Skip to main content
 

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย...

 

ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ  

 

แต่ที่แน่ๆ ข่าวสารที่ได้รับในช่วงเวลาที่ผ่านมาบอกเราว่า ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในวันนี้คงไม่ใช่สิ่งที่จะแก้กันได้ง่ายดาย โดยคนบางคน หรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูความคิดประชาธิปไตยกันอีกนานหลายสิบปี

 

...............................................

 

ย้อนถอยหลังไป 11 วันก่อนหน้านี้ ที่เชียงใหม่... วันแล้ววันเล่า กิจกรรมที่ไปทำรวมกับเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติในลุ่มน้ำโขงยังคงดำเนินไปได้อย่างปกติ ท่ามกลางความกระวนกระวายใจของใครหลายคนต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น ด้วยเป้าประสงค์คือการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนอาเซียนในงาน "มหกรรมประชาชนอาเซียน (AFP)" และการจัดทำข้อเสนอต่อ "การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ ASEAN Summit" โดยทั้งสองงานถือเป็นงานใหญ่ระดับชาติที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย ช่วงเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเองถือเป็นงานที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลไทย เพราะถือเป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาลที่ต้องแสดงศักยภาพของไทยต่อประเทศที่เป็นประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ

 

อาจเป็นด้วยตารางกิจกรรมที่อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และสถานที่พักพิงไม่ได้สะดวกเอาเสียเลยที่จะรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชนทั้งกระแสหลักกระแสรองต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสถานการณ์ข่าวสารเองก็เรียกได้ว่าสับสนอลหม่านพอสมควร การพูดคุยกันถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่รัฐสภาหรือเรื่องราวความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบฯ จึงจำกัดอยู่ในวงเล็กๆ ของการพูคุยแสดงความเห็นและบอกเล่าความคืบหน้าที่ได้รับรู้มา

 

 

ในช่วงหนึ่งของการพูดคุย น้องสาววัยมัธยมจากภาคกลางคนหนึ่งบอกเล่าว่าแม่ของเธอได้เข้าไปร่วมในการชุมนุมของพันธมิตรมานานหลายเดือน แต่หลังจากที่เกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาที่ผ่านมา แม่ของเธอก็ได้เดินทางกลับบ้านแล้วเพราะกลัวเกิดความรุนแรง แม้เธอจะบอกเล่าด้วยท่าทีที่เรียบเฉย แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าข้างในจิตใจคงหวาดหวั่นไม่น้อยหากความสูญเสียเป็นสิ่งที่เกิดกับครอบครัวเธอเอง

 

ส่วนพี่ชายจากเมืองใต้บอกว่า จากที่ได้ติดเป็นระยะกับเพื่อนที่อยู่ในการชุมนุม ภายหลังการปะทะและมีคนบาดเจ็บพี่น้องภาคใต้ได้รวบรวมคนเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมเพราะทนไม่ได้ที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงกับประชาชนจนทำให้เกิดความสูญเสียนับหลายร้อยราย แต่ข้อมูลที่ได้รับก็ไม่ได้บ่งบอกถึงข้อสรุปหรือจุดจบของความวุ่นวายใดๆ ที่เกิดขึ้น

 

เมื่อได้พูดคุยกับเพื่อนชาวเวียดนามที่มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน เธอเล่าว่าทางครอบครัวของเธอที่เวียดนามได้โทรศัพท์มาเร่งเร้าให้รีบเดินทางกลับเนื่องจากกลัวเหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศจะบายปลาย แต่ที่เชียงใหม่การดำเนินชีวิตของชาวบ้านทั่วไปแทบไม่ได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายที่กำลังดำเนินอยู่ในเมืองหลวงเลย แม้จะรับรู้ข่าวความรุนแรงมีการใช้แก๊สน้ำตา มีการเสียชีวิต และคิดว่าอาจมีการใช้อาวุธ แต่การอยู่ที่เชียงใหม่กับกับระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพฯ ราว 750 กิโลเมตรก็ทำให้เธอรู้สึกปลอดภัยดีอยู่

 

..............................................

 

จากการพูดคุยและสังเกตผู้คนทั่วไปในเชียงใหม่ที่ได้รับรู้ข่าวสารจากทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ต่างพากันสะเทือนใจและตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงความรู้สึกร่วมในการเป็นคนไทยด้วยกัน ถึงผลกระทบต่อประเทศชาติ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวที่เกี่ยวพันไปถึงปากท้อง แต่สิ่งที่พวกเขาทำได้หรือได้ทำ คือการติดตามสถานการณ์ต่อๆ ไป ซึ่งคงเป็นความคิดความรู้สึกที่ไม่ได้แตกต่างกันกับผู้คนในภาคในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ

 

 

และสิ่งที่สัมผัสได้ คือ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในเมืองหลวง เราในฐานะประชาชนของประเทศก็ยังคงต้องดิ้นร้นเพื่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางการเมืองที่ถูกโหมกระหน่ำด้วยปัญหา เศรษฐกิจที่ทะยานลงตามกระแสโลก สภาพสังคมที่เขาว่ากันว่าอยู่ในภาวะวิกฤติของจริยธรรมและศีลธรรมอันดี และข่าวที่รอบด้านหลากหลายจนชักเริ่มสับสนกับการเลือกบริโภคกันต่อไป

 

อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกเศร้าโศกไปกับการสูญเสีย สะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องการให้พบทางออกของปัญหาในเร็ววัน ซึ่งจะยังขอเชื่ออีกด้วยว่าทุกคนควรสามารถออกมาแสดงความคิดเห็นกับการกระทำของฝ่ายต่างๆ ได้ รวมทั้งรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามสิทธิเสรีภาพอันพึงของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย

 

......................................

 

ห้วงเวลาที่ผ่านมา... ด้วยความไม่รู้ และอยากจะรู้ว่าถึงเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นแข่งกับเวลาในฐานะของคนที่ไม่ได้อยู่ร่วมแต่อยากมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ทำให้เข้าใจได้ว่าชีวิตเราผูกพันกับการสื่อสาร และข่าวสาร ไม่ว่าจะในวงแคบหรือวงกว้างกันมากพอดู แต่เมื่อพูดเกี่ยวกับความสำคัญของ "ข่าว" หากใครได้ผ่านการเรียนจิตวิทยา ที่ให้ความหมายว่า "ข่าว" คือ "เรื่องราวในอดีต ที่เมื่อคุณอ่านข่าวคุณกำลังอ่านเรื่องราวในอดีต และเข้าใจในสิ่งที่คุณแก้ไขไม่ได้" จึงมีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการบริโภคข่าวในการการดำเนินชีวิต

 

ซึ่งนั้นย่อมไม่ได้หมายความว่าข่าวหรือเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วนั้น ไม่มีความสำคัญต่อผู้คนที่จะต้องรับรู้มัน แต่ในแต่ละวันเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกนั้นมีอยู่มากมาย นอกจากนี้ความเป็นไปของสังคมโลกที่เราพยายามก้าวเดินตาม มันได้นำไปสู่การอธิบายปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และมันก็เป็นสิ่งที่เราต้องรู้เท่าทันซึ่งไม่ใช่เฉพาะข่าวสารเท่านั้น แต่มันยังหมายรวมถึงกระบวนวิธีการได้มาและการนำเสนอข่าวสารเหล่านั้นด้วย

 

มันจึงไม่แปลกเลยทำให้รู้สึกคล้อยตามว่า คนเราไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นไปเสียทุกอย่าง อีกทั้งยังจะต้องยุ่งยากในการชั่งตวงวัดเพื่อเสพข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วน รอบด้าน หากมันทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ พักบ้างก็ได้ หยุดคิดปิดหูปิดตาบ้างก็ได้ ถ้าปัญหาวุ่นวายนั้นเราไม่ได้เป็นทั้งผู้ก่อและไม่สามารถเป็นผู้แก้ สักประเดี๋ยวสถานการณ์ก็จะคลี่คลายเหมือนที่มันเคยเป็นมา

 

แต่สิ่งสำคัญที่หลงลืมไม่ได้ คือ ทุกวันนี้ปัญหาในสังคมนี้ ประเทศนี้ โลกนี้มันไม่ได้มีอยู่เฉพาะที่รัฐสภาหรือที่ทำเนียบ ปัญหาคนยากคนจน การป่วยไข้ ผลกระทบการจากแย่งชิงทรัพยากร การเบียดขับให้กลายเป็นอื่น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาพื้นที่ฐานของสังคมที่พัวพันกันอีรุงตุงนัง และยังรอการแก้ไขอยู่อีกมากมาย ซึ่งการปิดหูปิดตา มันก็เป็นเพียงการหลีกหนีปัญหาที่วุ่นวาย และไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมที่เรากำลังตกอยู่ในบ่วงเหล่านี้ไปได้

 

...........................................

 

สำหรับฉันคนที่อยู่ไกลทั้งระยะทาง และถอยออกห่างทางความรู้สึกในการมีส่วนร่วมกับปัญหาทางการเมืองที่คาราคาซังยืดเยื้อจนน่าเวียนหัว คงต้องขอบคุณเครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ช่วยส่งผ่านข่าวมาไปให้รับรู้ถึงถิ่นห่างไกลและนี่คงเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีในโลกทุนนิยมที่แม้ใครจะว่ามันฟอนเฟะ แต่อย่างนี้น้อยมันก็ทำให้เราได้สามารถร่วมแลกเปลี่ยน พูดคุย วิพากษ์วิจารณ์ต่อสถานการณ์ความเป็นไปของสังคมได้แม้อยู่ในถิ่นที่ห่างไกล จนแทบเหมือนได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ แม้จะไม่รู้เลยว่าความจริงที่ได้รับเป็นเพียงกี่เศษเสียวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

 

คิดแล้วก็ให้ย้อนไปถึงในห้องเรียนวิชาการสื่อสารมวลชนเท่าที่จำได้พอเลือนๆ ที่อาจารย์พูดไว้เรื่องเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวว่า ต้องทันเหตุการณ์ เร้าอารมณ์ ใกล้ชิดสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม รอบด้าน และสิ่งที่เราได้รับรู้ผ่านสื่อคือสารที่ได้รับการคัดสรรค์แล้วเพื่อการนำเสนอเพื่อให้คนรู้เท่าทันเหตุการณ์  แต่เมื่อเสพมันแล้วก็ผ่านเลยไป ในขณะที่สภาพความเป็นจริงของปัญหาที่ต้องแสวงหาแนวทางแก้ไขคือความซับซ้อนที่ได้ถูกซ่อนเอาไว้

 

ทำให้เกิดคำพูดที่ว่าสื่อมอมเมาประชาชน แต่หากมองอีกด้านหนึ่งการนำเสนอข่าวของสื่อในปัจจุบันมีทางเลือกที่มากขึ้น และการนำเสนอแง่มุมที่หลากหลาย ซึ่งในส่วนของการรับข่าวสารจากสื่อในปัจจุบันผู้รับข่าวสารเองแม้ไม่ใช้คนถูกกำหนดไว้ให้เป็นผู้แก้ปัญหา แต่เป็นผู้กระตุ้นเตือนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบให้ต้องเร่งแก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคม

 

ดังนั้นคงไม่แปลกหากจะวาดฝันว่าในฐานะผู้บริโภคข่าวสารที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราน่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสังคมจากการรับรู้ข่าวสารที่นอกจากการวิเคราะห์เลือกรับข้อมูลแล้ว ยังสำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสังคม ไม่ใช่เพียงแต่ตกเป็นเหยื่อการมอมเมาจากสื่อ และข่าวสารที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันอย่างที่ว่ากันเท่านั้น

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…