Skip to main content

หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย

 

แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน นอกจากนี้กระบวนการทำแผนยังมีเสียงสะท้อนเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม เช่น การรับฟังความคิดเห็นครั้งใหญ่ๆ มีอยู่ไม่กี่ครั้ง และเป็นการอธิบายโดยวิทยากรมากกว่าจะรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ  

 

อย่างไรก็ตาม แม้แผนจะชัดเจน แต่พื้นที่ที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งยังมีข้อถกเถียงชวนกังวลนั้น ยังไม่ได้ชี้ชัดว่าจะไปลงตรงไหน จนมาปีนี้ความชัดเจนค่อยๆ ปรากฏขึ้นว่ามีแนวโน้มจะเป็นพื้นที่เดิมที่เคยถูกวางไว้และพื้นที่ใกล้เคียง

 

 

000

 

 

หลังจากแผนพีดีพีอนุมัติ พื้นที่ที่จะตั้งโครงการโรงไฟฟ้าทั้งถ่านหิน และนิวเคลียร์ ยังเป็นเรื่องคลุมเครือ อาจเพราะรัฐเองก็กำลังประเมินแรงต้านในพื้นที่ว่ายังมีหนาแน่น กระทั่ง ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์' อดีต รมว.พลังงานที่ดันพีดีพีฉบับล่าสุดสำเร็จก็ยังออกมาบ่นว่าว่ารัฐบาลขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปได้ช้า ขณะที่เวลาที่วางไว้ในแผนพีดีพีก็งวดเข้าทุกที ( "ปิยสวัสดิ์สับลดค่ากลั่น 10 ปีต้องผุดนิวเคลียร์" นสพ.ข่าวหุ้น 9 มิ.ย.51)

 

ตามแผนแล้วโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2,000 เมกกะวัตต์แรกต้องป้อนไฟสู่ระบบในปี 2563 และอีก 2,000 เมกกะวัตต์ที่เหลือจะตามมาในปีถัดมา นับเป็นเวลาที่รวดเร็วมากในการคิดและดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจเพราะไทยพยายามเร่งฝีเท้าให้ทันเวียดนาม ซึ่งถูกเล็งว่าเป็นคู่แข่งตัวฉกาจ เพราะเวียดนามก็เริ่มผลักดันโครงการนิวเคลียร์แล้ว แต่ขอเวลาศึกษาก่อน 15 ปี ขณะเดียวกันเวียดนามก็สำรวจพบแหล่งแร่ยูเรเนียมขนาดใหญ่ในประเทศเองด้วย

 

สำหรับประเทศไทย ขณะนี้มีคณะทำงานขึ้นมา 5 ชุดเพื่อเตรียความพร้อมทั้งด้านบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการประชาสัมพันธ์กับประชาชน นอกจากนี้ กฟผ.ยังเตรียมส่งหนังสือเชิญ 5 บริษัทต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่น สหรัฐ ฝรั่งเศส เข้าคัดเลือกเป็นที่ปรึกษาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยคาดว่าผลการศึกษาจะเสร็จภายใน 2 ปี

 

อย่างไรก็ตาม  นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ศึกษานโยบายพลังงานไทยมายาวนานให้ความเห็นว่า คณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้ทุ่มงบประมาณไปกว่า 100 ล้านบาท แบ่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) สร้างความเข้าใจในเรื่องนี้แก่ประชาชน แต่ปัญหาคือ การดำเนินงานดังกล่าวยังไม่รอบด้าน มุ่งเน้นแต่การให้ความรู้ด้านนิวเคลียร์เท่านั้น ทั้งๆที่ประเทศไทยยังมีพลังงานทางเลือกชนิดอื่นๆ ( "ติงงบประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 100 ล้าน" เว็บไซต์ไทยรัฐ 2 ก.ค.51)

 

ที่ผ่านมามีกลุ่มนักวิชาการและเอ็นจีโอเสนอแนวทางการปฏิบัติด้านพลังงานทางเลือกของประเทศไทยให้แก่กระทรวงพลังงาน แต่ดูเหมือนไม่ได้รับการตอบรับใดๆ จึงยังไม่มีบทสนทนาในเรื่องนี้เท่าไรนัก และน่าสนใจว่า เดชรัตน์และคณะก็กำลังจะพิมพ์หนังสือเรื่อง 10 สิ่งที่นิวเคลียร์พูดและไม่พูด เผยแพร่ในเดือนสิงหาคมนี้ เรียกได้ว่าแข่งกันทำความเข้าใจกับประชาชนเลยทีเดียว

 

 

000

 

 

ขณะที่เมื่อเร็วๆ นี้ นายกสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย "ผศ.ดร.ปรีชา การสุทธิ์" ในฐานะประธานคณะกรรมการชุดศึกษาความปลอดภัยและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า คาดว่าพื้นที่เดิมที่เคยเตรียมไว้จะถูกนำมาทบทวนอีกครั้ง โดยเฉพาะทะเลชายฝั่งตะวันตก หรือ "เวสเทิร์นซีบอร์ด" ที่เคยมีการศึกษาไว้แล้วไล่ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี เนื่องจากมีความลึกของทะเลและมีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานรองรับเอาไว้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือในเขตภาคใต้ฝั่งตะวันตกดังกล่าวมี "แนวรอยเลื่อนระนอง" พาดผ่าน ตั้งแต่ประจวบฯ ชุมพร ระนอง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาพฤติกรรมของ "รอยเลื่อนระนอง" หลังเหตุการณ์ "สึนามิ" เมื่อ 3 ปีก่อนว่ามีการขยับหรือไม่ ซึ่งการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ ( "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์  (จับกระแสพลังงาน)" เว็บไซต์แนวหน้า 30 พฤษภาคม 2551)

 

ภาคใต้ตอนบนเป็นทำเลทองสำหรับโครงการโรงไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมหนักมาเนิ่นนาน และพร้อมๆ กันก็มีประวัติการต่อสู้คัดค้านของชาวบ้านในพื้นที่มาอย่างยาวนานด้วย โดยเฉพาะที่ประจวบคีรีขันธ์

 

ทับสะแก'อีกอำเภอหนึ่งในจังหวัดประจวบฯ ก็เคยถูกเล็งไว้จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินชุดเดียวกับโรงไฟฟ้าบ่อนอก-บ้านกรูด (แห่งละ 700 เมกกะวัตต์) ซึ่งสุดท้ายทั้งบ่อนอก ทั้งบ้านกรูดถูกคัดค้านจนต้องพับโครงการไป ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าทับสะแกซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า คือ 2,000 เมกกะวัตต์ก็มีปัญหาการคอรัปชั่นของพนักงาน กฟผ. ในการซื้อที่ดิน 4,019 ไร่ โดยมีการทุจริตเป็นมูลค่า 800 ล้านบาท หรือ 40% ของมูลค่าทั้งหมดของโครงการ จนต้องหยุดชะงักไป แต่วันนี้โครงการโรงไฟฟ้าที่ทับสะแกกลับมาใหม่ และแว่วว่าอาจจะใหญ่กว่าเดิม

 

 

000

 

         

ปลายปี  2549  กฟผ.ได้ฟื้นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแกขึ้นมาใหม่ พร้อมมีแผนจะขยายกำลังการผลิตจาก 2,000 เมกะวัตต์ เป็น 4,000 เมกะวัตต์ (5 โรง) คาดว่าจะใหญ่ที่สุดในเอเชีย

         

นายสถาน ช่อระหงส์ ชาวบ้านทับสะแกให้ข้อมูลว่า ถึงแม้ชาวบ้านจะเกาะติด ตามเรื่องที่กระทรวงพลังงานจนทางกระทรวงยืนยันว่าไม่มีนโยบายสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทับสะแก แต่ในทางปฏิบัติ กฟผ.ก็ยังคงเข้ามาทำการผลักดันโครงการในรูปแบบต่างๆ และสร้างความแตกแยกกับคนในชุมชน จนบางชุมชนถึงกับต้องไล่ฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ของ กฟผ.ออกจากหมู่บ้านไป

 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการเปลี่ยนผังเมือง "สีเขียว" เป็น "สีน้ำเงิน" เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะปัจจุบันร่างผังเมืองรวมชุมชนทับสะแกที่โยธาและผังเมืองจังหวัดประจวบฯ ได้นำมาขอรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนครั้งที่ 1 ได้ระบุให้พื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแกของ กฟผ.เป็นสีเขียว เพราะเห็นว่าเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจเดิมของชุมชนที่เป็นเกษตร และมีทิศทางการเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่างเห็นได้ชัด อยู่ห่างจากชุมชนหนาแน่นเพียง 1,500 เมตร แต่  กฟผ.ยื่นขอให้เปลี่ยนสีผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีน้ำเงินแทน โดยอ้างว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินนี้เป็นส่วนราชการและเป็นพื้นที่สาธารณูปโภค เพราะ กฟผ.ตีความว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นสาธารณูปโภคของรัฐ   ซึ่งเรื่องนี้ยังคงต่อสู้กันอยู่ โดยชาวบ้านในพื้นที่ยังคงรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งเพื่อคัดค้านโครงการ

 

คาดกันว่า โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่นี้จะเดินหน้าไปคู่กับการผลักดันให้พื้นที่ประจวบฯ เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์เหล็กแห่งชาติ เน้นการผลิตเหล็กครบวงจร ซึ่งก็กำลังผลักดันกันอยู่อย่างหนักหน่วงเช่นกัน

 

000

 

ด้านภาคตะวันออกและภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมหนักมาอย่างยาวนานและหนาแน่น ยังคงมีความพยายามใส่โครงการเหล่านี้เพิ่มเติมเข้าไป เช่น ที่ระยองมีการขยายโครงการปิโตรเคมีระยะ 3 ซึ่งเป็นอภิมหาโครงการด้านปิโตรเคมี รวมไปถึงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนที่ฉะเชิงเทรา สมุทรสงครามก็มีโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เช่นกัน

 

แม้ระดับนโยบายจะผลักดันโครงการเหล่านี้ ภาคเอกชนเองก็กำลังรีบดำเนินการ ในส่วนของคนในพื้นที่ก็มีการรวมตัวกันคัดค้านอย่างเหนียวแน่นเรียกว่าระดมพลข้ามเขตข้ามจังหวัดกันแล้ว เช่น เมื่อ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมา แกนนำกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าหลายแห่ง เช่น กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าจังหวัดระยอง กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าหนองแซง จ.สระบุรี กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าบางปะกง กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าราชบุรี กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา ได้เดินทางมารวมตัวกัน เพื่อประชุมหารือแนวทาง และผนึกกำลังกันในการเคลื่อนไหวต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในแต่ละท้องที่ที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบ หลังจากมีกระแสข่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงพลังงานเร่งรัดให้ สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เร่งพิจารณาอนุมัติ ผ่านอีไอเอ (EIA) ให้แก่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าภาคเอกชน 4 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้าเสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โรงไฟฟ้าถ่านหิน ของกลุ่มบริษัทเครือเกษตรรุ่งเรือง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โรงไฟฟ้าราชบุรี และโรงไฟฟ้า จ.ระยอง ทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

 

 

000

 

 

แนวโน้มการผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหลายดูเหมือนจะเต็มไปด้วยอุปสรรค

 

การเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับนโยบาย ตั้งแต่จุดเริ่มต้นอาจหาจุดลงตัวยากลำบาก แต่น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าการต่อสู้กันในบั้นปลายที่มีแต่จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันกับทุกฝ่าย

 

การแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิม เช่น กรณีของแม่เมาะ มาบตาพุด ฯลฯ อาจเป็นเรื่องไม่ง่ายนักเพราะปัญหาสะสมหมักหมมมานาน แต่ก็น่าจะเพิ่มความมั่นใจให้ผู้คนที่กำลังจะเผชิญกับโครงการในรูปแบบเดียวกันได้

 

ยังคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่าโครงการมหึมาที่มีข้อถกเถียงกันเยอะแยะในทุกรายละเอียดนี้จะลงเอยอย่างไร ในพื้นที่ไหน ในภาวะที่ประชาชนหัวแข็งขึ้นเรื่อยๆ และไม่ยอมให้ "ผู้เชี่ยวชาญ" ผูกขาดอำนาจการกำหนดนโยบายแล้ว

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ชื่อบทความเดิม : เยือนสวนทูนอิน อ่านชีวิต ความคิด 75 กะรัต 'รงค์ วงษ์สวรรค์  ภู เชียงดาว : เรียบเรียง/รายงาน   หมายเหตุ : นี่เป็นมุมมองชีวิต ความคิด ว่าด้วยการเมือง ทหาร การปฏิวัติ สุขภาพ และการเขียนหนังสือ ของ ' รงค์ วงษ์สวรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2538 ที่ได้ถ่ายทอดออกมา เมื่อ 20 พ.ค.2550 ณ สวนทูนอิน โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รายงานชิ้นนี้เคยตีพิมพ์ ใน ‘นิตยสารขวัญเรือน' ปักษ์แรก กรกฎาคม 2550 ผู้เขียนขออนุญาตนำมาเรียบเรียง/รายงาน ใน ‘ประชาไท' อีกครั้ง เพื่อเป็นการไว้อาลัยและรำลึกถึงการจากไปอย่างสงบของพญาอินทรีแห่งวรรณกรรม เมื่อค่ำของวันที่ 15 มี.ค.…
หัวไม้ story
“การคุมประชากรด้วยข้อมูลและแนวคิดที่โกหกอาจจะไม่นำไปสู่ประเทศไทยที่สำเร็จได้ แต่กลับเป็นการทำลายการพัฒนาและอนาคตของสังคมไทยเอง”ธงชัย วินิจจะกูล3 มี.ค. 2552
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง หลังจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมาชุมนุมล้อมทำเนียบรัฐบาลและปักหลักพักค้างชุมนุมอยู่หลายคืน โดยมีข้อเรียกร้องคือ 1.ดำเนินคดีกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2.ปลดนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3.นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ และ 4.ให้ยุบสภา การชุมนุมเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายคืนโดยสงบเรียบร้อย ผู้ชุมนุมยอมให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและคณะรัฐมนตรีเข้าไปทำงานในทำเนียบ โดยไม่มีการกระทบกระทั่งเกิดขึ้น จนแม้แต่นายอภิสิทธิ์ และรองนายกรัฐมนตรีอย่างนายสุเทพ…
หัวไม้ story
  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่ไม่เคยเป็นตัวแสดงหลักในเกมอำนาจโลกเลยนับจากยุคอาณานิคมมาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ การร่วมตัวกันของชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนามอาเซียนเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของชาติในภูมิภาคนี้ที่จะเสริมสร้างอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับโลก ในยุคสงครามเย็น ภูมิภาคนี้ถูกแบ่งให้เป็น 2 ค่าย ตามบรรยากาศการเมืองโลก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้นำค่ายสังคมนิยม ในช่วงทศวรรษที่ 90 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนก็หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน บทหนทางเสรีนิยมเดียวกัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ถูกปฏิบัติในฐานที่เป็นชายขอบแดนของอำนาจต่อรองเช่นเดิม…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมือง   "พฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่อยู่ในขอบข่ายของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการใช้กฎหมู่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง คือ เป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี อันเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ยิ่งนัก ดังที่พวก Ultra Royalist ในฝรั่งเศสสมัยหนึ่งทำให้พระราชวงศ์บูร์บองล่มสลายมาแล้ว" สุพจน์ ด่านตระกูลสถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย)มีนาคม 2549 1."ลุงสุพจน์" หรือ สุพจน์ ด่านตระกูล นักคิด นักเขียนวัย 86 ปี เสียชีวิตอย่างสงบ หลังล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อคืนวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมาชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์…
หัวไม้ story
[บันทึกคำปราศรัย 'กษิต ภิรมย์' ถึง 'ฮุน เซน' ในการชุมนุมพันธมิตรฯ เมื่อ 15 ต.ค. และ 27 ต.ค. 2551 โปรดอ่านเพื่อให้เห็น ‘วิสัยทัศน์' และ ‘ท่าที' ต่อประเทศเพื่อนบ้านของรัฐมนตรีผู้ซึ่ง ‘อภิสิทธิ์'  ลงทุน 'อุ้ม'] โดย ทีมข่าวการเมือง ประชาไท  กษิต ภิรมย์ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 22 ธันวาคม 2551 (ที่มา: Daylife.com/Reuters) เส้นไหน โควตาใครกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กลายเป็นสายล่อฟ้า รัฐบาล ‘มาร์ค 1' เพราะข้อครหาว่าเป็นรัฐมนตรีโควตา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' จากบทบาทปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้งนับตั้งแต่ ‘เฟส 1 - 2549'…
หัวไม้ story
  "เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกกลัวผมหลบหนี ผมจะหนีไปไหน ผมเป็นคนไทยนะ จะให้ผมไปไหน ผมจ่ายภาษีปีละหลายหมื่นบาท แต่วันนี้ผมรู้สึกเหมือนเป็นแค่คนที่มาอาศัยแผ่นดินอยู่ เขาไม่ให้ผมประกันตัว เขาบอกว่าผมจะทำความผิดซ้ำ จะทำลายหลักฐาน ผมจะทำทำไม ในเมื่อถ้าทำแล้วมีแต่น้ำตา และมันไม่ใช่น้ำตาของผมคนเดียว แต่เป็นน้ำตาของคน 5 คน คือครอบครัวผม ลูกเมียผม ชีวิตผมตอนนี้มีแต่น้ำตา" สุวิชา ท่าค้อ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายล่าสุด เอ่ยปากผ่านม่านน้ำตาที่ไหลพร่างพรูต่อหน้าแผ่นกระจกบางๆ ที่กั้นระหว่างเขาและผู้สื่อข่าวสุวิชามีการเครียดมาก ร้องไห้เกือบตลอดเวลา…
หัวไม้ story
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ ‘นิวส์ออฟเดอะเวิลด์' ของอังกฤษ มีผู้เข้าชมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากที่เคยมีคนแค่ ‘หลักพัน' คลิกเข้ามาอ่านข่าวประเภทสีสันบันเทิงซุบซิบดารา แต่ทันทีที่สื่อกระแสหลักอย่างสำนักข่าวบีบีซี เอพี รอยเตอร์ หรือไทม์ของอังกฤษ รายงานว่าเว็บนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ มีการเผยแพร่ ‘คลิปหลุด' ของ ‘เจ้าชายแฮรี่' รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยอดผู้เข้าชมก็พุ่งแตะหลัก 50,000 คนภายในเวลาไม่กี่วัน สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือการถกเถียงอย่างจริงจังในชุมชนพลเมืองอินเตอร์เน็ต ว่าด้วยเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ, สิทธิส่วนบุคคล, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น…
หัวไม้ story
 Photos by : Berd Whitlock , from : http://www.flickr.com/photos/rwhitlock/3167211359/     - ทีมข่าวความมั่นคง -  หลังบรรยากาศเฉลิมฉลองคริสมาสต์เพียง 2 วัน และอีกเพียงไม่กี่วันก็จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่สำหรับชาวปาเลสไตน์ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2551 มันไม่ใช่วันแห่งความสุขรื่นรมย์เหมือนที่อื่นๆ แต่กลับเป็นวันที่แสนเจ็บปวด เลือดไหลรินและน้ำตาไหลนอง ในวันนั้นอิสราเอลลงมือส่งหน่วยปฏิบัติการทางอากาศเข้าโจมตีที่ทำการรัฐบาลฮามาส รวมไปถึงบ้านเรือนของผลเรือน ปฏิบัติดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 800 ราย
หัวไม้ story
  ทีมข่าวการเมือง"สิ่งที่เขาเขียนนั้นเป็นเพียงการกล่าวถึงเรื่องความสัมพันธ์ลับๆ ของพระราชวงศ์ในลำดับที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์โดยไม่แม้แต่จะเอ่ยนามว่าเป็นพระราชวงศ์พระองค์ใด ข้อความที่เขียนนั้นยาวเพียง 2 ประโยค จากหนังสือที่พิมพ์เผยแพร่แค่ 50 เล่ม แต่เขาอยู่ในคุกไทยมาแล้ว 4 เดือนเต็มๆ โดยคำร้องขอประกันตัวถูกปฏิเสธไปแล้ว 4 ครั้ง"ย่อหน้าข้างบนเป็นการให้ข้อมูลจากองค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ซึ่งแสดงความวิตกกังวลในระดับที่หนักขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในประเทศไทย โดยจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ที่ส่งไปยังเครือข่ายนักกิจกรรมด้านเสรีภาพในการแสดงความเห็นทั่วโลก…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองภายในประเทศ สื่อไทยและรัฐบาลใหม่ดูจะยังดำเนินไปตามขนบที่เป็นมายาวนานคือยังอยู่ในช่วงเวลาน้ำผึ้งพระจันทร์ แต่นอกพรมแดนรัฐไทยออกไป กลับเป็นบรรยากาศที่แตกต่าง ข้อมูลข่าวสารที่ถูกรายงานออกไปดูจะไม่เป็นมิตรต่อรัฐบาลใหม่ของประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้สักเท่าใด น้ำผึ้งไม่หวาน พลันที่ประเทศไทยได้รัฐบาลใหม่ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ สิ่งที่รอยเตอร์แนะนำเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยก็คือ....
หัวไม้ story
โดย ทีมข่าวการเมือง   000 “ติดใจทฤษฎีแมลงสาบ กลัวว่าพรรคคู่แข่งจะว่า แต่ดูแล้วตอนนี้รัฐบาลชุดนี้ทำตัวเหมือนแมลงสาบเหมือนกัน ในแง่ชอบความสกปรก ความมืด ที่สำคัญคือขยายตัวได้เร็วมาก ปีกว่าๆ ก็แพร่พันธุ์ได้มากมาย ตนคิดว่าหลักการปฏิรูปที่แท้จริงคือทุกคนต้องเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ หากนักการเมืองคิดถึงแต่อำนาจก็ไม่มีทางปฏิรูปได้สำเร็จ เพราะการปฏิรูปต้องผ่องถ่ายอำนาจ ไม่ใช่ใช้อำนาจได้ตามใจและกลัวว่าจะมีการตรวจสอบได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์7 เมษายน 2545 000 “เราได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน…