Skip to main content

08.00 น. ของวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2552 เสียงระเบิดดังสนั่นใจกลางเมืองคาบูล์ ไกลออกไป 3 กิโลเมตร กระจกโรงแรมแคปิตอล อินน์ เขย่าประหนึ่งว่าจะแตกร้าวเสียตรงนั้น ทีมสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง คนหนึ่ง หมอบกับพื้นห้องน้ำ อีกส่วนหนึ่งวิ่งขึ้นดาดฟ้าโรงแรม มองเห็น ควันไฟบริเวณสำนักงานใหญ่กองกำลังนานาชาติ นาโต้ ประจำอาฟกานิสถาน พวยพุ่งสู่ท้องฟ้า


ผลจาก
Suicide Bomb ครั้งนี้ ดังไปทั่วโลกด้วยตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 91 คน เสียชีวิตจำนวน 7 คน และอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มตาลีบัน ประกาศถึงการล้มการเลือกตั้งใหญ่ครั้งนี้ที่ชาวอาฟกันทุกคนคาดหวัง
...

ตาลีบัน มาจากคำว่า ตาลิบ แปลว่า นักเรียนศาสนา
จยิฮาด แปลว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์
มูจาฮีดีน แปลว่า นักรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์
อัลกอร์อิดะห์ แปลว่า รากฐาน
ชาวอาฟกันมักคุ้นกับคำศัพท์เหล่านี้ ชินชา ธรรมดาและเข้าถึง ขณะที่ชาวตะวันตกรวบศัพท์เหล่านี้เอาไว้ในกลุ่มของคำว่า ‘ก่อการร้าย’
...

“สนามบินคาบูล์เป็นอะไรที่ยากลำบากมากสำหรับชั้น” ยาดากล่าว
เธอบอกว่า กว่าจะเดินมาขึ้นรถต้องใช้เวลามากและไกล ไร้สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อนและอ้าวอย่างไม่ต้องบรรยาย คนส่วนใหญ่ที่ขึ้นบินเป็นชาวต่างชาติ ชาวอาฟกันมีประปราย คนที่นั่นจะบินได้ต้องมีฐานะอยู่ในชั้นที่เรียกว่า เศรษฐี ,ผู้หญิงในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ คลุมผ้า ใส่รองเท้าส้นสูง เดินลากกระเป๋า ถือว่าเป็นเรื่องแปลกถึงแปลกที่สุด

“ส่วนใหญ่จะคลุมเบอร์ก้า ปกปิดสรีระทุกส่วนสัด” ยาดาเล่าต่อไปว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้ากรุงคาบูล์จะต้องถือบัตรผ่านแดนตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ

ระหว่างเข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ที่มีหน้าที่จะต้องเขียนชื่อของยาดาลงในบัตร ด้วยความหวั่นเกรงว่า
‘เขา’ อาจจะเขียนนามสกุลของเธอผิด ยาดาใช้นิ้วจิ้มลงไปที่บัตรแล้วบอกว่า ‘อันนี้เขียนผิด’ ทันทีนั้น ‘เขา’ แหงะหน้ามามองยาดาตรงๆ ก่อนยกมือห้าม ส่งภาษาผ่านใบหน้าว่า ‘ขอโทษ กรุณายืนห่างๆ ครับ’
“ชั้น คิดว่า เขากำลังเหยียดความเป็นผู้หญิงของชั้น” ยาดาทำหน้าหมั่นไส้ออกมาตรงๆ
“ชั้นรู้สึกอึดอัดในความเป็นผู้หญิงตั้งแต่วันแรกที่เหยียบย่างเข้ากรุงคาบูล์” ถึงที่สุด เธอเผยออกมาอย่างจริงใจว่า ‘ยังไงเสียก็คงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอีกซีกโลก’
...

คาบูล์ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินทราย คาบูล์ รีเวอร์ ไหลผ่าเมืองหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองหลวงของประเทศมายาวนาน อาฟกานิสถาน ไม่ได้แห้งแล้งอย่างภาพ ทุกแห่งเต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สายน้ำหลายสาย องุ่น แตงโมและผักสวนครัว
“แตงโมที่นั่นหวานฉ่ำ” ยาดาเน้นเสียงฉ่ำ

นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ คาบูล์เต็มไปด้วยเครื่องบินรบ คอปเตอร์สงครามแบล็ค ฮอว์ค รถยีเอ็มซี กองกำลังนาโต้ อาฟกันอาร์มี่ ปืนและระเบิด ชาวอาฟกัน คุ้นเคย ชินชาและเข้าถึง สำหรับใครบางคน การมีชีวิตอยู่กับสงครามมามากกว่า
40 ปี คงไม่มีอะไรเลวร้ายอีกแล้ว
“สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน กับ สิทธิและเสรีภาพ”
ยาดาเล่า
...

ประวัติศาสตร์อาฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับสงครามและถูกเขียนเป็นหนังสือเล่มหนา นับจากยุคอเล็กซานเดอร์มหาราช จนถึงกลุ่มมูจาฮีดีน คนอาฟกันรักผู้นำกลุ่มที่ชื่อมาห์ซูด
“เขา คือ เช กูวารา แห่งอาฟกานิสถาน” ยาดาเปรียบเทียบในอารมณ์จริงจัง

คนอาฟกันจะติดรูปมาห์ซูดเอาไว้ในอาคารบ้านเรือน (เป็นรูปที่มีทุกบ้าน) บิลล์ บอร์ด บนยอดตึกและรถโดยสารด้วยความศรัทธา เขาถูกลอบสังหารจากผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอัลไกดา ของ บิน ลาเดน ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบัน ต่อมาไม่นาน มาห์ซูดได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

มาห์ซูด เป็นผู้นำกลุ่มมูจาฮีดีนที่ปลดแอกประเทศจากการเข้ายึดครองของรัสเซีย ก่อนหน้านั้น คาบูล์เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยม บาร์ ไนท์คลับและเมืองศูนย์กลางแฟชั่นที่หลั่งไหลมาจากประเทศยุโรป เมื่อเกิดสงคราม ชนชั้นนำในยุคนั้นต่างลี้ภัยทางการเมือง หลังจากกลุ่มตาลีบันผงาด คาบูล์จึงกลายเป็นเมืองอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว

ตาลีบัน พยายามสถาปนาอาณาจักรอิสลามบริสุทธิ์ ด้วยการตีความกฏหมายชาริอะห์แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กดดัน ขับไล่ วัฒนธรรมเสรีนิยมด้วยการใช้รถถังเหยียบกระป๋องโค้ก ห้ามใส่กางเกงยีนส์ลีวายส์หรือกินแฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงงานศิลปะและดนตรี

ตั้งแต่นั้นมา หญิงชาวอาฟกัน สวมชุดคลุมเบอร์ก้าและปกปิดสรีระ ส่วนผู้ชายสวมหมวกกลมและใส่ชุดคลุมยาว งานบันเทิงชนิดเดียวที่คนอาฟกันจะหาได้มาจากงานแต่งงาน

ปัจจุบัน ตาลีบันถอยร่นไปอยู่ทางใต้ของประเทศและอาฟกานิสถานอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังนานาชาตินาโต้และประธานาธิบดี นายอาหมัด คาไซด์ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกเพื่อต่อสู้กับตาลีบัน

“คาบูล์ไม่ได้เดือดเป็นไฟไปทุกหย่อมหญ้าอย่างที่เห็นใน CNN แถมยังมี Lonely Planet ฉบับอาฟกานิสถานอีกต่างหาก” ยาดายิ้ม
 
 
 
คาบูล์ ยามค่ำ มองเห็นแสงไฟของบ้านเรือนที่อยู่บนภูเขา (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)

 

บ้านเรือนกรุงคาบูล์ บนภูเขาช่วงเวลากลางวัน


มัสยิดใหญ่กลางตลาด กลางเมืองคาบูล์


ความสมบูรณ์ของผลไม้และคนขาย อิอิ

คุณลุงขายการ์ดเติมเงิน โพสต์นิ่งๆ นาน 10 นาที ข้างหลังมีหญิงชาวอาฟกันเข้ามาหาซื้อเนื้อ
 
คงไม่ต้องบรรยายสำหรับอาหารค่ำมื้ออร่อย แขวนกันเป็นตัวๆ
 
ร้านของชำในกรุงคาบูล์เต็มไปด้วยธัญพืช มองเห็นได้ทั่วไปในตะวันออกกลาง
 
ตลาดกลางกรุงคาบูล์ มีคนมาช็อปปิ้งมากหน้าหลายตา
 
 
กองกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญหรือที่ที่มีคนพลุกพล่าน

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ปลูกป่า สร้างร่มเงาโคลนสีแดงเหนียวหนึบค่อยๆ ซึมผ่านถุงมือไหมพรมสีขาว ท่อนไม้แหลมเหลาปลาย ถูกกระทุ้งลงดินแข็ง แล้วคว้านเป็นหลุมกว้างขนาดพอจะใส่กล้าไม้ฉีกถุงเพาะกล้าเบาๆ สองมือค่อยๆ โอบประคองดินดำห่อหุ้มต้นอ่อนลงในหลุมที่ถูกคว้านและตีกลบเบาๆ ให้ดินแน่นนำถุงเพาะกล้าครอบบนแนวไม้ที่ปักเอาไว้ ใบเล็กๆ สีเขียวบนลำต้นบอบบางตั้งฉากเป็นแนวดิ่งเป็นอันเสร็จขั้นตอนสำหรับการปลูกกล้า พร้อมกับหัวใจของแต่ละคนที่หวังว่ากล้าเล็กๆ จะเติบโตเป็นป่า ให้ร่มเงาแก่ผืนดินและโลก...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
“นาย ... !! เขียนงานให้เรายัง” ผมถามดาด้าตัวละครเก่าของผม “อีกนิดนึงพี่” “เฮ้ย เอาวันนี้นะ” (จันทร์) ม่ายงั้น ‘เจ้’ ทวง “เอ๋า พี่ไม่ได้กำหนดเวลานี่” “เออ รีบเลย” เวลาผ่านไป ไม่นานเลย ..... “ดาด้า นายแน่มาก” “ไร” “อ่านแล้วขนลุกเลยว่ะ” “ไปห้องน้ำเลยไป” !!! @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
“พี่ ไปแค้มป์แม่หละกันไม๊” ดาด้าตัวละครเก่าของผมเอ่ยถาม ระหว่างที่เรานั่งรถไปจังหวัดกระบี่ “ตาก อะนะ” ผมทำตาลุก มันเป็นสถานที่หนึ่งที่ฝันว่าจะไปถ่ายรูป “วันไหน” “เนี่ย กลับจากนี่แหละ” มหาดไทยอนุญาตให้ออฟฟิศของดาด้า เข้าไปถ่ายทำเรื่องกลุ่มมุสลิมในแค้มป์ ผมนั่งนับนิ้ว เอ มันตรงกับวันอะไรหว่า !! “เออ นายเขียนแคนโต้แล้วถ่ายรูปมาลงคอลัมน์เรานะ” เสียดายครับ @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แคกตัสบางชนิดมีหนามหนุ่ม ฟู และดอกบนหัว สวยงามแต่ดูน่ากลัว ผีเสื้อเป็นราชินีแห่งแมลงที่น่าเก็บภาพเสมอ ผู้ย่อยสลาย เห็ดราบางชนิด มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์เป็นอย่างยิ่ง เอ่อ ผมจำไม่ได้ว่าเป็นดอกอะไร ครับ!! แมลงปอ ราชันย์แห่งแมลงที่น่าเก็บภาพเหมือนกัน ต่างตัวต่างลีลา ใบไม้ธรรมดา จะดูน่าสนใจเมื่อมีแสงเงาตกกระทบ โฟกัสที่ดอกไม้ เขาว่า "ผีเสื้อขยับปีก โลกถึงกับสั่นสะเทือน" สวัสดีครับ
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
บริเวณนั้นทั้งบริเวณเป็นเกาะ สายน้ำไหลเรียบเรื่อยเซาะแก่งหินและรากไม้ใหญ่ริมตลิ่งเป็นเงาเว้าๆแหว่งๆ คือ การออกแบบอย่างลงตัวของธรรมชาติ สายฝนพรำตั้งแต่เริ่มเที่ยง อุโบสถหลังขนาดกะทัดรัดจึงกลายเป็นที่หลบฝนของชาวบ้าน หลายคนอุ้มลูกนั่งยองๆ อยู่ใต้ชายคา เด็กๆ กับเพื่อนบางคนหลบเข้าใต้ถุนอุโบสถขีดเขียนพื้นดินทรายเล่นฆ่าเวลา ชนกะเหรี่ยงโปจากหลายหมู่บ้านมาร่วมทำบุญปีใหม่ที่อุโบสถกลางน้ำ หมู่บ้านคลิตี้ล่าง หมู่บ้านของมนุษย์ตะกั่ว .. ปีใหม่แบบไทยๆ แต่ละปี อุโบสถกลางน้ำจะกลายเป็นที่ชุมนุมของคนในหมู่บ้าน ด้วยแรงเชื่อถือศรัทธา ชนกะเหรี่ยงโปจะเดินแห่ร้องรำทำเพลงกันมาเพื่อสรงน้ำพระสงฆ์ เมื่อถึงเวลา…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไม่แน่ใจหรอกว่าเคยไปแม่ฮ่องสอนมากี่ครั้งกันแน่ รู้แต่เพียงว่า เพราะความที่มันไกลเสียจนมีคนร่ำลือถึงได้พยายามดั้นด้นไปให้ถึง ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง (ก็ยังอ๊วกเหมือนเดิม อิ อิ) ... “หากผมมีโอกาสได้แต่งงานนะ ผมจะแต่งที่แม่ฮ่องสอน” “เออ คุณไม่ต้องส่งการ์ดเชิญมาให้ผมนะ ไกลชิบ” “เฮ้ย มันมีเครื่องฯ .. บินถึง ..” “เออ ผม เมาเครื่อง” ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ราวห้าโมงเย็น “จุดเทียนหรือเปล่าคับทั่น” ผมโทรหาเพื่อนคนหนึ่งอย่างกระวนกระวาย “จุดดิคับ เริ่มหกโมงฯ แล้วมาตอนนี้ทำไม” มันว่าเข้าให้นั่น เป็นอันว่า คงต้องรออีกสักพัก กว่ากลุ่มของพวกเขาจะเดินทางมาถึง ผมเริ่มเดินสำรวจรอบๆ บริเวณศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแห่งชาติแห่งแรกของเมืองไทย จริงๆ มันมีศูนย์ศิลปะอื่นๆ อยู่บ้างในต่างจังหวัดแต่มันคงดูไม่หรูหราใหญ่โตอลังการเท่าศูนย์นี้ ความใหญ่โตของมันทำให้ผมงกๆ เงิ่นๆ เดินเข้าไปในศูนย์เพื่อฆ่าเวลา เจ้าหน้าที่เกร่เข้ามาหาพร้อมกับรอยยิ้ม “ให้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงตรวจกระเป๋า นิดนึงนะครับ” เขาบอกกับผมอย่างสุภาพ ซิปกระเป๋ากล้องถูกเปิด พร้อมกับรอยยิ้มเล็กๆ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แดดเปรี้ยงผ่าลงตรงหัวพอดี ขณะที่ช่างภาพนับ 10 คน ดุ่ยๆ เข้าไปในอาคารเรียนแห่งนั้น โถงอาคารเอนกประสงค์โล่งๆ เหมาะจะเป็นสนามบาสฯ มากกว่าห้องเรียนถูกจัดแบ่งเป็น 2 ตอน ด้วยตู้ไม้ผุๆ ทางด้านหน้าเป็นชั้นเด็กโตและทางด้านหลังเป็นชั้นเด็กเล็กที่ไม่ควรจะเกิน 10 ขวบ โรงเรียนวัดสุทธารามหรือโรงเรียนวัดกำพร้า เป็นหนึ่งในหลายๆ โรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาครที่รับเด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติมาเรียนหนังสือ วิชาที่สอน เน้นพูด อ่านและเขียนภาษาไทย ,เมื่อเค้าต้องอยู่ร่วมกับเราอย่างไม่อาจจะปฏิเสธ กล่าวกันทีเล่นทีจริงว่า หากหญิงสาวชาวพม่าไม่ทาแป้งทานาคาและชายหนุ่มชาวพม่านุ่งกางเกงยีนส์ไปเคาน์ ดาวน์ ที่ เซ็นทรัล…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
“ปากน้ำระนองเลยพี่” เลิศ หนุ่มน้อยหุ่นทรงกระบอกแนะนำ “เหรอ ไกลมะ” ผมถาม “ไม่เท่าไร รับรองสวย พี่” ปากน้ำระนอง ห่างจากตัวเมืองราวขับรถ 10 นาที บนถนนเลียบเนินจะมองเห็นตัวเมืองระนองกลางขุนเขาโอบล้อมอย่างชัดเจนระนองเป็นเมืองชายแดนพม่าฝั่งทะเลอันดามัน ร้อนและชื้น จนได้ชื่อว่า เมืองฝน 8 แดด 4 (อันที่จริง เมืองชายฝั่งทะเลภาคใต้ก็ฝน 8 แดด 4 กันแทบทั้งนั้น) ฝนตกชุก ทั้งหนักและพรำๆ ในช่วงที่ผมอยู่ที่นั่น ระนองติดกับประเทศพม่าบริเวณเมืองทวายโดยมีเกาะสองกั้นเป็นพรมแดนธรรมชาติและชายฝั่งที่ทอดยาวจรด จ.พังงา เดินทางไม่ยากเพราะมีบริษัททัวร์บริษัทเดียวที่ให้บริการ 2 รอบ คือ เช้าและบ่าย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ความน่าสนใจของท้องฟ้าก่อนพายุจะมาหรือสตอม เซอจ ที่ คุณดินยา ได้เขียนเป็นข้อมูลเอาไว้ เร้าให้ผมเกิดแรงบันดาลใจที่จะบันทึกภาพ ท้องฟ้าก่อนพายุจะมา ภาพเหล่านี้ถ่ายระหว่างวันที่ 25-30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ขณะที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องคลื่นพายุซัดฝั่ง บริเวณอ่าวไทยเมืองแม่กลอง ... ... จู่ๆ ท้องฟ้าที่เคยสดใสกลับมืดครึ้ม กลุ่มเมฆก่อตัวอย่างฉับพลันกลืนแสงอาทิตย์ มองดูแล้วพูดไม่ถูกว่ามีความรู้สึกอย่างไร สีสันของเมฆเขียวครามแต้มอากาศสีเทา ฝนตั้งเค้าในที่ไกลๆ ท้องฟ้า ...ท่าจะไม่เงียบเหงาอีกต่อไป
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
จบแล้วครับ .. เล่นง่ายแบบนี้เชียวเร๊อะ!! Ha Ha ... มีคำกล่าวง่ายๆ ว่า ทุกครั้งในการเดินทาง จงยิ้ม พึ่งพาสมองและสองเท้าแล้วค้นหา ...คุณจะพบว่า โรงแรมราคาดีแต่สะอาด รอคุณอยู่สุดซอย ...เสมอ เราบินออกจากฮานอยด้วยสายการบินโลว์คอส แอร์ เครื่องบินดีเลย์นิดหน่อย อย่างไม่ดัดจริต ผมคิดถึงส้มตำหอยดอง ปูปลาร้า ปากซอย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ฮานอยเป็นหัวเมืองใหญ่ทางภาคเหนือของเวียดนาม สถานที่ที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีไม่เป็นรองเมืองอื่นๆ (ยกเว้นตอนนี้เวียดนามเจอภาวะเงินเฟ้อ) กับความรุ่งเรืองแห่งอดีตอดีตแห่งภูมิภาคหนึ่งของจีนที่ได้ชื่อว่า อันนัมประกอบไปด้วย การจราจรอันคับคั่ง(จริงๆ ก็คับคั่งทุกเมืองใหญ่แหละ)ย่านโอลด์ ทาวน์ ทะเลสาบคืนดาบ บาร์เกย์และดนตรีแนวแทรนส์เราเจอฟั้งกี้ มั้งกี้ ณ หัวมุมถนนย่านใจกลางเมือง หลังจากที่เดินตามหามาตั้งแต่หัวค่ำ ในอาคารพาณิชย์ 1 คูหา ไกด์คนเก่งจากเกาะกั๊ตบาแนะนำให้เรามาย่านนี้ เหตุผลหนึ่งเพราะเป็นย่านบาร์เกย์ที่คนในเพศที่ 3 สามารถจะแสดงออกมาได้อย่างเต็มที่…