศัพท์เหล่านี้เอาไว้ในกลุ่มของคำว่า ‘ก่อการร้าย’
...

“สนามบินคาบูล์เป็นอะไรที่ยากลำบากมากสำหรับชั้น” ยาดากล่าว
เธอบอกว่า กว่าจะเดินมาขึ้นรถต้องใช้เวลามากและไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อนและอ้าวอย่างไม่ต้องบรรยาย คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นบินเป็นชาวต่างชาติ ชาวอาฟกันมีประปราย คนที่นั่นจะบินได้ต้องมีฐานะอยู่ในชั้นที่เรียกว่า เศรษฐี ,ผู้หญิงในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ คลุมผ้า ใส่รองเท้าส้นสูง เดินลากกระเป๋า ถือว่าเป็นเรื่องแปลกถึงแปลกที่สุด

“ส่วนใหญ่จะคลุมเบอร์ก้า ปกปิดสรีระทุกส่วนสัด” ยาดาเล่าต่อไปว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้ากรุงคาบูล์จะต้องถือบัตรผ่านแดนตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ

ระหว่างเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ที่มีหน้าที่จะต้องเขียนชื่อของยาดาลงในบัตร ด้วยความหวั่นเกรงว่า
‘เขา’ อาจจะเขียนนามสกุลของเธอผิด ยาดาใช้นิ้วจิ้มลงไปที่บัตรแล้วบอกว่า ‘อันนี้เขียนผิด’ ทันทีนั้น ‘เขา’ แหงะหน้ามามองยาดาตรงๆ ก่อนยกมือห้าม ส่งภาษาผ่านใบหน้าว่า ‘ขอโทษ กรุณายืนห่างๆ ครับ’
“ชั้น คิดว่า เขากำลังเหยียดความเป็นผู้หญิงของชั้น” ยาดาทำหน้าหมั่นไส้ออกมาตรงๆ
“ชั้นรู้สึกอึดอัดในความเป็นผู้หญิงตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างเข้ากรุงคาบูล์” ถึงที่สุด เธอเผยออกมาอย่างจริงใจว่า ‘ยังไงเสียก็คงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอีกซีกโลก’
...

คาบูล์ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินทราย คาบูล์ รีเวอร์ ไหลผ่าเมืองหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองหลวงของประเทศมายาวนาน อาฟกานิสถาน ไม่ได้แห้งแล้งอย่างภาพ ทุกแห่งเต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สายน้ำหลายสาย องุ่น แตงโมและผักสวนครัว
“แตงโมที่นั่นหวานฉ่ำ” ยาดาเน้นเสียงฉ่ำ

นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ คาบูล์เต็มไปด้วยเครื่องบินรบ คอปเตอร์สงครามแบล็ค ฮอว์ค รถยีเอ็มซี กองกำลังนาโต้ อาฟกันอาร์มี่ ปืนและระเบิด ชาวอาฟกัน คุ้นเคย ชินชาและเข้าถึง สำหรับใครบางคน การมีชีวิตอยู่กับสงครามมามากกว่า
40 ปี คงไม่มีอะไรเลวร้ายอีกแล้ว
“สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน กับ สิทธิและเสรีภาพ”
ยาดาเล่า
...

ประวัติศาสตร์อาฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับสงครามและถูกเขียนเป็นหนังสือเล่มหนา นับจากยุคอเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงกลุ่มมูจาฮีดีน คนอาฟกันรักผู้นำกลุ่มที่ชื่อมาห์ซูด
“เขา คือ เช กูวารา แห่งอาฟกานิสถาน” ยาดาเปรียบเทียบในอารมณ์จริงจัง

คนอาฟกันจะติดรูปมาห์ซูดเอาไว้ในอาคารบ้านเรือน (เป็นรูปที่มีทุกบ้าน) บิลล์ บอร์ด บนยอดตึกและรถโดยสารด้วยความศรัทธา เขาถูกลอบสังหารจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอัลไกดา ของ บิน ลาเดน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบัน ต่อมาไม่นาน มาห์ซูดได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

มาห์ซูด เป็นผู้นำกลุ่มมูจาฮีดีนที่ปลดแอกประเทศจากการเข้ายึดครองของรัสเซีย ก่อนหน้านั้น คาบูล์เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยม บาร์ ไนท์คลับและเมืองศูนย์กลางแฟชั่นที่หลั่งไหลมาจากประเทศยุโรป เมื่อเกิดสงคราม ชนชั้นนำในยุคนั้นต่างลี้ภัยทางการเมือง หลังจากกลุ่มตาลีบันผงาด คาบูล์จึงกลายเป็นเมืองอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว

ตาลีบัน พยายามสถาปนาอาณาจักรอิสลามบริสุทธิ์ ด้วยการตีความกฏหมายชาริอะห์แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กดดัน ขับไล่ วัฒนธรรมเสรีนิยมด้วยการใช้รถถังเหยียบกระป๋องโค้ก ห้ามใส่กางเกงยีนส์ลีวายส์หรือกินแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงงานศิลปะและดนตรี

ตั้งแต่นั้นมา หญิงชาวอาฟกัน สวมชุดคลุมเบอร์ก้าและปกปิดสรีระ ส่วนผู้ชายสวมหมวกกลมและใส่ชุดคลุมยาว งานบันเทิงชนิดเดียวที่คนอาฟกันจะหาได้มาจากงานแต่งงาน

ปัจจุบัน ตาลีบันถอยร่นไปอยู่ทางใต้ของประเทศและอาฟกานิสถานอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังนานาชาตินาโต้และประธานาธิบดี นายอาหมัด คาไซด์ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกเพื่อต่อสู้กับตาลีบัน

“คาบูล์ไม่ได้เดือดเป็นไฟไปทุกหย่อมหญ้าอย่างที่เห็นใน CNN แถมยังมี Lonely Planet ฉบับอาฟกานิสถานอีกต่างหาก” ยาดายิ้ม
 
 
 
คาบูล์ ยามค่ำ มองเห็นแสงไฟของบ้านเรือนที่อยู่บนภูเขา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)

 

บ้านเรือนกรุงคาบูล์ บนภูเขาช่วงเวลากลางวัน


มัสยิดใหญ่กลางตลาด กลางเมืองคาบูล์


ความสมบูรณ์ของผลไม้และคนขาย อิอิ

คุณลุงขายการ์ดเติมเงิน โพสต์นิ่งๆ นาน 10 นาที ข้างหลังมีหญิงชาวอาฟกันเข้ามาหาซื้อเนื้อ
 
คงไม่ต้องบรรยายสำหรับอาหารค่ำมื้ออร่อย แขวนกันเป็นตัวๆ
 
ร้านของชำในกรุงคาบูล์เต็มไปด้วยธัญพืช มองเห็นได้ทั่วไปในตะวันออกกลาง
 
ตลาดกลางกรุงคาบูล์ มีคนมาช็อปปิ้งมากหน้าหลายตา
 
 
กองกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญหรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
สะพานมอญเป็นอีกที่เที่ยวยอดนิยมอีกที่ ,ที่คนส่วนใหญ่จะไป ข้อแรก ไปง่าย ข้อสอง สวยดี นอกเหนือจากนี้ ยังมีเรื่องราวของคนหลากหลายกลุ่ม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในวันที่บ้านชื่นใจเต็มไปด้วยสายหมอก ไอชื้นหนาก่อตัวเป็นหยดน้ำ เกาะตามร่องใบสีเขียวอ่อนของยอดหญ้า ... บนทางดิน ดอกปีบสีขาวร่วงเกลื่อนดินนุ่ม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนกลัวลิงจากหลายเหตุผล ?? จากหน้าตา ท่าทางที่เอาเรื่อง จากความซุกซน อยู่ไม่นิ่งและอารมณ์ปรวนแปร "อย่าเข้าไปใกล้มันนะ" คุณแม่ยื้อยุดมือลูกสาวที่ยื่นขนมสีหวานไปให้ ... ขณะกดชัตเตอร์ จ๋อบางตัวกระโดดเกาะหลัง ผมคิดว่า มันคงอยากรู้อยากเห็น  
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ลิง เรียนรู้การมีชีวิตจากคน ,เราเป็นบรรพบุรุษของลิงผ่านสายใยของวิวัฒนาการ ดวงตาใสแหน๋ว มองตรงมายังกล้วยและถั่วลิสงต้ม ,ไอติมปั่นสีแดงในมือเด็กน้อยถูกฉกไปดูดเลียคลายความร้อนจากอากาศยามเที่ยง ,ทั่วบริเวณพระปรางค์สามยอดแน่นขนัดไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาร่วมงานโต๊ะจีนลิงที่จัดเป็นประจำทุกๆ ปี
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เช้า รวมพลก่อนออกเดินทางไกล จะเห็นได้ว่าทุกคนยังสดใส ภาพนี้ถ่ายระหว่างรอรถไปส่งปากทางเข้าดงนาทาม รอยยิ้มใสใสกับผิวพรรณใสใสจะกลายเป็นสีแทนในอีกไม่ช้า  
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ยาวไกล สายน้ำสีขาวหายเข้าไปในขุนเขา โขดหินและทิวป่า .. เหล่าผู้นิยมไพร ยังคงเดินทางไกล ,ยาวนาน จนเสียงหัวเราะกลายเป็นเสียงพึมพำ “เพ่ ทามมายมันร้อนอย่างงี้” นายคนหนึ่งเอ่ย “ป่าอิสานไม่เหมือนป่าภาคเหนือ” พี่ลม นายกท้องถิ่นเอ่ยอย่างนิ่มนวล ก่อนออกตัวอย่างเป็นทางการถึงความนิยมของนักท่องเที่ยวที่มักจะนิยมป่าแถบเหนือมากกว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักคิดถึงการเดินทางขึ้นเหนือ ....
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
สายลมต้นฤดูหนาวกระหวัดวนบนยอดหญ้า เห็นเป็นริ้วๆ เหนือผลาญหินแห่งดงนาทาม ทุ่งดอกแดงอุบลสลับเหลืองพิมร บานสะพรั่ง ถึงแม้จะดูแห้งแล้งแต่ในโลกของธรรมชาติกลับมอบชีวิตและความสมดุล
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แดดร้อนเปรี้ยง ผ่าลงกลางหัว , เบื้องหน้า คือ ทางเดินหินที่ดูเหมือนจะไร้จุดสิ้นสุด ,แต่ทุกคนต่างมีความหวังจะเดินไปให้ถึงจุดหมาย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ปลาหมึกสีชมพู ใต้ท้องทะเลสีฟ้า ,มันเอาหนวดยาวๆ เกี่ยวกระหวัด เรือสีน้ำตาลที่มีใบสีเขียว ในสายตาของใครหลายคน ,สีน้ำบนกระดาษดูเลอะเทอ ,แต่ไม่เป็นไร สำหรับน้องกายส์ ซ์ซ์ซ์ , "นี่มันเรื่อง โจรสลัดแห่งทะเลแคริบเบี้ยน ใช่ไม๊" "ไม่ใช่" น้องกายทำหน้า งง อะไรเหรอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
นิ้วเล็กๆ บรรจงแต้มสีและกาว ด้วยความตั้งใจ ,เด็กๆ มักจะไม่กังวลกับความเลอะเทอะ ,ไม่เหมือนผู้ใหญ่ เชื่อกันว่า ,ศิลปะ กว้างและลึก จรรโลงและสร้างสรรค์ ,เด็กๆ มองเห็นภาพในความว่างเปล่าของอากาศ จนกระทั่ง พวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่ ,และความจำเป็นในชีวิตโบยตี ,เหตุผลของมันทำให้ดวงตาแบบนั้นหายไป  
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
สำหรับคนที่รักการเดินทาง ยาดาเป็นหนึ่งในนั้น, สำหรับเธอ โลกนี้ไร้กาลเวลา,และเขตแดน หลากเชื้อชาติ ,มีชีวิตและเรื่องราวเสมอ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หลังวันเลือกตั้งเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม ,ยาดาและทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้งกลับมายังกรุงคาบูล์ เมืองทั้งเมืองสงบนิ่งด้วยบรรยากาศแห่งความศรัทธาและเป็นครั้งแรกที่อัลเฟรลอนุญาตให้ทีมงานออกไปเดินเล่นได้โดยไม่ต้องมีล่ามและทีมการ์ด   บนถนนเต็มไปด้วยผู้คนที่เคร่งขรึม ไม่ดื่ม ไม่กิน จนกว่าพระอาทิตย์จะตกดิน ไร้ข่าวของความรุนแรง ถึงแม้ว่า กลุ่มตาลีบันจะพยายามล้มการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่วันนี้ ถือเป็นวันอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาเช่นเดียวกับชาวมุสลิมทั่วโลก ทุกคนกลายเป็นหนึ่ง ไม่ว่า พ่อค้า ข้าราชการหรือกรรมกร ชิกเก้น สตรีท เป็นถนนสายใหญ่ที่เต็มไปด้วยร้านขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว…