08.00 น. ของวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2552 เสียงระเบิดดังสนั่นใจกลางเมืองคาบูล์ ไกลออกไป 3 กิโลเมตร กระจกโรงแรมแคปิตอล อินน์ เขย่าประหนึ่งว่าจะแตกร้าวเสียตรงนั้น ทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง คนหนึ่ง หมอบกับพื้นห้องน้ำ อีกส่วนหนึ่งวิ่งขึ้นดาดฟ้าโรงแรม มองเห็น ควันไฟบริเวณสำนักงานใหญ่กองกำลังนานาชาติ นาโต้ ประจำอาฟกานิสถาน พวยพุ่งสู่ท้องฟ้า
ผลจาก Suicide Bomb ครั้งนี้ ดังไปทั่วโลกด้วยตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 91 คน เสียชีวิตจำนวน 7 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มตาลีบัน ประกาศถึงการล้มการเลือกตั้งใหญ่ครั้งนี้ที่ชาวอาฟกันทุกคนคาดหวัง
...
ตาลีบัน มาจากคำว่า ตาลิบ แปลว่า นักเรียนศาสนา
จยิฮาด แปลว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์
มูจาฮีดีน แปลว่า นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์
อัลกอร์อิดะห์ แปลว่า รากฐาน
ชาวอาฟกันมักคุ้นกับคำศัพท์เหล่านี้ ชินชา ธรรมดาและเข้าถึง ขณะที่ชาวตะวันตกรวบศัพท์เหล่านี้เอาไว้ในกลุ่มของคำว่า ‘ก่อการร้าย’
...
“สนามบินคาบูล์เป็นอะไรที่ยากลำบากมากสำหรับชั้น” ยาดากล่าว
เธอบอกว่า กว่าจะเดินมาขึ้นรถต้องใช้เวลามากและไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อนและอ้าวอย่างไม่ต้องบรรยาย คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นบินเป็นชาวต่างชาติ ชาวอาฟกันมีประปราย คนที่นั่นจะบินได้ต้องมีฐานะอยู่ในชั้นที่เรียกว่า เศรษฐี ,ผู้หญิงในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ คลุมผ้า ใส่รองเท้าส้นสูง เดินลากกระเป๋า ถือว่าเป็นเรื่องแปลกถึงแปลกที่สุด
“ส่วนใหญ่จะคลุมเบอร์ก้า ปกปิดสรีระทุกส่วนสัด” ยาดาเล่าต่อไปว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้ากรุงคาบูล์จะต้องถือบัตรผ่านแดนตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
ระหว่างเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ที่มีหน้าที่จะต้องเขียนชื่อของยาดาลงในบัตร ด้วยความหวั่นเกรงว่า ‘เขา’ อาจจะเขียนนามสกุลของเธอผิด ยาดาใช้นิ้วจิ้มลงไปที่บัตรแล้วบอกว่า ‘อันนี้เขียนผิด’ ทันทีนั้น ‘เขา’ แหงะหน้ามามองยาดาตรงๆ ก่อนยกมือห้าม ส่งภาษาผ่านใบหน้าว่า ‘ขอโทษ กรุณายืนห่างๆ ครับ’
“ชั้น คิดว่า เขากำลังเหยียดความเป็นผู้หญิงของชั้น” ยาดาทำหน้าหมั่นไส้ออกมาตรงๆ
“ชั้นรู้สึกอึดอัดในความเป็นผู้หญิงตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างเข้ากรุงคาบูล์” ถึงที่สุด เธอเผยออกมาอย่างจริงใจว่า ‘ยังไงเสียก็คงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอีกซีกโลก’
...
คาบูล์ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินทราย คาบูล์ รีเวอร์ ไหลผ่าเมืองหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองหลวงของประเทศมายาวนาน อาฟกานิสถาน ไม่ได้แห้งแล้งอย่างภาพ ทุกแห่งเต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สายน้ำหลายสาย องุ่น แตงโมและผักสวนครัว
“แตงโมที่นั่นหวานฉ่ำ” ยาดาเน้นเสียงฉ่ำ
นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ คาบูล์เต็มไปด้วยเครื่องบินรบ คอปเตอร์สงครามแบล็ค ฮอว์ค รถยีเอ็มซี กองกำลังนาโต้ อาฟกันอาร์มี่ ปืนและระเบิด ชาวอาฟกัน คุ้นเคย ชินชาและเข้าถึง สำหรับใครบางคน การมีชีวิตอยู่กับสงครามมามากกว่า 40 ปี คงไม่มีอะไรเลวร้ายอีกแล้ว
“สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน กับ สิทธิและเสรีภาพ”
ยาดาเล่า
...
ประวัติศาสตร์อาฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับสงครามและถูกเขียนเป็นหนังสือเล่มหนา นับจากยุคอเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงกลุ่มมูจาฮีดีน คนอาฟกันรักผู้นำกลุ่มที่ชื่อมาห์ซูด
“เขา คือ เช กูวารา แห่งอาฟกานิสถาน” ยาดาเปรียบเทียบในอารมณ์จริงจัง
คนอาฟกันจะติดรูปมาห์ซูดเอาไว้ในอาคารบ้านเรือน (เป็นรูปที่มีทุกบ้าน) บิลล์ บอร์ด บนยอดตึกและรถโดยสารด้วยความศรัทธา เขาถูกลอบสังหารจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอัลไกดา ของ บิน ลาเดน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบัน ต่อมาไม่นาน มาห์ซูดได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
มาห์ซูด เป็นผู้นำกลุ่มมูจาฮีดีนที่ปลดแอกประเทศจากการเข้ายึดครองของรัสเซีย ก่อนหน้านั้น คาบูล์เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยม บาร์ ไนท์คลับและเมืองศูนย์กลางแฟชั่นที่หลั่งไหลมาจากประเทศยุโรป เมื่อเกิดสงคราม ชนชั้นนำในยุคนั้นต่างลี้ภัยทางการเมือง หลังจากกลุ่มตาลีบันผงาด คาบูล์จึงกลายเป็นเมืองอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว
ตาลีบัน พยายามสถาปนาอาณาจักรอิสลามบริสุทธิ์ ด้วยการตีความกฏหมายชาริอะห์แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กดดัน ขับไล่ วัฒนธรรมเสรีนิยมด้วยการใช้รถถังเหยียบกระป๋องโค้ก ห้ามใส่กางเกงยีนส์ลีวายส์หรือกินแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงงานศิลปะและดนตรี
ตั้งแต่นั้นมา หญิงชาวอาฟกัน สวมชุดคลุมเบอร์ก้าและปกปิดสรีระ ส่วนผู้ชายสวมหมวกกลมและใส่ชุดคลุมยาว งานบันเทิงชนิดเดียวที่คนอาฟกันจะหาได้มาจากงานแต่งงาน
ปัจจุบัน ตาลีบันถอยร่นไปอยู่ทางใต้ของประเทศและอาฟกานิสถานอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังนานาชาตินาโต้และประธานาธิบดี นายอาหมัด คาไซด์ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกเพื่อต่อสู้กับตาลีบัน
“คาบูล์ไม่ได้เดือดเป็นไฟไปทุกหย่อมหญ้าอย่างที่เห็นใน CNN แถมยังมี Lonely Planet ฉบับอาฟกานิสถานอีกต่างหาก” ยาดายิ้ม
คาบูล์ ยามค่ำ มองเห็นแสงไฟของบ้านเรือนที่อยู่บนภูเขา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
บ้านเรือนกรุงคาบูล์ บนภูเขาช่วงเวลากลางวัน
มัสยิดใหญ่กลางตลาด กลางเมืองคาบูล์
ความสมบูรณ์ของผลไม้และคนขาย อิอิ
คุณลุงขายการ์ดเติมเงิน โพสต์นิ่งๆ นาน 10 นาที ข้างหลังมีหญิงชาวอาฟกันเข้ามาหาซื้อเนื้อ
คงไม่ต้องบรรยายสำหรับอาหารค่ำมื้ออร่อย แขวนกันเป็นตัวๆ
ร้านของชำในกรุงคาบูล์เต็มไปด้วยธัญพืช มองเห็นได้ทั่วไปในตะวันออกกลาง
ตลาดกลางกรุงคาบูล์ มีคนมาช็อปปิ้งมากหน้าหลายตา
กองกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญหรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน
บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
นานหลายเดือนที่ผมกับยาดาวางแผนการเดินทางไปเวียดนาม ความจริงก็คือ เรามาเร่งหาข้อมูลเอาโค้งสุดท้ายก่อนจะถึงกำหนดเดินทางเพียงอาทิตย์เดียว ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเข้าสู่เวียดนามมาจากหลายทาง ทั้งจากเพื่อนที่เคยไปและไม่เคยไป (แต่มีคนรู้จักหรือมีเพื่อนเคยไป) ทั้งจากหนังสือและเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศรวมถึงโลนลี่ พลาเน็ต ฉบับเวียดนาม ที่ลงทุนไปหาซื้อมาตั้งแต่ 6 เดือน ก่อนวันออกเดินทาง (16 วัน ระหว่างวันที่ 3-18 เมษายน 51)ทำไมถึงเวียดนาม อย่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย คือ อยากไปว่ะ!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
...เรือเล็กทะยานออกจากบ้านท่าตาฝั่ง แหวกสายน้ำเห็นเป็นแนวตามความเร็วของเครื่องยนต์ นกนางแอ่นหางลวดโผตัวอยู่เหนือผิวน้ำสีแดงขุ่น เดือนพฤษภาคม น้ำสาละวินจะเป็นสีแดงขุ่น เป็นไปตามระบบธรรมชาติของแม่น้ำสาละวินที่ถูกยกให้เป็นพื้นที่ของความหลากหลายโลกทั้งในแง่ของชีววิทยาและแง่งามทางวัฒนธรรมแม่น้ำสาละวินเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตสองฟากฝั่งน้ำมาอย่างยาวนาน ยาวนานมากพอที่จะสร้างสรรค์รูปแบบทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับระบบทางนิเวศน์วิทยาชนเผ่าโบราณใช้สายน้ำสาละวินเป็นเส้นทางสัญจรติดต่อทำมาค้าขายกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตอันรุ่งเรือง ตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนโบราณ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..........‘พวกเรา’ มาถึงหมู่บ้านแม่สามแลบก่อนเที่ยงเล็กน้อยหลังจากที่ต้องผจญกับโค้งนับร้อยโค้งตลอดคืนบนเส้นทางจากกรุงเทพฯถึงตัวอำเภอแม่สะเรียงและจากตัวอำเภอแม่สะเรียงถึงหมู่บ้านแม่สามแลบ ระยะทางที่เหลือ คือ ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยฝุ่นสีแดงและคันดินระหว่างหน้าผาที่ถล่มเป็นโพรงลึกตลอดเส้นทางจุดหมายของการเดินทาง คือ งานพิธีบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวงของเรา’ งานบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ (6-9 พ.ค. 51) ถูกจัดขึ้น 2 จุด จุดแรก คือ หมู่บ้านท่าตาฝั่ง จุดที่2 คือ หมู่บ้านแม่ดึ๊ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน การเดินทางไปยังจุดบวชป่าทั้ง 2 จุด จะต้องโดยสารเรือ จากหมู่บ้านแม่สามแลบ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ยามสายวันอาทิตย์ วันหยุดพักผ่อน สำหรับกลุ่มซ.โซ่อาสา กลุ่มอาสาสมัครจะมาสอนเด็กๆ ริมถนนราชดำเนิน ด้านข้างโรงแรมรัตนโกสินทร์......แผ่นกระดาษสีขาวโจทย์บวกลบเลขอย่างง่ายกับโยงคำผิดภาษาไทยได้รับการแจกจ่ายให้เด็กๆ ลูกๆ แม่ค้าพ่อค้าบริเวณนั้นได้ฝึกหัด ...โดยมีอาสาสมัคร กลุ่มซ.โซ่ อาสา เป็นพี่เลี้ยงคอยฝึกสอน...เรียนเล่นและรอยยิ้มสนุกสนานกับขนมนมเนยเล็กๆ น้อยๆ ...ซ.โซ่ อาสา เป็นกลุ่มอาสาสมัครมีมาร่วมกันโดยไม่รู้จักกันมาก่อน เจอเพื่อนใหม่และทำความรู้จักกับกลุ่มครูปู่ http://blogazine.prachatai.com/user/ginnagan/post/101
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1ตี 5 ครึ่งของวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2549 ท้องฟ้ากำลังจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว ชาวจิตอาสา (เกือบ) 20 ชีวิต นัดรวมพลกันหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บทเริ่มต้นของการเดินทางรวมใจสร้างห้องสมุดดิน (25-27 ส.ค.49) กับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง คนกวาดถนน รถเก็บขยะและแม่ค้าขายผัก นักเรียน พนักงานห้างและพนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์และนักการเมือง คือ ลมหายใจของกรุงเทพฯ (มหานครของเรา) กับการเริ่มต้นของชีวิตอีกครั้ง ผมไปถึงที่นัดหมาย 06.00 น. (ฮา)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไม่มีของฟรีในโลก ออกจะเป็นวลีที่คุ้นเคยสำหรับคนในโลกยุคนี้ ยิ่งสถานการณ์ราคาน้ำมันแตะเพดานที่ 35 บาท (คาดการณ์ว่าน่าจะเร็วๆ นี้) ทำให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ ขสมก. เรือคลองแสนแสบ เรียกว่า ขนส่งมวลชนแทบทุกประเภท ขยับแข้งขาขอขึ้นราคาค่าตัวกันถ้วนหน้ายุคข้าวยากหมากแพง คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการให้งานการให้ในสวน สวนกระแสคำพูดข้างต้น .....ดอกไม้งามในสวนแห่งการให้ถูกจัดขึ้นบริเวณอุทยานเบญจสิริ ภายใต้นิยามที่ว่า “แล้วงานศิลปะแห่งการให้จะกลายเป็นดอกไม้ในสวน” ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์-14 มีนาคม 2551 (mormor.org) เน้นการสร้างสรรค์แนวงานผ่านวิธีคิดของบุคคลในแวดวงแห่งการให้และศิลปินอาสา มากกว่า 100…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เสาร์วันหนึ่งกลางสวนรถไฟ กรุงเทพมหานคร ติดตลาดนัดสวนจตุจักรที่คนกรุงคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะกลางเมืองใหญ่เช่นนี้จะมีสักกี่สถานที่ที่จะมีสีเขียวให้ได้สูดลมหายใจได้เต็มปอดกิ่งใบสีเขียวแก่จัดของต้นก้ามปูใหญ่ยื่นยาวแตกกิ่งก้านสาขาร่มครึ้มอยู่กลางสวน ดอกตะแบกสีม่วงร่วงเกลื่อนพื้นตัดกับสนามหญ้าสีเขียว เด็กผู้พิการทางสายตาจากโรงเรียนสอนคนตาบอด อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฝั่งโรงพยาบาลราชวิถีส่งเสียงเจี๊ยว รอเวลาที่จะได้ เฮละโลกลุ่มกิจกรรมอิสระเล็กในชื่อกลุ่ม Pay Forward นำเด็กที่มองไม่เห็นมาทำกิจกรรม แรลลี่เพื่อเด็กพิการทางสายตา เด็กๆ จำนวน 24 คน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1.ฉันปลูกต้นไม้วางปุ๋ยเคมีหวังหยั่งรากถึงกิ่งแก้ว2.เนิ่นนานมาแล้วที่จิตสำนึกผมสลายแตกดับพร้อมความดีงาม3.คุณอาจไม่เชื่อเรื่องพรหมลิขิตเมื่อสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งตามหาแผ่นดินตาย4.เขาแบ่งปันสีน้ำเงินแก่ผู้ยากไร้หวังลอยสู่ก้อนเมฆ5.ความหวานในทุนนิยมโรยด้วยงาดำตาดำๆ6.ลิ้มรสอำนาจมาหลายสมัยไม่เคยรู้จักพอเพียง คืออะไร7.ผมห่มคลุมแผ่นดินด้วยเงิน บารมีด้วยความชอบธรรม8.ผมไตร่ตรองถึงความซื่อสัตย์และพบเพียงความว่างเปล่าที่ไร้อำนาจ ขอบคุณ ‘โซไรด้า’ น้องที่แสนดี
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1.ดอกไม้มวลชนเดินขบวนเรียกร้องแบบเรียนประชาธิปไตย2.เหตุผลของบางคนหักล้างไม่ได้เมื่อเทียบกับกลีบใบของแผ่นดินที่ร่วงหล่น3.สีชมพูแต้มดวงหน้านกขมิ้นคือ ฝันอันเลือนลางของหนุ่มสาว4.ฉันหวังเห็นแผ่นดินสูงขึ้นด้วยความรักมิใช่ด้วยทรราชย์5.เราเรียกร้องด้วยเสียงเพลงขับไล่ความมืดดำบนถนนแห่งเสรีภาพ 6.ฉันเด็ดใบไม้จากราวป่าเก็บมาฝากสังคมเมือง7.ทุกอย่างเคลื่อนไหวด้วยพลังความดีงาม8.เมื่อฉันลอยตัวให้สูงขึ้นจากทุนนิยมจึงเห็นเวิ้งฟ้าสีฟ้าห่มคลุมเม็ดดิน9.เศษดินคือ บางอย่างที่เหมือนจะไร้ค่าทั้งที่ความจริงฉันก็มาจากสิ่งนี้10.…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
‘FREE TIBETAN’08.30 น. - 19 มีนาคม 2551อากาศหน้าสถานทูตจีน ริมถนนรัชดาร้อนสุดขีด พนักงานกทม.บนรถบรรทุกน้ำสีเขียวปล่อยน้ำออกจากสายพลาสติกกลมเทาพุ่งกระจายฟูฝอยเพื่อทำความสะอาดฟุตบาธตามปกติเวลาทำงาน ไล่เรื่อยมาจากแยกพระรามเก้า-อสมท.-ฟอร์จูน ทาวน์-แยกศักดิ์เสนา ก่อนจะหยุดกึกที่หน้าสถานฑูตจีนเพราะเห็นกลุ่มคน กลุ่มใหญ่ชูป้ายกระดาษ กางผืนธงชาติรูปร่างแปลกตา อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน“ประท้วงนี่หว่า” อย่างเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับเวลาทำงาน เขาขับรถผ่านไปไม่หันมามอง...ตำรวจนำกำลังมากั้นแผงเหล็กหน้าสถานฑูตตั้งแต่เช้าแล้ว แดดสายเริ่มทวีความร้อนสุดขีดขึ้นทุกขณะ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีสถานที่ใดบ้างในโลก ที่ทำให้เราคิดถึงได้อย่างจริงๆ จังๆ ,คิดถึงและต้องกลับไปอีกครั้ง หากไม่มีความทรงจำ ,ก็คงไม่มีอดีตและอนาคต หมู่บ้านแม่ดึ๊จึงเป็นหลายเหตุผลที่คนหลายคนควรจะทำความรู้จักหมู่บ้านแม่ดึ๊ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เพิ่งมีโรงเรียนและครูได้ไม่นานเดือน ,สำหรับคนกะเหรี่ยงที่นั่น โลกภายนอก คือ บางสิ่งที่ควรจะเรียนรู้...“นาย ,นายเคยเขียนแคนโต้เกี่ยวกับแม่ดึ๊เอาไว้ใช่หรือเปล่า” ผมออกปากกะน้องอย่างนั้น“ไมพี่ เขียนไว้นานแล้ว ตั้งแต่ไปค่ายจิตอาสากับพี่นั่นแหละ”“เอ่อ ครือ..ผมคิดว่า เอ่อ...ผมอยากได้งานนายมาประกอบภาพว่ะ”ผม ‘เอ่อ’…