Skip to main content

“การคุมประชากรด้วยข้อมูลและแนวคิดที่โกหกอาจจะไม่นำไปสู่ประเทศไทยที่สำเร็จได้ แต่กลับเป็นการทำลายการพัฒนาและอนาคตของสังคมไทยเอง”

ธงชัย วินิจจะกูล
3 มี.ค. 2552




(( ดูวิดีโอการแถลงข่าว คลิกที่นี่ ))

วันที่ 3 มีนาคม 51 เวลา 10.00 น. ที่สมาคมนักข่าวต่างประเทศหรือ FCCT นายธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนสิน แมดิสัน และ นายแอนดรู วอร์เกอร์ นักวิชาการทางด้านไทยศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียได้แถลงข่าว ที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) ผ่านโปรแกรมสไกป์ (skype) เกี่ยวกับการรณรงค์ของนักวิชาการทางด้านอุษาคเนย์และไทยศึกษา นักวิชาการทางด้านกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชน และผู้มีชื่อเสียงแวงวงอื่น ๆ กว่า 50 คนทั่วโลกที่เรียกร้องให้มีการปฎิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบรมเดชานุภาพ

ก่อนเริ่มแถลงข่าว นายธงชัยได้อธิบายว่าการแถลงข่าวครั้งนี้ไม่ได้เป็นการจัดโดยสมาคมนักข่าวต่างประเทศ แต่ทางเครือข่ายซึ่งเป็นการริเริ่มขึ้นโดยการประสานงานผ่านอีเมล์ โดยที่สมาคมฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทางสมาคมนักข่าวฯ ได้ให้ทางเครือข่ายใช้สถานที่เหมือนกับองค์กรอื่น ๆ ที่ต้องจ่ายค่าใช้สถานที่ โดยเครือข่ายเลือกที่จะใช้สมาคมนักข่าวฯ เนื่องจากเป็นที่ ๆ เหมาะสำหรับใช้เป็นที่แถลงข่าวกับนักข่าวต่างประเทศในประเทศไทย

นายธงชัยได้กล่าวต่อในฐานะตัวแทนของเครือข่ายเกี่ยวกับการรณรงค์ที่จะส่งจดหมายต่อนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ ว่าทางเครือข่ายมีข้อเรียกร้องให้มีการปฎิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ดูรายละเอียดข่าว) http://www.prachatai.com/05web/th/home/15766


สถานการณ์ในประเทศไทยกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ 



นายธงชัยระบุว่าสถานการณ์วิกฤติทางการเมืองในประเทศไทยในระยะหลายปีที่ผ่านมาได้นำไปสู่การทำลายประชาธิปไตยและสิทธิ เสรีภาพในหลาย ๆ ด้าน ในไม่กี่เดือนที่ผ่านมากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ ถูกนำมาใช้และมีการฟ้องคดีหมิ่นฯ และจับกุมบุคคลในแวดวงต่าง ๆ หลายคน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้นำไปสู่การสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวขึ้นมาในชุมชนทางการเมืองและชุมชนวิชาการในประเทศ

“ในฐานะที่เราเป็นนักวิชาการและผู้สังเกตการณ์กับสถานการณ์ในประเทศไทย พวกเราได้มีความกังวลเกี่ยวกับการคุกคามประชาชนไทยและประชาชนชาวต่างประเทศโดยใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากว่าวิกฤติการณ์ทางการเมืองนำไปสู่เหตุการณ์เหล่านี้”

การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบ่อยครั้งต่อกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามเป็นการทำลายกระบวนการทางประชาธิปไตย การที่นักข่าว นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปโดยฟ้องโดยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ เนื่องจากแสดงออกทางการเมืองได้นำไปสู่การปิดกั้นการพูดคุยประเด็นสำคัญในเวทีสาธารณะ ซึ่งการกระทำเหล่านี้แสดงว่าข้อกล่าวอ้างว่าทำไปเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการโกหก เนื่องจากคดีต่าง ๆ ของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ได้ปกป้องชื่อเสียงของสถาบันฯ แต่นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ และประเทศไทย ทั้งในและนอกประเทศ

ที่ผ่านมาได้มีข้อเสนอแนะจากหลายส่วนให้มีการปฎิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านเองก็ได้กล่าวว่าการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่กระทำได้ พวกเรามีความกังวลเพราะแทนที่รัฐบาลจะรับฟังข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ รัฐบาลกลับนำกฎหมายน้าใช้เพื่อกดขี่สิทธิเสรีภาพและเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ซึ่งได้มีผู้แทนฯ ของรัฐบาลหลายคนกลับเรียกร้องให้มีบทลงโทษกรณีหมิ่นฯ ให้สูงกว่าเดิ่ม โดยอ้างว่าสิ่งเหล่านี้ได้ทำไปเพื่อปกป้องสถาบันฯ 

จากประสบการณ์ของหลาย ๆ ประเทศ ได้เป็นที่รู้กันว่า ความจริง ความโปร่งใส่ การแลกเปลี่ยนอย่างเป็นอารยะ และกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนความขัดแย้งทางความคิดไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสันติได้ การกดขี่ทางความคิดไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ แต่กลับมีความเป็นไปได้ในการสร้างโทษให้กับสถาบันฯ มากกว่าสร้างประโยชน์

ความเป็นมาของการรณรงค์นี้

การณรงค์ครั้งนี้เริ่มจากการที่นักวิชาการสามคนที่เป็นที่มีชื่อเสียงทางด้านอุษาคเนย์ศึกษาและไทยศึกษาได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากกฎหมายหมิน คือ อาจารย์เจมส์ สกอตต์ (James C. Scott) จากมหาวิทยาลัยเยล อาจารย์ชาร์ล เอฟ เคน (Charles F. Keyes) จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และ อาจารย์เครก เจ เรโนลด์ (Craig J. Reynold) จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย พร้อมกับนายธงชัย และ ดร.แอนดรูว์ ในฐานะเป็นผู้ประสานงาน

โดยการณรงค์นี้ได้ทำให้เกิดการสนใจและกังวลโดยผู้นำทางด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพ นักวิชาการด้านไทยศึกษา และนักวิชาการทั่วไปจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการเริ่มลงชื่อได้ริเริ่มขึ้นในต้นเดือนกุมภาพันธ์โดยนักวิชาการสามท่านข้างต้น โดยที่ตอนนี้ไดมีนักวิชาการระดับโลกมาร่วมลงชื่อมากกว่าห้าสิบคน

นายธงชัยได้อธิบายต่อว่าทางกลุ่มขอประกาศว่าบุคคลที่เป็นห่วงกับสถานการณ์ประชาธิปไตยและเสรีภาพในประเทศไทย นักวิชาการทางด้านอุษาคเนย์ศึกษาและไทยศึกษา หรือทางด้านอื่น ๆ จนถึงประชาชนทั่วไป และบุคคลที่ต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาไปในอนาคต เพื่อที่จะเป็นตัวอย่างของประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เป็นสังคมอารยะ ห่วงใยกัน และเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน สามารถลงชื่อในจดหมายที่จะถูกส่งไปให้นายกรัฐมนตรีได้

โดยต่อจากนี้ ทางกลุ่มจะส่งอีเมล์จำนวนมากไปตามอีเมล์กรุ๊ป และองค์กรที่สนใจ โดยจะส่งจมหมายนี้ให้กับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน หลังจากที่ได้รายชื่อมากที่สุดเท่าที่ทำได้

ปัญหาของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ มีปัญหาหลัก ๆ อยู่สามข้อ ประเด็นแรก คือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ ได้บิดเบือนเป็นระยะเวลาหลายปี เนื่องจากข้อคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา หรือแม้แต่ข้อคิดเห็นที่ไม่รุนแรงหรือข้อคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่ได้แสดงความต่อต้านหรือสร้างโทษให้กับสถาบันฯ ได้ถูกอธิบายว่าเป็นอาชญากรรมหรือภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ

เราไม่สามารถอธิบายได้ว่า “การดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย” หมายความว่าอะไร คำพูดนี้ไม่ได้มีการให้คำนิยามอย่างชัดเจน แต่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดอย่างง่ายได้และอย่างไม่มีความรับผิดชอบ นอกจากนี้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ ไม่ได้อธิบายว่าใครบ้างที่ถูกคุ้มครองภายใต้กฎหมายนี้ กฎหมายนี้รวมถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน ราชวงศ์ พระมหากษัตริย์องค์อื่น ๆ จนถึงกษัตริย์อยุธยาด้วยหรือไหม นอกจากนี้ยังที่ผ่านมาได้มีความพยายามในการทำให้กฎหมายนี้ครอบคลุมองคมนตรีด้วย

ประเด็นที่สอง กฎหมายนี้ประชาชนคนไหนก็สามารถแจ้งความได้ โดยที่รัฐมีหน้าที่ในการฟ้อง ต่อใครก็ได้โดยอ้างว่าหมิ่นสถาบันฯ โดยส่วนนี้เปิดโอกาสให้มีการใช้ในทางที่ผิด และได้มีการใช้อย่างมากในการคุกคามกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม บุคคลที่ออกมาวิจารณ์รัฐบาล และนักวิชาการ

ประเด็นสุดท้าย การลงโทษทางสังคมเกิดขึ้นกับผู้ถูกกล่าวหาคดีหมิ่น ฯ ก่อนที่จะมีกระบวนการทางกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น ประเด็นนี้ไม่ได้แสดงถึงข้อบกพร่องของกฎหมายแต่แสดงให้เห็นปัญหาของกฎหมายโดยตรง

ผลกระทบของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ 


กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ มีผลกระทบต่อปัจเจกบุคคลที่ได้รับการแจ้งความ เนื่องจากได้ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์และลงโทษก่อนที่มีการพิสูจน์ แต่ผลกระทบนี้เกิดขึ้นมากกว่าแค่กับปัจเจกบุคคล เนื่องจากได้นำไปสู่การสร้างภาวะความกลัวและการถูกกดขี่ทั่วในสังคม ดังนั้นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ ได้นำไปสู่การสร้างบรรยากาศแห่งความกลัว ทำลายกระบวนการการเมืองแบบประชาธิปไตย สร้างการไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและขาดมนุษยธรรมต่อประชาชนคนไทย และไม่ได้สร้างประโยชน์กับใครทั้งสิ้น แม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์เอง

นายธงชัยได้ตั้งคำถามต่อคนที่เข้าร่วมแถลงข่าวว่าพวกเขาได้กังวลเกี่ยวกับการแถลงข่าวครั้งนี้หรือไหม เราต้องถามญาติ เพื่อน หรือคนใกล้ชิดของเหยื่อที่ถูกกล่าวหาว่ากลัวที่จะเป็นเหยื่อคนต่อไปหรือไหม ทุกคนกลัวคดีและกลัวการถูกลงโทษทางสังคมก่อนที่คดีจะเริ่ม

เช่นเดียวกัน นายธงชัยอธิบายว่าเราต้องถามนักข่าวไทยว่าบรรณาธิการจะรายงานการแถลงข่าวครั้งนี้หรือไหม พร้อมกับอธิบายว่าตัวเขาเองได้ข้อมูลว่ามีหลายสำนักข่าวที่ไม่กล้าแม้กระทั้งจะส่งนักข่าวมางานแถลงข่าวครั้งนี้ บางสำนักข่าวได้ส่งคนมาแต่จะไม่รายงานการแถลงข่าวครั้งนี้ คำถาม คือ ทำไมเราต้องเซ็นเซอร์ตัวเองโดยที่ไม่มีภัยคุกคามเช่นมีตำรวจมายืนอยู่หน้าสำนักข่าว ดังนั้นเราจะเรียกสถานการณ์ที่เกิดขี้นนี้ว่าอะไร ถ้าไม่ใช่ภาวะแห่งความกลัว


นอกจากนี้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบรมเดานุภาพได้ทำลายการยอมรับความคิดเห็นและหลักมนุษยธรรมในสังคม ในหลาย ๆ กรณีเมือใครก็ตามถูกมองว่าได้แสดงความไม่เคารพหรือถูกมองว่าแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมต่อสถาบันกษัตริย์ บุคคลเหล่านั้นจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ถ้าไม่ชอบสถาบันฯ ก็น่าจะย้ายไปประเทศอื่น” “คุณไม่น่าเกิดเป็นคนไทย” หรือ “ไร้ค่า มึงเป็นหมา” ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องตลกหรือเรื่องทั่วไป อันตรายที่เกิดขึ้นนี้เป็นจริง ยกตัวอย่างเช่นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกรณีการแสดงละครแขวนคอ (ที่ถูกอ้างว่าเป็นการหมิ่นสถาบัน) จนนำไปสู่การฆาตกรรมหมู่นักศึกษาในเหตุการณ์หกตุลา

ท้ายสุด นายธงชัยอธิบายว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบรมเดชานุภาพไม่มีประโยชน์กับใครเลยรวมถึงสถาบันฯ ด้วย การคุกคามและกดขี่โดยใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ หรืออ้างว่าเป็นการปกป้องสถาบันสามารถกลายเป็นภัยคุกคามการคงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้

ช่วงถาม-ตอบ

นักข่าวได้ถามนายธงชัยเกี่ยวกับการดำเนินการกรณีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ นายธงชัยได้ตอบว่าในปี 2004 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พูดในที่สาธารณ์ว่าการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ ต้องเป็นสิ่งที่ทำได้ เช่นเดียวกันกับ ดร. เตช บุนนาค ที่ได้พูดว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ มีปัญหา เช่นเดียวกันกับนักวิชาการในไทยที่ได้เสนอว่าต้องมีการปฎิรูปหรือยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นายธงชัยกล่าวว่าเป็นที่น่าเศร้าที่รัฐบาลไทยและเจ้าหน้าที่รัฐจนรวมถึงคนที่คลั่งเจ้า (Royalist fanatic) พยายามจะทำตรงกันข้าม โดยเชื่อว่าการปราบปรามอย่างรุนแรงเป็นทางออก ปัจจุบันนี้รัฐบาลไทยและวุฒิสภากำลังดูว่าจะเพิ่มโทษกฎหมาย และวิธีที่จะบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปราม “เว็ปไซต์” ที่เป็นภัยได้อย่างไรบ้าง

ในเดือนที่แล้วมีเว็ปไซต์ “ปกป้องในหลวง” ขึ้นมาเพื่อที่ใครก็ได้จะสามารถรายงานบุคคลที่เชื่อว่าละเมิดสถาบันฯ ซึ่งแสดงว่ารัฐบาลไทยกำลังสร้างสังคมอำนาจนิยมที่กำลังทำให้ประชากรส่วนหนึ่งต้องจับตาดูการกระทำของประชากรด้วยกันเอง

นอกจากนี้ได้มีนักข่าวถามว่าคิดยังไงถ้าคนมองว่าการรณรงค์นี้เป็นการรณรงค์ของนักวิชาการต่างประเทศที่ต้องการเข้ามายุ่งกับสถานการณ์การเมืองไทย นายธงชัยตอบว่าในประเทศไทย มีมุมมองที่ชอบอธิบายว่าคนต่างประเทศชอบเข้ามาทำลายประเทศไทยและประชาชนไทย แต่ในอีกมุมหนึ่งพวกเรารู้ว่าประเทศไทยได้มีน้ำใจต่อคนต่างชาติมาก ดังนั้นแสดงว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีทัศนะข้างต้น

คนที่มาลงชื่อนี้เป็นคนที่เห็นอกเห็นใจกับประเทศไทย หลาย ๆ คนรักประเทศไทยมาก ดังนั้นถึงอุทิศชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของชีวิตเขาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทย และต้องการให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จ และกลายเป็นที่ ๆ มีความห่วงใยกัน และสามารถยิ้มให้กันได้กันได้ (โดยไม่ต้องเอามีดแทงหลังกัน) เนื่องจากการคุมประชากรด้วยข้อมูลและแนวคิดที่โกหกอาจจะไม่นำไปสู่ประเทศไทยที่สำเร็จได้ แต่กลับเป็นการทำลายการพัฒนาและอนาคตของสังคมไทยเอง

เมือถามว่า การรณรงค์นี้มีความเกี่ยวข้องกับการรณรงค์ของนายใจ อึ๊งภากรณ์หรือไหม นายธงชัยตอบว่าไม่ เพราะเป็นการรณรงค์ที่ต้องการให้มีการปฎิรูปครั้งใหญ่ ไม่ได้มีการติดต่อกับอาจารย์ใจโดยตรง เพราะการรณรงค์ครั้งนี้เป็นการรณรงค์เพื่อปฎิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ ในภาพรวม แต่ถ้าถามว่านายใจมาลงชื่อได้หรือไหม นายธงชัยบอกได้ แต่โดยส่วนตัวกรณีการปฎิเสธการประกันตัวของนางสาวดารุณี ชาญเชิงศิลปะกุล เป็นกรณีที่ทำให้เขาอยากมารณรงค์กรณีนี้ เนื่องจากส่วนตัวเห็นว่ากรณีนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นการปฎิเสธความยุติธรรม

 

หมายเหตุ แก้ไขล่าสุดเมื่อ2.55น. 7 มี.ค.52

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ชื่อบทความเดิม : เยือนสวนทูนอิน อ่านชีวิต ความคิด 75 กะรัต 'รงค์ วงษ์สวรรค์  ภู เชียงดาว : เรียบเรียง/รายงาน   หมายเหตุ : นี่เป็นมุมมองชีวิต ความคิด ว่าด้วยการเมือง ทหาร การปฏิวัติ สุขภาพ และการเขียนหนังสือ ของ ' รงค์ วงษ์สวรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2538 ที่ได้ถ่ายทอดออกมา เมื่อ 20 พ.ค.2550 ณ สวนทูนอิน โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รายงานชิ้นนี้เคยตีพิมพ์ ใน ‘นิตยสารขวัญเรือน' ปักษ์แรก กรกฎาคม 2550 ผู้เขียนขออนุญาตนำมาเรียบเรียง/รายงาน ใน ‘ประชาไท' อีกครั้ง เพื่อเป็นการไว้อาลัยและรำลึกถึงการจากไปอย่างสงบของพญาอินทรีแห่งวรรณกรรม เมื่อค่ำของวันที่ 15 มี.ค.…
หัวไม้ story
“การคุมประชากรด้วยข้อมูลและแนวคิดที่โกหกอาจจะไม่นำไปสู่ประเทศไทยที่สำเร็จได้ แต่กลับเป็นการทำลายการพัฒนาและอนาคตของสังคมไทยเอง”ธงชัย วินิจจะกูล3 มี.ค. 2552
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง หลังจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมาชุมนุมล้อมทำเนียบรัฐบาลและปักหลักพักค้างชุมนุมอยู่หลายคืน โดยมีข้อเรียกร้องคือ 1.ดำเนินคดีกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2.ปลดนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3.นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ และ 4.ให้ยุบสภา การชุมนุมเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายคืนโดยสงบเรียบร้อย ผู้ชุมนุมยอมให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและคณะรัฐมนตรีเข้าไปทำงานในทำเนียบ โดยไม่มีการกระทบกระทั่งเกิดขึ้น จนแม้แต่นายอภิสิทธิ์ และรองนายกรัฐมนตรีอย่างนายสุเทพ…
หัวไม้ story
  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่ไม่เคยเป็นตัวแสดงหลักในเกมอำนาจโลกเลยนับจากยุคอาณานิคมมาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ การร่วมตัวกันของชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนามอาเซียนเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของชาติในภูมิภาคนี้ที่จะเสริมสร้างอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับโลก ในยุคสงครามเย็น ภูมิภาคนี้ถูกแบ่งให้เป็น 2 ค่าย ตามบรรยากาศการเมืองโลก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้นำค่ายสังคมนิยม ในช่วงทศวรรษที่ 90 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนก็หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน บทหนทางเสรีนิยมเดียวกัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ถูกปฏิบัติในฐานที่เป็นชายขอบแดนของอำนาจต่อรองเช่นเดิม…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมือง   "พฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่อยู่ในขอบข่ายของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการใช้กฎหมู่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง คือ เป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี อันเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ยิ่งนัก ดังที่พวก Ultra Royalist ในฝรั่งเศสสมัยหนึ่งทำให้พระราชวงศ์บูร์บองล่มสลายมาแล้ว" สุพจน์ ด่านตระกูลสถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย)มีนาคม 2549 1."ลุงสุพจน์" หรือ สุพจน์ ด่านตระกูล นักคิด นักเขียนวัย 86 ปี เสียชีวิตอย่างสงบ หลังล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อคืนวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมาชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์…
หัวไม้ story
[บันทึกคำปราศรัย 'กษิต ภิรมย์' ถึง 'ฮุน เซน' ในการชุมนุมพันธมิตรฯ เมื่อ 15 ต.ค. และ 27 ต.ค. 2551 โปรดอ่านเพื่อให้เห็น ‘วิสัยทัศน์' และ ‘ท่าที' ต่อประเทศเพื่อนบ้านของรัฐมนตรีผู้ซึ่ง ‘อภิสิทธิ์'  ลงทุน 'อุ้ม'] โดย ทีมข่าวการเมือง ประชาไท  กษิต ภิรมย์ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 22 ธันวาคม 2551 (ที่มา: Daylife.com/Reuters) เส้นไหน โควตาใครกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กลายเป็นสายล่อฟ้า รัฐบาล ‘มาร์ค 1' เพราะข้อครหาว่าเป็นรัฐมนตรีโควตา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' จากบทบาทปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้งนับตั้งแต่ ‘เฟส 1 - 2549'…
หัวไม้ story
  "เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกกลัวผมหลบหนี ผมจะหนีไปไหน ผมเป็นคนไทยนะ จะให้ผมไปไหน ผมจ่ายภาษีปีละหลายหมื่นบาท แต่วันนี้ผมรู้สึกเหมือนเป็นแค่คนที่มาอาศัยแผ่นดินอยู่ เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกว่าผมจะทำความผิดซ้ำ จะทำลายหลักฐาน ผมจะทำทำไม ในเมื่อถ้าทำแล้วมีแต่น้ำตา และมันไม่ใช่น้ำตาของผมคนเดียว แต่เป็นน้ำตาของคน 5 คน คือครอบครัวผม ลูกเมียผม ชีวิตผมตอนนี้มีแต่น้ำตา" สุวิชา ท่าค้อ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายล่าสุด เอ่ยปากผ่านม่านน้ำตาที่ไหลพร่างพรูต่อหน้าแผ่นกระจกบางๆ ที่กั้นระหว่างเขาและผู้สื่อข่าวสุวิชามีการเครียดมาก ร้องไห้เกือบตลอดเวลา…
หัวไม้ story
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ ‘นิวส์ออฟเดอะเวิลด์' ของอังกฤษ มีผู้เข้าชมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากที่เคยมีคนแค่ ‘หลักพัน' คลิกเข้ามาอ่านข่าวประเภทสีสันบันเทิงซุบซิบดารา แต่ทันทีที่สื่อกระแสหลักอย่างสำนักข่าวบีบีซี เอพี รอยเตอร์ หรือไทม์ของอังกฤษ รายงานว่าเว็บนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ มีการเผยแพร่ ‘คลิปหลุด' ของ ‘เจ้าชายแฮรี่' รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยอดผู้เข้าชมก็พุ่งแตะหลัก 50,000 คนภายในเวลาไม่กี่วัน สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือการถกเถียงอย่างจริงจังในชุมชนพลเมืองอินเตอร์เน็ต ว่าด้วยเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ, สิทธิส่วนบุคคล, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น…
หัวไม้ story
 Photos by : Berd Whitlock , from : http://www.flickr.com/photos/rwhitlock/3167211359/     - ทีมข่าวความมั่นคง -  หลังบรรยากาศเฉลิมฉลองคริสมาสต์เพียง 2 วัน และอีกเพียงไม่กี่วันก็จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่สำหรับชาวปาเลสไตน์ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2551 มันไม่ใช่วันแห่งความสุขรื่นรมย์เหมือนที่อื่นๆ แต่กลับเป็นวันที่แสนเจ็บปวด เลือดไหลรินและน้ำตาไหลนอง ในวันนั้นอิสราเอลลงมือส่งหน่วยปฏิบัติการทางอากาศเข้าโจมตีที่ทำการรัฐบาลฮามาส รวมไปถึงบ้านเรือนของผลเรือน ปฏิบัติดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 800 ราย
หัวไม้ story
  ทีมข่าวการเมือง"สิ่งที่เขาเขียนนั้นเป็นเพียงการกล่าวถึงเรื่องความสัมพันธ์ลับๆ ของพระราชวงศ์ในลำดับที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์โดยไม่แม้แต่จะเอ่ยนามว่าเป็นพระราชวงศ์พระองค์ใด ข้อความที่เขียนนั้นยาวเพียง 2 ประโยค จากหนังสือที่พิมพ์เผยแพร่แค่ 50 เล่ม แต่เขาอยู่ในคุกไทยมาแล้ว 4 เดือนเต็มๆ โดยคำร้องขอประกันตัวถูกปฏิเสธไปแล้ว 4 ครั้ง"ย่อหน้าข้างบนเป็นการให้ข้อมูลจากองค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ซึ่งแสดงความวิตกกังวลในระดับที่หนักขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในประเทศไทย โดยจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ที่ส่งไปยังเครือข่ายนักกิจกรรมด้านเสรีภาพในการแสดงความเห็นทั่วโลก…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองภายในประเทศ สื่อไทยและรัฐบาลใหม่ดูจะยังดำเนินไปตามขนบที่เป็นมายาวนานคือยังอยู่ในช่วงเวลาน้ำผึ้งพระจันทร์ แต่นอกพรมแดนรัฐไทยออกไป กลับเป็นบรรยากาศที่แตกต่าง ข้อมูลข่าวสารที่ถูกรายงานออกไปดูจะไม่เป็นมิตรต่อรัฐบาลใหม่ของประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้สักเท่าใด น้ำผึ้งไม่หวาน พลันที่ประเทศไทยได้รัฐบาลใหม่ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ สิ่งที่รอยเตอร์แนะนำเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยก็คือ....
หัวไม้ story
โดย ทีมข่าวการเมือง   000 “ติดใจทฤษฎีแมลงสาบ กลัวว่าพรรคคู่แข่งจะว่า แต่ดูแล้วตอนนี้รัฐบาลชุดนี้ทำตัวเหมือนแมลงสาบเหมือนกัน ในแง่ชอบความสกปรก ความมืด ที่สำคัญคือขยายตัวได้เร็วมาก ปีกว่าๆ ก็แพร่พันธุ์ได้มากมาย ตนคิดว่าหลักการปฏิรูปที่แท้จริงคือทุกคนต้องเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ หากนักการเมืองคิดถึงแต่อำนาจก็ไม่มีทางปฏิรูปได้สำเร็จ เพราะการปฏิรูปต้องผ่องถ่ายอำนาจ ไม่ใช่ใช้อำนาจได้ตามใจและกลัวว่าจะมีการตรวจสอบได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์7 เมษายน 2545 000 “เราได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน…