Skip to main content

ฆูณุงจไร เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยใหม่ เชื่อว่า เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของเผ่าพันธุ์ตน กล่าวกันว่า ถึงแม้ ชาวอูรักลาโว้ยจะเดินทางท่องไปในทะเลกว้าง จากอันดามันจรดช่องแคบมะละกา ไม่มีหลักแหล่งแห่งที่ที่แน่นอน แต่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ฆูณุงจไรได้เชื่อมเอาดวงวิญญาณแห่งความถวิลถึงกันและกันเอาไว้

ฆูณุงจไร ในความหมายนี้ คือ ยอดเขาบนเกาะแห่งหนึ่งในรัฐเคดาห์หรือเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกลจากท้องทะเล ก่อนจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานบนดินแห้งในแถบอันดามัน หลังการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลาม

...โดยเฉพาะบนเกาะลันตาที่เคยได้ชื่อว่า เมืองหลวงของชาวน้ำ

น้ำทะเลแหวกเป็นสายเมื่อ Speed Boat ขนาดบรรทุก 30 คน เริ่มแผดคำรามเสียง หลังจากแวะรับเพื่อนร่วมทางอีกจำนวนหนึ่ง เราทุกคนตื่นเต้นที่ได้อยู่บนท้องน้ำสีเขียวและใต้ท้องฟ้าสีน้ำเงิน

มันน่าตื่นเต้นชะมัด การดำน้ำแบบ Snorkel เป็นทางเลือกง่ายๆ ที่ทำให้เราจมดิ่งไปกับโลกใต้ทะเลบริเวณหมู่เกาะรอกอยู่ห่างจากเกาะลันตา ๓๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดย Speed Boat ๔๕ นาที ในบางกรณี หากต้องการตั้งแคมป์บนเกาะก็สามารถติดต่อเรือหัวโทงของชาวบ้านได้

เกาะรอกในและเกาะรอกนอก มีชายหาดยาวสีขาว (รับรองว่าขาว) น้ำทะเลสีครามสลับเนินเขาสีเขียวและตัวเงินตัวทอง นักดำน้ำจะได้แวะพักกินข้าวเที่ยงและนอนอาบแดดบนเกาะ Package นี้ในอัตรา 1,500 บาท/หัว แต่เพื่อนฝูงบนเกาะติดต่อให้เราได้ในอัตราหัวละ 1,000 บาท, Ha a Ha a

“พี่ ไม่ดำน้ำหรือ” รุ่นน้องคนหนึ่งเอ่ยถาม ก่อนพยายามสวมหน้ากากดำน้ำ
“เอ่อ ผมว่ายน้ำไม่เป็น” ผมยืนยัน
“มีชูชีพนะพี่” รุ่นน้องยังรบเร้า
“เออ มีชูชีพก็จม”

…    

ประวัติศาสตร์ของเกาะลันตาถูกบันทึกเอาไว้ 3 ช่วงเวลา

ก่อนปี 2500 เป็นช่วงเวลาของความสงบง่ายตามแบบชาวน้ำ หากจะมีการติดต่อค้าขายกับแผ่นดินใหญ่บ้างก็เป็นการติดต่อค้าขายทางเรือกับสิงค์โปร์หรือปีนัง ช่วง 2500-2530 เป็นช่วงกลางที่เกาะลันตามีการติดต่อกับแผ่นดินใหญ่มากขึ้น ทั้งตัดถนนภายในเกาะและทำแพขนานยนต์เพื่อเชื่อมเกาะ

,และยุคปัจจุบันที่ธุรกิจท่องเที่ยวเฟื่องฟู โดยหน่วยงานราชการเป็นตัวเชื่อมโครงสร้างระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ จากนั้นมา ชาวไทยใหม่(อูรักลาโว้ย) ที่บ้านสังกาอู้ บ้านหัวแหลมและบ้านในไร่-คลองดาว จึงเป็นผู้เฝ้ามองอย่างไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิต

...

Same same but different เป็นบาร์ริมหาด

คืนวันของการเฉลิมฉลองปีใหม่ เวทีดนตรีรูปโดมถูกก่อสร้างขึ้นอย่างละเมียดและมีรสนิยม ตัวเวทีหันหลังให้ชายหาดและท้องทะเลสีดำสนิท ท่ามกลางความมืดของกลางคืน แสงไฟนวลๆ จากบาร์อื่นๆ กระพริบเห็นเป็นจุดจุดอยู่ทั่วหาด นักแสวงสุขหลายคนทั้งชายหญิงยืนเคล้าคลอเคลีย โอนอ่อนไปตามจังหวะและเสียงดนตรี Reggae & blues ที่รุมเร้า ทว่านุ่มนวล

นักท่องเที่ยวจากชาวเอเชียซดเบียร์สิงห์จากขวด พร้อมส่ายสะโพกซ้ายขวาเห็นเป็นเงาๆ อยู่หน้าเวทีใกล้กับหนุ่มสาวคู่หนึ่งซึ่งจูบกันอย่างดูดดื่มออกรสออกชาติ (เขาและเธอจูบกันอยู่อย่างนั้นทั้งคืน) ขณะหญิงไทยล่ำสันคนนั้นขึ้นเวทีโชว์พลังเสียงอย่างถึงอกถึงอารมณ์

พวกเราเริ่มออกวิ่งเป็นวงกลม วนไปรอบๆ เวทีรูปโดม ราวกับลัทธิบูชาไฟของอินเดียนแดงบางเผ่าในอเมริกาใต้และป้องปากตะโกน Eivaaaaaa ...

กลางคืนสำหรับนักแสวงสุขยังยืดยาวและไร้จุดจบ ,ไม่มีใครอยากให้มันจบ

ชายหนุ่มผมหยิกหยอง ริมฝีปากหนา ตาโปน ผิวน้ำตาลเข้ม รูปร่างหนา ในเสื้อกางเกงลายดอกจากหมู่บ้านสังกาอู้หยิบเบียร์ให้แขกชาวเกาหลีคนนั้น ,เธอโปรยรอยยิ้มหยาดเยิ้มกลับไปให้เขา

...

สำหรับใครบางคน เกาะลันตา คือ จุดจบทางวัฒนธรรมชาวเล
สำหรับใครอีกหลายคน เกาะลันตา คือ จุดเริ่มต้นของการแปลงวัฒนธรรมเป็นทุน
สำหรับผม ..ผม HANG!!!


...

ขอบคุณความเอื้อเฟื้อของเพื่อนๆ ทุกคนบนเกาะลันตา น้อง,พี่เบียร์,นุช,ยันนี่,กร,บัง,สาวๆ แห่งร้านโทเก้ ดีไซน์และพี่โทนี่กะภรรยาครับ

 

20080207 บนสะพานที่เป็นจุดชมวิว
ถ่ายบริเวณบ้านหัวแหลม บนสะพานที่เป็นจุดชมวิว
บ้านเรือนที่มองเห็นเป็นของชาวน้ำที่ปรับตัวเองเป็นร้านอาหารและเกสต์เฮ้าส์ ราคาแบ็กแพ็กเกอร์
(คลิกดูภาพขนาดใหญ่)

20080207 เปรียบเทียบเรือหัวโทงกับเรือใบ
เปรียบเทียบเรือหัวโทงกับเรือใบชนิด 2 ใบเรือ

20080207 เรือหัวโทง

20080207 เรือหัวโทง (2)

20080207 เรือหัวโทง (3)
เรือหัวโทง เครื่องมือยังชีพของชาวน้ำที่เป็นมากกว่าบ้าน ในอิริยาบถต่างๆ ทั้งหมดถ่ายที่บ้านหัวแหลม

 

20080207 ถนนภายในเกาะ
ถนนภายในเกาะ ชาวบ้านที่นี่ก็เหมือนกับชาวปักษ์ใต้ทั่วไปที่นิยมเลี้ยงนกหัวจุก

 

20080207 ท้องฟ้า หาดทราย ชายทะเล

20080207 ท้องฟ้า หาดทราย ชายทะเล (2)

20080207 ท้องฟ้า หาดทราย ชายทะเล (3)
ท้องฟ้า หาดทราย ชายทะเล ในมุมและเวลาต่างๆ ทั้ง 3 ภาพ กร ช่างภาพแห่งโทเก้ ดีไซน์ เป็นคนถ่าย ค่อยๆ ดูนะครับ สีสันสวยดี
ส่วนภาพก่อนนี้ ไม่ได้มีเจตนาใดใดหรอกครับ เชื่อผมดิ !!

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใบไม้ปลิดออกจากขั้ว กลายเป็นสีขาวกลางผืนป่าสีเขียว
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
   ฮ่อมดง มองเห็นเป็นพุ่มๆ ริมทาง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดงน้อยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักจะหยุดค้างแรม มีห้องน้ำที่ทำด้วยไม้ไผ่สานใบตองตึงต่ออย่างหยาบๆ ในห้องขุดลึกเป็นโพรงราวๆ 3 เมตร ปากหลุมเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตร มีไม้พาดระหว่างปากหลุมให้นักท่องเที่ยวเข้าไปนั่งทำธุระทั้งหนักและเบานักเดินป่าสัก 10 คน มาถึงดงน้อยในเย็นวันนั้น อากาศขมุกขมัวทำให้เวลากลางวันสั้นกว่าเวลากลางคืน มืดสนิทภายใต้อ้อมกอดของขุนเขาและราวป่า ลูกหาบของคณะเดินป่าชุดนั้นเริ่มอุธทรณ์ เมื่อพวกเขาคิดว่า จะเดินไปอ่างสลุงในคืนนั้น เพื่อให้ทันดูทะเลหมอก“หากพวกคุณจะไป พวกคุณไปได้เลย ลูกหาบ(4 คน)จะพักที่นี่แล้วตามไปพรุ่งนี้”“อ่าว แล้วเราจะเอาอะไรกินคืนนี้” หนึ่งในนั้นเริ่ม…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมยืนมอง ขาหมูอวบๆ สีน้ำตาลเข้มแช่อยู่ในน้ำพะโล้ที่ร้านพรเพ็ญ(ขาหมูเสวย เจ้าเก่า)มันนอนนิ่งๆ รอคนขายเอามีดมาปาดบางๆ โปะลงบนข้าวให้ลูกค้า ไอร้อนหน้าเตาพอจะช่วยให้เนื้อตัวผมเบาขึ้นจากความหนาวนอกร้านที่กัดกร่อนถึงกระดูก"ซื้อขาหมู 100 บาท ครับ" ผมบอกคนขายแกกำลังวุ่นวายอยู่กับงานขายตรงหน้า ลูกค้าเริ่มทยอยเข้ามาหนาตา แดดสายแหย่ตัวรอดตามช่องชายคา ผมคิดว่า เราน่าจะซื้อขาหมูขึ้นไปกินบนดอยหลวงเชียงดาว...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมเจอ สาม พัน โบก โดยบังเอิญ คุณป้าจากสองคอน รีสอร์ท แกบอกว่าให้ขับรถไปสัก 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย สุดสวนมะขามของอาจารย์เรืองประทิน นั่นแหละอาจารย์เรืองประทิน ชายร่างใหญ่ ผิวสีน้ำตาลไหม้ ผมหยักศกสีดำสนิท ทำให้แกดูขรึมๆ แต่รอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตาเล็กๆ คู่นั้น บอกว่า แกเป็นคนมีไมตรี“นาย 2 คน มาจากที่ไหนกัน” แกทักด้วยน้ำเสียงแบบพ่อพิมพ์ภูธร“กรุงเทพฯ ครับ” เพื่อนผมบอก ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปและมาที่นี่ได้ยังไง“โอ้ว นั่น คุณเดินลงไปสำรวจสิ” แกชี้ไปที่กลุ่มโขดหินเว้าแหว่ง ข้างหน้า
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทะเลแหวก ที่หาดนพรัตน์ธารา เสียงเครื่องเรือหางยาวออกจากฝั่ง พรายฟองทะเลสีขาวละเอียดแหวกออกเป็นสายตามความเร็วของเรือ ไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา ขอบฟ้ากับผืนน้ำจรดกันแทบเป็นเนื้อเดียวอาสาสมัครลงความเห็นว่า เราควรจะไปทะเลแหวกอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง หมู่เกาะพีพี หรือ "หาดคลองแห้ง" ตามคำเรียกเดิมของคนพื้นถิ่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ทางภูมิศาสตร์ช่วงน้ำลง น้ำคลองซึ่งไหลลงมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอด ทรายขาวละเอียดปนเปลือกหอยยาวเหยียดจะโผล่เหนือผืนน้ำ ทอดยาวลงทะเล ก่อนจะบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง เข้ากันได้ดีกับทิวสนริมฝั่ง กลายเป็นภูมิทัศน์ชายหาดแปลกตาสำหรับนักท่องเที่ยว ไกลออกไป…