Skip to main content
 

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่ไม่เคยเป็นตัวแสดงหลักในเกมอำนาจโลกเลยนับจากยุคอาณานิคมมาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ การร่วมตัวกันของชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนามอาเซียนเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของชาติในภูมิภาคนี้ที่จะเสริมสร้างอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับโลก

ในยุคสงครามเย็น ภูมิภาคนี้ถูกแบ่งให้เป็น 2 ค่าย ตามบรรยากาศการเมืองโลก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้นำค่ายสังคมนิยม ในช่วงทศวรรษที่ 90 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนก็หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน บทหนทางเสรีนิยมเดียวกัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ถูกปฏิบัติในฐานที่เป็นชายขอบแดนของอำนาจต่อรองเช่นเดิม

แม้ว่าความพยายามของอาเซียนจะต้องการสร้างเสริมอำนาจการต่อรองให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิก แต่ทว่า ก็ไม่เคยก้าวข้ามความเป็นชายขอบไปได้ เมื่อพิจารณาจากการพยายามสร้างข้อตกลงการค้ากับประเทศกึ่งชายขอบที่เริ่มขยับเข้าใกล้ความเป็นศูนย์กลางในการต่อรองอย่าง จีน อินเดีย เกาหลีใต้

การเจรจาการค้าก็ยังคงสถานะเดิมๆ นั่นคือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำหน้าที่เป็นฐานในการส่งออกวัตถุดิบ การ แสวงประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม และแรงงานราคาถูก ขณะที่นำเข้าสินค้าที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงกว่าจากประเทศคู่ค้า อย่าง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อียู ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา

ประเทศชายขอบเหล่านี้มีฐานเป็นเพียงศูนย์กลางของวัตถุดิบทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งรีดเค้นมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนักหน่วง และแน่นอนรวมถึงแรงงานราคาถูกด้วย

ดังนั้นแล้ว หากย้อนหลังไปเพียงช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เราจึงสามารถมองเห็นการแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอาเซียน เป็นไปในทิศทางที่ขุดค้น ฉวยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในภูมิภาคของตนออกมาอย่างเต็มที่ ดังกรณีที่ประเทศลาวประกาศตัวเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย พร้อมด้วยการเปิดรับการสนับสนุนการลงทุนสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมาก ไทยประกาศตัวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ขณะที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเพื่อนบ้านอย่างหนักหน่วง มาเลเซียปฏิเสธที่จะพูดถึงประเด็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุผลว่า เรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องของประเทศพัฒนาแล้วที่สร้างมาตรฐานสูงเกินไป

กำเนิดอาเซียน

อาเซียนเกิดจากการบรรลุข้อตกลงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 ตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ที่กรุงเทพฯ มีเป้าหมายที่จะกระตุ้นความร่วมมือระหว่างชติประชาคม ซึ่งเมื่อแรกตั้งประกอบด้วย 5 ชาติคือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จากนั้น บรูไนได้ผนวกเข้ามาเมื่อปี 1984 เวียดนาม 1995 ลาวและพม่าในปี 1997 และกัมพูชาในปี 1999

วัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1.ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค 2.รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค และ 3. ใช้เป็นเวทีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาค

กลไกการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

1. การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit Meeing) หรือการประชุมระดับผู้นำของ อาเซียน เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดของอาเซียน กำหนดให้มีการประชุมปีละ 1 ครั้ง ประมาณเดือนพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือและริเริ่มกิจกรรมใหม่ๆของอาเซียน

2. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน

2.1 การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) กำหนดให้มีการประชุมอย่างเป็นทางการปีละครั้ง ในช่วงเดือนตุลาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน รวมทั้ง พิจารณาการขยายกรอบ/ริเริ่มความร่วมมือใหม่ๆ

2.2 การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) กำหนดให้มีการประชุมปีละครั้ง ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางและแก้ไขปัญหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นเรื่องจำเป็น เร่งด่วน หรือเป็นพิเศษ

3. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Officials Economic Meeting: SEOM) ประชุมปีละ 4 ครั้งเป็นอย่างน้อย (ประมาณ 3 เดือนครั้ง) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดการดำเนินงาน/การขยาย/การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในทุกด้าน และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศต่างๆ

4. การประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงานที่แต่งตั้งโดย SEOM เช่น

4.1 คณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT (CCCA) ประชุมปีละ 4 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการลดภาษีและยกเลิกข้อกีดกันทางการค้าให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ภายใต้อาฟต้า และความตกลงอื่นที่เกี่ยวข้อง

4.2 คณะทำงานความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (Working Group on Industrial Cooperation: WGIC) ประชุมปีละ 3 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO)

4.3 คณะกรรมการประสานงานด้านการลงทุน (Coordinating Committee on Investment: CCI) ประชุมปีละ 4 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และความร่วมมือด้านการลงทุนต่างๆ

4.4 คณะทำงานระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์อาเซียน (e-ASEAN Task Force: EATF) และคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์อาเซียน (e-ASEAN Working Group: EAWG) ประชุมปีละ 3 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลง e-ASEAN

4.5 คณะกรรมการประสานงานด้านบริการ (Coordinating Committee on Services: CCS) ประชุมปีละ 4 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน และความร่วมมือด้านบริการอื่น

5. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เป็นหน่วยประสานงานและเสริมสร้างการดำเนินการตามนโยบาย โครงการและกิจกรรมขององค์กรต่างๆของอาเซียน รวมทั้งทำหน้าที่เลขานุการในการประชุมอาเซียน

ทั้งนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในปี 2020 ในส่วนเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันในตลาดโลกในทุก ๆ ด้าน โดยมีวิสัยทัศน์ว่า "อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร" (ASEAN 2020: Partnership in Dynamic Development)"

ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน คนปัจจุบัน กล่าวเมื่อวันที่ 12 เดือนกันยายน ปี 2007 ว่า แม้ว่าอาเซียนจะมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 10 ประเทศ แต่ในความจริงแล้วอาเซียนนั้นหลอมรวมกับโลกทั้งหมด รวมไปถึงชาติมหาอำนาจ อย่างสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพยุโรป และเอเปก

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ชาติอาเซียนเอง ก็ต้องเร่งปรับแก้กฎหมาย วางแนวนโยบาย และระบบกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของประเทศเหล่านั้น

สิ่งที่ต้องตั้งเป็นข้อสงวนไว้สำหรับชาติอาเซียนก็คือ ว่า ผลิตภัณฑ์จากอาเซียน คือสินค้าเกษตร ประมง ไม้ สิ่งทอ ชิ้นส่วนอิเลกโทรนิกส์ ไอที บริการด้านสุขภาพ และการขนส่งซึ่งเป็นสินค้าหลักของชาติอาเซียนนั้น ง่ายต่อการถูกกีดกันทั้งโดยรูปแบบของภาษีและข้อกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี เช่น ปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

ความหลากหลายบนสถานะของชายขอบเศรษฐกิจโลก

ประชากรในอาเซียน ปัจจุบันมีราว 570 ล้านคน ผู้คนนับถือ อิสลาม พุทธ คริสต์ ฮินดู มีความแตกต่างด้านสถานะทางเศรษฐกิจอย่างสุดโต่ง นั่นคือ ลาวและพม่าเป็นประเทศที่ประชากรที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 209 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือประชากรมีรายได้เฉลี่ย 50,000 เหรียญสหรัฐต่อปี

นอกเหนือจากความแตกต่างด้านรายได้ของประชากรแล้ว อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ถูกจับตามองและตั้งคำถามเรื่องสิทธิมนุษยชนมาก รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ถูกต้อง รวมไปถึงความไม่เป็นประชาธิปไตยในภูมิภาคอาเซียน ปัญหาคอร์รัปชั่น และการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งแต่ละประเทศล้วนมีจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้อย่างไม่มีข้อยกเว้น

บางตัวอย่างของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ถูกต้อง ปรากฏในรายงานของ UNDP ในปีที่ผ่านมาว่า ประเทศมาเลเซียคือประเทศที่ผลิตสารคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศในเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในโลก ขณะที่ไทยเป็นประเทศที่ผลิตสารคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุดในอาเซียน ข้อสังเกตเหล่านี้ก็ไม่เคยได้รับการตอบสนองที่ดีจากรัฐบาลทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาเลเซีย ซึ่งในยุคของผู้นำชื่อมหาเธร์ โมฮัมหมัด ซึ่งกล่าวท้าทายมาตรฐานแบบ ตะวันตก' ว่า รอให้มาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เราจึงจะมาพูดเรื่องแบบนี้กัน

ปัญหาการคอร์รัปชั่น จากรายงานขององค์กร transparency international จากแผนภูมิภาพด้านล่าง สีแดงเป็นความหมายของคอร์รัปชั่นในระดับสูง เราจะเห็นสีแดงในเฉดที่ต่างกันในภูมิภาคนี้

  

ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Corruption_Perceptions_Index

ปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพ ตามรายงานขององค์กร freedom House พื้นที่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดมีเสรีภาพเพียงบางส่วน ฟิลิปินส์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่อันตรายสำหรับผู้สื่อข่าวและนักกิจกรรมทางสังคม

ประเทศไทย ถูกบันทึกว่า เสรีภาพดิ่งลงอย่างหนักหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2005 เป็นต้นมา จากเดิมที่ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีเสรีภาพตั้งแต่ 1998 ถึงปี 2005 หลังการรัฐประหารในปี 2005 ไทยถูกจัดให้อยู่ในข่ายมีเสรีภาพบางส่วน กัมพูชา และมาเลเซียมีเสรีภาพบางส่วน และอยู่กฎหมายควบคุมการแสดงความคิดเห็นและกีดขวางการแสดงออกทางการเมืองอย่างเข้มงวด

บทบาทอย่างสูงของกองทัพ ในพม่าและไทย และฟิลิปปินส์ที่ส่งผลต่อความผันผวนของการเมืองภายใน การรัฐประหารยังเป็นสิ่งที่เกิดได้ง่ายในประเทศเหล่านี้ ขณะที่อินโดนีเซียส่งสัญญาณว่า ดูเหมือนจะหลุดพ้นวงจรอุบาทว์ดังกล่าว แต่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น

 

อาเซียนกับปัญหาของตัวเอง

ชาติอาเซียนมีฝันร่วมกันที่ไปสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2020 ประเทศมาเลเซียยังกล้าประกาศยืนยัน ขณะที่ประเทศไทยกำลังสะบักสะบอมจากการเมืองภายใน ทำให้ฝันนั้นดูลางเลือนลง เวียดนามกำลังบอบช้ำกับภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ซึ่งออกฤทธิ์เมื่อปีที่ผ่านมา และเผชิญกับคนตกงานเป็นจำนวนหลักล้าน ขณะที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานจำนวนมาก ขณะนี้กำลังเผชิญกับคนว่างงานถึง 11 ล้านคน

กัมพูชาและลาวยังคงประกาศการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งทองคำและน้ำมัน เหมือนเป็นเสียงเชิญชวนให้ประเทศร่ำรวยเข้าไปลงทุน

ทั้งหมดนี้ ถูกทำให้แย่ลงไปอีก จากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ชาติศูนย์กลางอำนาจของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม อย่างสหรัฐอเมริกา กำลังเผชิญกับคนว่างงานจำนวนหลายสิบล้านคน สหภาพยุโรปเผชิญปัญหาเดียวกัน ญี่ปุ่นทยอยปลดพนักงาน และลดการผลิต รวมถึงหยุดการผลิตในบางบริษัท บริษัทชั้นนำของโลกอย่างโตโยต้าประกาศภาวะขาดทุน

 "ในฐานะประธานอาเซียน ผมจะทำทุกวิถีทางให้ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งเสรีภาพ รอยยิ้มและโอกาส จะดำเนินการทุกวิถีทางให้บรรลุวิสัยทัศน์และความใฝ่ฝันของผู้ก่อตั้งที่จะสร้างประชาคมอาเซียนขึ้นด้วยสังคมที่แบ่งปัน และมีความห่วงใยซึ่งกันและกัน" คำกล่าวขอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยฉายซ้ำจนจำกันได้ขึ้นใจ แต่มันจะเป็นจริงได้อย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องติดตามว่าประเทศไทยและอาเซียนจะมีมาตรการใดออกมาเพื่อทำให้ไทยและอาเซียนได้บรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าว

นอกเหนือจากภาวะชายขอบทางเศรษฐกิจ อาเซียนก็มีปัญหาในตัวของเองอยู่ในทุกประเทศ และยังมีปัญหาระหว่างกันอย่างไม่จบสิ้น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย กำลังเผชิญปัญหาคนตกงานเป็นปัญหาหลัก ขณะที่พม่าและ ลาว ยังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

ในด้านความสัมพันธ์ ด้วยภาวะ การเมืองภายในที่ร้อนระอุต่อเนื่องยาวนานของไทยกว่า 3 ปี ได้เปิดปมขัดแย้งใหม่ๆ กับกัมพูชา ว่าด้วยปัญหาเส้นเขตแดน ซึ่งขณะนี้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่เขาพระวิหาร ซึ่งเคยเกือบจะเป็นพื้นที่การพัฒนาร่วม แต่ต้องปิดตัวลงและถูกคุ้มกันอย่างแน่นหนาโดยเจ้าหน้าที่ทหารจากทั้ง 2 ประเทศ

มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ยังคงขัดแย้งกันเรื่องเส้นเขตแดน และการกำหนดว่าเกาะใดเป็นของใคร ทั้งนี้ ขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติที่ค้นพบเป็นสำคัญ

ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจโลกได้เพิ่มโจทย์ใหม่และยากมากขึ้น ประเทศอาเซียนก็ยังคงมีโจทย์เก่าที่ไม่คลี่คลาย ทั้งความไม่เป็นประชาธิปไตย การฉวยประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิมนุษยชน และปัญหาการคอร์รัปชั่น ปัญหาที่ถูกรายงานซ้ำโดยหน่วยงานและองค์กรระดับนานาชาติ สะท้อนภาพว่า ชาติอาเซียนยังคงดิ้นรนต่อสู้อยู่ในวงวนเดิมๆ ของตนเอง

 

อ้างอิง

http://www.moc.go.th/opscenter/cr/asean.html

http://hdr.undp.org/en/climatechange/

http://www.freedomhouse.org/template.cfm?page=439

http://en.wikipedia.org/wiki/Corruption_Perceptions_Index

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง อาจจะฮือฮามาสักพักแล้วกับเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของนักการเมืองค่ายประชาธิปัตย์ นำโดย หล่อใหญ่ อภิสิทธิ์ ตามมาด้วยสาทิตย์ วงษ์หนองเตย  แต่ก็ยังอาจจะยังไม่เห็นประสิทธิผลมากนักสำหรับการเปิดพื้นที่ใหม่ในสื่อใหม่ในโลกออนไลน์ เพราะยังไม่มีการใช้สำหรับแคมเปญหาเสียง หรือแคมเปญกิจกรรมอะไรพิเศษ แต่แล้ว เมื่อเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ชื่อ thaksinlive เริ่มเป็นที่รับรู้ของชาวไซเบอร์เพียงไม่กี่วัน ก็กลับฮือฮาเป็นกระแสพ้นพรมแดนโลกไซเบอร์ออกมาเหมือนปีศาจที่ตามหลอกหลอนไปทุกพรมแดนความรับรู้ของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม
หัวไม้ story
ในฐานะที่กระแสรางวัลซีไรต์ปีนี้ช่างแผ่วเบา เราจึงขอกระตุ้น ยั่วยวน ให้หันมองด้วยงานวิจารณ์ของ “นายยืนยง” ซึ่งยืนยันกับการชื่นชม “วิญญาณที่ถูกเนรเทศ” เล่มหนึ่งที่เข้ารอบสุดท้าย ไม่ว่าใครจะครหาอย่างไรก็ตาม         ชื่อหนังสือ         :           วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ผู้เขียน              :           วิมล ไทรนิ่มนวล จัดพิมพ์โดย       :   …
หัวไม้ story
โดย ทีมข่าวการเมือง 5 แกนนำพันธมิตร ขึ้นปราศรัย ระหว่างงานรำลึก 1 ปีแห่งการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อ 25 พ.ค. 52 ที่สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี (ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 25 พ.ค. 52)
หัวไม้ story
หลังการชุมนุมคนเสื้อแดงจบลงไปในวันที่ 14 เมษายน 2552 โดยการชุมนุมครั้งนั้นเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายจุด ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้อาวุธ ทั้งจากฝ่ายตำรวจ ผู้ชุมนุม และกลุ่มไม่ทราบฝ่าย ช่วงเวลา 2-3 วันให้หลัง ประชาไทพยายามติดตามหาพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ทว่าพยานบุคคลหลายคนเลือกที่จะเป็นเสียงเงียบ และหลายคนเลือกการเดินทางกลับต่างจังหวัด บรรยากาศภายใน 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ดูเหมือนเป็นบรรยากาศแห่งความเงียบและหวาดระแวงสำหรับผู้เคยเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง นั่นทำให้เราเริ่มคิดถึงคนเสื้อแดงที่ต่างจังหวัด…
หัวไม้ story
สัมภาษณ์ เสรี สาระนันท์ ส.ส. หลายสมัยจากอ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ถึงเหตุผลที่ ส.ส. ยังคงต้องอยู่กับเสื้อแดงและทักษิณ และกระบวนการจัดการเสื้อแดงที่เป็นฐานเสียง และเป็นมวลชนที่เข้าร่วมการชุมนุม รวมถึงให้เขาประเมินอนาคตของทั้งตนเองและขั้วอำนาจฝ่ายสีแดง การสัมภาษณ์ครั้งนี้สะท้อนถึงพลังของ "ปีศาจ" อย่างทักษิณ ที่จะยังครอบงำจิตใจชาวบ้านและหลอกหลอนการเมืองขั้วตรงข้ามต่อไปอย่างยากจะเปลี่ยนแปลง
หัวไม้ story
เสียง ภาพ ชาวบ้านเสื้อแดง ตำบลหนองไผ่ จังหวัดอุดรธานี บอกเล่าความรู้สึกและความเห็นทางการเมือง ว่าด้วยประชาธิปไตย และทักษิณ หลังการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ยุติลงในช่วงบ่ายของวันที่ 14 เม.ย. อนึ่ง ชาวบ้านบางส่วน ได้เข้ามาร่วมการชุมนุมคนเสื้อแดงในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะที่อีกบางส่วนไม่ได้เข้าร่วม แต่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอยู่ที่บ้าน ผ่านสถานีดีสเตชั่น และวิทยุชุมชนคนรักอุดร ประชาไทบันทึกคลิปวีดีโอ เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ที่ผ่านมา
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง [การโหยหาอดีตของสองทหารแก่ สุรชัย-เปรม อาจไม่ต่างกันมาก ผิดกันตรงที่ ทหารแก่คนหนึ่งอาจสมใจ สังคมไทย Nostalgia ย้อนยุคขุนศึก อำมาตย์ เป็นใหญ่ได้อีกหลัง 19 ก.ย. 49 มีองคมนตรีมาเป็นนายกฯ ที่ป๋าเห็นเป็นวินสตัน เชอร์ชิล มีนายกฯ หนุ่มที่ป๋าบอก “ผมเชียร์” … เช่นนี้กระมัง สหายเก่า-ทหารแก่อีกคนจึงขอแต่งชุดทหารป่าเข้ามอบตัว ขอ Nostalgia อีกรอบ] ]   000 นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำ นปช. ขณะเข้ามอบตัวเมื่อ 27 เม.ย. 52 (ที่มาของภาพ: ASTVผู้จัดการออนไลน์)
หัวไม้ story
[ ทีมข่าวการเมือง ]   ทุกๆ เช้าของวันจันทร์-ศุกร์ ถ้าไม่ใช่วันหยุดนักขัตฤกษ์ ภารกิจของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือเตรียมเดินทางมายังสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งเอเชีย (Asia Satellite Television) หรือ เอเอสทีวี ถ.พระอาทิตย์ เพื่อดำเนินรายการ “Good Morning Thailand” รายการเล่าข่าวและวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองอย่างเผ็ดร้อน ซึ่งเขาจัดเป็นประจำทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 6.00-7.00 น. แต่วันนี้ 17 เมษายน เขาไม่ได้จัดรายการ “Good Morning Thailand” เหมือนเคย เพราะถูกลอบยิงเมื่อเวลาราว 5.40 น. ก่อนที่รถของเขาจะมาถึงสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี   000   ที่มา:…
หัวไม้ story
(ทีมข่าวการเมือง)ทีมข่าวการเมือง สัมภาษณ์ผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา โดยถามพวกเขาว่า “ออกมาชุมนุมทำไม?” ต่อไปนี้คือคำตอบของพวกเขา 
หัวไม้ story
ห้องพิจารณาคดี 904 หลังสิ้นเสียงคำพิพากษาให้จำคุก 10 ปี...
หัวไม้ story
[ทีมข่าวการเมือง]"พี่สนธิก็เคยคุยกับผมเป็นการส่วนตัวว่าคิดถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยซ้ำ มีโปลิตบูโร หรือคณะกรรมการนโยบายของพรรคที่อาจจะไม่ได้มามีตำแหน่งบริหาร ไม่ได้มามีตำแหน่งทางการเมือง แต่ว่าคุมยุทธศาสตร์ คุมทิศทางพรรค ซึ่งอันนี้น่าสนใจ และคงต้องดูว่าโครงสร้างเป็นอย่างไร ขณะเดียวกัน เรายังมีเวลาศึกษาพรรคการเมืองจากหลายประเทศ เพื่อเปรียบเทียบกัน และต้องดูบริบทสังคมไทยด้วย แบบไหนมันเข้ากับสังคมไทย"สุริยะใส กตะศิลา, สัมภาษณ์ใน เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 876, 13 มีนาคม 2552  000 แกนนำพันธมิตรฯ บน “เวทีคอนเสิร์ตการเมืองครั้งที่ 4” ของพันธมิตรฯ ที่เกาะสมุย เมื่อ 4 มีนาคม 2552…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง การเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 13-15 มี.ค. มีหลายประเด็นจากการเยือนดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการพูดถึง หลายเรื่องถูกบิดเบือน และผลิตซ้ำ จนกลายเป็นชุดความคิดที่ถูกยอมรับโดยไม่มีการตั้งคำถาม “ประชาไท” ขอนำเสนอเรื่องที่ยังไม่มีการรายงาน เรื่องที่ยังไม่ถูกพูดถึง และเรื่องที่บิดเบือนดังกล่าว ในระหว่างการเยือนอังกฤษของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  1.เปิดต้นทางข่าว “ไม่ได้หนี แล้วมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร”   สื่อมวลชนไทยทุกฉบับพร้อมใจรายงานภารกิจของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ…