Skip to main content

หัวไม้ story แก้รัฐธรรมนูญ

 

พิณผกา งามสม/พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ

เมื่อกระแสแก้รัฐธรรมนูญเริ่มต้นด้วยการถูกโจมตีว่าจะเป็นการเบิกทางให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามามีที่อยู่ที่ยืนในเวทีการเมืองไทยอีกครั้ง มิหนำซ้ำยังเป็นการปูทางไปสู่การฟอกตัวของอดีตนายกผู้ซึ่งตามทัศนะของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มองว่าเป็นเหตุแห่งความวิบัติทั้งสิ้นทั้งมวลของประเทศชาติ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเรื่องแก้รัฐธรรมนูญก็กลายมาสู่เรื่องการเอาทักษิณ หรือไม่เอาทักษิณ แบบกลยุทธ์ขายเบียร์พ่วงเหล้า คือถ้าไม่เอาทักษิณก็ต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ ถ้าใครจะแก้รัฐธรรมนูญถือเป็นพวกทักษิณ ว่ากันตามจริงแล้ว ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงอะไรในโครงการสร้างการเมืองไทยที่เกิดขึ้นเวลานี้ ก็ถูกจับโยนลงไปเป็นประเด็น เอาทักษิณกลับมา หรืออย่าเอาทักษิณกลับมา.....นับเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ หนึ่งเดียวของโลกจริงๆ

 

รับไปก่อน แก้ทีหลัง

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไปที่ไหนก็บอกชาวบ้านให้รับร่างรัฐธรรมนูญไปก่อน แล้วค่อยแก้ทีหลัง สำทับอีกทีโดยนายจรัญ ภักดีธนากุล ก่อนที่จะมีการลงประชามติ พ่วงด้วยการบอกอีกซ้ำๆ ว่าหากไม่มีการแก้รัฐธรรมนูญก็จะไม่มีเลือกตั้ง ถึงเวลานี้ดูเหมือนไม่มีใครทบทวนความจำอันแสนสั้นและเลือนรางเสียแล้ว

เมื่อประเด็นแก้รัฐธรรมนูญถูกจุดขึ้นโดยฝ่ายรัฐบาล ในห้วงเวลาที่ รายชื่อ พรรคการเมือง 3 พรรค อันได้แก่ พลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งอันอาจจะนำไปสู่การยุบพรรคหรือไม่ โดยพลัน พรรคประชาธิปัตย์ก็ออกมาตอบโต้ทันทีว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นเหตุแห่งวิกฤตการเมือง ในขณะที่พลังเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มใหญ่อย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ออกมากล่าวหาโดยทันทีว่า พรรคพลังประชาชนต้องการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อหนีการยุบพรรครวมทั้งเพื่อฟอกตัวอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ทั้งยังหวังว่าจะเป็นการปูทางให้ทักษิณกลับมาสู่เวทีการเมืองไทยอีกครั้ง

กระทั่งในการเสวนาวิชาการโดยพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา ได้มีการออกแถลงการณ์คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการพ่วงด้วยคำขู่ว่าพันธมิตรฯ จะเคลื่อนไหวทันทีที่มีการแก้รัฐธรรมนูญ

ดูทีว่า ฝ่ายพันธมิตรฯ และพรรคฝ่ายค้านมีความกลัวอย่างสุดขีดว่าการแก้รัฐธรรมนูญที่รัฐบาลนำโดยพรรคพลังประชาชนจะนำไปสู่ความอยู่รอดปลอดภัยของ 3 พรรคการเมือง แม้ว่าหลายๆ ฝ่ายมองว่า 3 พรรคนี้ ดูท่าว่าจะชะตาขาดไปแล้ว เพราะแม้จะมีการแก้รัฐธรรมนูญจริง ก็คงไม่ทันการกับคดีที่ขณะนี้ไปอยู่ในมือศาลรัฐธรรมนูญแล้ว

อะไรบ้างที่ถูกเสนอให้แก้ และอะไรบ้างที่ไม่ควรแก้ ในรัฐธรรมนูญ 2550

5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกแถลงการณ์นำมาเป็นเจ้าแรกว่าด้วยการแก้รัฐธรรมนูญ โดยประเด็นแก้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นสุดท้ายในแถลงการณ์คัดค้านการยุบพรรคการเมือง โดยเหตุผลหลักของคณาจารย์กลุ่มดังกล่าวคือ บทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองที่บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 นั้นขัดกับหลักนิติธรรม โดยเฉพาะบทลงโทษผู้กระทำผิดที่ลงโทษแบบเหมารวม คือทำผิดคนเดียว ลงโทษทั้งพรรค เป็น "การฝืนพัฒนาการทางกฎหมายของโลกและจะทำให้สถานะทางกฎหมายของประเทศตกต่ำลงในสายตาของนานาอารยะประเทศ" อันที่จริงอาจารย์ 5 ท่านได้จำแนกมาโดยละเอียดถึง 10 ประเด็น เฉพาะกรณีมาตรา 237 ที่เกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า บทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรค อาจารย์ 5 ท่านดักคอ (ใครก็ไม่รู้) เอาไว้ก่อนว่าเมื่อกฎหมายมีอยู่อย่างนี้และมีปัญหาต่อหลักนิติธรรมอย่างรุนแรงตั้งหลายข้อดังได้กล่าวไปนั้น เวลาที่จะพิจารณาคดีพรรคการเมือง ก็คงจะตีความไปตามตัวบทอย่างซื่อๆ ไม่ได้ หากแต่ต้องยึดเอาทั้งหลักนิติรัฐและนิติธรรมเป็นที่ตั้ง ตบท้ายว่า เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องแก้ไข อย่างน้อยก็มาตรานี้แหละ

จากนั้น ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งใน 5 อาจารย์กลุ่มดังกล่าวได้เขียนบทความออกมาแสดงความเห็นส่วนตัวว่า ถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญ ต้องมีอย่างน้อย 5 ประเด็นได้แก่

•1. ระบบการเลือกตั้ง ส.ส.

•2. ที่มาของส.ว.

•3. การรับรองให้ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นให้ดำรงตำแหน่งต่อไปได้เต็มวาระ

•4. กระบวนการยุบพรรค อำนาจของ กกต.ในการแจกใบเหลือง-ใบแดงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และ

•5. มาตรา 309 ที่ "ได้เสกให้ ๑.) คำสั่ง คปค. ๒.) ประกาศ คปค. ๓.) การปฏิบัติตามคำสั่งและประกาศ คปค. ไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๙ และ ๔.) การกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับ ๑-๓ ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ไม่ว่าโดยแท้จริงแล้วจะชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ทุกประการ"

นี่ดูจะเป็นข้อเสนอที่ชัดเจนที่สุดที่ถูกเสนอออกมา ก่อนที่กระแสแก้รัฐธรรมนูญได้เดนทางเข้าสู่สงครามน้ำลายระหว่างฝ่ายค้าน รัฐบาล และพันธมิตรฯ

รัฐธรรมนูญ 2540 ทางกลับคือการเดินทางต่อ

วันที่ 30 มี.ค. วรพล พรหมิกบุตร อาจารย์จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ซึ่งถูกติดป้ายเป็นฝ่าย นปก. ไปแล้ว และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกมาประสานเสียงกันโดยมิได้นัดหมาย ให้นำเอารัฐธรรมนูญ 2540 มาเป็นพื้นฐานในการแก้รัฐธรรมนูญ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านับถึงวินาทีนี้ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ก็ยังถูกอ้างอิงถึงว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา และเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนส่วนร่วมมากที่สุดเช่นกัน

แน่นอนว่ารัฐธรรมนูญ 2540 ต้องมีปัญหา และปัญหานั้นถูกพูดถึงตั้งแต่เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีอายุครบ 7 ปีด้วยซ้ำไป โดยนายชุมพล ศิลปะอาชากล่าวเชิงรับว่า รัฐธรรมนูญ 2540 นั้นเริ่มมีปัญหาและคงต้องถูกนำมาพิจารณากันอีกสักครั้งว่าจะปรับแก้อะไรได้บ้าง ครั้งนั้น เป็นช่วงแรกๆ ของวิกฤตองค์กรอิสระที่เริ่มดำเนินไปไม่ได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว เช่นเกี่ยวกันกับข้อวิจารณ์จากวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่วิพากษ์องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่ามีเส้นแบ่งของอำนาจที่ไม่ชัดเจนและจะกอให้เกิดปัญหาในภายหลังได้ นอกเหนือจากประเด็นองค์กรอิสระแล้ว ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่แม้จะถูกอ้างเสมอว่า ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ที่มีอิทธิพลชี้นำโดยทั้งให้ข้อมูล รวมทั้งโน้มน้าวความคิดความเชื่อของประชาชนก็หนีไม่พ้นเหล่านักวิชาการอรหันต์ทั้งหลายที่ได้ข้ามามีบทบาทอย่างเต็มที่ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว

ข้อสังเกตนั้นย่อมนำไปสู่การแก้ไข และรัฐธรรมนูญ 2540 ไม่ถูกโจมตีหนักขนาดที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำลังเผชิญว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็น ปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย และเป็นรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การรัฐประหารเงียบ เว้นเสียแต่จะมีใครอยากจะกล่าวหาว่า รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้คนอย่างทักษิณ เข้ามาทำลายประชาธิปไตยไทยก็ช่วยยกมาตราไหนสักมาตรามาอ้างด้วย

ขณะที่บรรดาเซียนการเมือง และกูรูทั้งหลายออกมาแลกหมัด เอ๊ย แลกเปลี่ยนกันฝุ่นตลบอยู่เรื่องแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ และถ้าแก้แล้วจะแก้แบบไหน เสียงหนึ่งที่แหวกกระแสเอามากๆ ดังมาจากฝั่งนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวที่จับตาเรื่องการเจรจาเอฟทีเอของรัฐบาลไทยมาตั้งแต่สมัยของ รัฐบาลไทยรักไทย ออกมาดักทางรัฐบาลที่กำลังเสนอแก้รัฐธรรมนูญ เพราะไม่ว่ารฐธรรมนูญ 2550 จะถูกวิพากษ์หรือวิภาษณ์ว่าอย่างไร แต่ในนั้นก็มีมาตราหนึ่งที่เข้าท่าเข้าทาง ก็คือมาตรา 190 แต่ก็ขณะนี้กำลังถูกวิปรัฐบาลเสนอเข้าไปพิจารณาแก้ไขด้วย

หัวใจหลักในการผลักดันมาตรา 190 คือการอุดช่องว่างช่องโหว่สำคัญจากมาตรา 224 ในรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ตีความให้รัฐบาลไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างจริงจังและไม่ต้องนำเอฟทีเอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้ โดยการผลักดันทำผ่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนสำคัญ อย่าง สุริชัย หวันแก้ว

อย่าลืมนับเสียงประชาชน

ความคืบหน้าของเรื่องแก้รัฐธรรมนูญขณะนี้ อยู่ในชั้นที่วิปรัฐบาลเสนอต่อรัฐสภาแก้หรือยกเลิกจำนวน 5 มาตรา อันได้แก่ 1. แก้ ม. 237 ว่าด้วยการยุบพรรค 2 ยกเลิกมาตรา 309 3) แก้ไขมาตรา 266 ว่าด้วยการโยกย้ายข้าราชการ 4) ให้ประชาชนเสนอกฎหมาย - เพิ่มเติมให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ทุกเรื่อง จากเดิมให้เสนอกฎหมายได้แค่เฉพาะในหมวดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และ 5 เสนอแก้มาตรา 190 ดังได้มีเสียงคัดค้านเกิดขึ้นแล้ว ส่วนการแก้มาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรคก็มีการออกมาคัดคานโดยคณาจารย์ 41 คนจาก 9 สถาบัน ไม่เหมาะสมเพราะเป็นกรณีที่พรรคการเมืองและนักการเมืองมีส่วนได้เสียเอง

ในฝุ่นควันของการอภิปรายเรื่องรัฐธรรมนูญ และการเดินหน้าไปของฝ่ายพรรครัฐบาล ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักเรียนรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายอิ ตั้งข้อสังเกตกับประชาไทด้วยเสียงนุ่มๆ สไตล์เขา เป็นหนักแบบส่งหมัดตรงไปยังปลายคางนักการเมืองและกูรูทั้งหลายว่า ไม่ว่ารัฐธรรมนุญ 2550 จะมีข้อผิดพลาดเลวร้ายอย่างไร แต่ขณะนี้สิ่งที่เราได้ยินกันก็เพียงแต่ได้ยินการวิเคราะห์วิจารณ์อย่างผู้เชี่ยวชาญ หรือชี้นำเท่านั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องไม่ลืมก็คือว่า รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ผ่านประชามติจากประชาชนถึง 14 ล้านเสียง แม้จะมีข้อกล่าวหาว่ามีการปล่อยข่าวลวง หรือจะอธิบายแบบที่คนต้านทักษิณถนัดก็คือ เสียงไม่เอาก็มีตั้ง 10 ล้านเสียง ชนะกันไม่ขาด แต่เราก็ไม่สามารถเพิกเฉยต่อ 14 ล้านเสียงได้ หากจะแก้รัฐธรรมนูญจะทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นการเพิกเฉยต่อ 14 ล้านเสียง........นี่เป็นเงื่อนไขประการหนึ่งที่ฝ่ายเรียกร้องการแก้รัฐธรรมนูญซึ่งอ้างอิงตัวเองอยู่บนฐานของประชาธิปไตยต้องฝ่าไปด้วย เพราะอย่างน้อยฐานที่ชอบธรรม และการเคารพเสียงของประชาชน เคยช่วยรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งอยู่ได้ตั้ง 10 ปี (หุหุ) ถ้าไม่มีรัฐประหาร

ข่าว-บทความที่เกี่ยวข้อง

สู่ประชาธิปไตย ต้องยกเลิกกฎหมายท็อปบู๊ตทมิฬ': คำอภิปรายของปิยบุตร แสงกนกกุล, ประชาไท, 25/3/2551 http://www.prachatai.com/05web/th/home/11624

รายงาน: ทำไม' รธน.มาตรา 190 ขึ้นเขียงรอแก้ แม้ไม่เข้าพวก, ประชาไท, 3/4/2551 http://www.prachatai.com/05web/th/home/11741

คณาจารย์นิติศาสตร์ 9 มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์ค้านแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 237, ประชาไท, 3/4/2551 http://www.prachatai.com/05web/th/home/11733

5 อาจารย์นิติ มธ. ออกแถลงการณ์ค้านการยุบพรรค, ประชาไท, 24/3/2551

http://www.prachatai.com/05web/th/home/11616

เสนอเอารัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ด่วนแก้วิกฤตยุบพรรคการเมือง, ประชาไท, 30/3/2551

http://www.prachatai.com/05web/th/home/11679

ม.เที่ยงคืนเรียกร้องรื้อรธน. ทั้งฉบับ ยึด 40 เป็นเสา หวั่นประชาชนตกเป็นเหยื่อ, ประชาไท, 30/3/2551

http://www.prachatai.com/05web/th/home/11680

 

 

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองข่าวเรื่องนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถูกแบน ในประเทศไทย ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของเอพี และเสตรทไทม์ ขณะที่ในเมืองไทย [1] ข่าวดังกล่าวไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก และเพิ่งมาปรากฏขึ้นในลักษณะของการตอบโต้จากทางการไทย ผ่าน.นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อิโคโนมิสต์  ระบุว่า....            "รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อมุมมองและทัศนคติของนิตยสารฉบับดังกล่าว ซึ่งลงบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ไปตามการคาดเดา…
หัวไม้ story
“ผมตั้งข้อสังเกตว่าเป็นฝีมือของพวกฉวยโอกาส หากพันธมิตรฯจะทำก็ต้องเป็นตึกไทยคู่ฟ้า ตึกสันติไมตรี เพราะสามารถสร้างความเสียหายมากกว่า ได้ผลมากกว่า และสะใจมากกว่า ไม่อย่างนั้นจะเก็บไว้อย่างดีทำไม” สุริยะใส กตะศิลา, 5 ธ.ค. 2551  ทีมข่าวการเมือง   ภาพในตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาลหลังการชุมนุมยุติที่มาของภาพ: คุณ Me.....O กระดานข่าวพันทิพ ห้องราชดำเนินhttp://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7288033/P7288033.html  
หัวไม้ story
"ถ้างวดนี้ มีการใช้ความรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง พี่น้องครับ พี่น้อง พ่อแม่พี่น้องทั่วประเทศไทย ต้องลุกฮือขึ้นมาแล้วให้เลือดนองแผ่นดิน"  ... "ผมจะบอกให้พวกสัตว์นรกรู้ ว่างวดนี้ถ้าประชาชนเขามา เขามาพร้อม ‘ของ' กันหมด" - สนธิ ลิ้มทองกุล 20 พ.ย. 2551 ทีมข่าวการเมืองประชาไท สนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับการอารักขาโดย ‘นักรบศรีวิชัย’ เมื่อ 26 ส.ค. 51 ที่มาของภาพ adaptorplug (CC)  
หัวไม้ story
  วันที่ 15 พฤศจิกายน คือวันประชุมสุดยอดผู้นำโลก 20 ชาติว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการทางการเงินของโลกอีกครั้งหลังจากมันเคยเกิดขึ้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเศรษฐกิจโลกพังพาบลง จนนำมาสู้ระบบแลกเปลี่ยนเงินที่ชื่อว่า Bretton Woods SystemG20: "we must rethink we must rethink the financial system from scratch, as at Bretton Woods."นิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสเป็นผู้เอ่ยประโยคนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา และนำมาสู่การกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้
หัวไม้ story
โอบามากับสงครามสีผิวที่กำลังจะเปิดฉาก? ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพิ่งจบลงไปด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของบารัก โอบามา ผู้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นคนผิวสี คนแรกที่เดินเข้าสู่ทำเนียบขาวในฐานะประธานาธิบดี โอบามา เป็นลูกผสมระหว่างแม่ซึ่งเป็นคนผิวขาว กับพ่อเชื้อสายแอฟริกัน ซึ่งไม่ได้ย่างเท้าลงบนแผ่นดินอเมริกาในฐานะทาส แต่เป็นนักศึกษา แม้จะไม่ใช่คนผิวดำ หรือลูกหลานแอฟริกันขนานแท้ ที่เติบโตขึ้นจากครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเป็นทาส แต่บารัก โอบามา ก็ถูกจำจดในฐานะเป็นตัวแทนของคนผิวสีที่ได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี แม้จะไม่ได้ผ่านประวัติศาสตร์ร่วมกับคนแอฟริกัน-อเมริกัน…
หัวไม้ story
แม้ว่าคนจนในประเทศไทย จะเลือกตาย ด้วยหวังให้การตายส่งเสียงได้มากกว่ายามที่พวกมีชีวิตอยู่ ทว่า ไม่ช้าไม่นาน ความทรงจำของสังคมก็เลือนรางลงไป แต่คนจนอย่างนวมทอง ไพรวัลย์ เลือกวิธีตาย และเลือกใช้การตายของเขาส่งเสียงดังและอยู่ยาวนาน อย่างน้อยก็ใน 2 ปีต่อมา เขายังไม่ถูกลืมเลือน
หัวไม้ story
ประชาไทขอนำเสนอคลิปวิดิโอ 'หลังทักษิณ' มุมมอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจากคนใกล้ตัวที่บ้านเกิด อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และบทวิเคราะห์การเมืองไทยหลังทักษิณ โดย รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ นักวิชาการภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
หัวไม้ story
  ทีมข่าวภาคใต้มายาภาพของการต่อสู้ทางการเมืองไทยในห้วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถูกกล่าวว่าอ้างว่าเป็นสงครมมระหว่างภูมิภาค คือ ภาคใต้ กับภาคเหนือและภาคอิสาน แต่หากมองลึกลงไปในกระบวนการต่อสู้ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคพลังประชาชน อาจพบว่าแท้จริงแล้วการพื้นที่ทางการเมืองระดับนำก็ยังคงเป็นของคนใต้อยู่เช่นเดิม
หัวไม้ story
จับตาการเดินทัพของพันธมิตรฯ จากคำปราศรัยของแกนนำชื่อ ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ หลังประกาศทบทวนแนวทางสันติวิธี ระบุแกนนำทั้งหลายไม่กลัวตาย “แต่ถ้าพวกเราบางคนจะต้องตาย พี่น้องสัญญาอย่าง ต้องให้แผ่นดินนี้ ลุกขึ้นเป็นไฟให้ได้”
หัวไม้ story
  เมื่อพูดกันถึงเรื่องการปฏิรูปการเมืองก็ไม่แคล้วตามมาด้วย การแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง นับเป็นสิ่งที่สังคมไทยถนัดในการแก้ปัญหาการเมืองโดยการเขียนอะไรบางอย่างขึ้นมาบังคับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร กระทั่งแม้แต่นักกฎหมายมหาชนเองก็ยังแซวผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตัวเองได้ว่า ประเทศไทยนั้นมีความเชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญที่สุดในโลกนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 กล่าวในรายการตอบโจทย์  ทางสถานีไทย เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ว่าที่สุดแล้ววิกฤตของการเมืองไทยวันนี้มันก็เริ่มมาจากการแก้รัฐธรรมนูญที่ฝ่ายรัฐบาลนำเสนอนั่นเองย้อนเหตุการณ์ให้ฟังอีกครั้งว่า…
หัวไม้ story
  พิณผกา งามสม   ในระหว่างที่การต่อสู้ทางการเมืองไทยยังคงถกเถียงกันเรื่องโมเดลการเมืองใหม่ การเมืองใหม่กว่า รวมถึงระบบโควตาและระดับความชอบธรรมของ ‘เสียง' การเมืองเพื่อนบ้านของไทยก็กำลังเข้มข้นอยู่บนหนทางเดิมๆ ตามระบอบรัฐสภาเมื่อนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซียประกาศว่าจะเขย่ารัฐบาลมาเลย์ให้ล่มเพื่อเปิดโอกาสในการจัดสรรที่นั่งในสภากันใหม่ โดยยึดเอาวันที่ 16 กันยายนเป็นวันดีเดย์ แรกทีเดียว หลายฝ่ายอาจคิดว่าเป็นเพียงการสร้างสีสันให้การรณรงค์ทางการเมืองของพรรคฝ่ายค้านอย่างที่เคยทำมาอย่าแข็งขัน เพราะต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า…
หัวไม้ story
  วิทยากร  บุญเรืองขณะที่ Frank Lampard ดาวเตะแข้งทองของทีม Chelsea พึ่งบรรลุข้อตกลงสัญญา 5 ปีที่มีมูลค่าสูงถึง 39.2 ล้านปอนด์ โดย Lampard จะได้รับค่า 151,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็น 3,775 ปอนด์ต่อชั่วโมง! แต่จากการสำรวจของ The Fair Pay Network และ Institute of Public Policy Research (IPPR) พบว่าพนักงานทำความสะอาด พ่อครัวแม่ครัว และแรงงานตัวเล็กๆ ทั้งหลาย ของสโมสรอย่าง Chelsea, Spurs, Arsenal, West Ham และ Fulham กลับได้รับค่าเหนื่อยจากสัญญาจ้างค่าแรงขั้นต่ำแค่ 5.52 ปอนด์ต่อชั่วโมงเท่านั้น