Skip to main content
ในฐานะที่กระแสรางวัลซีไรต์ปีนี้ช่างแผ่วเบา เราจึงขอกระตุ้น ยั่วยวน ให้หันมองด้วยงานวิจารณ์ของ “นายยืนยง” ซึ่งยืนยันกับการชื่นชม “วิญญาณที่ถูกเนรเทศ” เล่มหนึ่งที่เข้ารอบสุดท้าย ไม่ว่าใครจะครหาอย่างไรก็ตาม
 
 
 
 
ชื่อหนังสือ         :           วิญญาณที่ถูกเนรเทศ
ผู้เขียน              :           วิมล ไทรนิ่มนวล
จัดพิมพ์โดย       :           สำนักพิมพ์สามัญชน      พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2552
 
 
วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ไม่ใช่เรื่อง “เหนือจริง”
 
เมื่ออ่านจบแล้ว ฉันพบว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เป็นวรรณกรรมที่สมควรเหลือเกินที่จะลบชื่อนักเขียน “วิมล ไทรนิ่มนวล” นักเขียนซีไรต์ออกไปและสมควรอย่างยิ่งที่จะยุติการตีตราว่าเป็นนวนิยายเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ปีนี้ ด้วยสาเหตุที่ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เป็นนวนิยายที่บอกเล่าถึงจิตวิญญาณของมนุษยชาติที่ดำรงอยู่ในโลกภาพที่ความจริงถูกคลี่ขยายออกจนถึงพร้อมอย่างสัมบูรณ์
 
ไม่ว่าปีนี้น้ำยาซีไรต์จะเข้มข้นไปทั้งหม้อ หรือเป็นแค่น้ำยาที่ชวนกินแต่น้ำพริกแกงลอยหน้า ขณะข้างในใสโจ๋งเจ๋งก็ตาม ฉันก็ได้ลงความเห็นว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เล่มนี้ ไม่ควรถูกเนรเทศไปจากหัวใจของผู้อ่านเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากนวนิยายเรื่องนี้ได้ข้ามพ้นหม้อซีไรต์ไปแล้ว
 
ฉันแน่ใจขนาดนั้นทีเดียว ทั้งที่เพิ่งได้อ่านเล่มนี้เพียงเล่มเดียว จาก ทั้งหมด 7 เล่มที่เข้ารอบมา ใครจะมองเป็นความเร่อร่า ความลำเอียง ที่ไม่สมเหตุสมผลของฉัน ก็เชิญเลย น้อมรับเสมอในความข้อเสียประดามีของฉันนี้
 
ใครยังไม่รู้ว่า 7 เล่มดังกล่าวนั้น มีนวนิยายเรื่องใดบ้าง เชิญทราบได้
 
1.วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ของ วิมล ไทรนิ่มนวล
2.เงาฝันของผีเสื้อ ของ เอื้อ อัญชลี
3.ทะเลน้ำนม ของ ชัชวาลย์ โคตรสงคราม
4.ประเทศใต้ ของ ชาคริต โภชะเรือง
5.โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์
6.โลกใบใหม่ของปอง ของ ไชยา วรรณศรี
7.ลับแลแก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล
 
เนื่องจาก วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ได้จำแนกโลกเอกภาพอันสัมบูรณ์อยู่ในตัวเอง ออกเป็นโลก 2 ใบด้วยกัน คือ โลกก่อนความตาย และโลกหลังความตาย ซึ่งโลก 2 ใบนี้เองที่ถูกนำเสนอผ่านกระบวนความคิดให้บังเกิดเป็น “เรื่องราว” ของความทับซ้อนกันอย่างสัมบูรณ์ในที่สุด
 
ทุกโลกทัศน์รังสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น
กล่าวคือผู้เขียนทำราวกับว่า ด้วยมุมมองอย่างจำแนกแจกแจงเช่นเดียวกับโลกในวิสัยอย่างวิทยาศาสตร์นั่นเอง ที่เป็นตัวแบ่งแยกโลกอันสัมบูรณ์ออกจากกัน เพื่อที่ผู้เขียนจะเชื่อมโยงมันเข้าอีกครั้งด้วยกระบวนการสร้างเรื่องราวให้เกิดปรากฎการณ์อินเตอร์เซคชั่น หรือการทับซ้อน (ซ้ำกัน) ทีละน้อย ๆ กระทั่งโลกทั้ง 2 ใบค่อย ๆ ขับเคลื่อนจนเป็นความสัมพันธ์อย่างยูเนี่ยน (เหมือนกันทั้งหมด) สุดท้ายก็ทับซ้อนกันสนิทโดยสัมบูรณ์ ความสัมพันธ์เหล่านี้เล่าผ่านเรื่องราวอันเป็นโศกนาฏกรรมที่เหนือกว่าโศกนาฏกรรมใดใดแห่งมนุษยชาติ โดยใช้ความเป็นอัตชีวประวัติของชายหนุ่มนาม วิหค
 
หากจะแสดงรูปแบบการเคลื่อนไหวผ่านแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ โดยกำหนดให้โลก 2 ใบนั้น คือ
โลกก่อนความตาย และโลกหลังความตาย จะเห็นกระบวนการเคลื่อนเป็น 5 ขั้น ดังนี้
 
 
1 แต่เดิมโลก 2 ใบ ได้ซ้อนทับกันอย่างสัมบูรณ์
 
figure1 
 
       เก่า        ใหม่
 
 
 
2 แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิงด้วยวิสัยทางวิทยาศาสตร์
 
figure2
 
       เก่า      ใหม่
 
 
3 ค่อย ๆ เคลื่อนมาทับซ้อนกัน จุดที่ทับซ้อนกันหรืออินเตอร์เซคชั่น นี่เองที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นเรื่อง “เหนือจริง” ซึ่งปรากฏอยู่ในหลายตอนของเรื่อง เช่น ตอนที่ปู่ทวดถูกโจรปล้นแพซุง แล้วโดนฟันหัวขาดกระเด็น แต่ปู่ทวดยังสามารถฆ่าโจรได้ ก่อนจะกระโดดลงน้ำตามย่าทวดกับปู่แล้วพาว่ายทวนน้ำไปถึงวัดได้อย่างปลอดภัย ก่อนจะตายไปตามสภาพร่างกาย
 
figure3
 
         เก่า    ใหม่
 
 
 
4 เคลื่อนมากระทั่งถึงจุดไคลแมกซ์ของเรื่องที่วิหคเพิ่งรู้ตัวว่าตนนั้นได้ตายไปแล้ว
จึงเกิดการรวมกันทั้งสองโลก                          
    
figure4
 
         เก่า      ใหม่
 
 
 
5 กลับคืนสู่ภาพความสัมบูรณ์อีกครั้ง
 
figure5
 
     เก่า              ใหม่
 
 
 
 
 
นี่คือภาพอย่างคร่าว ที่แสดงให้เห็นลำดับเหตุการณ์ซึ่งเคลื่อนไปเป็นวัฏฏะจักร ผ่านรูปแบบการเขียนอย่างนวนิยายที่ให้รายละเอียดเป็นภาพชีวิตแห่งความเจ็บปวดทรมาน ความว้าเหว่ ความแปลกแยก และเป็นบรรดาความรู้สึกร้ายลึกทั้งหลาย ที่ได้พร่าชีวิตไปจากชีวิตซึ่งยังคงหายใจอยู่ เป็นความตายทั้งที่ยังมีชีวิต วิหค ชายหนุ่มที่ตายทั้งเป็น และยังมีชีวิตหลังจากความตายได้ปลดปล่อย “เขา” ออกจากร่าง
 
โลกหลังความตายของวิหคกับโลกที่เขาได้ปฏิสนธิเป็นชีวิตก่อนตายนั้น ถูกเล่าผ่านบทตอน ซึ่งแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น บทที่ 1 เริ่มขึ้นตรงที่ วิญญาณยังไม่รู้ตัวว่าตายของวิหคเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ต่อจากนั้นก็เป็นบทที่ 1 – 1 เด็กชายวิหคต้องจากบ้านเกิดไปสู่ทุรกรรมอันไม่รู้จักหน้า ณ กรุงเทพ พร้อมกับประโยคของปู่ ที่ได้ยึดโยงทั้งตัววิหคเองและจิตวิญญาณของเขาให้เป็นดั่ง
“นกประจำถิ่น” ที่แม้จำต้องจากจรไปไกล มันก็จะกลับมายังรวงรังของมัน
“ถ้ามันไม่ไกลเกินไป มันก็จะกลับมา” หรือ “ถ้ามันตาย มันก็จะกลับมา” “เพราะมันเป็นนกประจำถิ่น”   
การแบ่งบทตอนเช่นนี้ดำเนินไปกระทั่งจบเรื่อง แต่ละบทตอนก็สอดประสานเข้ากับกระบวนความคิดอย่างโลกุตรภูมิ คือ พื้นฐานแห่งจิตที่จะข้ามพ้นโลก อันเป็นแกนหลักของเรื่องทั้งหมด ซึ่งก็คือโลกแห่งความสัมบูรณ์นั่นเอง
 
ทุกโลกทัศน์เป็นผู้สร้างสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น
เมื่อเห็นโลกทั้งสองใบชัดเจนแล้ว เราจะเห็น “โลก” ในอีกทัศนะหนึ่ง ซึ่งมักจะแฝงเร้น หรือเป็นหลักใหญ่ใจความของวรรณกรรมไทยทั่วไป นั่นคือ โลกสมัยใหม่ กับโลกยุคเก่า สำหรับ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ทัศนะโลกใหม่กับโลกเก่าดังกล่าวก็ได้แฝงอยู่อย่างล้ำลึกเช่นเดียวกัน ต่างแต่โลกสมัยใหม่ไม่ได้เป็นอาชญากรผู้ทำลายล้างคตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์ของโลกยุคเก่า ดังเช่นที่เราเคยรับรู้ผ่านวรรณกรรมเรื่องอื่น เหตุเพราะผู้เขียนมีความชัดเจนในน้ำเสียงเหลือเกินที่จะกล่าวว่า โลกยุคเก่าเองต่างหากเล่าที่เป็
“การอพยพย้ายถิ่นฐาน” เป็นที่มั่นในกระบวนขับเคลื่อนนี้ ดังตอนที่วิหคกับแม่ต้องย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่กรุงเทพ ที่แม่อ้างว่ามีความหวังต่ออนาคตได้ เพราะขืนอยู่ที่นี่ต่อไป ภาพติดตาของพ่อที่ถูกยิงตายบนเรือนนั้นคงเป็นแผลใหญ่ที่ไม่อาจเยียวยาได้ตลอดกาล เช่นเดียวกับรุ่นปู่ทวดย่าทวด ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน
 
การฮาราคีรีตัวเองของโลกใบเก่านี้ ผู้เขียนไม่ได้มีน้ำเสียงตำหนิติเตียนหรือเยาะหยันแต่อย่างใด หากแต่มันเป็นเรื่องที่ต้องเป็นไปเช่นนั้นตามกฎธรรมชาติเอง และถึงแม้นว่า ผู้เขียนจะมีน้ำเสียงชื่นชมบูชาโลกยุคเก่าและตำหนิติเตียนโลกอุตสาหกรรมมากมายเพียงไรก็ตาม เราไม่อาจตีความว่า นี่เป็นเรื่องอย่างแนวเพื่อชีวิตได้เลย
 
เพราะฉะนั้น เมื่อโลกเก่าขับเคลื่อนเข้าสู่โลกใหม่ โลกใหม่จึงเป็นส่วนผสมระหว่างคติอย่างโลกเก่าและทัศนะอย่างโลกใหม่ และเมื่อลูกผสมระหว่างสองโลกนี้ ได้เคลื่อนมาสู่โลกเก่าอีกครั้ง โลกเก่าจึงไม่ได้ถูก “มองเห็น”จากดวงตาของคนในโลกเก่าอีกต่อไปแล้ว หากแต่ถูกเห็น และรับรู้ผ่านดวงตาของคนที่เคยผ่านมาแล้วทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ อย่างวิหค วิญญาณที่ถูกเนรเทศจากเมืองหลวง
 
จิตวิญญาณเป็นอาณาจักรของจิตสำนึกที่ไร้กาลเวลา
เมื่อวิญญาณของวิหคที่ผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับโลกเก่าอันงดงามบริสุทธิ์ ได้เดินทางกลับบ้านเกิดสมใจมุ่งมาดปรารถนาแล้ว แต่เขายังรู้สึกว่า ความหวังที่จะได้พบเจอกับโลกเก่าของเขากลับพังทลายลง เพราะโรงงานอุตสาหกรรมที่ผุดขึ้นมาราวกับมันมีหน้าที่แบ่งแยกมนุษย์ออกจากกัน พร้อมทั้งโยนอาวุธให้ทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อตรงเข้ามล้างกันเอง และมล้างโลกไปพร้อมกัน นี่ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความทุกข์อันเป็นดั่งบรมทุกข์แห่งมนุษย์ ที่ทำให้เขาต้องรู้สึกราวกับถูกเนรเทศในทุกโลกไป
 
กระทั่ง “ที่พึ่ง” หรือเครื่องยึดเหนี่ยวเดียวของมนุษย์ ได้เผยตัวขึ้น เขาจึงพบว่า แท้แล้วมนุษย์มีศักยภาพที่จะเป็นผู้สร้าง แต่มนุษย์กลับเลือกที่จะเป็นผู้ทำลายทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง และเครื่องยึดเหนี่ยวนั้นก็คือตัวเราเอง
 
ฉะนั้นลักษณะของปรากฏการณ์ “เหนือจริง” ที่เกิดขึ้นในนวนิยายเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องเหนือจริง แต่อย่างใด เพราะวิมล ได้คลี่สภาพแห่งความจริงให้ไพศาลออกไปจนครอบคลุม สนิทแน่น ทำลายปราการระหว่างโลกียกับโลกุตร ให้เป็นความสัมบูรณ์
 
ทั้งนี้ สำหรับผู้อ่านที่อยากจะอ่านบทวิจารณ์ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ สำนวนของ อ.สกุล บุณยทัต โปรดติดตามอ่านได้จากสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้ 
 
และหากใครอ่านวิญญาณที่ถูกเนรเทศแล้วเห็นว่า นวนิยายนี้น่าจะถูกเรียกขานเสียใหม่
เป็นนิยายติดกัณฑ์เทศน์ เนื่องจากมีการบรรยาย “ธรรม” เสียเยอะแยะ ฉันจึงขอออกตัวในฐานะผู้อ่านคนหนึ่งว่า นวนิยายที่เขียนถึง “ชีวิต” อย่างครอบคลุมเช่นนี้ ไม่ว่านวนิยายแปลอมตะอย่าง พี่น้องคารามาซอฟ หรือสมัญญาแห่งดอกกุหลาบ หรือเล่มใดก็ตาม มักจะมีบทบรรยายที่เราเรียกกันว่า “ข้อมูลดิบ” อย่างแยะแยะเช่นเดียวกัน และสาเหตุที่ฝีมืออย่างวิมลต้อง “อัดข้อมูลดิบ” เหล่านี้ ก็เพื่อให้ปรุงให้
นวนิยายเล่มนี้เป็นยาครอบจักรวาลสำหรับผู้อ่าน และพร้อมกันนี้ เขาก็ได้ก้าวข้ามกรอบของนวนิยายไปด้วย
 
ถึงแม้นว่านวนิยายเรื่องนี้จะไม่ได้รางวัลใด ๆ เลย ฉันยังจะยืนยันสุดตัวว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ นี้ ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อสำแดงถึงความเป็นมนุษย์ที่แท้ ซึ่งครั้งหนึ่งเราอาจเคยรับรู้มาแต่ครั้งบรรพกาล เพียงแต่เราลบเลือนความทรงจำชนิดนั้นไปแล้ว.

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
วิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเห็นจะหนีไปพ้น คนยากคนจนทั่วโลก ในหลายประเทศวิกฤตการณ์นี้นำไปสู่การจลาจล เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ เช่นในเฮติ อียิปต์และโซมาเลีย วิกฤติอาหารยังลามถึงภูมิภาคอเมริกากลาง จนประธานาธิบดีนิคารากัวเรียกประชุมฉุกเฉิน ยอมรับภาวะขาดแคลนอาหารเข้าขั้นวิกฤติ จนเกรงว่าจะบานปลายเป็นเหตุวุ่นวายในสังคมขณะเดียวกันองค์กรระหว่างประเทศต่างก็ออกมาให้ข้อมูลชวนหวั่นไหว ธนาคารโลกออกมาเตือนว่า วิกฤตอาหารแพงนี้จะเพิ่มระดับความยากจนทั่วโลกอาจพุ่งสูงขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยราคาอาหารและน้ำมันแพงในช่วง 2 ปีที่แล้ว ทำให้ประชาชนประมาณ 100…
หัวไม้ story
   ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ช่วงนี้ตรงกับเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเดือนที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองอย่างมากครั้งหนึ่ง ในสัปดาห์นี้ประชาไทจึงเลือกพาด ‘หัวไม้' เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สำคัญตอนนี้หากกล่าวอย่างรวบรัดที่สุด คือ ใน ‘เดือนพฤษภา พ.ศ. 2535' เกิดการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือการต่อต้าน พล.อ.สุจินดา คราประยูร หนึ่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ผู้ใช้วาทะ ‘เสียสัตย์เพื่อชาติ' มานั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ถ้าจะลงไปให้ถึงรายละเอียด เหตุการณ์พฤษภาคม 2535…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวพิเศษ Prachatai Burmaคณะพี่น้องตลกหนวดแห่งมัณฑะเลย์ (The Moustache Brothers)ทำมือไขว้กันสองข้าง เป็นเครื่องหมาย ‘ไม่รับ’ รัฐธรรมนูญรัฐบาลทหารพม่า (ที่มา: The Irrawaddy)ก่อนนาร์กิสจะซัดเข้าถล่มประเทศกระทั่งอยู่ในภาวะวิกฤต แน่นอนว่า ความสนใจที่โลกจะจับตามองประเทศมองนั้นคือวันที่ 10 นี้ ประเทศพม่าจะมีการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์ ที่รัฐมนตรีฝ่ายข้อมูลข่าวสารของพม่ากล้าพูดว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการลงประชามตินั้นเป็นประชาธิปไตยกว่าของไทย แม้ว่าแหล่งข่าวภายในรัฐฉานจะให้ข้อมูลที่ต่างไปว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญของพม่านั้น…
หัวไม้ story
พิณผกา งามสมปรากฏการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองบนเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในไทยอยู่ขณะนี้ เป็นพื้นที่การต่อสู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองไทยไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันสื่อกระแสหลักก็เปลี่ยนหรือขยายเป้าหมายจากการช่วงชิงพื้นที่ในตลาดสิ่งพิมพ์มาสู่ตลาดแห่งใหม่ในโลกไซเบอร์ นักวิชาการด้านสื่อสารสนเทศ สังคมวิทยา และรวมถึงนักรัฐศาสตร์ในโลกก็เริ่มขยายการศึกษาวิจัยมาสู่พื้นที่ใหม่ที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน โลกวิชาการระดับนานาชาติผลิตงานศึกษาวิจัยถึงบทบาทของอินเตอร์เน็ตกับการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีข้อเสนอว่า อินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามาเติมเต็มส่วนที่ขาดในโลกจริง เป็นต้นว่า…
หัวไม้ story
กลายเป็นภาพที่คุ้นตา เรื่องที่คุ้นหูไปแล้ว สำหรับการออกมาเดินขบวนยื่นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มต่างๆ ในวันกรรมกรสากล (หรือวันแรงงานแห่งชาติ หรือวันเมย์เดย์) จนบางคนอาจชาชินกับสิ่งที่เกิดขึ้น "ก็เห็นเดินกันทุกปี" "เรียกร้องกันทุกปี" อย่างไรก็ตาม ปฎิเสธไม่ได้ว่าการที่มีข้อเรียกร้องอยู่ทุกปีนั้น สะท้อนถึงการคงอยู่ของ ‘ปัญหาที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข' ไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มไหน เมื่อลองกลับไปดูข้อเสนอของปีที่แล้ว เทียบกับปีก่อน และปีก่อนๆ ก็จะเห็นว่า ไม่สู้จะต่างกันสักเท่าใด ดัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงานการจะทำงานให้เป็นไปด้วยความราบรื่นนั้น นอกจากตัวงานและผู้ร่วมงานแล้ว…
หัวไม้ story
  ช่วงเวลาแห่งสงกรานต์ผ่านพ้นไปแล้ว การกระหน่ำสาดน้ำในนามของวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามยุติลง (ชั่วคราว) หลายคนที่เคยดวลปืน (ฉีดน้ำ) หรือแม้แต่จ้วงขันลงตุ่มแล้วสาดราดรดผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา ล้วนวางอาวุธและกลับเข้าสู่สภาวะปกติของชีวิตแน่นอนว่า สงคราม (สาด) น้ำที่เกิดขึ้นในบ้านเราแต่ละปี เป็นห้วงยามแห่งความสนุกสนานและการรวมญาติในแบบฉบับไทยๆ แต่ในขณะที่คนมากมายกำลังใช้น้ำเฉลิมฉลองงานสงกรานต์จนถึงวันสิ้นสุด แต่สงคราม (แย่งชิง) น้ำที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยังดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง สงครามน้ำส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ของโลก และมักจะมีสาเหตุจากข้อจำกัดทางภูมิประเทศ…
หัวไม้ story
จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง ยุคที่น้ำมันแพง ราคาเบนซินกระฉูดไปแตะที่ลิตรละ 35 บาท ส่วนดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 31 บาทกว่า การเดินทางในช่วงวันหยุดสงกรานต์ปีนี้ รถโดยสารสาธารณะที่มีเส้นทางขนส่งประจำทางข้ามจังหวัดดูจะเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีงบประมาณในการเดินทางไม่มากนัก ด้วยเหตุผลเรื่องราคาที่พอจ่ายได้ ความสะดวกสบายและความปลอดภัยจากผู้ให้บริการที่มีอยู่จำนวนมาก อีกทั้งมีเส้นทางเดินรถจากสถานีต่างๆ ในกรุงเทพฯ กระจายไปทั่วประเทศ  การเดินทาง 1. "สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)" หรือ "หมอชิต" สำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางไปภาคเหนือ…
หัวไม้ story
 พิณผกา งามสม/พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อกระแสแก้รัฐธรรมนูญเริ่มต้นด้วยการถูกโจมตีว่าจะเป็นการเบิกทางให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามามีที่อยู่ที่ยืนในเวทีการเมืองไทยอีกครั้ง มิหนำซ้ำยังเป็นการปูทางไปสู่การฟอกตัวของอดีตนายกผู้ซึ่งตามทัศนะของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มองว่าเป็นเหตุแห่งความวิบัติทั้งสิ้นทั้งมวลของประเทศชาติ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเรื่องแก้รัฐธรรมนูญก็กลายมาสู่เรื่องการเอาทักษิณ หรือไม่เอาทักษิณ แบบกลยุทธ์ขายเบียร์พ่วงเหล้า คือถ้าไม่เอาทักษิณก็ต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ ถ้าใครจะแก้รัฐธรรมนูญถือเป็นพวกทักษิณ ว่ากันตามจริงแล้ว…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)มุทิตา เชื้อชั่ง, คิม ไชยสุขประเสริฐ, ชลธิชา ดีแจ่ม นานๆ ทีจะเห็นคนระดับนายกรัฐมนตรีออกมาพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม และระดับคุณสมัคร สุนทรเวช ก็ไม่เคยทำให้ผิดหวัง…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  หากย้อนดูปรากฏการณ์การเคลื่อนขบวนของประชาชนออกมาแสดงพลังขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลไทยรักไทย ที่ผ่านมานับแต่การเริ่มต้นเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งแรก…
หัวไม้ story
หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์) 
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  เพียงไม่นานหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช พูดออกอากาศในรายการ ‘สนทนาประสาสมัคร' ณ วันที่ 2 มีนาคม 2551 ว่า อยากให้มี ‘บ่อนการพนันถูกกฎหมาย' เกิดขึ้นในประเทศ…