Skip to main content

...

เรือเล็กทะยานออกจากบ้านท่าตาฝั่ง แหวกสายน้ำเห็นเป็นแนวตามความเร็วของเครื่องยนต์ นกนางแอ่นหางลวดโผตัวอยู่เหนือผิวน้ำสีแดงขุ่น เดือนพฤษภาคม น้ำสาละวินจะเป็นสีแดงขุ่น เป็นไปตามระบบธรรมชาติของแม่น้ำสาละวินที่ถูกยกให้เป็นพื้นที่ของความหลากหลายโล

ทั้งในแง่ของชีววิทยาและแง่งามทางวัฒนธรรม

แม่น้ำสาละวินเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตสองฟากฝั่งน้ำมาอย่างยาวนาน ยาวนานมากพอที่จะสร้างสรรค์รูปแบบทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับระบบทางนิเวศน์วิทยา

ชนเผ่าโบราณใช้สายน้ำสาละวินเป็นเส้นทางสัญจรติดต่อทำมาค้าขายกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตอันรุ่งเรือง ตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนโบราณ ซึ่งค้นพบจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือหินกะเทาะคล้ายขวานหิน เครื่องมือโกลนหินขัด กล้องยาสูบ ไปจนถึง เครื่องลายครามภาชนะดินเผาโบราณสมัยราชวงศ์หมิง

บ่งบอกถึงการเดินทางค้าขายติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก
หากใครจะคิดได้ ใช่ไหมว่า พวกเรากำลังสัญจรอยู่บนเส้นทางสายอารยธรรม

...

แก่งเว่ยจี อยู่ห่างจากบ้านท่าตาฝั่งออกไปราว 2 ชั่วโมง (คิดตามอัตราความเร็วของเรือขนควาย) พวกเราต้องค้างคืนกันที่บ้านแม่ดึ๊ 1 คืน ก่อนจะยกพลกันไปที่แก่งเว่ยจี ในเช้าวันรุ่งขึ้น (9 พ.ค. 51)

หมู่บ้านแม่ดึ๊ เป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง เล็กกะทัดรัด ขนาด 107 คน ตั้งอยู่บนเนินเหนือแก่งแม่ดึ๊ มีลำห้วยแม่แงะไหลผ่านหมู่บ้าน ออกไปยังบ้านโพซอและบ้านกองสุม ชาวบ้านที่นี่ไม่ได้รับการสำรวจเอาไว้ในทะเบียนราษฏร์ ทั้งที่ตั้งหมู่บ้านมามากกว่า 20 ปีแล้ว

การตกสำรวจ หมายถึง การไม่ได้รับการช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภคจากรัฐ

ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนเล็กๆ ขนาด 3x6 เมตร 1 หลัง มีคุณครู 2 คน หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ดึ๊ ชื่อ คุณครูโซมุ ไม่มีน้ำปะปา ไม่มีระบบสาธารณสุข ไม่มีไฟฟ้าและเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ นอกจาก ป้ายกฏข้อห้ามประจำหมู่บ้าน เช่น ห้ามตัดไม้ทำลายป่า ห้ามพกพาอาวุธ ห้ามทิ้งขยะ

แม้จะยากจน ชาวบ้านกลับต้อนรับพวกเราด้วยไมตรีจิต

โซมุ เป็นครูหนุ่ม ปีนี้เขาเพิ่งมีลูกคนที่ 4 ดวงตาที่ยิ้มได้ของเขาบ่งบอกถึงการเป็นคนอารมณ์ดี ผมซอยสั้น ร่างกายกำยำมองเห็นมัดแขนตามสภาพการกรากกรำงาน ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่จะทำไร่ข้าวและหาปลาในแม่น้ำสาละวินที่มีให้ได้กินกันเพียงพอในทุกครอบครัว

เป็นแหล่งอาหารที่มีชีวิตของคนบนฝั่งสาละวิน

พันธุ์ปลาหลากชนิดในลำน้ำสาละวินและลำห้วยสาขาต่างๆ ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของคนในลุ่มน้ำนี้ ชาวน้ำสาละวิน มีความเชี่ยวชาญด้านการจับปลา สร้างเครื่องมือจับปลาและรู้จักพันธุ์ปลาเป็นอย่างดี ทั้งยังมีความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำในแต่ละฤดูกาลที่แตกต่างกัน

โซมุบอกว่า “วังน้ำแต่ละวัง แก่งหินแต่ละแก่ง มีปลาให้กินกันเสมอ”
ใครบางคนคงยากที่จะเชื่อว่า กะเหรี่ยงก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ปลา

...

โซมุ เป็นครูเพราะไม่มีครูมาสอนที่หมูบ้านแม่ดึ๊ ไม่ใช่ว่าไม่เคยมี เคยมี หากย้ายกันไปตามวาระ สำหรับครูโซมุ แม้เขาจะสอนวิชาภาษาอังกฤษ หากครูหนุ่มได้แต่เพียงคาดหวังว่า เด็กๆ ในหมู่บ้านแม่ดึ๊อ่านเขียนภาษาไทยได้คล่อง พอเอาตัวรอดไม่ถูกหลอก ถูกโกงจากสังคมภายนอกหมู่บ้านก็เพียงพอแล้ว

การอ่านเขียนภาษาไทยคล่อง จะช่วยให้เด็กๆ ได้รับการสำรวจลงทะเบียนราษฏร์ของประเทศไทย

...

ยามสายของวันที่ 9 พ.ค. 51 พวกเรามากกว่า 600 ชีวิต ทยอยลงเรือขนควายไปยังจุดบวชป่าอีกจุดแก่งเว่ยจีหรือจุดสร้างเขื่อนสาละวินตอนบน ซึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสาละวินชายแดนไทย-พม่า ประกอบด้วยเขื่อน 2 แห่ง คือ เขื่อนสาละวินตอนบนตรงจุดเว่ยจีและเขื่อนสาละวินตอนล่างตรงจุดตากวิน

ตากวิน ติดท้ายหมู่บ้านท่าตาฝั่ง
เว่ยจี อยู่เหนือหมู่บ้านแม่ดึ๊ เข้าไปทางพรมแดนไทย-พม่า

จุดบวชป่าตรงแก่งเว่ยจี อยู่บนโขดหินใหญ่ ระหว่างล่องเรือ ทุกคนบนเรือจะสังเกตุเห็นป้ายผ้าเขียนเอาไว้ว่า “NO DAM” อยู่ริมผา ซึ่งเป็นจุดที่ถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งของสันเขื่อน เว่ยจี แปลว่า วังน้ำใหญ่ เป็นช่วงหน้าผาแคบ ยาว เป็นระยะทางนับ 10 กิโลเมตร ตรงจุดนี้น้ำสาละวินจะไหลเชี่ยวกรากรุนแรงเข้าสู่ประเทศพม่าที่หมู่บ้านตะกอท่า นักเดินเรือสัญจรในสายน้ำสาละวินต่างรู้กิตติศัพท์ของบริเวณนี้เป็นอย่างดี

ดังนั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก(น้ำโต)ผู้สัญจรทางน้ำจะหลีกเลี่ยง

โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสาละวิน เป็นโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ ระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย จีนและพม่า วางโครงร่างของแผนนโยบายผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 17 เขื่อน อยู่ในประเทศจีน 13 เขื่อน อีก 4 เขื่อนขวางลำน้ำสาละวินบนเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่า

โครงการนี้ถูกทักท้วงอย่างกว้างขวาง ทั้งคนจากภายในและภายนอกประเทศของทั้ง 3 ประเทศ เพราะ 9 เขื่อนในประเทศจีน ขวางลำน้ำบนพื้นที่เขตอนุรักษ์ ชื่อว่า “3 แม่น้ำไหลเคียง” อันเป็นจุดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

สำหรับ 4 เขื่อน บนแม่น้ำสาละวิน พรมแดนไทย-พม่า ได้แก่ เขื่อนท่าซางในเขตรัฐฉาน เขื่อนเว่ยจี เขื่อนตากวิน ระหว่างพรมแดนไทย-พม่าและเขื่อนฮัทจีในรัฐกะเหรี่ยง จะก่อให้เกิดการล้นเอ่อของสายน้ำเข้าท่วมพื้นที่ทำมาหากิน ชุมชนหมู่บ้านในพื้นที่ชนกลุ่มน้อยขนานใหญ่

ในส่วนของประเทศไทย
แม่น้ำปายจะเอ่อเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนกินพื้นที่ราว 30,000 ไร่ ใน 18 หมู่บ้าน

...

พิธีบวชป่า เริ่มต้นขึ้นอย่างเรียบง่าย เสียงผู้ประกอบพิธีเชิญชวนให้แขกและชาวบ้านที่มาร่วมงาน กว่า 600 ชีวิต มาอยู่ในบริเวณพิธีกรรม ชาวบ้านที่มาร่วมงาน ณ. จุดบวชป่าเว่ยจี มาจากทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่า เทียนขี้ผึ้งถูกจุดและเครื่องเซ่นไหว้เตรียมพร้อมอยู่แล้วในปะรำพิธี

เสียงสวดของผู้ประกอบพิธีกรรมดังกังวานก้องอาณาบริเวณ
“เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าสาละวิน ขอให้คุ้มครองพวกเรา ผู้มาร่วมงาน อัญเชิญท่านมารับเครื่องเซ่นเพื่อปกป้อง ผืนน้ำ ผืนฟ้า ขุนเขา หากใคร ผู้ใด คิดจะนำสิ่งใดมาขวางกั้นลำน้ำสาละวิน ขอประสบกับเหตุเภทภัย กระทำการไม่สำเร็จ เพื่อชีวิตของลูกหลานพวกเราจะได้อาศัยน้ำ อาศัยดิน อาศัยฟ้า เพื่อมีชีวิต”

หากก้าวพ้นเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ใช่หรือไม่ว่า พิธีกรรมบวชป่า หมายถึง การหลอมรวมดวงใจของคนลุ่มน้ำสาละวินให้เป็นหนึ่ง ปกป้องธรรมชาติ ปกป้องพื้นที่ทางวัฒนธรรม พื้นที่แห่งชีวิตของพวกเขา

บนพื้นฐานของความศักดิ์สิทธิ์ คนจะไม่กล้ารุกล้ำ
บนพื้นฐานของความเป็นหนึ่ง คือ การหลอมรวมความแตกต่าง

ไม่มีพุทธ คริสต์ อิสลาม ผี กะเหรี่ยง ไทย พม่า มอญ อื่นๆ ทุกคน คือ ประชาชาติของโลกใบเดียวกัน

...

ขอบคุณพี่ๆ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติทุกคน
www.terraper.org

 

20080522 บริเวณจุดเว่ยจี
บริเวณจุดเว่ยจี ที่ตั้งสันเขื่อนสาละวินตอนบน

20080522 บริเวณจุดบวชป่า
บริเวณจุดบวชป่า เว่ยจี

20080522 ผู้ประกอบพิธีเริ่มพิธีกรรมบวชป่า
ผู้ประกอบพิธีเริ่มพิธีกรรมบวชป่า

20080522 ศาสนิกชนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ศาสนิกชนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

20080522 ประนมมือด้วยความศรัทธายิ่ง
ประนมมือด้วยความศรัทธายิ่ง

20080522 ให้นมลูกระหว่างทำพิธี
ให้นมลูกระหว่างทำพิธี

20080522 ระหว่างเส้นทางเดินเรือ (1)

20080522 ระหว่างเส้นทางเดินเรือ (2)
ระหว่างเส้นทางเดินเรือ บางใบหน้าของชาวบ้านริมฝั่งน้ำสาละวิน

20080522 เหนือสายน้ำ
เหนือสายน้ำ สายแดดหลังก้อเมฆ ลอดออกมาเป็นลำ น่าตื่นตาหากเร้นลับอยู่ในที

20080522 มุมมองสุดท้ายริมฝั่งสาละวิน
มุมมองสุดท้ายริมฝั่งสาละวิน จากหมู่บ้านแม่สามแลบ

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หากไม่เชื่อ ลองถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ปู่ย่าตาทวด ก็ได้ว่า “ท่านเกิดมาจากน้ำมือของใคร”ร้อยทั้งร้อย ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “หมอตำแย”ยายคำ อายุ 77 ปี เป็นชาวไทใหญ่ แกเป็นหมอตำแยมาตั้งแต่รุ่นสาวหรือที่เรียกกันว่า ‘แม่เก็บ’ ในภาษาไทใหญ่ ปัจจุบัน ยายคำอาศัยอยู่ที่ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แข็งแรงและมีรอยยิ้มอยู่เสมอ...ยายคำเป็นหญิงชราที่ดูอารมณ์ดีที่สุดในโลก แววตาอ่อนโยน ไม่แข็งกร้าวแต่จัดเจนและเข้าใจชีวิต ผม
กดำและพูดจาฉะฉาน ไม่หลงๆลืมๆ เหมือนกับคนเฒ่าในวัยเดียวกันชวนให้คิดถึงคำพูดที่ว่า หนุ่มแก่อยู่ข้างในหัวใจหลังการแต่งงาน ยายคำกับสามีชื่อนายหม่องคนกะเหรี่ยง…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
         
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ใครเคย เล่น (อี) มอญซ่อนผ้าบ้าง ..? หากเจอคำถามนี้แล้วคุณยกมือ แสดงว่า อายุของคุณไม่ควรจะต่ำกว่า 35 UP … ha H a a a a,ย้อนความจำกันนิด การละเล่นชนิดนี้ใช้ผู้เล่นกี่คนก็ได้แล้วแต่ถนัดและจำนวนของกลุ่มเพื่อน เลือกผู้เล่นขึ้นมาเพื่อเป็นตัววิ่ง 1 คน (อันนี้จะด้วยวิธีการใดใดก็ได้ รุ่นผมใช้โอน้อยออก) ตัววิ่งจะกุมผ้าเช็ดหน้าเอาไว้ในมือให้มิดชิด ก่อนจะเดินรอบวง เมื่อเดินพอหอบ ตัววิ่งจะอาศัยช่วงจังหวะเวลาและโอกาสเข้าทำ ด้วยการแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ซึ่งระหว่างที่ตัววิ่งเดินรอบวง ผู้เล่นภายในวงจะร้องเป็นทำนองว่า  “(อี) มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ใครนั่งไม่ระวัง ฉันจะตีก้นเธอ”…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ฆูณุงจไร เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยใหม่ เชื่อว่า เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของเผ่าพันธุ์ตน กล่าวกันว่า ถึงแม้ ชาวอูรักลาโว้ยจะเดินทางท่องไปในทะเลกว้าง จากอันดามันจรดช่องแคบมะละกา ไม่มีหลักแหล่งแห่งที่ที่แน่นอน แต่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ฆูณุงจไรได้เชื่อมเอาดวงวิญญาณแห่งความถวิลถึงกันและกันเอาไว้ ฆูณุงจไร ในความหมายนี้ คือ ยอดเขาบนเกาะแห่งหนึ่งในรัฐเคดาห์หรือเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกลจากท้องทะเล ก่อนจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานบนดินแห้งในแถบอันดามัน หลังการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลาม...โดยเฉพาะบนเกาะลันตาที่เคยได้ชื่อว่า เมืองหลวงของชาวน้ำน้ำทะเลแหวกเป็นสายเมื่อ Speed Boat ขนาดบรรทุก…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชื่อกันว่า ช่วงเวลาระหว่าง 200-500 ปี ชาวไทยใหม่อูรักลาโว้ยหรือโอรังละอุตจากดินแดนฆูณุงจไร เดินทางมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะลันตา จนหลายสิบปีต่อมา เมื่อคนจากแผ่นดินใหญ่หลั่งไหลมาถึง พร้อมเปิดศักราชใหม่ของการท่องเที่ยว เกาะลันตาที่เคยสงบสันโดษกลับกลายเป็นดินแดนแห่งสีสัน...เฉดสีต่างๆ ถูกละเลงโดยนักแสวงสุขมากหน้า...ท้องฟ้าสีฟ้าเบื้องหน้าหัวเรือข้ามเกาะดูเจิดจ้า จากท่าเรือคลองจิหลาด จ.กระบี่ ข้ามไปเกาะลันตาถึงท่าศาลาด่านใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ในอัตรา 350 บาท/หัว ภายใต้ท้องฟ้าและผืนน้ำสีเขียวคราม หลายคนรวมทั้งผมและเพื่อนนับสิบ ตัดสินใจไปละเลงชีวิตช่วงปีใหม่ที่เกาะลันตา...…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนมาจากไหน ?8 พ.ย. 50 คนมากกว่า เก้าพันสามร้อยสามสิบเจ็ดคน เดินขึ้นภูกระดึง ภายในวันเดียวอะไรทำให้คนมากมายมาภูกระดึง นโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวของรัฐบาล ,แรงประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ,หนังสืออสท. ,ปากต่อปากถึงมนต์ขลังที่มิอาจจะปฏิเสธ ,ความยากลำบากของการเป็นหนึ่งในผู้พิชิต ,หรืออาการเริ่มแรกของโรคเบื่อการเมืองผมไม่รู้และไม่คิดอยากจะรู้ เพียงแต่การจัดอันดับ 10 อุทยานยอดนิยมของหนังสือท่องเที่ยว Trip ปลายปี 50 ภูกระดึงเป็นอุทยานที่มีนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง...ว่ากันว่า 300 ล้านปีก่อน พื้นที่บริเวณโดยรอบภูกระดึงเคยเป็นทะเลมาก่อน จน 250 ล้านปีต่อมา…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อุทยานแห่งชาติ ไม่ได้หมายถึง แหล่งนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้นการท่องเที่ยวอุทยาน คือ การสัมผัสถึงการมีอยู่ของแต่ละชีวิตในธรรมชาติ เผ่าพันธ์ร่วมโลก เพื่อทำความรู้จัก เข้าถึงและอยู่ร่วมกันโดยเบียดเบียนกันให้น้อยที่สุดภูกระดึง จึงกลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ไม่ต้องการยานพาหนะและกระเช้าไฟฟ้า แม้ว่าจะพอมีร้านเช่า Mountain bike สนองอารมณ์นักแคมป์ปิงในอัตราวันละ 350 บาท ก็ตามเพราะฉะนั้น สำหรับภูกระดึง การเดินด้วยเท้าจึงเป็นเรื่องง่ายและดีที่สุด... ยามเช้า อากาศสดใส แดดหน้าหนาวตกกระทบลงบนกิ่งสน เกิดเป็นแฉกฉูดฉาด อาบไล้ ปลุกเร้าให้นักแคมป์ปิงออกมาค้นหาเรื่องราวตามจุดท่องเที่ยวต่างๆ กวางตัวใหญ่…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผมไม่ได้ปีนภูกระดึงในฐานะผู้พิชิต !หากเป็นเรื่องของข้างในที่เรียกร้องผัสสะดิบเถื่อนในธรรมชาติและการมองโลกในมุม 180 องศา การเดินด้วย 2 เท้าและเรียกร้องให้เหงื่อออกจากรูขุมขน,ตอกย้ำความคิดที่ว่า จริงๆ เราเป็นเพียงละอองธุลีของจักรวาลอิอิ“แหวะ เว่อร์ร์ร์ร์ร์ หวะ เพ่” รุ่นน้องคนหนึ่งลากเสียงยาว..หากใครคิดว่า การเดินขึ้นภูกระดึง ถึงหลังแปแล้วจะได้ผ่อนลมหายใจ ละลายความเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วละก็ เป็นอันว่าคุณคิดผิดถนัด เพราะจากหลังแปนักเดินทนผู้พยายามพิชิตภูกระดึงจะต้องเดินเท้าต่อไปอีกร่วม 3 กิโลเมตร ทันทีที่คุณเข้าสู่เขตศูนย์บริการวังกวาง (เมื่อก่อนพื้นที่เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของนานาสัตว์…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดูเหมือนว่า ภูกระดึงจะเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ใครๆ หลายคน คิดว่าอยากจะไปเยือนสักครั้งการเดินทาง เป็นเรื่องของการตัดใจ หากทำได้เพียงแต่คิด ทุกสิ่งคงเป็นได้เพียงแค่หมอกควันของอารมณ์ชั่วคราวที่ค่อยๆ บรรเทาเบาบางก่อนจะจางหายไปในที่สุดแต่นั่นแหละกล่าวกันว่า การอ่านเป็นการเดินทางที่ง่ายและถูกที่สุดอย่างน้อยผมก็เชื่อเช่นนั้น…จากหมอชิตเดินทางถึงผานกเค้าในเช้าวันใหม่ ท้องฟ้าเริ่มสาง ไม่ต้องเป็นกังวลหรือหวาดหวั่น เราจะได้พบเพื่อนร่วมทางมากมาย กลุ่มนักศึกษากลุ่มใหญ่ เจี๊ยวจ๊าวเต็มคันรถ บันทึกถ่ายทำวีดีโอไปตลอดการเดินทาง กระทั่งพนักงานต้อนรับคนงามต้องบอกว่า“…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
วันหยุดยาวปีใหม่ เรียกร้องให้คนส่วนใหญ่ ออกเดินทาง ,ท่องเที่ยว ละเลงความมันส์ออกมาจนหยดสุดท้ายหรือกลับไปอยู่กับครอบครัวอันอบอุ่น ..คำอวยพร ..การ์ดและกล่องของขวัญ ,ทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ๆ ต่างใจจดจ่ออยากจะได้รับ .....เราต่างรอคอย ,ความหวัง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..ผมพยายาม ถ่ายภาพ Panorama ,2 เฟรม 3 เฟรม ..ก่อนอื่นตั้งโจทย์ในใจว่าจะเก็บมุมใดบ้าง ,ด้วยการมองวิวนานกว่า 5 นาที ...ภาพวิว ดูแล้วเหมือนกับภาพที่หาได้ทั่วไป ..ซ้ำๆ แต่เหมาะสำหรับฝึกฝนการถ่ายภาพ(อย่างน้อย ใครคนหนึ่ง ว่าเอาไว้อย่างนั้น)การถ่าย panor ต้องเริ่มด้วยการจัดองค์ประกอบภาพ ..ให้ได้ทุกอย่างครบตามที่คิด..คะเนเอาตามประสบการณ์ ว่าจะต้องถ่ายกี่ช็อต ..หามุมให้ลงตัวกับการเหลื่อมซ้อนของภาพ ก่อนนำมาปะติดปะต่อ ..จุดสำคัญต้องได้แสงสีที่กลมกลืนกันพอดีดังนั้น จึงต้องมีพื้นฐานของการตั้งค่าแสง อย่างสมเหตุผล ..กล่าวกันว่า การถ่ายภาพ panor ไม่มีสูตรตายตัว…