Skip to main content

พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ

 

26 กันยายน 2550

ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง

 

 

 

ภาพที่เห็นคือ...

ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้

"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว

"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าว

ประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้น

ก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆ

ก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด ใส่แถวแนวทหาร

ก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ทำได้เพียงตกแทบปลายตีน คงเพียงสร้างความรำคาญให้ทหารราบทหารเลวเหล่านั้น หาได้ระคายเคืองต่อระบอบทหารไม่!

ชายหนุ่มคนหนึ่งจึงละความพยายามจากการขว้างปาก้อนหิน เปลี่ยนเป็นยืนหันหลังให้แถวแนวของทหาร ... แล้วถลกโสร่งของตัวเองขึ้น!!! ... ก่อนสะบัดตูดให้แถวแนวทหารเหล่านั้น

เช่นเคย ... หาได้ระคายเคืองต่อแถวแนวทหารเหล่านั้นไม่ คงได้เพียงความสะใจปลอบประโลมชายหนุ่มคนนั้น และผู้ยืนปรบมือเชียร์

"เราขอประกาศห้ามรวมตัวกันมากกว่า 5 คน ขอให้กลับบ้านใครบ้านมันภายใน 10 นาที" เสียงจากรถขยายเสียงของทหารพม่า เตือนผู้ชุมนุม

แถวแนวทหารเหล่านั้น กระชับขึ้น มุ่งตรงมายังประชาชน พวกเขาใช้ไม้กระบอง ตีโล่เป็นจังหวะ ตุบ ตุบ ตุบ ... .... .... ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ

ประชาชนทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า ขว้างปาอิฐเข้าใส่ป้อมตำรวจเล็กๆ แถวนั้น

ภาพที่เห็นคือชายสอง-สามคน ลองขว้างก้อนหินใส่แถวแนวทหารที่กำลังตบเท้าใกล้เข้ามาๆ

ขวางได้เพียงสอง-สามก้อน เสียงปืนนัดแรกก็ดังขึ้น ผู้คนหนีกระจาย

เสียงปืนนัดต่อไปดังขึ้น นัดแล้ว นัดเล่า

วิ่ง วิ่ง วิ่ง วิ่ง และวิ่ง ผู้คนวิ่งอย่างไม่คิดชีวิต

บิน บิน บิน บิน และบิน อุปมาดั่งพิราบเหล่านั้น บินเพื่อเอาชีวิตรอด บินเพื่อฝันถึงประชาธิปไตยบทใหม่ในพม่า ซึ่งคงเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้สักวัน

แต่ไม่ทันที่จะได้อย่างใจหวัง พิราบถูกยิงปีกหักร่วงลงมา จบชีวิตเสรี ณ ตรงนั้น ย่านพระเจดีย์สุเล!

 

000

 

26 กันยายน 2550

วัดพระมหาเจดีย์ชเวดากอง, กรุงย่างกุ้ง

 

 

 

 

ภาพที่เห็นคือ...

พระสงฆ์และประชาชนหลายร้อยคน ตั้งแถวประจันหน้ากับปลายทหารซึ่งอยู่ตรงหน้า ซึ่งปลายกระบอกปืนนั้นหันมาทางพระสงฆ์และประชาชนเหล่านั้น ...

พระสงฆ์นั่งลง และไหว้ทหารเหล่านั้น พระสงฆ์บางรูปก็ประกาศด้วยโทรโข่งร้องขอสันติภาพ

แต่ไม่เป็นผล ทหารตบเท้าเข้าหาพระสงฆ์และประชาชนเหล่านั้น จากนั้น ... เสียงกระบองทุบตีผู้คน ดังไปทั่วบริเวณ

ชายคนหนึ่งถูกทหารไม่ต่ำกว่าสองนาย ทั้งถีบทั้งตีด้วยกระบอง ก่อนที่ทหารนายหนึ่งจะถีบสุดแรงตีนจนชายคนนั้นคว่ำลง แล้วทหารก็เหยียบหลังของเขาเอาไว้

ทั้งพระทั้งคน ถ้าโชคดีไม่ถูกทหารยื้อยุดฉุดลากขึ้นรถบรรทุกเสียก่อน ก็หนีอย่างไม่คิดชีวิตด้วยการปีนกำแพงวัด แล้วเข้าไปหลบในเขตอภัยทานนั้น

เมื่อหลบได้แล้ว พระเณรบางรูปก็หาทางตอบแทน ด้วยการขว้างก้อนหินเข้าใส่ทหารเหล่านั้น ซึ่งก็ทำให้ทหารถอยไม่เป็นกระบวนชั่วขณะหนึ่ง แต่แล้วทหารเหล่านั้นก็โต้กลับด้วยแก๊สน้ำตา และระดมขว้างก้อนหินกลับคืน

ขบวนพระสงฆ์และประชาชนแตกกระจัดกระจายอีกครั้งหนึ่ง

 

000

 

 

ภาพที่เห็นคือ...

ผู้ประท้วงหายไปจากท้องถนน เหลือแต่ทหารพร้อมปืนประจำกาย ประจำการอยู่เต็มจุดสำคัญๆ ในกรุงย่างกุ้ง

"การประท้วงจบแล้วหรือ หรือมันจะเกิดขึ้นอีก?" คำถามลอยมาตามกระแสลม

"ประชาชนไม่ชอบรัฐบาล แต่เราไม่มีกำลัง เราไม่มีอาวุธ ... เราจึงไม่มีอิสรภาพ" คนขับรถประจำทางในกรุงย่างกุ้งกล่าว

"ทหารเป็นนักฆ่า พวกเขาฆ่าพระ ช่างโหดร้ายนัก แย่มาก แย่ที่สุดในโลก" ชายอีกคนที่กำลังกินดื่มอยู่ใต้แผงขายอาหารริมทางกล่าว

"เราไม่ลืมเด็ดขาด และเราจะไม่ยอมแพ้" เขากล่าว

 

000

นายโทนี่ เบิร์ทลีย์

 

ภาพที่เห็นทั้งหลายนั้น...

เป็นผลงานถ่ายทำของ นายโทนี่ เบิร์ทลีย์ (Tony Birthly) เพื่อเป็นสารคดี Inside Myanmar: The Crackdown ให้กับสำนักข่าวอัลจาซีรา โดยออกอากาศครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา

สำหรับสารคดีดังกล่าว เขาใช้เวลากว่าสองสัปดาห์ในพม่า เพื่อบันทึกภาพการชุมนุมประท้วงรัฐบาลทหารพม่า โดยเขาเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศเพียงไม่กี่คน ที่รายงานข่าวผ่านกล้องที่เขาซ่อนเอาไว้ ท่ามกลางการปราบปรามประชาชนของรัฐบาลทหารพม่า

สิ่งที่ติดตาผมก็คือ ความพยายามของประชาชนพม่าที่ต่อสู้กับเผด็จการโดยใช้สันติวิธีมาตลอด กระทั่งเมื่อคู่ต่อสู้ตรงหน้าถือปืน และมุ่งเอาชีวิตประชาชน พวกเขาความพยายามอย่างยิ่งยวดที่สุด ที่เขาจะต้านทานทหารเหล่านั้นเอาไว้ ก็เพียงแค่เศษอิฐ เศษหิน ซึ่งอำนาจทำลายล้างย่อมเทียบไม่ติดกับ รัฐบาลทหารที่เพียบพร้อมด้วยแสนยานุภาพและครองเมืองมายาวนานเกือบ 50 ปี

แต่เพียงแค่ก้อนหินของประชาชน รัฐบาลทหารพม่า (รวมถึงรัฐบาลทหารที่ไหนก็ตามในโลก) ก็มีข้ออ้างเพียงพอแล้ว ที่จะปราบปรามประชาชนของตนเอง โดยอ้างผ่านกระบอกเสียงของรัฐบาล ทั้งสถานีโทรทัศน์ MRTV หรือหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ว่า ผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรงก่อน และนี่แค่เป็นการเตือน!!

นี่เองสะท้อนว่า รัฐบาลเผด็จการไม่ว่าที่ใดในโลก แค่ประชาชนถือก้อนอิฐ พวกเขาก็เห็นเป็น ศัตรูของชาติ' ซึ่งพวกเขาต้องกวาดล้างให้สิ้นด้วยแสนยานุภาพที่เขามี

เราจึงไม่อาจไว้ใจคณะลิเกเผด็จการชุดไหนได้เลย การปล่อยให้เผด็จการเป็นเจ้า การใช้วิธีนอกกฎหมายด้วยหวังขจัดวิกฤตการเมือง จึงเป็นการตัดสินใจที่ผิด ประชาชนพม่าซึ่งประสบเคราะห์กรรมกับรัฐบาลทหารมาตั้งแต่ พ.ศ.2505 กระทั่งปัจจุบัน เป็นตัวอย่างอันดี สำหรับประเทศไทย ที่หลายหน้าหลายตา ยอมปูทางให้คณะนายทหารเข้ามาครองเมือง พากันตบเท้าเข้าบ้านหลายเสาของใครบางคนก่อนวันรัฐประหารไม่กี่วัน

ซึ่งการแก้วิกฤตการเมืองเช่นนี้ ไม่เพียงแต่จะคิดผิด แต่ได้ทำให้ประชาชนร่วมชาติพลอยตกหล่ม ถอยหลังลงคลอง ด้วยการนำพาของ คณะลิเกเผด็จการ' มาปีกว่าอีกด้วย และไม่แน่ว่ามีเลือกตั้งแล้ว พวกเขาจะไม่ยอมลงโรงไปง่ายๆ

การรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 จึงเป็นการดูถูกจาบจ้วงล่วงเกินประชาชนร่วมชาติอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน!!

เราไม่ควรแม้แต่จะปูทางให้คณะลิเกเผด็จการ คมช.' ยึดอำนาจด้วยซ้ำ ไม่ใช่เขาขอปล้นประชาธิปไตย 1 ปี ก็โร่หอบลูกจูงหลานไปมอบข้าวมอบน้ำ จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้เสียข้าวสุกสิ้นดี เพราะเกิน 1 ปีมา 1 เดือนกับอีกสองวันแล้ว แทนที่พวกจะสำนึกว่าหมดเวลา แล้ว พวกก็ยังลั่นว่าจะสืบทอดอำนาจ ด้วยคุณธรรม'!!

ก้อนอิฐเท่านั้นที่เหมาะกับคณะลิเกเผด็จการพวกนั้น

พระเอกลิเก คณะลิเก ผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย ... รับก้อนอิฐ ก้อนหิน สักก้อนสองก้อนไหมขอรับ

 

ที่มาของฉากในเรื่อง และภาพประกอบบทความ

Inside Myanmar: The Crackdown, Aljazeera, OCTOBER 09, 2007, http://english.aljazeera.net/NR/exeres/A0A81AA6-DACD-4913-AB67-AA8602962EAB.htm

 

ชมสารคดีได้ที่นี่:

Inside Myanmar: The Crackdown โดย Aljazeera

ตอนที่ 1 ความยาว 12.45 นาที

 

Inside Myanmar: The Crackdown โดย Aljazeera

ตอนที่ 2 ความยาว 10.07 นาที

 

 

 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม

ชมคลิปวิดีโอพระสงฆ์-ประชาชนประท้วงกลางกรุงย่างกุ้ง 26 ก.ย. ก่อนถูกทหารพม่าปราบ, ประชาไท, 27 ก.ย. 2550 http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9690&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai

 

Nine killed as Myanmar junta cracks down on protests, AFP, Sep 26, 2007

http://afp.google.com/article/ALeqM5jkMCKEq7yPbP20x3UjDZH9DbaJIQ

 

Politics of Burma, From Wikipedia, the free encyclopedia

http://en.wikipedia.org/wiki/Politics_of_Burma

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…