ในฐานะที่กระแสรางวัลซีไรต์ปีนี้ช่างแผ่วเบา เราจึงขอกระตุ้น ยั่วยวน ให้หันมองด้วยงานวิจารณ์ของ “นายยืนยง” ซึ่งยืนยันกับการชื่นชม “วิญญาณที่ถูกเนรเทศ” เล่มหนึ่งที่เข้ารอบสุดท้าย ไม่ว่าใครจะครหาอย่างไรก็ตาม
ชื่อหนังสือ : วิญญาณที่ถูกเนรเทศ
ผู้เขียน : วิมล ไทรนิ่มนวล
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2552
วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ไม่ใช่เรื่อง “เหนือจริง”
เมื่ออ่านจบแล้ว ฉันพบว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เป็นวรรณกรรมที่สมควรเหลือเกินที่จะลบชื่อนักเขียน “วิมล ไทรนิ่มนวล” นักเขียนซีไรต์ออกไปและสมควรอย่างยิ่งที่จะยุติการตีตราว่าเป็นนวนิยายเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ปีนี้ ด้วยสาเหตุที่ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เป็นนวนิยายที่บอกเล่าถึงจิตวิญญาณของมนุษยชาติที่ดำรงอยู่ในโลกภาพที่ความจริงถูกคลี่ขยายออกจนถึงพร้อมอย่างสัมบูรณ์
ไม่ว่าปีนี้น้ำยาซีไรต์จะเข้มข้นไปทั้งหม้อ หรือเป็นแค่น้ำยาที่ชวนกินแต่น้ำพริกแกงลอยหน้า ขณะข้างในใสโจ๋งเจ๋งก็ตาม ฉันก็ได้ลงความเห็นว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ เล่มนี้ ไม่ควรถูกเนรเทศไปจากหัวใจของผู้อ่านเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากนวนิยายเรื่องนี้ได้ข้ามพ้นหม้อซีไรต์ไปแล้ว
ฉันแน่ใจขนาดนั้นทีเดียว ทั้งที่เพิ่งได้อ่านเล่มนี้เพียงเล่มเดียว จาก ทั้งหมด 7 เล่มที่เข้ารอบมา ใครจะมองเป็นความเร่อร่า ความลำเอียง ที่ไม่สมเหตุสมผลของฉัน ก็เชิญเลย น้อมรับเสมอในความข้อเสียประดามีของฉันนี้
ใครยังไม่รู้ว่า 7 เล่มดังกล่าวนั้น มีนวนิยายเรื่องใดบ้าง เชิญทราบได้
1.วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ของ วิมล ไทรนิ่มนวล
2.เงาฝันของผีเสื้อ ของ เอื้อ อัญชลี
3.ทะเลน้ำนม ของ ชัชวาลย์ โคตรสงคราม
4.ประเทศใต้ ของ ชาคริต โภชะเรือง
5.โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก ของ ฟ้า พูลวรลักษณ์
6.โลกใบใหม่ของปอง ของ ไชยา วรรณศรี
7.ลับแลแก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล
เนื่องจาก วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ได้จำแนกโลกเอกภาพอันสัมบูรณ์อยู่ในตัวเอง ออกเป็นโลก 2 ใบด้วยกัน คือ โลกก่อนความตาย และโลกหลังความตาย ซึ่งโลก 2 ใบนี้เองที่ถูกนำเสนอผ่านกระบวนความคิดให้บังเกิดเป็น “เรื่องราว” ของความทับซ้อนกันอย่างสัมบูรณ์ในที่สุด
ทุกโลกทัศน์รังสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น
กล่าวคือผู้เขียนทำราวกับว่า ด้วยมุมมองอย่างจำแนกแจกแจงเช่นเดียวกับโลกในวิสัยอย่างวิทยาศาสตร์นั่นเอง ที่เป็นตัวแบ่งแยกโลกอันสัมบูรณ์ออกจากกัน เพื่อที่ผู้เขียนจะเชื่อมโยงมันเข้าอีกครั้งด้วยกระบวนการสร้างเรื่องราวให้เกิดปรากฎการณ์อินเตอร์เซคชั่น หรือการทับซ้อน (ซ้ำกัน) ทีละน้อย ๆ กระทั่งโลกทั้ง 2 ใบค่อย ๆ ขับเคลื่อนจนเป็นความสัมพันธ์อย่างยูเนี่ยน (เหมือนกันทั้งหมด) สุดท้ายก็ทับซ้อนกันสนิทโดยสัมบูรณ์ ความสัมพันธ์เหล่านี้เล่าผ่านเรื่องราวอันเป็นโศกนาฏกรรมที่เหนือกว่าโศกนาฏกรรมใดใดแห่งมนุษยชาติ โดยใช้ความเป็นอัตชีวประวัติของชายหนุ่มนาม วิหค
หากจะแสดงรูปแบบการเคลื่อนไหวผ่านแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ โดยกำหนดให้โลก 2 ใบนั้น คือ
โลกก่อนความตาย และโลกหลังความตาย จะเห็นกระบวนการเคลื่อนเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1 แต่เดิมโลก 2 ใบ ได้ซ้อนทับกันอย่างสัมบูรณ์
เก่า ใหม่
2 แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิงด้วยวิสัยทางวิทยาศาสตร์
เก่า ใหม่
3 ค่อย ๆ เคลื่อนมาทับซ้อนกัน จุดที่ทับซ้อนกันหรืออินเตอร์เซคชั่น นี่เองที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นเรื่อง “เหนือจริง” ซึ่งปรากฏอยู่ในหลายตอนของเรื่อง เช่น ตอนที่ปู่ทวดถูกโจรปล้นแพซุง แล้วโดนฟันหัวขาดกระเด็น แต่ปู่ทวดยังสามารถฆ่าโจรได้ ก่อนจะกระโดดลงน้ำตามย่าทวดกับปู่แล้วพาว่ายทวนน้ำไปถึงวัดได้อย่างปลอดภัย ก่อนจะตายไปตามสภาพร่างกาย
เก่า ใหม่
4 เคลื่อนมากระทั่งถึงจุดไคลแมกซ์ของเรื่องที่วิหคเพิ่งรู้ตัวว่าตนนั้นได้ตายไปแล้ว
จึงเกิดการรวมกันทั้งสองโลก
เก่า ใหม่
5 กลับคืนสู่ภาพความสัมบูรณ์อีกครั้ง
เก่า ใหม่
นี่คือภาพอย่างคร่าว ที่แสดงให้เห็นลำดับเหตุการณ์ซึ่งเคลื่อนไปเป็นวัฏฏะจักร ผ่านรูปแบบการเขียนอย่างนวนิยายที่ให้รายละเอียดเป็นภาพชีวิตแห่งความเจ็บปวดทรมาน ความว้าเหว่ ความแปลกแยก และเป็นบรรดาความรู้สึกร้ายลึกทั้งหลาย ที่ได้พร่าชีวิตไปจากชีวิตซึ่งยังคงหายใจอยู่ เป็นความตายทั้งที่ยังมีชีวิต วิหค ชายหนุ่มที่ตายทั้งเป็น และยังมีชีวิตหลังจากความตายได้ปลดปล่อย “เขา” ออกจากร่าง
โลกหลังความตายของวิหคกับโลกที่เขาได้ปฏิสนธิเป็นชีวิตก่อนตายนั้น ถูกเล่าผ่านบทตอน ซึ่งแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น บทที่ 1 เริ่มขึ้นตรงที่ วิญญาณยังไม่รู้ตัวว่าตายของวิหคเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ต่อจากนั้นก็เป็นบทที่ 1 – 1 เด็กชายวิหคต้องจากบ้านเกิดไปสู่ทุรกรรมอันไม่รู้จักหน้า ณ กรุงเทพ พร้อมกับประโยคของปู่ ที่ได้ยึดโยงทั้งตัววิหคเองและจิตวิญญาณของเขาให้เป็นดั่ง
“นกประจำถิ่น” ที่แม้จำต้องจากจรไปไกล มันก็จะกลับมายังรวงรังของมัน
“ถ้ามันไม่ไกลเกินไป มันก็จะกลับมา” หรือ “ถ้ามันตาย มันก็จะกลับมา” “เพราะมันเป็นนกประจำถิ่น”
การแบ่งบทตอนเช่นนี้ดำเนินไปกระทั่งจบเรื่อง แต่ละบทตอนก็สอดประสานเข้ากับกระบวนความคิดอย่างโลกุตรภูมิ คือ พื้นฐานแห่งจิตที่จะข้ามพ้นโลก อันเป็นแกนหลักของเรื่องทั้งหมด ซึ่งก็คือโลกแห่งความสัมบูรณ์นั่นเอง
ทุกโลกทัศน์เป็นผู้สร้างสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น
เมื่อเห็นโลกทั้งสองใบชัดเจนแล้ว เราจะเห็น “โลก” ในอีกทัศนะหนึ่ง ซึ่งมักจะแฝงเร้น หรือเป็นหลักใหญ่ใจความของวรรณกรรมไทยทั่วไป นั่นคือ โลกสมัยใหม่ กับโลกยุคเก่า สำหรับ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ทัศนะโลกใหม่กับโลกเก่าดังกล่าวก็ได้แฝงอยู่อย่างล้ำลึกเช่นเดียวกัน ต่างแต่โลกสมัยใหม่ไม่ได้เป็นอาชญากรผู้ทำลายล้างคตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์ของโลกยุคเก่า ดังเช่นที่เราเคยรับรู้ผ่านวรรณกรรมเรื่องอื่น เหตุเพราะผู้เขียนมีความชัดเจนในน้ำเสียงเหลือเกินที่จะกล่าวว่า โลกยุคเก่าเองต่างหากเล่าที่เป็
“การอพยพย้ายถิ่นฐาน” เป็นที่มั่นในกระบวนขับเคลื่อนนี้ ดังตอนที่วิหคกับแม่ต้องย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่กรุงเทพ ที่แม่อ้างว่ามีความหวังต่ออนาคตได้ เพราะขืนอยู่ที่นี่ต่อไป ภาพติดตาของพ่อที่ถูกยิงตายบนเรือนนั้นคงเป็นแผลใหญ่ที่ไม่อาจเยียวยาได้ตลอดกาล เช่นเดียวกับรุ่นปู่ทวดย่าทวด ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน
การฮาราคีรีตัวเองของโลกใบเก่านี้ ผู้เขียนไม่ได้มีน้ำเสียงตำหนิติเตียนหรือเยาะหยันแต่อย่างใด หากแต่มันเป็นเรื่องที่ต้องเป็นไปเช่นนั้นตามกฎธรรมชาติเอง และถึงแม้นว่า ผู้เขียนจะมีน้ำเสียงชื่นชมบูชาโลกยุคเก่าและตำหนิติเตียนโลกอุตสาหกรรมมากมายเพียงไรก็ตาม เราไม่อาจตีความว่า นี่เป็นเรื่องอย่างแนวเพื่อชีวิตได้เลย
เพราะฉะนั้น เมื่อโลกเก่าขับเคลื่อนเข้าสู่โลกใหม่ โลกใหม่จึงเป็นส่วนผสมระหว่างคติอย่างโลกเก่าและทัศนะอย่างโลกใหม่ และเมื่อลูกผสมระหว่างสองโลกนี้ ได้เคลื่อนมาสู่โลกเก่าอีกครั้ง โลกเก่าจึงไม่ได้ถูก “มองเห็น”จากดวงตาของคนในโลกเก่าอีกต่อไปแล้ว หากแต่ถูกเห็น และรับรู้ผ่านดวงตาของคนที่เคยผ่านมาแล้วทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ อย่างวิหค วิญญาณที่ถูกเนรเทศจากเมืองหลวง
จิตวิญญาณเป็นอาณาจักรของจิตสำนึกที่ไร้กาลเวลา
เมื่อวิญญาณของวิหคที่ผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับโลกเก่าอันงดงามบริสุทธิ์ ได้เดินทางกลับบ้านเกิดสมใจมุ่งมาดปรารถนาแล้ว แต่เขายังรู้สึกว่า ความหวังที่จะได้พบเจอกับโลกเก่าของเขากลับพังทลายลง เพราะโรงงานอุตสาหกรรมที่ผุดขึ้นมาราวกับมันมีหน้าที่แบ่งแยกมนุษย์ออกจากกัน พร้อมทั้งโยนอาวุธให้ทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อตรงเข้ามล้างกันเอง และมล้างโลกไปพร้อมกัน นี่ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความทุกข์อันเป็นดั่งบรมทุกข์แห่งมนุษย์ ที่ทำให้เขาต้องรู้สึกราวกับถูกเนรเทศในทุกโลกไป
กระทั่ง “ที่พึ่ง” หรือเครื่องยึดเหนี่ยวเดียวของมนุษย์ ได้เผยตัวขึ้น เขาจึงพบว่า แท้แล้วมนุษย์มีศักยภาพที่จะเป็นผู้สร้าง แต่มนุษย์กลับเลือกที่จะเป็นผู้ทำลายทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง และเครื่องยึดเหนี่ยวนั้นก็คือตัวเราเอง
ฉะนั้นลักษณะของปรากฏการณ์ “เหนือจริง” ที่เกิดขึ้นในนวนิยายเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องเหนือจริง แต่อย่างใด เพราะวิมล ได้คลี่สภาพแห่งความจริงให้ไพศาลออกไปจนครอบคลุม สนิทแน่น ทำลายปราการระหว่างโลกียกับโลกุตร ให้เป็นความสัมบูรณ์
ทั้งนี้ สำหรับผู้อ่านที่อยากจะอ่านบทวิจารณ์ วิญญาณที่ถูกเนรเทศ สำนวนของ อ.สกุล บุณยทัต โปรดติดตามอ่านได้จากสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้
และหากใครอ่านวิญญาณที่ถูกเนรเทศแล้วเห็นว่า นวนิยายนี้น่าจะถูกเรียกขานเสียใหม่
เป็นนิยายติดกัณฑ์เทศน์ เนื่องจากมีการบรรยาย “ธรรม” เสียเยอะแยะ ฉันจึงขอออกตัวในฐานะผู้อ่านคนหนึ่งว่า นวนิยายที่เขียนถึง “ชีวิต” อย่างครอบคลุมเช่นนี้ ไม่ว่านวนิยายแปลอมตะอย่าง พี่น้องคารามาซอฟ หรือสมัญญาแห่งดอกกุหลาบ หรือเล่มใดก็ตาม มักจะมีบทบรรยายที่เราเรียกกันว่า “ข้อมูลดิบ” อย่างแยะแยะเช่นเดียวกัน และสาเหตุที่ฝีมืออย่างวิมลต้อง “อัดข้อมูลดิบ” เหล่านี้ ก็เพื่อให้ปรุงให้
นวนิยายเล่มนี้เป็นยาครอบจักรวาลสำหรับผู้อ่าน และพร้อมกันนี้ เขาก็ได้ก้าวข้ามกรอบของนวนิยายไปด้วย
ถึงแม้นว่านวนิยายเรื่องนี้จะไม่ได้รางวัลใด ๆ เลย ฉันยังจะยืนยันสุดตัวว่า วิญญาณที่ถูกเนรเทศ นี้ ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อสำแดงถึงความเป็นมนุษย์ที่แท้ ซึ่งครั้งหนึ่งเราอาจเคยรับรู้มาแต่ครั้งบรรพกาล เพียงแต่เราลบเลือนความทรงจำชนิดนั้นไปแล้ว.
บล็อกของ หัวไม้ story
หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง....
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้ ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้ "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี 2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550 ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…