Skip to main content

08.00 น. ของวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2552 เสียงระเบิดดังสนั่นใจกลางเมืองคาบูล์ ไกลออกไป 3 กิโลเมตร กระจกโรงแรมแคปิตอล อินน์ เขย่าประหนึ่งว่าจะแตกร้าวเสียตรงนั้น ทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง คนหนึ่ง หมอบกับพื้นห้องน้ำ อีกส่วนหนึ่งวิ่งขึ้นดาดฟ้าโรงแรม มองเห็น ควันไฟบริเวณสำนักงานใหญ่กองกำลังนานาชาติ นาโต้ ประจำอาฟกานิสถาน พวยพุ่งสู่ท้องฟ้า


ผลจาก
Suicide Bomb ครั้งนี้ ดังไปทั่วโลกด้วยตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 91 คน เสียชีวิตจำนวน 7 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มตาลีบัน ประกาศถึงการล้มการเลือกตั้งใหญ่ครั้งนี้ที่ชาวอาฟกันทุกคนคาดหวัง
...

ตาลีบัน มาจากคำว่า ตาลิบ แปลว่า นักเรียนศาสนา
จยิฮาด แปลว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์
มูจาฮีดีน แปลว่า นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์
อัลกอร์อิดะห์ แปลว่า รากฐาน
ชาวอาฟกันมักคุ้นกับคำศัพท์เหล่านี้ ชินชา ธรรมดาและเข้าถึง ขณะที่ชาวตะวันตกรวบศัพท์เหล่านี้เอาไว้ในกลุ่มของคำว่า ‘ก่อการร้าย’
...

“สนามบินคาบูล์เป็นอะไรที่ยากลำบากมากสำหรับชั้น” ยาดากล่าว
เธอบอกว่า กว่าจะเดินมาขึ้นรถต้องใช้เวลามากและไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อนและอ้าวอย่างไม่ต้องบรรยาย คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นบินเป็นชาวต่างชาติ ชาวอาฟกันมีประปราย คนที่นั่นจะบินได้ต้องมีฐานะอยู่ในชั้นที่เรียกว่า เศรษฐี ,ผู้หญิงในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ คลุมผ้า ใส่รองเท้าส้นสูง เดินลากกระเป๋า ถือว่าเป็นเรื่องแปลกถึงแปลกที่สุด

“ส่วนใหญ่จะคลุมเบอร์ก้า ปกปิดสรีระทุกส่วนสัด” ยาดาเล่าต่อไปว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้ากรุงคาบูล์จะต้องถือบัตรผ่านแดนตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ

ระหว่างเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ที่มีหน้าที่จะต้องเขียนชื่อของยาดาลงในบัตร ด้วยความหวั่นเกรงว่า
‘เขา’ อาจจะเขียนนามสกุลของเธอผิด ยาดาใช้นิ้วจิ้มลงไปที่บัตรแล้วบอกว่า ‘อันนี้เขียนผิด’ ทันทีนั้น ‘เขา’ แหงะหน้ามามองยาดาตรงๆ ก่อนยกมือห้าม ส่งภาษาผ่านใบหน้าว่า ‘ขอโทษ กรุณายืนห่างๆ ครับ’
“ชั้น คิดว่า เขากำลังเหยียดความเป็นผู้หญิงของชั้น” ยาดาทำหน้าหมั่นไส้ออกมาตรงๆ
“ชั้นรู้สึกอึดอัดในความเป็นผู้หญิงตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างเข้ากรุงคาบูล์” ถึงที่สุด เธอเผยออกมาอย่างจริงใจว่า ‘ยังไงเสียก็คงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอีกซีกโลก’
...

คาบูล์ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินทราย คาบูล์ รีเวอร์ ไหลผ่าเมืองหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองหลวงของประเทศมายาวนาน อาฟกานิสถาน ไม่ได้แห้งแล้งอย่างภาพ ทุกแห่งเต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สายน้ำหลายสาย องุ่น แตงโมและผักสวนครัว
“แตงโมที่นั่นหวานฉ่ำ” ยาดาเน้นเสียงฉ่ำ

นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ คาบูล์เต็มไปด้วยเครื่องบินรบ คอปเตอร์สงครามแบล็ค ฮอว์ค รถยีเอ็มซี กองกำลังนาโต้ อาฟกันอาร์มี่ ปืนและระเบิด ชาวอาฟกัน คุ้นเคย ชินชาและเข้าถึง สำหรับใครบางคน การมีชีวิตอยู่กับสงครามมามากกว่า
40 ปี คงไม่มีอะไรเลวร้ายอีกแล้ว
“สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน กับ สิทธิและเสรีภาพ”
ยาดาเล่า
...

ประวัติศาสตร์อาฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับสงครามและถูกเขียนเป็นหนังสือเล่มหนา นับจากยุคอเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงกลุ่มมูจาฮีดีน คนอาฟกันรักผู้นำกลุ่มที่ชื่อมาห์ซูด
“เขา คือ เช กูวารา แห่งอาฟกานิสถาน” ยาดาเปรียบเทียบในอารมณ์จริงจัง

คนอาฟกันจะติดรูปมาห์ซูดเอาไว้ในอาคารบ้านเรือน (เป็นรูปที่มีทุกบ้าน) บิลล์ บอร์ด บนยอดตึกและรถโดยสารด้วยความศรัทธา เขาถูกลอบสังหารจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอัลไกดา ของ บิน ลาเดน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบัน ต่อมาไม่นาน มาห์ซูดได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

มาห์ซูด เป็นผู้นำกลุ่มมูจาฮีดีนที่ปลดแอกประเทศจากการเข้ายึดครองของรัสเซีย ก่อนหน้านั้น คาบูล์เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยม บาร์ ไนท์คลับและเมืองศูนย์กลางแฟชั่นที่หลั่งไหลมาจากประเทศยุโรป เมื่อเกิดสงคราม ชนชั้นนำในยุคนั้นต่างลี้ภัยทางการเมือง หลังจากกลุ่มตาลีบันผงาด คาบูล์จึงกลายเป็นเมืองอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว

ตาลีบัน พยายามสถาปนาอาณาจักรอิสลามบริสุทธิ์ ด้วยการตีความกฏหมายชาริอะห์แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กดดัน ขับไล่ วัฒนธรรมเสรีนิยมด้วยการใช้รถถังเหยียบกระป๋องโค้ก ห้ามใส่กางเกงยีนส์ลีวายส์หรือกินแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงงานศิลปะและดนตรี

ตั้งแต่นั้นมา หญิงชาวอาฟกัน สวมชุดคลุมเบอร์ก้าและปกปิดสรีระ ส่วนผู้ชายสวมหมวกกลมและใส่ชุดคลุมยาว งานบันเทิงชนิดเดียวที่คนอาฟกันจะหาได้มาจากงานแต่งงาน

ปัจจุบัน ตาลีบันถอยร่นไปอยู่ทางใต้ของประเทศและอาฟกานิสถานอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังนานาชาตินาโต้และประธานาธิบดี นายอาหมัด คาไซด์ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกเพื่อต่อสู้กับตาลีบัน

“คาบูล์ไม่ได้เดือดเป็นไฟไปทุกหย่อมหญ้าอย่างที่เห็นใน CNN แถมยังมี Lonely Planet ฉบับอาฟกานิสถานอีกต่างหาก” ยาดายิ้ม
 
 
 
คาบูล์ ยามค่ำ มองเห็นแสงไฟของบ้านเรือนที่อยู่บนภูเขา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)

 

บ้านเรือนกรุงคาบูล์ บนภูเขาช่วงเวลากลางวัน


มัสยิดใหญ่กลางตลาด กลางเมืองคาบูล์


ความสมบูรณ์ของผลไม้และคนขาย อิอิ

คุณลุงขายการ์ดเติมเงิน โพสต์นิ่งๆ นาน 10 นาที ข้างหลังมีหญิงชาวอาฟกันเข้ามาหาซื้อเนื้อ
 
คงไม่ต้องบรรยายสำหรับอาหารค่ำมื้ออร่อย แขวนกันเป็นตัวๆ
 
ร้านของชำในกรุงคาบูล์เต็มไปด้วยธัญพืช มองเห็นได้ทั่วไปในตะวันออกกลาง
 
ตลาดกลางกรุงคาบูล์ มีคนมาช็อปปิ้งมากหน้าหลายตา
 
 
กองกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญหรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในสายตาของนักเสี่ยงโชค ,เกาะกง หมายถึง แหล่งทำเงินขนาดใหญ่..., หากเทพีแห่งโชคเข้าข้าง, เขาหรือเธอ เหล่านั้น...เชื่อว่า หลายคนคงรู้จักเกาะกงในฐานะแหล่งการพนันแหล่งใหญ่ของประเทศกัมพูชา ณ จุดชายแดนไทย จังหวัดตราด ที่ปล่อยให้มีการเปิดบ่อนเสรี จนรัฐบาลไทยหลายๆ รัฐบาลคิดทำตามอย่าง ..แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีรัฐบาลชุดไหนสามารถแหวกม่านความคิดของสังคมไทยออกไปรอดพ้น...ผมไม่ได้ไปเกาะกงในฐานะนักเล่น (เพราะไม่มีฐานะมากพอ 555) แต่ได้ติดสอยห้อยตามเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งไปสังเกตการณ์ทำข้อมูลเรื่องหญิงชาวกัมพูชาในสถานบริการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี, ที่อำเภอคลองสนและอำเภอหาดเล็ก จังหวัดตราด .....เกาะกง จังหวัดเล็กๆ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เปล่า! แม่น้ำสงครามไม่ได้เป็นชื่อที่พ้องกับการสงครามของใคร ..หากโลกใบนี้ได้เพียรสร้างสรรค์ผลงานที่น่าอัศจรรย์...น้ำสงครามมีต้นกำเนิดบนสันภูผาเหล็ก อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ไหลขึ้นไปทางเหนือ ผ่านอำเภอหนองหาน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ก่อนจะย้อนลงมาที่ อำเภอบ้านม่วง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จึงมุ่งหน้าเข้าสู่อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย วกลงอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ทะลักล้นเข้าอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่ไชยบุรี อำเภอท่าอุเทนนับระยะทาง 420 กิโลเมตรและลำน้ำสาขานับร้อยสาย คือ ทุ่งน้ำขนาดกว้างใหญ่ถึง 6 แสนไร่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ นครพนม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ตอนที่ 3 พระธาตุสีขาว หากมานครพนมแล้วไม่ได้ถ่ายภาพพระธาตุพนมคงดูจะกระไรๆ  ..พระธาตุพนมอยู่ภายในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บนภูที่เรียกว่า ภูกำพร้า ริมถนนชยางกูร หมู่บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ที่น่าสนใจ คือ ภายในพระธาตุได้บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้าที่อัญเชิญมาตั้งแต่ พ.ศ.8...รอบบริเวณจะมีตลาดขายสินค้าที่ระลึก อย่างเช่น โปสการ์ด รวมถึงร้านอาหารตามสั่งและสินค้าบุญ อย่างเช่น นก ปลาและเต่า ให้เอาไปปล่อยในสระโบราณกลางพระธาตุผู้ศรัทธาแห่แหนกันมาจากทั่วทุกสารทิศ ก่อนออกพรรษาจะมีการมาทำบุญเพื่อทะนุบำรุงวัดและพระธาตุ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ตอนที่ 2 ท่าอุเทนนครพนม ดินแดนแห่งสายน้ำโขง จังหวัดชายแดนไทยลาวอีกหนึ่งจังหวัดที่สงบเงียบ (สงบเงียบอย่างจริงๆจังๆ) เรียบเรื่อยไปตามริมฝั่งโขงติดกับแขวงคำม่วนที่เพิ่งประกาศนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกับประเทศไทยเพียงไม่นานลาว ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล พยายามปรับตัวเองให้เป็นประเทศเมืองท่าค้าขายและขนส่งสินค้าในระดับภูมิภาค พร้อมตั้งเป้าขยายการเติบโตทางพลังงาน, นครพนม-แขวงคำม่วน จึงกลายเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์การค้า และแผนพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีรูปธรรมนำ คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สายที่ 3 นครพนม-ท่าแขก (สายที่ 1 หนองคาย-เวียงจันทน์, สายที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)...…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ตอนที่ 1 อุ่น อุ่น ที่บ้านแม่สถิตแดดผีตากผ้าอ้อมพาดเฉียงๆ ทำมุมเอียงๆ กับแกนโลกและหลังคาบ้าน ขับเน้นรวงข้าวสุกปลั่ง สมดั่งคำที่ว่า ทุ่งเอ๋ย ทุ่งรวงทอง, นั่นแหละครับ สิ่งที่ผมคิดภาพเอาไว้, เมื่อรุ่นน้องคนหนึ่งชวนผมพร้อมกับยื่นกำหนดการทัวร์บ้านอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรให้ดู“เออ น่าสนว่ะ”“ไปนะพี่ บอกแม่เอาไว้แล้ว” ในความหมายนี้ หมายถึง ความโอบเอื้อแบบอารมณ์คนชนบท...บ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม หนึ่งในเส้นทางของลำน้ำสงคราม ที่ วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง นักเขียนแห่งค่ายนิตยสารสารคดี ให้ความหมายว่า “ป่าชายเลนน้ำจืดของแผ่นดินอิสาน”เราเดินทางไปด้วยกัน 6 ชีวิต จากกรุงเทพฯมหานครผ่านโคราช (…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กัลกัตตาเป็นเมืองหลวงสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (มันยิ้มเห็นลิ้น “คิดว่านะ”)อาคารร้านตลาดหรือ Shopping Center ยังคงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมยุโรป ประเมินได้ว่า นับตั้งแต่คานธีปลดปล่อยอินเดีย “มันก็ยังอยู่อย่างนั้น ทรุดโทรมไปตามเวลาอย่างขาดการดูแล”ยามเช้า “ชั้นตั้งนาฬิกาปลุกออกไปเดินถนนตั้งแต่ 7 โมงเช้า” บนถนนย่านตลาดสด เวลาเหมือนหยุดนิ่ง เงียบสงบ ยามเช้าที่ไหนก็สวยใสอย่างนี้เสมอ ถนนลาดหินเหมือนจัตุรัสกลางในหนังสือวรรณกรรมอังกฤษ“ถนนลาดหินเหมือนฉากหนังหยองขวัญเรื่อง Jack the Ripper มากกว่าว่ะ”อืม .. หน้าโรงแรม ริมถนนตรงข้ามข้างคันโยกน้ำสาธารณะ เด็กน้อยคนนึงกำลังอาบน้ำ สีฟัน “ชั้นพยายามโฟกัส…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรื่องของเรื่อง คือว่า เพื่อนผมไปอินเดีย ดินแดนแห่งโลกอารยธรรมตะวันออก ..มันว่าของมันว่า ภาพสวยมากนะแก ..ผมตาโต ..เท่าไข่นกกระจอกเทศผมเลยถือโอกาสให้มันเล่าเรื่องที่อินเดียให้ฟัง ..“แก ชั้นไปอินเดียมา” มันว่า แถมต่อท้ายอย่างน่าฟัง “นั่นหน่ะ เป็นประเทศที่ชั้นอยากไปเป็นอันดับหนึ่งเชียวนะ”เมืองระดับอารยธรรมเก่าแก่ของโลก เต็มไปด้วยนักพรตในกลิ่นอายของศาสนาฮินดูอย่างในหนังสารคดี โยคีริมฝั่งแม่น้ำคงคา วัดฮินดู อย่างภาพของเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกหรือทัชมาฮาล อย่างในภาพทัวร์ท่องเที่ยว (อันหลังนี่ผมนึกภาพเอาเอง อิอิ)หลังจากที่เครื่องลงจอดเมืองกัลกัตตา สนามบินแห่งนั้นดูทรุดโทรม ที่น่าสังเกต “…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ท้องฟ้าและท้องน้ำดูจะละลายตัวเข้าหากัน หากไม่มีอ่าวริมน้ำแห่งนั้นขวางกั้นเอาไว้ ...ปลายสุดของสะพานฝั่งมอญ หมู่บ้านคนมอญสงบงัน ไร้เสียง เหมือนชีวิตของพวกเค้า ...\พี่เย็นเกิดที่เมืองไทย พ่อแม่มาจากฝั่งโน้น(ฝั่งพม่า) ถือบัตรสีชมพู (ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า) ก่อนจะแปลงสัญชาติเพิ่งได้สัญชาติไทยมาหนึ่งปี ส่วนสามีไม่มีบัตรอะไรทางอำเภอได้เข้ามาสำรวจแล้วแต่ยังไม่ได้ถ่ายบัตร ตอนนี้ถือหางบัตรพี่เย็นมีลูก 2 คน ชายหนึ่งคน หญิงหนึ่งคน เรียนที่โรงเรียนบ้านเด็กป่าลูกชายมีสูจิบัตรและได้รับสัญชาติไทยพร้อมแม่ ส่วนลูกสาวแจ้งเกินกำหนดไป 2…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ง่ายๆ เราเจอกันที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อ ..อาสาสมัครสอนหนังสือเด็กในชุมชน กลางเมืองหลวง..กับครูปู่ กลุ่มซ.โซ่อาสา (รู้จักครูปู่และกลุ่มซ.โซ่อาสา www.volunteerspirit.org)ผมนัดกับนุ้งนิ้งเพื่อขอเข้าไปถ่ายรูป อาสาสมัครและเด็กๆ กลางเมืองหลวงในชุมชนตึกแดง ..ถามคนแถวนั้นว่าทำไมต้องตึกแดง ง่ายๆ อีกเหมือนกันครับว่า เมื่อก่อนตึกแถวนี้ทาสีแดง คนเลยเรียกติดปากว่าย่านตึกแดง ...แล้วทำไมต้องทาสีแดง อันนี้ไม่ได้ถามครับ ?จากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อ เรา อาสาสมัครต้องนั่งรถสามล้อเครื่องเข้าไปถึงหน้าชุมชนแล้วเดินต่อเข้าไปอีกหน่อย ..ทางเดินแคบๆ นำเราไปยังลานโพธิ์มีเด็กๆ มากกว่า 50 คน รอให้เราเข้าไปสอน...…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หลายเสียงเล่าว่า สถานการณ์ในพม่ากำลังเข้าสู่ภาวะปกติ(เพราะกลัวตาย)ขณะแนวร่วมทั่วโลกกำลังหยุดส่งเสียง ปล่อยเป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลและการเมืองระดับภูมิภาคหรือระดับโลกเจรจากดดันกันไปดูรายการชีพจรโลกของคุณสุทธิชัย หยุ่น นั่งคุยกับอุปทูตอเมริกา จีนและอังกฤษ ที่ต่างสงวนท่าทีต่อการแทรกแซงกิจการภายในหรือใช้มาตรการเด็ดขาดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่า โดยเฉพาะท่าทีของอุปทูตจีนที่ระล่ำระลักพูดออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจนประมาณว่า ทางการจีนคงจะไม่ทำอะไรอีกต่อไปเพราะเราเชื่อมั่นในพลังประชาชน และไม่คิดว่าการแทรกแซงจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้รักประชาธิปไตย…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เช้า,เย็น,ค่ำ หน้าสถานทูตพม่า ,สองวันนั้น วิญญาณแห่งเสรีภาพร่ำไห้ออกมาเป็นเสียงfree free free ,free Burma..ด้วยความหวังว่า เสียงแห่งเสรีภาพจะดังก้องไปทั่วโลก ผ่านเวทย์มนต์ของเทคโนโลยีการสื่อสารผิวถนนระอุด้วยไอแดด เหงื่อไคลของเด็กชายไหลลงมาตามผิวหน้า ในตาลุกวาวทุกครั้งที่มีการตะโกนปลุกเร้าว่า “free free free ,free burma” …ชูกำปั้นขึ้นฟ้าให้สุดแขนแล้วตะโกนออกมาดังๆ... free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma … free free free, free Burma …ผ้าสีแดงโพกศีรษะ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา พอที่จะกล่าวหาว่า สังคมไทยเป็นสังคมพุทธแบบไหนนักเดินทางหลายคนที่เคยไปเมืองสังขละบุรี ดินแดน 3 น้ำ ริมชายแดนไทย-พม่าด้านตะวันตก คงจะรู้ว่า หากเราข้ามสะพานไปอีกฝั่งน้ำ ชุมชนคนมอญเคลื่อนไหวในโอบอ้อมของขุนเขา ผืนป่าและผืนน้ำ ตรงจุดที่เรียกว่า สามประสบ แหล่งทำกินของชาวน้ำและแหล่งทำเงินของนักลงทุนเรือแพดารดาษราวเกาะแก่งน้อยใหญ่ เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้ลิ้มลองสัมผัสกับบรรยากาศแปลกใหม่ คนมอญผู้หาปลาเป็นอาชีพ ไม่ได้ลิ้มรสเนื้อปลาที่ตัวเองหามาได้แต่ถูกแลกเปลี่ยนเป็นเงินบนเรือแพหรือรีสอร์ทหรูริมน้ำแห่งนั้น เลยจากจุดที่ตั้งชุมชนออกไประยะชั่วหม้อข้าวเดือด คือ…