Skip to main content
 

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย...

 

ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ  

 

แต่ที่แน่ๆ ข่าวสารที่ได้รับในช่วงเวลาที่ผ่านมาบอกเราว่า ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในวันนี้คงไม่ใช่สิ่งที่จะแก้กันได้ง่ายดาย โดยคนบางคน หรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูความคิดประชาธิปไตยกันอีกนานหลายสิบปี

 

...............................................

 

ย้อนถอยหลังไป 11 วันก่อนหน้านี้ ที่เชียงใหม่... วันแล้ววันเล่า กิจกรรมที่ไปทำรวมกับเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติในลุ่มน้ำโขงยังคงดำเนินไปได้อย่างปกติ ท่ามกลางความกระวนกระวายใจของใครหลายคนต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น ด้วยเป้าประสงค์คือการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนอาเซียนในงาน "มหกรรมประชาชนอาเซียน (AFP)" และการจัดทำข้อเสนอต่อ "การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ ASEAN Summit" โดยทั้งสองงานถือเป็นงานใหญ่ระดับชาติที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย ช่วงเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเองถือเป็นงานที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลไทย เพราะถือเป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาลที่ต้องแสดงศักยภาพของไทยต่อประเทศที่เป็นประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ

 

อาจเป็นด้วยตารางกิจกรรมที่อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และสถานที่พักพิงไม่ได้สะดวกเอาเสียเลยที่จะรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชนทั้งกระแสหลักกระแสรองต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสถานการณ์ข่าวสารเองก็เรียกได้ว่าสับสนอลหม่านพอสมควร การพูดคุยกันถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่รัฐสภาหรือเรื่องราวความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบฯ จึงจำกัดอยู่ในวงเล็กๆ ของการพูคุยแสดงความเห็นและบอกเล่าความคืบหน้าที่ได้รับรู้มา

 

 

ในช่วงหนึ่งของการพูดคุย น้องสาววัยมัธยมจากภาคกลางคนหนึ่งบอกเล่าว่าแม่ของเธอได้เข้าไปร่วมในการชุมนุมของพันธมิตรมานานหลายเดือน แต่หลังจากที่เกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาที่ผ่านมา แม่ของเธอก็ได้เดินทางกลับบ้านแล้วเพราะกลัวเกิดความรุนแรง แม้เธอจะบอกเล่าด้วยท่าทีที่เรียบเฉย แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าข้างในจิตใจคงหวาดหวั่นไม่น้อยหากความสูญเสียเป็นสิ่งที่เกิดกับครอบครัวเธอเอง

 

ส่วนพี่ชายจากเมืองใต้บอกว่า จากที่ได้ติดเป็นระยะกับเพื่อนที่อยู่ในการชุมนุม ภายหลังการปะทะและมีคนบาดเจ็บพี่น้องภาคใต้ได้รวบรวมคนเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมเพราะทนไม่ได้ที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงกับประชาชนจนทำให้เกิดความสูญเสียนับหลายร้อยราย แต่ข้อมูลที่ได้รับก็ไม่ได้บ่งบอกถึงข้อสรุปหรือจุดจบของความวุ่นวายใดๆ ที่เกิดขึ้น

 

เมื่อได้พูดคุยกับเพื่อนชาวเวียดนามที่มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน เธอเล่าว่าทางครอบครัวของเธอที่เวียดนามได้โทรศัพท์มาเร่งเร้าให้รีบเดินทางกลับเนื่องจากกลัวเหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศจะบายปลาย แต่ที่เชียงใหม่การดำเนินชีวิตของชาวบ้านทั่วไปแทบไม่ได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายที่กำลังดำเนินอยู่ในเมืองหลวงเลย แม้จะรับรู้ข่าวความรุนแรงมีการใช้แก๊สน้ำตา มีการเสียชีวิต และคิดว่าอาจมีการใช้อาวุธ แต่การอยู่ที่เชียงใหม่กับกับระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพฯ ราว 750 กิโลเมตรก็ทำให้เธอรู้สึกปลอดภัยดีอยู่

 

..............................................

 

จากการพูดคุยและสังเกตผู้คนทั่วไปในเชียงใหม่ที่ได้รับรู้ข่าวสารจากทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ต่างพากันสะเทือนใจและตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงความรู้สึกร่วมในการเป็นคนไทยด้วยกัน ถึงผลกระทบต่อประเทศชาติ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวที่เกี่ยวพันไปถึงปากท้อง แต่สิ่งที่พวกเขาทำได้หรือได้ทำ คือการติดตามสถานการณ์ต่อๆ ไป ซึ่งคงเป็นความคิดความรู้สึกที่ไม่ได้แตกต่างกันกับผู้คนในภาคในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ

 

 

และสิ่งที่สัมผัสได้ คือ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในเมืองหลวง เราในฐานะประชาชนของประเทศก็ยังคงต้องดิ้นร้นเพื่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางการเมืองที่ถูกโหมกระหน่ำด้วยปัญหา เศรษฐกิจที่ทะยานลงตามกระแสโลก สภาพสังคมที่เขาว่ากันว่าอยู่ในภาวะวิกฤติของจริยธรรมและศีลธรรมอันดี และข่าวที่รอบด้านหลากหลายจนชักเริ่มสับสนกับการเลือกบริโภคกันต่อไป

 

อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกเศร้าโศกไปกับการสูญเสีย สะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องการให้พบทางออกของปัญหาในเร็ววัน ซึ่งจะยังขอเชื่ออีกด้วยว่าทุกคนควรสามารถออกมาแสดงความคิดเห็นกับการกระทำของฝ่ายต่างๆ ได้ รวมทั้งรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามสิทธิเสรีภาพอันพึงของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย

 

......................................

 

ห้วงเวลาที่ผ่านมา... ด้วยความไม่รู้ และอยากจะรู้ว่าถึงเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นแข่งกับเวลาในฐานะของคนที่ไม่ได้อยู่ร่วมแต่อยากมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ทำให้เข้าใจได้ว่าชีวิตเราผูกพันกับการสื่อสาร และข่าวสาร ไม่ว่าจะในวงแคบหรือวงกว้างกันมากพอดู แต่เมื่อพูดเกี่ยวกับความสำคัญของ "ข่าว" หากใครได้ผ่านการเรียนจิตวิทยา ที่ให้ความหมายว่า "ข่าว" คือ "เรื่องราวในอดีต ที่เมื่อคุณอ่านข่าวคุณกำลังอ่านเรื่องราวในอดีต และเข้าใจในสิ่งที่คุณแก้ไขไม่ได้" จึงมีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการบริโภคข่าวในการการดำเนินชีวิต

 

ซึ่งนั้นย่อมไม่ได้หมายความว่าข่าวหรือเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วนั้น ไม่มีความสำคัญต่อผู้คนที่จะต้องรับรู้มัน แต่ในแต่ละวันเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกนั้นมีอยู่มากมาย นอกจากนี้ความเป็นไปของสังคมโลกที่เราพยายามก้าวเดินตาม มันได้นำไปสู่การอธิบายปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และมันก็เป็นสิ่งที่เราต้องรู้เท่าทันซึ่งไม่ใช่เฉพาะข่าวสารเท่านั้น แต่มันยังหมายรวมถึงกระบวนวิธีการได้มาและการนำเสนอข่าวสารเหล่านั้นด้วย

 

มันจึงไม่แปลกเลยทำให้รู้สึกคล้อยตามว่า คนเราไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นไปเสียทุกอย่าง อีกทั้งยังจะต้องยุ่งยากในการชั่งตวงวัดเพื่อเสพข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วน รอบด้าน หากมันทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ พักบ้างก็ได้ หยุดคิดปิดหูปิดตาบ้างก็ได้ ถ้าปัญหาวุ่นวายนั้นเราไม่ได้เป็นทั้งผู้ก่อและไม่สามารถเป็นผู้แก้ สักประเดี๋ยวสถานการณ์ก็จะคลี่คลายเหมือนที่มันเคยเป็นมา

 

แต่สิ่งสำคัญที่หลงลืมไม่ได้ คือ ทุกวันนี้ปัญหาในสังคมนี้ ประเทศนี้ โลกนี้มันไม่ได้มีอยู่เฉพาะที่รัฐสภาหรือที่ทำเนียบ ปัญหาคนยากคนจน การป่วยไข้ ผลกระทบการจากแย่งชิงทรัพยากร การเบียดขับให้กลายเป็นอื่น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาพื้นที่ฐานของสังคมที่พัวพันกันอีรุงตุงนัง และยังรอการแก้ไขอยู่อีกมากมาย ซึ่งการปิดหูปิดตา มันก็เป็นเพียงการหลีกหนีปัญหาที่วุ่นวาย และไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมที่เรากำลังตกอยู่ในบ่วงเหล่านี้ไปได้

 

...........................................

 

สำหรับฉันคนที่อยู่ไกลทั้งระยะทาง และถอยออกห่างทางความรู้สึกในการมีส่วนร่วมกับปัญหาทางการเมืองที่คาราคาซังยืดเยื้อจนน่าเวียนหัว คงต้องขอบคุณเครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ช่วยส่งผ่านข่าวมาไปให้รับรู้ถึงถิ่นห่างไกลและนี่คงเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีในโลกทุนนิยมที่แม้ใครจะว่ามันฟอนเฟะ แต่อย่างนี้น้อยมันก็ทำให้เราได้สามารถร่วมแลกเปลี่ยน พูดคุย วิพากษ์วิจารณ์ต่อสถานการณ์ความเป็นไปของสังคมได้แม้อยู่ในถิ่นที่ห่างไกล จนแทบเหมือนได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ แม้จะไม่รู้เลยว่าความจริงที่ได้รับเป็นเพียงกี่เศษเสียวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

 

คิดแล้วก็ให้ย้อนไปถึงในห้องเรียนวิชาการสื่อสารมวลชนเท่าที่จำได้พอเลือนๆ ที่อาจารย์พูดไว้เรื่องเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวว่า ต้องทันเหตุการณ์ เร้าอารมณ์ ใกล้ชิดสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม รอบด้าน และสิ่งที่เราได้รับรู้ผ่านสื่อคือสารที่ได้รับการคัดสรรค์แล้วเพื่อการนำเสนอเพื่อให้คนรู้เท่าทันเหตุการณ์  แต่เมื่อเสพมันแล้วก็ผ่านเลยไป ในขณะที่สภาพความเป็นจริงของปัญหาที่ต้องแสวงหาแนวทางแก้ไขคือความซับซ้อนที่ได้ถูกซ่อนเอาไว้

 

ทำให้เกิดคำพูดที่ว่าสื่อมอมเมาประชาชน แต่หากมองอีกด้านหนึ่งการนำเสนอข่าวของสื่อในปัจจุบันมีทางเลือกที่มากขึ้น และการนำเสนอแง่มุมที่หลากหลาย ซึ่งในส่วนของการรับข่าวสารจากสื่อในปัจจุบันผู้รับข่าวสารเองแม้ไม่ใช้คนถูกกำหนดไว้ให้เป็นผู้แก้ปัญหา แต่เป็นผู้กระตุ้นเตือนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบให้ต้องเร่งแก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคม

 

ดังนั้นคงไม่แปลกหากจะวาดฝันว่าในฐานะผู้บริโภคข่าวสารที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราน่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสังคมจากการรับรู้ข่าวสารที่นอกจากการวิเคราะห์เลือกรับข้อมูลแล้ว ยังสำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสังคม ไม่ใช่เพียงแต่ตกเป็นเหยื่อการมอมเมาจากสื่อ และข่าวสารที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันอย่างที่ว่ากันเท่านั้น

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…