08.00 น. ของวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2552 เสียงระเบิดดังสนั่นใจกลางเมืองคาบูล์ ไกลออกไป 3 กิโลเมตร กระจกโรงแรมแคปิตอล อินน์ เขย่าประหนึ่งว่าจะแตกร้าวเสียตรงนั้น ทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง คนหนึ่ง หมอบกับพื้นห้องน้ำ อีกส่วนหนึ่งวิ่งขึ้นดาดฟ้าโรงแรม มองเห็น ควันไฟบริเวณสำนักงานใหญ่กองกำลังนานาชาติ นาโต้ ประจำอาฟกานิสถาน พวยพุ่งสู่ท้องฟ้า
ผลจาก Suicide Bomb ครั้งนี้ ดังไปทั่วโลกด้วยตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 91 คน เสียชีวิตจำนวน 7 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มตาลีบัน ประกาศถึงการล้มการเลือกตั้งใหญ่ครั้งนี้ที่ชาวอาฟกันทุกคนคาดหวัง
...
ตาลีบัน มาจากคำว่า ตาลิบ แปลว่า นักเรียนศาสนา
จยิฮาด แปลว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์
มูจาฮีดีน แปลว่า นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์
อัลกอร์อิดะห์ แปลว่า รากฐาน
ชาวอาฟกันมักคุ้นกับคำศัพท์เหล่านี้ ชินชา ธรรมดาและเข้าถึง ขณะที่ชาวตะวันตกรวบศัพท์เหล่านี้เอาไว้ในกลุ่มของคำว่า ‘ก่อการร้าย’
...
“สนามบินคาบูล์เป็นอะไรที่ยากลำบากมากสำหรับชั้น” ยาดากล่าว
เธอบอกว่า กว่าจะเดินมาขึ้นรถต้องใช้เวลามากและไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อนและอ้าวอย่างไม่ต้องบรรยาย คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นบินเป็นชาวต่างชาติ ชาวอาฟกันมีประปราย คนที่นั่นจะบินได้ต้องมีฐานะอยู่ในชั้นที่เรียกว่า เศรษฐี ,ผู้หญิงในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ คลุมผ้า ใส่รองเท้าส้นสูง เดินลากกระเป๋า ถือว่าเป็นเรื่องแปลกถึงแปลกที่สุด
“ส่วนใหญ่จะคลุมเบอร์ก้า ปกปิดสรีระทุกส่วนสัด” ยาดาเล่าต่อไปว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้ากรุงคาบูล์จะต้องถือบัตรผ่านแดนตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
ระหว่างเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ที่มีหน้าที่จะต้องเขียนชื่อของยาดาลงในบัตร ด้วยความหวั่นเกรงว่า ‘เขา’ อาจจะเขียนนามสกุลของเธอผิด ยาดาใช้นิ้วจิ้มลงไปที่บัตรแล้วบอกว่า ‘อันนี้เขียนผิด’ ทันทีนั้น ‘เขา’ แหงะหน้ามามองยาดาตรงๆ ก่อนยกมือห้าม ส่งภาษาผ่านใบหน้าว่า ‘ขอโทษ กรุณายืนห่างๆ ครับ’
“ชั้น คิดว่า เขากำลังเหยียดความเป็นผู้หญิงของชั้น” ยาดาทำหน้าหมั่นไส้ออกมาตรงๆ
“ชั้นรู้สึกอึดอัดในความเป็นผู้หญิงตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างเข้ากรุงคาบูล์” ถึงที่สุด เธอเผยออกมาอย่างจริงใจว่า ‘ยังไงเสียก็คงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอีกซีกโลก’
...
คาบูล์ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินทราย คาบูล์ รีเวอร์ ไหลผ่าเมืองหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองหลวงของประเทศมายาวนาน อาฟกานิสถาน ไม่ได้แห้งแล้งอย่างภาพ ทุกแห่งเต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สายน้ำหลายสาย องุ่น แตงโมและผักสวนครัว
“แตงโมที่นั่นหวานฉ่ำ” ยาดาเน้นเสียงฉ่ำ
นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ คาบูล์เต็มไปด้วยเครื่องบินรบ คอปเตอร์สงครามแบล็ค ฮอว์ค รถยีเอ็มซี กองกำลังนาโต้ อาฟกันอาร์มี่ ปืนและระเบิด ชาวอาฟกัน คุ้นเคย ชินชาและเข้าถึง สำหรับใครบางคน การมีชีวิตอยู่กับสงครามมามากกว่า 40 ปี คงไม่มีอะไรเลวร้ายอีกแล้ว
“สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน กับ สิทธิและเสรีภาพ”
ยาดาเล่า
...
ประวัติศาสตร์อาฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับสงครามและถูกเขียนเป็นหนังสือเล่มหนา นับจากยุคอเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงกลุ่มมูจาฮีดีน คนอาฟกันรักผู้นำกลุ่มที่ชื่อมาห์ซูด
“เขา คือ เช กูวารา แห่งอาฟกานิสถาน” ยาดาเปรียบเทียบในอารมณ์จริงจัง
คนอาฟกันจะติดรูปมาห์ซูดเอาไว้ในอาคารบ้านเรือน (เป็นรูปที่มีทุกบ้าน) บิลล์ บอร์ด บนยอดตึกและรถโดยสารด้วยความศรัทธา เขาถูกลอบสังหารจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอัลไกดา ของ บิน ลาเดน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบัน ต่อมาไม่นาน มาห์ซูดได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
มาห์ซูด เป็นผู้นำกลุ่มมูจาฮีดีนที่ปลดแอกประเทศจากการเข้ายึดครองของรัสเซีย ก่อนหน้านั้น คาบูล์เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยม บาร์ ไนท์คลับและเมืองศูนย์กลางแฟชั่นที่หลั่งไหลมาจากประเทศยุโรป เมื่อเกิดสงคราม ชนชั้นนำในยุคนั้นต่างลี้ภัยทางการเมือง หลังจากกลุ่มตาลีบันผงาด คาบูล์จึงกลายเป็นเมืองอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว
ตาลีบัน พยายามสถาปนาอาณาจักรอิสลามบริสุทธิ์ ด้วยการตีความกฏหมายชาริอะห์แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กดดัน ขับไล่ วัฒนธรรมเสรีนิยมด้วยการใช้รถถังเหยียบกระป๋องโค้ก ห้ามใส่กางเกงยีนส์ลีวายส์หรือกินแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงงานศิลปะและดนตรี
ตั้งแต่นั้นมา หญิงชาวอาฟกัน สวมชุดคลุมเบอร์ก้าและปกปิดสรีระ ส่วนผู้ชายสวมหมวกกลมและใส่ชุดคลุมยาว งานบันเทิงชนิดเดียวที่คนอาฟกันจะหาได้มาจากงานแต่งงาน
ปัจจุบัน ตาลีบันถอยร่นไปอยู่ทางใต้ของประเทศและอาฟกานิสถานอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังนานาชาตินาโต้และประธานาธิบดี นายอาหมัด คาไซด์ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกเพื่อต่อสู้กับตาลีบัน
“คาบูล์ไม่ได้เดือดเป็นไฟไปทุกหย่อมหญ้าอย่างที่เห็นใน CNN แถมยังมี Lonely Planet ฉบับอาฟกานิสถานอีกต่างหาก” ยาดายิ้ม
คาบูล์ ยามค่ำ มองเห็นแสงไฟของบ้านเรือนที่อยู่บนภูเขา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
บ้านเรือนกรุงคาบูล์ บนภูเขาช่วงเวลากลางวัน
มัสยิดใหญ่กลางตลาด กลางเมืองคาบูล์
ความสมบูรณ์ของผลไม้และคนขาย อิอิ
คุณลุงขายการ์ดเติมเงิน โพสต์นิ่งๆ นาน 10 นาที ข้างหลังมีหญิงชาวอาฟกันเข้ามาหาซื้อเนื้อ
คงไม่ต้องบรรยายสำหรับอาหารค่ำมื้ออร่อย แขวนกันเป็นตัวๆ
ร้านของชำในกรุงคาบูล์เต็มไปด้วยธัญพืช มองเห็นได้ทั่วไปในตะวันออกกลาง
ตลาดกลางกรุงคาบูล์ มีคนมาช็อปปิ้งมากหน้าหลายตา
กองกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญหรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน
บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หากไม่เชื่อ ลองถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ปู่ย่าตาทวด ก็ได้ว่า “ท่านเกิดมาจากน้ำมือของใคร”ร้อยทั้งร้อย ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “หมอตำแย”ยายคำ อายุ 77 ปี เป็นชาวไทใหญ่ แกเป็นหมอตำแยมาตั้งแต่รุ่นสาวหรือที่เรียกกันว่า ‘แม่เก็บ’ ในภาษาไทใหญ่ ปัจจุบัน ยายคำอาศัยอยู่ที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แข็งแรงและมีรอยยิ้มอยู่เสมอ...ยายคำเป็นหญิงชราที่ดูอารมณ์ดีที่สุดในโลก แววตาอ่อนโยน ไม่แข็งกร้าวแต่จัดเจนและเข้าใจชีวิต ผม
กดำและพูดจาฉะฉาน ไม่หลงๆลืมๆ เหมือนกับคนเฒ่าในวัยเดียวกันชวนให้คิดถึงคำพูดที่ว่า หนุ่มแก่อยู่ข้างในหัวใจหลังการแต่งงาน ยายคำกับสามีชื่อนายหม่องคนกะเหรี่ยง…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใครเคย เล่น (อี) มอญซ่อนผ้าบ้าง ..? หากเจอคำถามนี้แล้วคุณยกมือ แสดงว่า อายุของคุณไม่ควรจะต่ำกว่า 35 UP … ha H a a a a,ย้อนความจำกันนิด การละเล่นชนิดนี้ใช้ผู้เล่นกี่คนก็ได้แล้วแต่ถนัดและจำนวนของกลุ่มเพื่อน เลือกผู้เล่นขึ้นมาเพื่อเป็นตัววิ่ง 1 คน (อันนี้จะด้วยวิธีการใดใดก็ได้ รุ่นผมใช้โอน้อยออก) ตัววิ่งจะกุมผ้าเช็ดหน้าเอาไว้ในมือให้มิดชิด ก่อนจะเดินรอบวง เมื่อเดินพอหอบ ตัววิ่งจะอาศัยช่วงจังหวะเวลาและโอกาสเข้าทำ ด้วยการแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ซึ่งระหว่างที่ตัววิ่งเดินรอบวง ผู้เล่นภายในวงจะร้องเป็นทำนองว่า “(อี) มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ใครนั่งไม่ระวัง ฉันจะตีก้นเธอ”…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ฆูณุงจไร เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยใหม่ เชื่อว่า เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของเผ่าพันธุ์ตน กล่าวกันว่า ถึงแม้ ชาวอูรักลาโว้ยจะเดินทางท่องไปในทะเลกว้าง จากอันดามันจรดช่องแคบมะละกา ไม่มีหลักแหล่งแห่งที่ที่แน่นอน แต่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ฆูณุงจไรได้เชื่อมเอาดวงวิญญาณแห่งความถวิลถึงกันและกันเอาไว้ ฆูณุงจไร ในความหมายนี้ คือ ยอดเขาบนเกาะแห่งหนึ่งในรัฐเคดาห์หรือเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกลจากท้องทะเล ก่อนจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานบนดินแห้งในแถบอันดามัน หลังการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลาม...โดยเฉพาะบนเกาะลันตาที่เคยได้ชื่อว่า เมืองหลวงของชาวน้ำน้ำทะเลแหวกเป็นสายเมื่อ Speed Boat ขนาดบรรทุก…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชื่อกันว่า ช่วงเวลาระหว่าง 200-500 ปี ชาวไทยใหม่อูรักลาโว้ยหรือโอรังละอุตจากดินแดนฆูณุงจไร เดินทางมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะลันตา จนหลายสิบปีต่อมา เมื่อคนจากแผ่นดินใหญ่หลั่งไหลมาถึง พร้อมเปิดศักราชใหม่ของการท่องเที่ยว เกาะลันตาที่เคยสงบสันโดษกลับกลายเป็นดินแดนแห่งสีสัน...เฉดสีต่างๆ ถูกละเลงโดยนักแสวงสุขมากหน้า...ท้องฟ้าสีฟ้าเบื้องหน้าหัวเรือข้ามเกาะดูเจิดจ้า จากท่าเรือคลองจิหลาด จ.กระบี่ ข้ามไปเกาะลันตาถึงท่าศาลาด่านใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ในอัตรา 350 บาท/หัว ภายใต้ท้องฟ้าและผืนน้ำสีเขียวคราม หลายคนรวมทั้งผมและเพื่อนนับสิบ ตัดสินใจไปละเลงชีวิตช่วงปีใหม่ที่เกาะลันตา...…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนมาจากไหน ?8 พ.ย. 50 คนมากกว่า เก้าพันสามร้อยสามสิบเจ็ดคน เดินขึ้นภูกระดึง ภายในวันเดียวอะไรทำให้คนมากมายมาภูกระดึง นโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวของรัฐบาล ,แรงประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ,หนังสืออสท. ,ปากต่อปากถึงมนต์ขลังที่มิอาจจะปฏิเสธ ,ความยากลำบากของการเป็นหนึ่งในผู้พิชิต ,หรืออาการเริ่มแรกของโรคเบื่อการเมืองผมไม่รู้และไม่คิดอยากจะรู้ เพียงแต่การจัดอันดับ 10 อุทยานยอดนิยมของหนังสือท่องเที่ยว Trip ปลายปี 50 ภูกระดึงเป็นอุทยานที่มีนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง...ว่ากันว่า 300 ล้านปีก่อน พื้นที่บริเวณโดยรอบภูกระดึงเคยเป็นทะเลมาก่อน จน 250 ล้านปีต่อมา…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อุทยานแห่งชาติ ไม่ได้หมายถึง แหล่งนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้นการท่องเที่ยวอุทยาน คือ การสัมผัสถึงการมีอยู่ของแต่ละชีวิตในธรรมชาติ เผ่าพันธ์ร่วมโลก เพื่อทำความรู้จัก เข้าถึงและอยู่ร่วมกันโดยเบียดเบียนกันให้น้อยที่สุดภูกระดึง จึงกลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ไม่ต้องการยานพาหนะและกระเช้าไฟฟ้า แม้ว่าจะพอมีร้านเช่า Mountain bike สนองอารมณ์นักแคมป์ปิงในอัตราวันละ 350 บาท ก็ตามเพราะฉะนั้น สำหรับภูกระดึง การเดินด้วยเท้าจึงเป็นเรื่องง่ายและดีที่สุด... ยามเช้า อากาศสดใส แดดหน้าหนาวตกกระทบลงบนกิ่งสน เกิดเป็นแฉกฉูดฉาด อาบไล้ ปลุกเร้าให้นักแคมป์ปิงออกมาค้นหาเรื่องราวตามจุดท่องเที่ยวต่างๆ กวางตัวใหญ่…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมไม่ได้ปีนภูกระดึงในฐานะผู้พิชิต !หากเป็นเรื่องของข้างในที่เรียกร้องผัสสะดิบเถื่อนในธรรมชาติและการมองโลกในมุม 180 องศา การเดินด้วย 2 เท้าและเรียกร้องให้เหงื่อออกจากรูขุมขน,ตอกย้ำความคิดที่ว่า จริงๆ เราเป็นเพียงละอองธุลีของจักรวาลอิอิ“แหวะ เว่อร์ร์ร์ร์ร์ หวะ เพ่” รุ่นน้องคนหนึ่งลากเสียงยาว..หากใครคิดว่า การเดินขึ้นภูกระดึง ถึงหลังแปแล้วจะได้ผ่อนลมหายใจ ละลายความเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วละก็ เป็นอันว่าคุณคิดผิดถนัด เพราะจากหลังแปนักเดินทนผู้พยายามพิชิตภูกระดึงจะต้องเดินเท้าต่อไปอีกร่วม 3 กิโลเมตร ทันทีที่คุณเข้าสู่เขตศูนย์บริการวังกวาง (เมื่อก่อนพื้นที่เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของนานาสัตว์…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดูเหมือนว่า ภูกระดึงจะเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ใครๆ หลายคน คิดว่าอยากจะไปเยือนสักครั้งการเดินทาง เป็นเรื่องของการตัดใจ หากทำได้เพียงแต่คิด ทุกสิ่งคงเป็นได้เพียงแค่หมอกควันของอารมณ์ชั่วคราวที่ค่อยๆ บรรเทาเบาบางก่อนจะจางหายไปในที่สุดแต่นั่นแหละกล่าวกันว่า การอ่านเป็นการเดินทางที่ง่ายและถูกที่สุดอย่างน้อยผมก็เชื่อเช่นนั้น…จากหมอชิตเดินทางถึงผานกเค้าในเช้าวันใหม่ ท้องฟ้าเริ่มสาง ไม่ต้องเป็นกังวลหรือหวาดหวั่น เราจะได้พบเพื่อนร่วมทางมากมาย กลุ่มนักศึกษากลุ่มใหญ่ เจี๊ยวจ๊าวเต็มคันรถ บันทึกถ่ายทำวีดีโอไปตลอดการเดินทาง กระทั่งพนักงานต้อนรับคนงามต้องบอกว่า“…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
วันหยุดยาวปีใหม่ เรียกร้องให้คนส่วนใหญ่ ออกเดินทาง ,ท่องเที่ยว ละเลงความมันส์ออกมาจนหยดสุดท้ายหรือกลับไปอยู่กับครอบครัวอันอบอุ่น ..คำอวยพร ..การ์ดและกล่องของขวัญ ,ทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ๆ ต่างใจจดจ่ออยากจะได้รับ .....เราต่างรอคอย ,ความหวัง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..ผมพยายาม ถ่ายภาพ Panorama ,2 เฟรม 3 เฟรม ..ก่อนอื่นตั้งโจทย์ในใจว่าจะเก็บมุมใดบ้าง ,ด้วยการมองวิวนานกว่า 5 นาที ...ภาพวิว ดูแล้วเหมือนกับภาพที่หาได้ทั่วไป ..ซ้ำๆ แต่เหมาะสำหรับฝึกฝนการถ่ายภาพ(อย่างน้อย ใครคนหนึ่ง ว่าเอาไว้อย่างนั้น)การถ่าย panor ต้องเริ่มด้วยการจัดองค์ประกอบภาพ ..ให้ได้ทุกอย่างครบตามที่คิด..คะเนเอาตามประสบการณ์ ว่าจะต้องถ่ายกี่ช็อต ..หามุมให้ลงตัวกับการเหลื่อมซ้อนของภาพ ก่อนนำมาปะติดปะต่อ ..จุดสำคัญต้องได้แสงสีที่กลมกลืนกันพอดีดังนั้น จึงต้องมีพื้นฐานของการตั้งค่าแสง อย่างสมเหตุผล ..กล่าวกันว่า การถ่ายภาพ panor ไม่มีสูตรตายตัว…