08.00 น. ของวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2552 เสียงระเบิดดังสนั่นใจกลางเมืองคาบูล์ ไกลออกไป 3 กิโลเมตร กระจกโรงแรมแคปิตอล อินน์ เขย่าประหนึ่งว่าจะแตกร้าวเสียตรงนั้น ทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง คนหนึ่ง หมอบกับพื้นห้องน้ำ อีกส่วนหนึ่งวิ่งขึ้นดาดฟ้าโรงแรม มองเห็น ควันไฟบริเวณสำนักงานใหญ่กองกำลังนานาชาติ นาโต้ ประจำอาฟกานิสถาน พวยพุ่งสู่ท้องฟ้า
ผลจาก Suicide Bomb ครั้งนี้ ดังไปทั่วโลกด้วยตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 91 คน เสียชีวิตจำนวน 7 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มตาลีบัน ประกาศถึงการล้มการเลือกตั้งใหญ่ครั้งนี้ที่ชาวอาฟกันทุกคนคาดหวัง
...
ตาลีบัน มาจากคำว่า ตาลิบ แปลว่า นักเรียนศาสนา
จยิฮาด แปลว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์
มูจาฮีดีน แปลว่า นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์
อัลกอร์อิดะห์ แปลว่า รากฐาน
ชาวอาฟกันมักคุ้นกับคำศัพท์เหล่านี้ ชินชา ธรรมดาและเข้าถึง ขณะที่ชาวตะวันตกรวบศัพท์เหล่านี้เอาไว้ในกลุ่มของคำว่า ‘ก่อการร้าย’
...
“สนามบินคาบูล์เป็นอะไรที่ยากลำบากมากสำหรับชั้น” ยาดากล่าว
เธอบอกว่า กว่าจะเดินมาขึ้นรถต้องใช้เวลามากและไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อนและอ้าวอย่างไม่ต้องบรรยาย คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นบินเป็นชาวต่างชาติ ชาวอาฟกันมีประปราย คนที่นั่นจะบินได้ต้องมีฐานะอยู่ในชั้นที่เรียกว่า เศรษฐี ,ผู้หญิงในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ คลุมผ้า ใส่รองเท้าส้นสูง เดินลากกระเป๋า ถือว่าเป็นเรื่องแปลกถึงแปลกที่สุด
“ส่วนใหญ่จะคลุมเบอร์ก้า ปกปิดสรีระทุกส่วนสัด” ยาดาเล่าต่อไปว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้ากรุงคาบูล์จะต้องถือบัตรผ่านแดนตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
ระหว่างเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ที่มีหน้าที่จะต้องเขียนชื่อของยาดาลงในบัตร ด้วยความหวั่นเกรงว่า ‘เขา’ อาจจะเขียนนามสกุลของเธอผิด ยาดาใช้นิ้วจิ้มลงไปที่บัตรแล้วบอกว่า ‘อันนี้เขียนผิด’ ทันทีนั้น ‘เขา’ แหงะหน้ามามองยาดาตรงๆ ก่อนยกมือห้าม ส่งภาษาผ่านใบหน้าว่า ‘ขอโทษ กรุณายืนห่างๆ ครับ’
“ชั้น คิดว่า เขากำลังเหยียดความเป็นผู้หญิงของชั้น” ยาดาทำหน้าหมั่นไส้ออกมาตรงๆ
“ชั้นรู้สึกอึดอัดในความเป็นผู้หญิงตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างเข้ากรุงคาบูล์” ถึงที่สุด เธอเผยออกมาอย่างจริงใจว่า ‘ยังไงเสียก็คงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอีกซีกโลก’
...
คาบูล์ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินทราย คาบูล์ รีเวอร์ ไหลผ่าเมืองหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองหลวงของประเทศมายาวนาน อาฟกานิสถาน ไม่ได้แห้งแล้งอย่างภาพ ทุกแห่งเต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สายน้ำหลายสาย องุ่น แตงโมและผักสวนครัว
“แตงโมที่นั่นหวานฉ่ำ” ยาดาเน้นเสียงฉ่ำ
นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ คาบูล์เต็มไปด้วยเครื่องบินรบ คอปเตอร์สงครามแบล็ค ฮอว์ค รถยีเอ็มซี กองกำลังนาโต้ อาฟกันอาร์มี่ ปืนและระเบิด ชาวอาฟกัน คุ้นเคย ชินชาและเข้าถึง สำหรับใครบางคน การมีชีวิตอยู่กับสงครามมามากกว่า 40 ปี คงไม่มีอะไรเลวร้ายอีกแล้ว
“สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน กับ สิทธิและเสรีภาพ”
ยาดาเล่า
...
ประวัติศาสตร์อาฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับสงครามและถูกเขียนเป็นหนังสือเล่มหนา นับจากยุคอเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงกลุ่มมูจาฮีดีน คนอาฟกันรักผู้นำกลุ่มที่ชื่อมาห์ซูด
“เขา คือ เช กูวารา แห่งอาฟกานิสถาน” ยาดาเปรียบเทียบในอารมณ์จริงจัง
คนอาฟกันจะติดรูปมาห์ซูดเอาไว้ในอาคารบ้านเรือน (เป็นรูปที่มีทุกบ้าน) บิลล์ บอร์ด บนยอดตึกและรถโดยสารด้วยความศรัทธา เขาถูกลอบสังหารจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอัลไกดา ของ บิน ลาเดน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบัน ต่อมาไม่นาน มาห์ซูดได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
มาห์ซูด เป็นผู้นำกลุ่มมูจาฮีดีนที่ปลดแอกประเทศจากการเข้ายึดครองของรัสเซีย ก่อนหน้านั้น คาบูล์เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยม บาร์ ไนท์คลับและเมืองศูนย์กลางแฟชั่นที่หลั่งไหลมาจากประเทศยุโรป เมื่อเกิดสงคราม ชนชั้นนำในยุคนั้นต่างลี้ภัยทางการเมือง หลังจากกลุ่มตาลีบันผงาด คาบูล์จึงกลายเป็นเมืองอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว
ตาลีบัน พยายามสถาปนาอาณาจักรอิสลามบริสุทธิ์ ด้วยการตีความกฏหมายชาริอะห์แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กดดัน ขับไล่ วัฒนธรรมเสรีนิยมด้วยการใช้รถถังเหยียบกระป๋องโค้ก ห้ามใส่กางเกงยีนส์ลีวายส์หรือกินแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงงานศิลปะและดนตรี
ตั้งแต่นั้นมา หญิงชาวอาฟกัน สวมชุดคลุมเบอร์ก้าและปกปิดสรีระ ส่วนผู้ชายสวมหมวกกลมและใส่ชุดคลุมยาว งานบันเทิงชนิดเดียวที่คนอาฟกันจะหาได้มาจากงานแต่งงาน
ปัจจุบัน ตาลีบันถอยร่นไปอยู่ทางใต้ของประเทศและอาฟกานิสถานอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังนานาชาตินาโต้และประธานาธิบดี นายอาหมัด คาไซด์ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกเพื่อต่อสู้กับตาลีบัน
“คาบูล์ไม่ได้เดือดเป็นไฟไปทุกหย่อมหญ้าอย่างที่เห็นใน CNN แถมยังมี Lonely Planet ฉบับอาฟกานิสถานอีกต่างหาก” ยาดายิ้ม
คาบูล์ ยามค่ำ มองเห็นแสงไฟของบ้านเรือนที่อยู่บนภูเขา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
บ้านเรือนกรุงคาบูล์ บนภูเขาช่วงเวลากลางวัน
มัสยิดใหญ่กลางตลาด กลางเมืองคาบูล์
ความสมบูรณ์ของผลไม้และคนขาย อิอิ
คุณลุงขายการ์ดเติมเงิน โพสต์นิ่งๆ นาน 10 นาที ข้างหลังมีหญิงชาวอาฟกันเข้ามาหาซื้อเนื้อ
คงไม่ต้องบรรยายสำหรับอาหารค่ำมื้ออร่อย แขวนกันเป็นตัวๆ
ร้านของชำในกรุงคาบูล์เต็มไปด้วยธัญพืช มองเห็นได้ทั่วไปในตะวันออกกลาง
ตลาดกลางกรุงคาบูล์ มีคนมาช็อปปิ้งมากหน้าหลายตา
กองกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญหรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน
บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรากลับถึงฮานอยอีกครั้งและเป็นช่วงสุดท้ายของทริปส์แบ็กแพ็กครั้งนี้โดยมีเวลา 2 คืน ก่อนจะเดินทางกลับ หมายความว่า เรามีเวลา 1 วันเต็ม สำหรับการตะลุยฮานอยการเช่ามอเตอร์ไซค์หรือมอเตอร์ไบค์ในฮานอยจัดว่าเป็นความท้าทายของนักขับและได้รับการกล่าวขวัญเอาไว้ในโลนลี่ แพลนเนต ว่า หากคุณไม่มั่นใจ ‘อย่า' ให้พึ่งพาเท้าทั้งสองข้างเพราะการจราจรที่นี่คับคั่งเกินกว่าเพราะตำรวจจราจรที่นี่เอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวยามเช้า เมื่อคนเริ่มพลุกพล่าน ร้านรวงบนจักรยานของแม่ค้าเปิดทำการแต่เช้าตรู่ เรากินอาหารเช้าที่แบมบู โฮเต็ล ก่อนจะตัดสินใจ เช่ามอเตอร์ไบค์ที่โรงแรมนั่นแหละ ด้วยราคา 6 เหรียญ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรือแคนนู ความเฟื่องฟูของกิจการการท่องเที่ยวยามเย็น พระอาทิตย์ตกที่ริมขอบผา
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราแกร่วอยู่ในร้านอาหารหน้าสถานีรถไฟเลาไค รอรถเที่ยว 2 ทุ่ม ถึงฮานอยเช้าแล้วต่อรถไปยังอ่าวฮาลอง หมู่เกาะกั๊ตบา ฝนตกกระหน่ำ นักท่องเที่ยวหลายชาติที่จะเดินทางไปฮานอยทยอยกันมาเรื่อยๆ จนแน่นขนัด ร้านใครร้านมันแล้วแต่คอนเนคชั่นของเอเจนซี่ เรานั่งจิบเบียร์ไปเกือบโหล เบียร์ที่เวียดนามมีหลายยี่ห้อ แตกต่างกันไปตามเมือง เบียร์ฮานอย เบียร์เว้ เบียร์(สด)โฮยอาน (อร่อยและราคาสุดคุ้ม ขอบอก) ฝนซาเม็ดและตกกระหน่ำ สลับกันหลายชั่วโมง ชวนให้คิดถึงหนังสงครามเวียดนาม ในแบบฉบับของฮอลลีวูด ทหารอเมริกันที่ถูกส่งมารบที่ตะวันออกไกล นอกจาก ต้องเผชิญกับนักรบกองโจรเวียดกง ไข้มาลาเรีย…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เด็กเจ้าของร้านขายสินค้าที่ทำจากเครื่องเงินแห่งหนึ่งในซาปา ดูจากบุคลิกแล้ว 'คิดว่า' เธอน่าจะเป็นคนจากเมืองอื่นที่ย้ายมาทำมาหากินในซาปา ซึ่งร้านลักษณะนี้มีมากมายเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราที่มีคนจากแหล่งอื่นเข้ามาลงทุน ในแง่นี้เป็นทั้งกลุ่มทุนรายย่อยและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ได้ยินข่าวมาเร็วๆ นี้ก่อนที่เวียดนามจะประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างในปัจจุบันว่า รัฐบาลเวียดนามเปิดให้นักลงทุนต่างชาติทั้งรายย่อย-ใหญ่ เข้ามาลงทุนได้เต็ม 100% ครับ .. ใครทุนหนา รีบๆ เข้าเด้อ!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราใช้สูตรซื้อทัวร์ไปตลาดบั๊กฮาในช้าวันสุดท้ายที่เราอยู่ในซาปา เป็นรถตู้ร่วมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ แล้วรอรถที่สถานีรถไฟเลาไค เพื่อเดินทางกลับฮานอย รถแล่นเรียบเรื่อยไปตามถนน ลัดเลาะภูเขาสูงชัน บางแห่งจะมีการซ่อมสร้างเสริมถนน ผ่านหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน บางแห่งเป็นหมู่บ้านชาวม้งดอกไม้ที่ไกด์คนดีบอกเราว่าให้สังเกตุเอาจากสีสันของลายเสื้อ ฝนโปรยเม็ด ตอนที่เราออกมาจากซาปาทำให้เห็นหมอกหนาขึ้นมาตามชายป่าริมเขาข้างทาง เย็นแต่สวยงามดี ตลาดบั๊กฮาจะต้องผ่านเมืองเลาไค เป็นเขตพรมแดนอีกแห่งของประเทศเวียดนาม ที่ติดต่อกับประเทศจีน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เมาท์เทนวิว เป็นโรงแรมขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งในซาปาที่มีคนไทยนิยมไปพักมากที่สุดอย่างน้อย รีเซฟชั่นโรงแรมอย่างมิงก็เม้าท์ให้ฟังเอาไว้อย่างนั้นเราพบเมาท์เทนวิวในเว็บไซต์แนะนำที่พักจากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่เขียนบันทึกเรื่องราวของเขาในเวียดนามเอาไว้อย่างน่าสนใจ "เมาท์เทนวิว สวยและสะอาด ข้างหลังเป็นทิวเขาที่สลับซับซ้อนและตรงกับจุดที่พระอาทิตย์ตกพอดี ด้านซ้ายจะเห็นกลุ่มบ้านเรือนกลางใจเมืองซาปา ขวาจะเป็นถนนสีเทายาวเหยียดและกลุ่มนาขั้นบันได ทุกเช้า (หากคุณตื่นเช้า) จะมองเห็นละอองหมอกระเรี่ย"เท่านั้นแหละครับ เมื่อผมกะยาดาไปถึงซาปา เราดิ่งไปเมาท์เทนวิวโดยไม่รอรีเควสซ้ำสอง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถไฟจะออกจากฮานอยไปซาปา สองทุ่มตรง ลงสถานีเลาไคและต่อรถตู้ อีกครึ่งวัน เรายังย่ำต็อกอยู่ในฮานอย รอเวลา จึงหอบผ้าหอบผ่อนไปจองแบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้สำหรับวันที่จะกลับมา ตามแผน เราจะอยู่ที่ซาปา 2 คืน 3 วัน แล้วกลับมาฮานอย จองทัวร์ไปอ่าวฮาลอง อีก 2 คืน 3 วัน ถึงจะกลับมาพักที่ฮานอย 2 คืน ก่อนจะกลับบ้าน จองห้องที่แบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้กันเหนียว ฮานอย 18.00 น. ก็เหมือนกับกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเร่งด่วน รถติดและคนกลับบ้าน เราอยากมั่นใจว่าจะไม่ตกรถไฟ จึงติดต่อให้ทางแบมบูจัดหารถแท็กซี่ไปส่ง ที่การันตีว่า ไม่มีชาร์ต จากคำบอกเล่าของเราที่เจอกับรถแท็กซี่ ออน ทัวร์ วนรอบเมืองในเช้าวันเดียวกัน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผ่านไปครึ่งทริปส์ จากกรุงเทพฯถึงเวียดนามภาคกลาง เว้ ดานังและโฮยอาน กับการเดินทางในฐานะแบ็กแพ็คเกอร์ เรากำลังวางแผนขึ้นเหนือ ฮานอย ซาปา และหมู่เกาะกั๊ตบาในอ่าวฮาลอง ก่อนจะจบทริปส์แล้วบินกลับเมืองไทย จากสนามบินนอยไบ ในฮานอย ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราปั่นจักรยานไปเจอสตีฟที่ เดอ สลีฟปี้ เกกโก ยามเช้าในโฮยอาน เหมือนกับยามเช้าในเว้ของเวียดนามวุ่นวายด้วยเสียงบีบแตรและการค้าจากโรงแรมถึงตลาดปลาและร้านขายรองเท้า ร้านขายรูปวาดและร้านขายหมวก รวมถึง เสื้อยืดที่มีดวงดาวสีเหลืองตรงหน้าอก มีให้ได้ซื้อหาเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวสตีฟเป็นชาวอังกฤษ จากยอร์กเชียร์ เขาออกจากบ้านเกิดมาตั้งแต่วัย 24 ปีและอยู่ในเวียดนามเข้าปีที่ 40 เปิดเกกโก บาร์พร้อมกับเป็นไกด์นำนักท่องเที่ยวทัวร์โฮยอานนอกจาก บ้านหลังเก่าในโอลด์ ทาวน์ และบรรยากาศล่องเรือชมแม่น้ำเขาแนะนำว่า ชนบทโฮยอานไม่อะไรให้ดูมาก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
สถานีรถไฟดานังติดแอร์คอนดิชันเย็นฉ่ำแดดร้อน ดานังเป็นเมืองท่าทางเศรษฐกิจพร้อมท่าเรือขนาดใหญ่ ยาดาเดินแหวกผู้คนออกมาทางตามชานชาลา ช่วงนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่หยุดพักผ่อน ประตูใหญ่จากชานชาลาปิด เราแทรกตัวออกมาตามบานพับของประตูเหล็กชนิดยืดได้หดได้บริเวณก่าดานังเต็มไปด้วยรถแท็กซี่และมอเตอร์ไบค์(รับจ้าง) แท็กซี่มิเตอร์ที่เวียดนามมี 2 แบบ คือ แท็กซี่ของรัฐและแท็กซี่อิสระ สังเกตุได้จากสภาพรถและบุคลิกภาพของคนขับรถ ทันทีที่เห็นนักท่องเที่ยวอย่างเราออกมา (อย่างไม่รู้ว่าจะเริ่มไปไหนอย่างไรดี) แท็กซี่กลุ่มใหญ่ก็กรูกันเข้ามาสอบถามและเสนอราคาอย่างไม่ปรานีปราศรัย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราจับรถไฟเช้าจากสถานีรถไฟเว้ (ก่าเว้) ไปยังเมืองดานังเพื่อโดยสารรถไปยังเมืองโฮยอานอีกต่อ อันที่จริงไม่จำเป็นต้องใช้เส้นทางนี้เพราะสามารถเดินทางจากเว้ตรงไปโฮยอานได้โดยรถทัวร์ เพียงแต่ว่า ข้อมูลจากโลนลี่ พลาเน็ต บอกเอาไว้ว่าเส้นทางรถไฟสายเว้-ดานัง เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเราจึงตัดสินใจลองของ!ยามเช้า คนเริ่มพลุกพล่าน ผมกับยาดาเรียกแต็กซี่(ตามสำนวนคนเวียด)ไปก่าเว้ก่าเว้ เป็นอาคารรูปทรงโคโลเนี่ยล ทาด้วยสีส้ม-เหลือง ผู้คนคึกคัก อุ้มลูกจูงหลานเดินทางไปทำธุระพบปะญาติมิตร นักท่องเที่ยวบางคนจับกลุ่มยืนสูบบุหรี่อยู่มุมหนึ่ง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทันทีที่ออกจากด่านลาวบาว รถทัวร์ปุเรงมาบนถนนหมายเลข1 นักท่องเที่ยวจะต้องนั่งรถเพื่อเข้าไปยังมหานครเว้อีกราวๆ 160 กิโลเมตร (หลังจากที่ตื่นๆ หลับๆ มาแล้วราว 250 กม. บนทางหลวงหมายเลข9) รวมระยะทางจากมุกดาหาร-เว้ ประมาณ 410 กิโลเมตรนักท่องเที่ยวบางคนพักที่ด่าน ซึ่งมีเกสต์เฮาส์เล็กๆ สบายๆ และเป็นที่ขึ้นชื่อว่า ตลาดเช้าลาวบาวช่างน่ารักน่าชังนักเรื่องของเรื่อง คือ เราควรจะถึงเว้ไม่เกิน 18.00 น. ตามเวลาในตั๋วระหว่างเส้นทางจะต้องผ่านเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองเคเซนและเมืองดองฮา ทั้ง 2 เมือง คือ จุดยุทธศาสตร์ที่ถูกโจมตีอย่างหนักในสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะเมืองดองฮาหรือเรียกชื่อย่อว่า DMZ นั้น…