Skip to main content
ในฐานะที่กระแสรางวัลซีไรต์ปีนี้ช่างแผ่วเบา เราจึงขอกระตุ้น ยั่วยวน ให้หันมองด้วยงานวิจารณ์ของ “นายยืนยง” ซึ่งยืนยันกับการชื่นชม “วิญญาณที่ถูกเนรเทศ” เล่มหนึ่งที่เข้ารอบสุดท้าย ไม่ว่าใครจะครหาอย่างไรก็ตาม
 
 
 
 
ชื่อหนังสือ         :           วิญญาณที่ถูกเนรเทศ
ผู้เขียน              :           วิมล ไทรนิ่มนวล
จัดพิมพ์โดย       :           สำนักพิมพ์สามัญชน      พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2552
 
 
วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ไม่ใช่เรื่อง “เหนือจริง”
 
เมื่ออ่านจบแล้ว ฉันพบว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เป็นวรรณกรรมที่สมควรเหลือเกินที่จะลบชื่อนักเขียน “วิมล ไทรนิ่มนวล” นักเขียนซีไรต์ออกไปและสมควรอย่างยิ่งที่จะยุติการตีตราว่าเป็นนวนิยายเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ปีนี้ ด้วยสาเหตุที่ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เป็นนวนิยายที่บอกเล่าถึงจิตวิญญาณของมนุษยชาติที่ดำรงอยู่ในโลกภาพที่ความจริงถูกคลี่ขยายออกจนถึงพร้อมอย่างสัมบูรณ์
 
ไม่ว่าปีนี้น้ำยาซีไรต์จะเข้มข้นไปทั้งหม้อ หรือเป็นแค่น้ำยาที่ชวนกินแต่น้ำพริกแกงลอยหน้า ขณะข้างในใสโจ๋งเจ๋งก็ตาม ฉันก็ได้ลงความเห็นว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เล่มนี้ ไม่ควรถูกเนรเทศไปจากหัวใจของผู้อ่านเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากนวนิยายเรื่องนี้ได้ข้ามพ้นหม้อซีไรต์ไปแล้ว
 
ฉันแน่ใจขนาดนั้นทีเดียว ทั้งที่เพิ่งได้อ่านเล่มนี้เพียงเล่มเดียว จาก ทั้งหมด 7 เล่มที่เข้ารอบมา ใครจะมองเป็นความเร่อร่า ความลำเอียง ที่ไม่สมเหตุสมผลของฉัน ก็เชิญเลย น้อมรับเสมอในความข้อเสียประดามีของฉันนี้
 
ใครยังไม่รู้ว่า 7 เล่มดังกล่าวนั้น มีนวนิยายเรื่องใดบ้าง เชิญทราบได้
 
1.วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ของ วิมล ไทรนิ่มนวล
2.เงาฝันของผีเสื้อ ของ เอื้อ อัญชลี
3.ทะเลน้ำนม ของ ชัชวาลย์ โคตรสงคราม
4.ประเทศใต้ ของ ชาคริต โภชะเรือง
5.โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์
6.โลกใบใหม่ของปอง ของ ไชยา วรรณศรี
7.ลับแลแก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล
 
เนื่องจาก วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ได้จำแนกโลกเอกภาพอันสัมบูรณ์อยู่ในตัวเอง ออกเป็นโลก 2 ใบด้วยกัน คือ โลกก่อนความตาย และโลกหลังความตาย ซึ่งโลก 2 ใบนี้เองที่ถูกนำเสนอผ่านกระบวนความคิดให้บังเกิดเป็น “เรื่องราว” ของความทับซ้อนกันอย่างสัมบูรณ์ในที่สุด
 
ทุกโลกทัศน์รังสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น
กล่าวคือผู้เขียนทำราวกับว่า ด้วยมุมมองอย่างจำแนกแจกแจงเช่นเดียวกับโลกในวิสัยอย่างวิทยาศาสตร์นั่นเอง ที่เป็นตัวแบ่งแยกโลกอันสัมบูรณ์ออกจากกัน เพื่อที่ผู้เขียนจะเชื่อมโยงมันเข้าอีกครั้งด้วยกระบวนการสร้างเรื่องราวให้เกิดปรากฎการณ์อินเตอร์เซคชั่น หรือการทับซ้อน (ซ้ำกัน) ทีละน้อย ๆ กระทั่งโลกทั้ง 2 ใบค่อย ๆ ขับเคลื่อนจนเป็นความสัมพันธ์อย่างยูเนี่ยน (เหมือนกันทั้งหมด) สุดท้ายก็ทับซ้อนกันสนิทโดยสัมบูรณ์ ความสัมพันธ์เหล่านี้เล่าผ่านเรื่องราวอันเป็นโศกนาฏกรรมที่เหนือกว่าโศกนาฏกรรมใดใดแห่งมนุษยชาติ โดยใช้ความเป็นอัตชีวประวัติของชายหนุ่มนาม วิหค
 
หากจะแสดงรูปแบบการเคลื่อนไหวผ่านแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ โดยกำหนดให้โลก 2 ใบนั้น คือ
โลกก่อนความตาย และโลกหลังความตาย จะเห็นกระบวนการเคลื่อนเป็น 5 ขั้น ดังนี้
 
 
1 แต่เดิมโลก 2 ใบ ได้ซ้อนทับกันอย่างสัมบูรณ์
 
figure1 
 
       เก่า        ใหม่
 
 
 
2 แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิงด้วยวิสัยทางวิทยาศาสตร์
 
figure2
 
       เก่า      ใหม่
 
 
3 ค่อย ๆ เคลื่อนมาทับซ้อนกัน จุดที่ทับซ้อนกันหรืออินเตอร์เซคชั่น นี่เองที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นเรื่อง “เหนือจริง” ซึ่งปรากฏอยู่ในหลายตอนของเรื่อง เช่น ตอนที่ปู่ทวดถูกโจรปล้นแพซุง แล้วโดนฟันหัวขาดกระเด็น แต่ปู่ทวดยังสามารถฆ่าโจรได้ ก่อนจะกระโดดลงน้ำตามย่าทวดกับปู่แล้วพาว่ายทวนน้ำไปถึงวัดได้อย่างปลอดภัย ก่อนจะตายไปตามสภาพร่างกาย
 
figure3
 
         เก่า    ใหม่
 
 
 
4 เคลื่อนมากระทั่งถึงจุดไคลแมกซ์ของเรื่องที่วิหคเพิ่งรู้ตัวว่าตนนั้นได้ตายไปแล้ว
จึงเกิดการรวมกันทั้งสองโลก                          
    
figure4
 
         เก่า      ใหม่
 
 
 
5 กลับคืนสู่ภาพความสัมบูรณ์อีกครั้ง
 
figure5
 
     เก่า              ใหม่
 
 
 
 
 
นี่คือภาพอย่างคร่าว ที่แสดงให้เห็นลำดับเหตุการณ์ซึ่งเคลื่อนไปเป็นวัฏฏะจักร ผ่านรูปแบบการเขียนอย่างนวนิยายที่ให้รายละเอียดเป็นภาพชีวิตแห่งความเจ็บปวดทรมาน ความว้าเหว่ ความแปลกแยก และเป็นบรรดาความรู้สึกร้ายลึกทั้งหลาย ที่ได้พร่าชีวิตไปจากชีวิตซึ่งยังคงหายใจอยู่ เป็นความตายทั้งที่ยังมีชีวิต วิหค ชายหนุ่มที่ตายทั้งเป็น และยังมีชีวิตหลังจากความตายได้ปลดปล่อย “เขา” ออกจากร่าง
 
โลกหลังความตายของวิหคกับโลกที่เขาได้ปฏิสนธิเป็นชีวิตก่อนตายนั้น ถูกเล่าผ่านบทตอน ซึ่งแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น บทที่ 1 เริ่มขึ้นตรงที่ วิญญาณยังไม่รู้ตัวว่าตายของวิหคเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ต่อจากนั้นก็เป็นบทที่ 1 – 1 เด็กชายวิหคต้องจากบ้านเกิดไปสู่ทุรกรรมอันไม่รู้จักหน้า ณ กรุงเทพ พร้อมกับประโยคของปู่ ที่ได้ยึดโยงทั้งตัววิหคเองและจิตวิญญาณของเขาให้เป็นดั่ง
“นกประจำถิ่น” ที่แม้จำต้องจากจรไปไกล มันก็จะกลับมายังรวงรังของมัน
“ถ้ามันไม่ไกลเกินไป มันก็จะกลับมา” หรือ “ถ้ามันตาย มันก็จะกลับมา” “เพราะมันเป็นนกประจำถิ่น”   
การแบ่งบทตอนเช่นนี้ดำเนินไปกระทั่งจบเรื่อง แต่ละบทตอนก็สอดประสานเข้ากับกระบวนความคิดอย่างโลกุตรภูมิ คือ พื้นฐานแห่งจิตที่จะข้ามพ้นโลก อันเป็นแกนหลักของเรื่องทั้งหมด ซึ่งก็คือโลกแห่งความสัมบูรณ์นั่นเอง
 
ทุกโลกทัศน์เป็นผู้สร้างสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น
เมื่อเห็นโลกทั้งสองใบชัดเจนแล้ว เราจะเห็น “โลก” ในอีกทัศนะหนึ่ง ซึ่งมักจะแฝงเร้น หรือเป็นหลักใหญ่ใจความของวรรณกรรมไทยทั่วไป นั่นคือ โลกสมัยใหม่ กับโลกยุคเก่า สำหรับ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ทัศนะโลกใหม่กับโลกเก่าดังกล่าวก็ได้แฝงอยู่อย่างล้ำลึกเช่นเดียวกัน ต่างแต่โลกสมัยใหม่ไม่ได้เป็นอาชญากรผู้ทำลายล้างคตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์ของโลกยุคเก่า ดังเช่นที่เราเคยรับรู้ผ่านวรรณกรรมเรื่องอื่น เหตุเพราะผู้เขียนมีความชัดเจนในน้ำเสียงเหลือเกินที่จะกล่าวว่า โลกยุคเก่าเองต่างหากเล่าที่เป็
“การอพยพย้ายถิ่นฐาน” เป็นที่มั่นในกระบวนขับเคลื่อนนี้ ดังตอนที่วิหคกับแม่ต้องย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่กรุงเทพ ที่แม่อ้างว่ามีความหวังต่ออนาคตได้ เพราะขืนอยู่ที่นี่ต่อไป ภาพติดตาของพ่อที่ถูกยิงตายบนเรือนนั้นคงเป็นแผลใหญ่ที่ไม่อาจเยียวยาได้ตลอดกาล เช่นเดียวกับรุ่นปู่ทวดย่าทวด ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน
 
การฮาราคีรีตัวเองของโลกใบเก่านี้ ผู้เขียนไม่ได้มีน้ำเสียงตำหนิติเตียนหรือเยาะหยันแต่อย่างใด หากแต่มันเป็นเรื่องที่ต้องเป็นไปเช่นนั้นตามกฎธรรมชาติเอง และถึงแม้นว่า ผู้เขียนจะมีน้ำเสียงชื่นชมบูชาโลกยุคเก่าและตำหนิติเตียนโลกอุตสาหกรรมมากมายเพียงไรก็ตาม เราไม่อาจตีความว่า นี่เป็นเรื่องอย่างแนวเพื่อชีวิตได้เลย
 
เพราะฉะนั้น เมื่อโลกเก่าขับเคลื่อนเข้าสู่โลกใหม่ โลกใหม่จึงเป็นส่วนผสมระหว่างคติอย่างโลกเก่าและทัศนะอย่างโลกใหม่ และเมื่อลูกผสมระหว่างสองโลกนี้ ได้เคลื่อนมาสู่โลกเก่าอีกครั้ง โลกเก่าจึงไม่ได้ถูก “มองเห็น”จากดวงตาของคนในโลกเก่าอีกต่อไปแล้ว หากแต่ถูกเห็น และรับรู้ผ่านดวงตาของคนที่เคยผ่านมาแล้วทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ อย่างวิหค วิญญาณที่ถูกเนรเทศจากเมืองหลวง
 
จิตวิญญาณเป็นอาณาจักรของจิตสำนึกที่ไร้กาลเวลา
เมื่อวิญญาณของวิหคที่ผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับโลกเก่าอันงดงามบริสุทธิ์ ได้เดินทางกลับบ้านเกิดสมใจมุ่งมาดปรารถนาแล้ว แต่เขายังรู้สึกว่า ความหวังที่จะได้พบเจอกับโลกเก่าของเขากลับพังทลายลง เพราะโรงงานอุตสาหกรรมที่ผุดขึ้นมาราวกับมันมีหน้าที่แบ่งแยกมนุษย์ออกจากกัน พร้อมทั้งโยนอาวุธให้ทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อตรงเข้ามล้างกันเอง และมล้างโลกไปพร้อมกัน นี่ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความทุกข์อันเป็นดั่งบรมทุกข์แห่งมนุษย์ ที่ทำให้เขาต้องรู้สึกราวกับถูกเนรเทศในทุกโลกไป
 
กระทั่ง “ที่พึ่ง” หรือเครื่องยึดเหนี่ยวเดียวของมนุษย์ ได้เผยตัวขึ้น เขาจึงพบว่า แท้แล้วมนุษย์มีศักยภาพที่จะเป็นผู้สร้าง แต่มนุษย์กลับเลือกที่จะเป็นผู้ทำลายทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง และเครื่องยึดเหนี่ยวนั้นก็คือตัวเราเอง
 
ฉะนั้นลักษณะของปรากฏการณ์ “เหนือจริง” ที่เกิดขึ้นในนวนิยายเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องเหนือจริง แต่อย่างใด เพราะวิมล ได้คลี่สภาพแห่งความจริงให้ไพศาลออกไปจนครอบคลุม สนิทแน่น ทำลายปราการระหว่างโลกียกับโลกุตร ให้เป็นความสัมบูรณ์
 
ทั้งนี้ สำหรับผู้อ่านที่อยากจะอ่านบทวิจารณ์ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ สำนวนของ อ.สกุล บุณยทัต โปรดติดตามอ่านได้จากสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้ 
 
และหากใครอ่านวิญญาณที่ถูกเนรเทศแล้วเห็นว่า นวนิยายนี้น่าจะถูกเรียกขานเสียใหม่
เป็นนิยายติดกัณฑ์เทศน์ เนื่องจากมีการบรรยาย “ธรรม” เสียเยอะแยะ ฉันจึงขอออกตัวในฐานะผู้อ่านคนหนึ่งว่า นวนิยายที่เขียนถึง “ชีวิต” อย่างครอบคลุมเช่นนี้ ไม่ว่านวนิยายแปลอมตะอย่าง พี่น้องคารามาซอฟ หรือสมัญญาแห่งดอกกุหลาบ หรือเล่มใดก็ตาม มักจะมีบทบรรยายที่เราเรียกกันว่า “ข้อมูลดิบ” อย่างแยะแยะเช่นเดียวกัน และสาเหตุที่ฝีมืออย่างวิมลต้อง “อัดข้อมูลดิบ” เหล่านี้ ก็เพื่อให้ปรุงให้
นวนิยายเล่มนี้เป็นยาครอบจักรวาลสำหรับผู้อ่าน และพร้อมกันนี้ เขาก็ได้ก้าวข้ามกรอบของนวนิยายไปด้วย
 
ถึงแม้นว่านวนิยายเรื่องนี้จะไม่ได้รางวัลใด ๆ เลย ฉันยังจะยืนยันสุดตัวว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ นี้ ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อสำแดงถึงความเป็นมนุษย์ที่แท้ ซึ่งครั้งหนึ่งเราอาจเคยรับรู้มาแต่ครั้งบรรพกาล เพียงแต่เราลบเลือนความทรงจำชนิดนั้นไปแล้ว.

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
กรณี “แดงจับแดง” ที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ไม่ควรถูกมองว่าเป็นแค่เรื่องเข้าใจผิด หรือเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวและจบกัน แต่นี่คือเป็นปัญหาท่าที และหลักการของแกนนำซึ่งไปช้ากว่ามวลชนอย่างสม่ำเสมอ
หัวไม้ story
ขอย้อนรอยความทรงจำจากปากคำของชาวบ้านภูมิซรอลอีกครั้ง ในฐานะที่พวกเขาเป็นมนุษย์ผู้ต้องเผชิญกับชะตากรรมของสงครามที่แท้จริง และบาดเจ็บล้มตายจริง จากการเปิดฉากต่อสู้
หัวไม้ story
วิธีกลบข่าวแบบบ้านๆ ไทยๆ ไม่ต้องลงทุนมากก็กลบมันด้วยน้อง M79 ลูกกระสุนสนนราคาละไม่กี่ร้อย แต่ก็ได้พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งกลบข่าวคนเป็นหมื่นเป็นแสนที่ออกมาไล่รัฐบาลในขณะนี้
หัวไม้ story
สื่อต่างประเทศให้ความสนใจกับข่าวการเมืองในไทยกันหนาแน่นตลอดสัปดาห์นี้ ยิ่งใกล้วันศุกร์ วันที่สื่อทั้งหลายเรียกมันว่า judgement day มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งลงข่าวและบทวิเคราะห์กันคึกคักมากขึ้นเท่านั้น ประเด็นของการรายงานของสื่อนอกเน้นหนักไปที่สองเรื่องใหญ่คือ แนวทางของคำพิพากษาที่จะออกมา กับผลสะเทือนทางการเมืองจากการตัดสินหนนี้ ทั้งต่อการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างสองขั้วคือเหลืองกับแดง และผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย (ที่มาของภาพ: มังกรดำ) ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว…
หัวไม้ story
เรื่อง : สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ ภาพจาก : http://urbansea09.multiply.com/photos/album/1/Por_Border_Towns  
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง พันธมิตรฯ เดินสองแนวทางทั้งการขยายพรรคการเมืองใหม่ และพื้นที่การเมืองภาคประชาชน โดยในภาพนายสมศักดิ์ โกศัยสุข รองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) หนึ่งในแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และแกนนำ พธม.เชียงราย ร่วมพิธีตัดริบบิ้นเปิดสำนักงานพรรคเชียงราย ย่านบ้านดู่ ใกล้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อ 20 ธ.ค. 52 (ที่มา: “ก.ม.ม.” ปักธงเปิดสาขาเชียงรายสำเร็จ - หางแดงรวมตัวได้แค่ 3 ป่วนไม่ขึ้น, ASTVผู้จัดการออนไลน์, 21 ธ.ค. 2552)
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 10 ธ.ค. 52 (ที่มา: CBNpress) การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 10 ธ.ค. ผ่านไปอย่างเรียบร้อย โดยไม่มีเหตุยกคนมาล้อมคนเสื้อแดง อย่างที่สุนันท์ ศรีจันทรา นักวิเคราะห์ตลาดหลักทรัพย์ กล่าวเชิญชวนผ่านช่องเนชั่นฯ แต่อย่างใด
หัวไม้ story
  ทีมข่าวการเมือง   องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากลหรือ TI ที่มีสำนักงานที่เบอร์ลินเผยแพร่รายงานดัชนีชี้วัดคอรัปชั่น (CPI) ประจำปี 2552 นิวซีแลนด์-เดนมาร์ก-สิงคโปร์-สวีเดน โปร่งใสสุด ไทยได้อันดับ 84 ขณะที่ผลสำรวจย้อนหลังพบว่าไทยเคยได้คะแนนดีที่สุดในปี 2548 ขณะที่ในรอบ 5 ปีมานี้คะแนนต่ำสุดช่วงรัฐบาลรัฐประหารในปี 2550
หัวไม้ story
ภาวะตลาดหุ้นและค่าเงินบาทของไทยดิ่งตัวลงอย่างฮวบฮาบเมื่อสัปดาห์ที่ ผ่านมาด้วยข่าวลือที่สื่อไทยไม่รายงานโดยตรงเลยแม้แต่สำนักเดียวว่าเป็นข่าว ลือเรื่องใด และแม้ตลาดหุ้นจะมีอาการกระเตื้องขึ้นอีกครั้งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ แต่ภาวะความไม่มั่นใจของนักลงทุนนี้ถูกวิเคราะห์จากสื่อทั้งสองแห่งว่าเป็น ผลโดยตรงจากความผันผวนและไร้หลักยึดของการเมืองไทยที่เป็นอาการป่วยสั่งสม แอนดรูว์ มาร์แชล จากรอยเตอร์ วิเคราะห์ผ่านบทวิเคราะห์เรื่อง ทำไมพระพลานามัยของพระมหากษัตริย์จึงส่งผลสะเทือนต่อตลาดหุ้น (อ้างอิงจาก http://www.reuters.com/article/latestCrisis/idUSSP406158 อัพเดทเวลา 6.39 น. วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม)…
หัวไม้ story
กรณีนี้ไม่ใช่กรณีเดียวที่เกิดขึ้น สำหรับเรื่องที่เรียกกันว่า ‘หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ หากแต่เป็นกรณีแรกๆ ที่ตัดสินใจต่อสู้คดี โดยไม่รับสารภาพ และเดินหน้าสู่การอภัยโทษดังที่เคยเป็น ต่อไปนี้เป็นลำดับเวลาตลอดระยะปีกว่า เนื้อหาการต่อสู้คดีบางส่วน รวมถึงวิธีคิดของเธอจากการสนทนาสั้นๆ แบบเก็บเล็กผสมน้อย
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง     คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 1) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)   คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 2) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)   คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 3) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)   คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 4) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)