Skip to main content

...

เรือเล็กทะยานออกจากบ้านท่าตาฝั่ง แหวกสายน้ำเห็นเป็นแนวตามความเร็วของเครื่องยนต์ นกนางแอ่นหางลวดโผตัวอยู่เหนือผิวน้ำสีแดงขุ่น เดือนพฤษภาคม น้ำสาละวินจะเป็นสีแดงขุ่น เป็นไปตามระบบธรรมชาติของแม่น้ำสาละวินที่ถูกยกให้เป็นพื้นที่ของความหลากหลายโล

ทั้งในแง่ของชีววิทยาและแง่งามทางวัฒนธรรม

แม่น้ำสาละวินเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตสองฟากฝั่งน้ำมาอย่างยาวนาน ยาวนานมากพอที่จะสร้างสรรค์รูปแบบทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับระบบทางนิเวศน์วิทยา

ชนเผ่าโบราณใช้สายน้ำสาละวินเป็นเส้นทางสัญจรติดต่อทำมาค้าขายกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตอันรุ่งเรือง ตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนโบราณ ซึ่งค้นพบจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือหินกะเทาะคล้ายขวานหิน เครื่องมือโกลนหินขัด กล้องยาสูบ ไปจนถึง เครื่องลายครามภาชนะดินเผาโบราณสมัยราชวงศ์หมิง

บ่งบอกถึงการเดินทางค้าขายติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก
หากใครจะคิดได้ ใช่ไหมว่า พวกเรากำลังสัญจรอยู่บนเส้นทางสายอารยธรรม

...

แก่งเว่ยจี อยู่ห่างจากบ้านท่าตาฝั่งออกไปราว 2 ชั่วโมง (คิดตามอัตราความเร็วของเรือขนควาย) พวกเราต้องค้างคืนกันที่บ้านแม่ดึ๊ 1 คืน ก่อนจะยกพลกันไปที่แก่งเว่ยจี ในเช้าวันรุ่งขึ้น (9 พ.ค. 51)

หมู่บ้านแม่ดึ๊ เป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง เล็กกะทัดรัด ขนาด 107 คน ตั้งอยู่บนเนินเหนือแก่งแม่ดึ๊ มีลำห้วยแม่แงะไหลผ่านหมู่บ้าน ออกไปยังบ้านโพซอและบ้านกองสุม ชาวบ้านที่นี่ไม่ได้รับการสำรวจเอาไว้ในทะเบียนราษฏร์ ทั้งที่ตั้งหมู่บ้านมามากกว่า 20 ปีแล้ว

การตกสำรวจ หมายถึง การไม่ได้รับการช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภคจากรัฐ

ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนเล็กๆ ขนาด 3x6 เมตร 1 หลัง มีคุณครู 2 คน หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ดึ๊ ชื่อ คุณครูโซมุ ไม่มีน้ำปะปา ไม่มีระบบสาธารณสุข ไม่มีไฟฟ้าและเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ นอกจาก ป้ายกฏข้อห้ามประจำหมู่บ้าน เช่น ห้ามตัดไม้ทำลายป่า ห้ามพกพาอาวุธ ห้ามทิ้งขยะ

แม้จะยากจน ชาวบ้านกลับต้อนรับพวกเราด้วยไมตรีจิต

โซมุ เป็นครูหนุ่ม ปีนี้เขาเพิ่งมีลูกคนที่ 4 ดวงตาที่ยิ้มได้ของเขาบ่งบอกถึงการเป็นคนอารมณ์ดี ผมซอยสั้น ร่างกายกำยำมองเห็นมัดแขนตามสภาพการกรากกรำงาน ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่จะทำไร่ข้าวและหาปลาในแม่น้ำสาละวินที่มีให้ได้กินกันเพียงพอในทุกครอบครัว

เป็นแหล่งอาหารที่มีชีวิตของคนบนฝั่งสาละวิน

พันธุ์ปลาหลากชนิดในลำน้ำสาละวินและลำห้วยสาขาต่างๆ ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของคนในลุ่มน้ำนี้ ชาวน้ำสาละวิน มีความเชี่ยวชาญด้านการจับปลา สร้างเครื่องมือจับปลาและรู้จักพันธุ์ปลาเป็นอย่างดี ทั้งยังมีความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำในแต่ละฤดูกาลที่แตกต่างกัน

โซมุบอกว่า “วังน้ำแต่ละวัง แก่งหินแต่ละแก่ง มีปลาให้กินกันเสมอ”
ใครบางคนคงยากที่จะเชื่อว่า กะเหรี่ยงก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ปลา

...

โซมุ เป็นครูเพราะไม่มีครูมาสอนที่หมูบ้านแม่ดึ๊ ไม่ใช่ว่าไม่เคยมี เคยมี หากย้ายกันไปตามวาระ สำหรับครูโซมุ แม้เขาจะสอนวิชาภาษาอังกฤษ หากครูหนุ่มได้แต่เพียงคาดหวังว่า เด็กๆ ในหมู่บ้านแม่ดึ๊อ่านเขียนภาษาไทยได้คล่อง พอเอาตัวรอดไม่ถูกหลอก ถูกโกงจากสังคมภายนอกหมู่บ้านก็เพียงพอแล้ว

การอ่านเขียนภาษาไทยคล่อง จะช่วยให้เด็กๆ ได้รับการสำรวจลงทะเบียนราษฏร์ของประเทศไทย

...

ยามสายของวันที่ 9 พ.ค. 51 พวกเรามากกว่า 600 ชีวิต ทยอยลงเรือขนควายไปยังจุดบวชป่าอีกจุดแก่งเว่ยจีหรือจุดสร้างเขื่อนสาละวินตอนบน ซึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสาละวินชายแดนไทย-พม่า ประกอบด้วยเขื่อน 2 แห่ง คือ เขื่อนสาละวินตอนบนตรงจุดเว่ยจีและเขื่อนสาละวินตอนล่างตรงจุดตากวิน

ตากวิน ติดท้ายหมู่บ้านท่าตาฝั่ง
เว่ยจี อยู่เหนือหมู่บ้านแม่ดึ๊ เข้าไปทางพรมแดนไทย-พม่า

จุดบวชป่าตรงแก่งเว่ยจี อยู่บนโขดหินใหญ่ ระหว่างล่องเรือ ทุกคนบนเรือจะสังเกตุเห็นป้ายผ้าเขียนเอาไว้ว่า “NO DAM” อยู่ริมผา ซึ่งเป็นจุดที่ถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งของสันเขื่อน เว่ยจี แปลว่า วังน้ำใหญ่ เป็นช่วงหน้าผาแคบ ยาว เป็นระยะทางนับ 10 กิโลเมตร ตรงจุดนี้น้ำสาละวินจะไหลเชี่ยวกรากรุนแรงเข้าสู่ประเทศพม่าที่หมู่บ้านตะกอท่า นักเดินเรือสัญจรในสายน้ำสาละวินต่างรู้กิตติศัพท์ของบริเวณนี้เป็นอย่างดี

ดังนั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก(น้ำโต)ผู้สัญจรทางน้ำจะหลีกเลี่ยง

โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสาละวิน เป็นโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ ระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย จีนและพม่า วางโครงร่างของแผนนโยบายผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 17 เขื่อน อยู่ในประเทศจีน 13 เขื่อน อีก 4 เขื่อนขวางลำน้ำสาละวินบนเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่า

โครงการนี้ถูกทักท้วงอย่างกว้างขวาง ทั้งคนจากภายในและภายนอกประเทศของทั้ง 3 ประเทศ เพราะ 9 เขื่อนในประเทศจีน ขวางลำน้ำบนพื้นที่เขตอนุรักษ์ ชื่อว่า “3 แม่น้ำไหลเคียง” อันเป็นจุดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

สำหรับ 4 เขื่อน บนแม่น้ำสาละวิน พรมแดนไทย-พม่า ได้แก่ เขื่อนท่าซางในเขตรัฐฉาน เขื่อนเว่ยจี เขื่อนตากวิน ระหว่างพรมแดนไทย-พม่าและเขื่อนฮัทจีในรัฐกะเหรี่ยง จะก่อให้เกิดการล้นเอ่อของสายน้ำเข้าท่วมพื้นที่ทำมาหากิน ชุมชนหมู่บ้านในพื้นที่ชนกลุ่มน้อยขนานใหญ่

ในส่วนของประเทศไทย
แม่น้ำปายจะเอ่อเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนกินพื้นที่ราว 30,000 ไร่ ใน 18 หมู่บ้าน

...

พิธีบวชป่า เริ่มต้นขึ้นอย่างเรียบง่าย เสียงผู้ประกอบพิธีเชิญชวนให้แขกและชาวบ้านที่มาร่วมงาน กว่า 600 ชีวิต มาอยู่ในบริเวณพิธีกรรม ชาวบ้านที่มาร่วมงาน ณ. จุดบวชป่าเว่ยจี มาจากทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่า เทียนขี้ผึ้งถูกจุดและเครื่องเซ่นไหว้เตรียมพร้อมอยู่แล้วในปะรำพิธี

เสียงสวดของผู้ประกอบพิธีกรรมดังกังวานก้องอาณาบริเวณ
“เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าสาละวิน ขอให้คุ้มครองพวกเรา ผู้มาร่วมงาน อัญเชิญท่านมารับเครื่องเซ่นเพื่อปกป้อง ผืนน้ำ ผืนฟ้า ขุนเขา หากใคร ผู้ใด คิดจะนำสิ่งใดมาขวางกั้นลำน้ำสาละวิน ขอประสบกับเหตุเภทภัย กระทำการไม่สำเร็จ เพื่อชีวิตของลูกหลานพวกเราจะได้อาศัยน้ำ อาศัยดิน อาศัยฟ้า เพื่อมีชีวิต”

หากก้าวพ้นเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ใช่หรือไม่ว่า พิธีกรรมบวชป่า หมายถึง การหลอมรวมดวงใจของคนลุ่มน้ำสาละวินให้เป็นหนึ่ง ปกป้องธรรมชาติ ปกป้องพื้นที่ทางวัฒนธรรม พื้นที่แห่งชีวิตของพวกเขา

บนพื้นฐานของความศักดิ์สิทธิ์ คนจะไม่กล้ารุกล้ำ
บนพื้นฐานของความเป็นหนึ่ง คือ การหลอมรวมความแตกต่าง

ไม่มีพุทธ คริสต์ อิสลาม ผี กะเหรี่ยง ไทย พม่า มอญ อื่นๆ ทุกคน คือ ประชาชาติของโลกใบเดียวกัน

...

ขอบคุณพี่ๆ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติทุกคน
www.terraper.org

 

20080522 บริเวณจุดเว่ยจี
บริเวณจุดเว่ยจี ที่ตั้งสันเขื่อนสาละวินตอนบน

20080522 บริเวณจุดบวชป่า
บริเวณจุดบวชป่า เว่ยจี

20080522 ผู้ประกอบพิธีเริ่มพิธีกรรมบวชป่า
ผู้ประกอบพิธีเริ่มพิธีกรรมบวชป่า

20080522 ศาสนิกชนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ศาสนิกชนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

20080522 ประนมมือด้วยความศรัทธายิ่ง
ประนมมือด้วยความศรัทธายิ่ง

20080522 ให้นมลูกระหว่างทำพิธี
ให้นมลูกระหว่างทำพิธี

20080522 ระหว่างเส้นทางเดินเรือ (1)

20080522 ระหว่างเส้นทางเดินเรือ (2)
ระหว่างเส้นทางเดินเรือ บางใบหน้าของชาวบ้านริมฝั่งน้ำสาละวิน

20080522 เหนือสายน้ำ
เหนือสายน้ำ สายแดดหลังก้อเมฆ ลอดออกมาเป็นลำ น่าตื่นตาหากเร้นลับอยู่ในที

20080522 มุมมองสุดท้ายริมฝั่งสาละวิน
มุมมองสุดท้ายริมฝั่งสาละวิน จากหมู่บ้านแม่สามแลบ

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
นานหลายเดือนที่ผมกับยาดาวางแผนการเดินทางไปเวียดนาม ความจริงก็คือ เรามาเร่งหาข้อมูลเอาโค้งสุดท้ายก่อนจะถึงกำหนดเดินทางเพียงอาทิตย์เดียว ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเข้าสู่เวียดนามมาจากหลายทาง ทั้งจากเพื่อนที่เคยไปและไม่เคยไป (แต่มีคนรู้จักหรือมีเพื่อนเคยไป) ทั้งจากหนังสือและเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศรวมถึงโลนลี่ พลาเน็ต ฉบับเวียดนาม ที่ลงทุนไปหาซื้อมาตั้งแต่ 6 เดือน ก่อนวันออกเดินทาง (16 วัน ระหว่างวันที่ 3-18 เมษายน 51)ทำไมถึงเวียดนาม อย่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย คือ อยากไปว่ะ!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
...เรือเล็กทะยานออกจากบ้านท่าตาฝั่ง แหวกสายน้ำเห็นเป็นแนวตามความเร็วของเครื่องยนต์ นกนางแอ่นหางลวดโผตัวอยู่เหนือผิวน้ำสีแดงขุ่น เดือนพฤษภาคม น้ำสาละวินจะเป็นสีแดงขุ่น เป็นไปตามระบบธรรมชาติของแม่น้ำสาละวินที่ถูกยกให้เป็นพื้นที่ของความหลากหลายโลกทั้งในแง่ของชีววิทยาและแง่งามทางวัฒนธรรมแม่น้ำสาละวินเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตสองฟากฝั่งน้ำมาอย่างยาวนาน ยาวนานมากพอที่จะสร้างสรรค์รูปแบบทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับระบบทางนิเวศน์วิทยาชนเผ่าโบราณใช้สายน้ำสาละวินเป็นเส้นทางสัญจรติดต่อทำมาค้าขายกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตอันรุ่งเรือง ตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนโบราณ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..........‘พวกเรา’ มาถึงหมู่บ้านแม่สามแลบก่อนเที่ยงเล็กน้อยหลังจากที่ต้องผจญกับโค้งนับร้อยโค้งตลอดคืนบนเส้นทางจากกรุงเทพฯถึงตัวอำเภอแม่สะเรียงและจากตัวอำเภอแม่สะเรียงถึงหมู่บ้านแม่สามแลบ ระยะทางที่เหลือ คือ ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยฝุ่นสีแดงและคันดินระหว่างหน้าผาที่ถล่มเป็นโพรงลึกตลอดเส้นทางจุดหมายของการเดินทาง คือ งานพิธีบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวงของเรา’ งานบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ (6-9 พ.ค. 51) ถูกจัดขึ้น 2 จุด จุดแรก คือ หมู่บ้านท่าตาฝั่ง จุดที่2 คือ หมู่บ้านแม่ดึ๊ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน การเดินทางไปยังจุดบวชป่าทั้ง 2 จุด จะต้องโดยสารเรือ จากหมู่บ้านแม่สามแลบ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ยามสายวันอาทิตย์ วันหยุดพักผ่อน สำหรับกลุ่มซ.โซ่อาสา กลุ่มอาสาสมัครจะมาสอนเด็กๆ ริมถนนราชดำเนิน ด้านข้างโรงแรมรัตนโกสินทร์......แผ่นกระดาษสีขาวโจทย์บวกลบเลขอย่างง่ายกับโยงคำผิดภาษาไทยได้รับการแจกจ่ายให้เด็กๆ ลูกๆ แม่ค้าพ่อค้าบริเวณนั้นได้ฝึกหัด ...โดยมีอาสาสมัคร กลุ่มซ.โซ่ อาสา เป็นพี่เลี้ยงคอยฝึกสอน...เรียนเล่นและรอยยิ้มสนุกสนานกับขนมนมเนยเล็กๆ น้อยๆ ...ซ.โซ่ อาสา เป็นกลุ่มอาสาสมัครมีมาร่วมกันโดยไม่รู้จักกันมาก่อน เจอเพื่อนใหม่และทำความรู้จักกับกลุ่มครูปู่ http://blogazine.prachatai.com/user/ginnagan/post/101
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1ตี 5 ครึ่งของวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2549 ท้องฟ้ากำลังจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว ชาวจิตอาสา (เกือบ) 20 ชีวิต นัดรวมพลกันหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บทเริ่มต้นของการเดินทางรวมใจสร้างห้องสมุดดิน (25-27 ส.ค.49) กับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง คนกวาดถนน รถเก็บขยะและแม่ค้าขายผัก นักเรียน พนักงานห้างและพนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์และนักการเมือง คือ ลมหายใจของกรุงเทพฯ (มหานครของเรา) กับการเริ่มต้นของชีวิตอีกครั้ง ผมไปถึงที่นัดหมาย 06.00 น. (ฮา)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไม่มีของฟรีในโลก ออกจะเป็นวลีที่คุ้นเคยสำหรับคนในโลกยุคนี้ ยิ่งสถานการณ์ราคาน้ำมันแตะเพดานที่ 35 บาท (คาดการณ์ว่าน่าจะเร็วๆ นี้) ทำให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ ขสมก. เรือคลองแสนแสบ เรียกว่า ขนส่งมวลชนแทบทุกประเภท ขยับแข้งขาขอขึ้นราคาค่าตัวกันถ้วนหน้ายุคข้าวยากหมากแพง คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการให้งานการให้ในสวน สวนกระแสคำพูดข้างต้น .....ดอกไม้งามในสวนแห่งการให้ถูกจัดขึ้นบริเวณอุทยานเบญจสิริ ภายใต้นิยามที่ว่า “แล้วงานศิลปะแห่งการให้จะกลายเป็นดอกไม้ในสวน” ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์-14 มีนาคม 2551 (mormor.org) เน้นการสร้างสรรค์แนวงานผ่านวิธีคิดของบุคคลในแวดวงแห่งการให้และศิลปินอาสา มากกว่า 100…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แถบม่วงของกระหล่ำสีกลีบหยักของกล้วยไม้บางดอกดูแปลกตาดี
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เสาร์วันหนึ่งกลางสวนรถไฟ กรุงเทพมหานคร ติดตลาดนัดสวนจตุจักรที่คนกรุงคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะกลางเมืองใหญ่เช่นนี้จะมีสักกี่สถานที่ที่จะมีสีเขียวให้ได้สูดลมหายใจได้เต็มปอดกิ่งใบสีเขียวแก่จัดของต้นก้ามปูใหญ่ยื่นยาวแตกกิ่งก้านสาขาร่มครึ้มอยู่กลางสวน ดอกตะแบกสีม่วงร่วงเกลื่อนพื้นตัดกับสนามหญ้าสีเขียว เด็กผู้พิการทางสายตาจากโรงเรียนสอนคนตาบอด อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฝั่งโรงพยาบาลราชวิถีส่งเสียงเจี๊ยว รอเวลาที่จะได้ เฮละโลกลุ่มกิจกรรมอิสระเล็กในชื่อกลุ่ม Pay Forward นำเด็กที่มองไม่เห็นมาทำกิจกรรม แรลลี่เพื่อเด็กพิการทางสายตา เด็กๆ จำนวน 24 คน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
1.ฉันปลูกต้นไม้วางปุ๋ยเคมีหวังหยั่งรากถึงกิ่งแก้ว2.เนิ่นนานมาแล้วที่จิตสำนึกผมสลายแตกดับพร้อมความดีงาม3.คุณอาจไม่เชื่อเรื่องพรหมลิขิตเมื่อสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งตามหาแผ่นดินตาย4.เขาแบ่งปันสีน้ำเงินแก่ผู้ยากไร้หวังลอยสู่ก้อนเมฆ5.ความหวานในทุนนิยมโรยด้วยงาดำตาดำๆ6.ลิ้มรสอำนาจมาหลายสมัยไม่เคยรู้จักพอเพียง คืออะไร7.ผมห่มคลุมแผ่นดินด้วยเงิน บารมีด้วยความชอบธรรม8.ผมไตร่ตรองถึงความซื่อสัตย์และพบเพียงความว่างเปล่าที่ไร้อำนาจ ขอบคุณ ‘โซไรด้า’ น้องที่แสนดี 
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 1.ดอกไม้มวลชนเดินขบวนเรียกร้องแบบเรียนประชาธิปไตย2.เหตุผลของบางคนหักล้างไม่ได้เมื่อเทียบกับกลีบใบของแผ่นดินที่ร่วงหล่น3.สีชมพูแต้มดวงหน้านกขมิ้นคือ ฝันอันเลือนลางของหนุ่มสาว4.ฉันหวังเห็นแผ่นดินสูงขึ้นด้วยความรักมิใช่ด้วยทรราชย์5.เราเรียกร้องด้วยเสียงเพลงขับไล่ความมืดดำบนถนนแห่งเสรีภาพ  6.ฉันเด็ดใบไม้จากราวป่าเก็บมาฝากสังคมเมือง7.ทุกอย่างเคลื่อนไหวด้วยพลังความดีงาม8.เมื่อฉันลอยตัวให้สูงขึ้นจากทุนนิยมจึงเห็นเวิ้งฟ้าสีฟ้าห่มคลุมเม็ดดิน9.เศษดินคือ บางอย่างที่เหมือนจะไร้ค่าทั้งที่ความจริงฉันก็มาจากสิ่งนี้10.…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 ‘FREE TIBETAN’08.30 น. - 19 มีนาคม 2551อากาศหน้าสถานทูตจีน ริมถนนรัชดาร้อนสุดขีด พนักงานกทม.บนรถบรรทุกน้ำสีเขียวปล่อยน้ำออกจากสายพลาสติกกลมเทาพุ่งกระจายฟูฝอยเพื่อทำความสะอาดฟุตบาธตามปกติเวลาทำงาน ไล่เรื่อยมาจากแยกพระรามเก้า-อสมท.-ฟอร์จูน ทาวน์-แยกศักดิ์เสนา ก่อนจะหยุดกึกที่หน้าสถานฑูตจีนเพราะเห็นกลุ่มคน กลุ่มใหญ่ชูป้ายกระดาษ กางผืนธงชาติรูปร่างแปลกตา อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน“ประท้วงนี่หว่า” อย่างเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับเวลาทำงาน เขาขับรถผ่านไปไม่หันมามอง...ตำรวจนำกำลังมากั้นแผงเหล็กหน้าสถานฑูตตั้งแต่เช้าแล้ว แดดสายเริ่มทวีความร้อนสุดขีดขึ้นทุกขณะ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มีสถานที่ใดบ้างในโลก ที่ทำให้เราคิดถึงได้อย่างจริงๆ จังๆ ,คิดถึงและต้องกลับไปอีกครั้ง หากไม่มีความทรงจำ ,ก็คงไม่มีอดีตและอนาคต หมู่บ้านแม่ดึ๊จึงเป็นหลายเหตุผลที่คนหลายคนควรจะทำความรู้จักหมู่บ้านแม่ดึ๊ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เพิ่งมีโรงเรียนและครูได้ไม่นานเดือน ,สำหรับคนกะเหรี่ยงที่นั่น โลกภายนอก คือ บางสิ่งที่ควรจะเรียนรู้...“นาย ,นายเคยเขียนแคนโต้เกี่ยวกับแม่ดึ๊เอาไว้ใช่หรือเปล่า” ผมออกปากกะน้องอย่างนั้น“ไมพี่ เขียนไว้นานแล้ว ตั้งแต่ไปค่ายจิตอาสากับพี่นั่นแหละ”“เอ่อ ครือ..ผมคิดว่า เอ่อ...ผมอยากได้งานนายมาประกอบภาพว่ะ”ผม ‘เอ่อ’…